ส่ง ‘เสียง’ ประชาชนแต่ละภูมิภาคถึงรัฐบาลใหม่ อยากให้พัฒนาเรื่องไหนที่สุด

ส่ง ‘เสียง’ ประชาชนแต่ละภูมิภาคถึงรัฐบาลใหม่ อยากให้พัฒนาเรื่องไหนที่สุด

การเลือกตั้งได้จบลงไปแล้ว แต่เรายังไม่จบและยังทำต่อ! ช่วงหลายเดือนก่อนการเลือกตั้งเครือข่ายทั่วภูมิภาคและทีมไทยพีบีเอส สำรวจความต้องการของประชาชนว่าประเด็นการพัฒนาไหนที่อยากเห็นและส่งต่อไปให้กับว่าที่รัฐบาลใหม่ ผ่านกิจกรรม ‘My Tax My Future ภาษี อนาคตฉัน เราเลือกได้’ ให้ออกแบบการใช้ภาษีในแบบของเรา โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในการสำรวจความต้องการของประชาชนว่าประเด็นการพัฒนาหลัก 6 ประเด็น ได้แก่ การศึกษา สุขภาพยั่งยืน สังคมสูงวัย เศรษฐกิจทั่วถึง สิ่งแวดล้อม และการกระจายอำนาจ นั้นสำหรับประชาชนแล้วเรื่องไหนสำคัญหรือเร่งด่วนสุด

ภาพรวมแสดงความต้องการประชาชนในแต่ละภูมิภาคว่าเรื่องไหนสำคัญสุด โดย การศึกษา เป็นประเด็นอันดับ 1 ของทุกภูมิภาค

นอกจากนี้ทีมไทยพีบีเอสและเครือข่าย ได้ลงสำรวจ เดินทางไปในแต่ละภูมิภาค เพื่อระดมความคิดเห็น ฟังเสียงประชาชนและมองหาภาพอนาคตร่วมกันผ่านเวที ‘ฟังเสียงประเทศไทย’ อีกทั้งทำกิจกรรม “Where’s my tax?” ออกแบบภาษีควรนำไปพัฒนาเรื่องไหน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเวทีที่ผู้เข้าร่วมได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน มาดูกันว่าแต่ละพื้นที่เลือกให้ความสำคัญการพัฒนาพื้นที่กับเรื่องอะไร 

ภาคอีสาน

สถานการณ์สำคัญที่คนอีสานกำลังเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นภาคที่ยากจนที่สุดเทียบกับภาคอื่น คนย้ายออกไปทำงานที่อื่นมากขึ้น การเข้าถึงสิทธิที่ดินและทรัพยากร รวมถึงโอกาสการศึกษาของเด็ก การกระจายอำนาจ เป็นเรื่องแรกที่คนเลือกมากที่สุด โดยมองว่า ต้นตอของปัญหาในประเทศคือการคอร์รัปชัน ตั้งแต่บนลงล่างทำให้การพัฒนาแต่ละด้านไม่เกิดขึ้น ความไม่ยุติธรรมในสังคม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่อยากให้แก้ไข

อีกด้าน กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ พบเห็นปัญหาหลากหลายในบ้านเกิดของตนเองในวันนี้พวกเขามองเห็นภพอนาคตของตนเองอย่างไร แล้วอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบไหน ในฐานะคนรุ่นใหม่เขาคิดเห็นอย่างไรกัน

น้อง ๆ จากนิเทศศาสตร์กาฬสินธุ์ ร่วมทำกิจกรรม my tax ออกแบบภาษีในแบบคนรุ่นใหม่

ภาคตะวันออก

ชวนคนภาคตะวันออก ตัวตึงระยองจัดสรรภาษีว่าอยากให้พัฒนาเรื่องอะไรมากที่สุด อันดับแรกคือเรื่องการศึกษา ส่วนเรื่องที่สูสีกันคือทรัพยากร เพราะภาคตะวันออกนอกจากจะเป็นพื้นที่ของ eec แล้วยังมีน้ำ และพืชผลทางเกษตร หรือแม้แต่การจัดการช้างที่ต้องการแก้ปัญหาอีกด้วย

สำรวจประเด็นความต้องการจากพื้นที่พัทยา – บางละมุง – ตลาดนาเกลือ คนพัทยา/ตะวันออก ต้องการใช้ภาษีไปกับประเด็นเรื่องการศึกษามากที่สุด โดยมองว่าการศึกษาเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกคนควรจะได้รับอย่างเท่าเทียม

กลุ่มเรือประมงพื้นบ้านระยองรวมตัวปิดบริเวณอ่าวมาบตพุด แสดงเชิงสัญลักษณ์เรียกร้องการเยียวยาจากผลกระทบน้ำมันรั่ว และโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด

ภาคใต้

การตัดสินใจใช้ภาษีที่นอกจากจะมีอย่างจำกัดแล้วก็ยังต้องถูกใช้อย่างไตร่ตรองและคุ้มค่าด้วย ถ้าหากประชาชนได้มีส่วนร่วมหรือแม้แต่การได้ออกแบบและจัดการการใช้ภาษีนั้นด้วยตัวเอง จะออกมาเป็นอย่างไร ชวนคนใต้จำลองการใช้ภาษี พบว่าผู้เข้าร่วมให้ความสำคัญกับเรื่อง การศึกษา มากที่สุด

จากการสัมภาษณ์ผู้คนโดยรวมในงานชิ้นนี้ ว่าเหตุผลที่ให้การศึกษามากสุดเป็นเพราะ การศึกษาเป็นเรื่องพื้นฐานของคนทุกวัยและสำคัญกับคนรุ่นหลัง การศึกษาที่ดีจะทำให้คนมีความรู้และสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจที่รอบด้านได้

ถัดไปที่ชุมชนเก้าเส้ง มีกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลาร่วมกิจกรรมลงพื้นที่สำรวจปัญหาและทางออก หลังการสำรวจมีการล้องวงพูดคุยหลังจากลงพื้นที่ น้องนักศึกษาพบเห็นประเด็น ปัญหาในพื้นที่ จนมาสู่การออกแบบนโยบายฉบับคนรุ่นใหม่ที่สร้างสรรค์ อาทิ “นโยบาย สงขลาเปลี่ยนได้” “นโยบายเสรีทรงผม” เป็นต้น

ชุมชนเก้าเส้ง ริมคลองสำโรง จังหวัดสงขลา

ภาคเหนือ

‘ขบวนการสังคม 3 วัย’ เป็นนโยบายของกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนประเด็นผู้สูงอายุในจ.พิจิตร เป็นพื้นที่ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นพลังการร่วมตัวของภคพลเมืองที่พยายามจัดการปัญหาในพื้นที่ โดยไม่รอภาครัฐอีกต่อไป แต่กระบวนการที่ว่าเริ่มต้นจากอะไร ใช้เครื่องมืออะไรในการสื่อสารกับคนในพื้นที่ อ่านเพิ่มได้ที่

“แม่ฮ่องสอน พื้นที่ชายแดน คนไร้สัญชาติยังกังวลว่าจะเข้าถึงสิทธิทางการรักษา เพราะแม้แต่การรับรองเป็นพลเมืองของประเทศนั้นยังไม่ถูกรับรอง” เสียงจากผู้ร่วมกิจกรรมที่ ชุมชนลุ่มน้ำยวมจาก 4 อำเภอคือ อำเภอขุนยวม อำเภอแม่สะเรียง อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอสบเมย จะให้เรื่องไหนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดลองอ่านเพิ่มเติมได้ที่

ความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ภาคเหนือถูกมองว่าเกิดจากการที่รัฐบาลส่วนกลางไม่มีความเป็นประชาธิปไตย การรัฐประหารปี 2557 เป็นต้นกำเนิดที่ทำให้การกระจายอำนาจในอดีตหยุดชะงัก เกิดระเบียบคำสั่งที่กำกับท้องถิ่นจนขยับตัวไม่ได้ เพราะรัฐไม่ไว้วางใจท้องถิ่นมากพอที่จะให้จัดการตนเอง ซึ่งการไม่กระจายอำนาจทำให้เกิดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือที่ทำให้เกิดการกดทับในทุกมิติ สิ่งที่คนเหนือเห็นพ้องต้องกันคือ ภาคเหนือต้องการการกระจายอำนาจมากที่สุด

นอกจากเวทีดีเบต หรือการหาเสียงในช่วงก่อนโค้งสุดท้ายแล้ว มีกิจกรรมแบบสำรวจ ให้ประชาชนนำลูกบอลไปใส่ในกล่องที่คุณอยากให้นำภาษีไปใช้มากที่สุด โดยมีน้อง ๆ ส่วนหนึ่งที่เป็น first time voter อาสาคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม จำนวน 6 คน ร่วมเป็นอาสากับทีมงานองศาเหนือ เล่นเกมส์ MY TAX MY FUTURE ผลอันดับ 1 เป็นเรื่องการศึกษาไทยยุคใหม่มากที่สุดถึง

ทั้งหมดข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งที่ทีมเครือข่ายและไทยพีบีเอส สำรวจความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่ของตน จากการพบเห็นปัญหา มาสู่การระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยน เกิดเป็นข้อเสนอนโยบายที่หลากหลายในฉบับภาคพลเมือง หลังจากที่อ่านแล้วหากมีไอเดีย เห็นด้วยไม่เห็นด้วยอย่างไร สามารถเสนอนโยบายในแบบตนเองได้ที่

https://yourpriorities.yrpri.org/community/4306

เรียบเรียงโดย

อรกช สุขสวัสดิ์

กัณญาพัชร ลิ้มประเสริฐ

ทิตติกาญจน์ วังมี

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ