แม่น้ำและชุมชน คือความสัมพันธ์ ที่มองเห็นชีวิตของผู้คนและฐานทรัพยากร ดิน น้ำป่า ทั้งในด้านการใช้ประโยชน์และดูแลรักษา เพื่อสร้างความสมดุลของระบบนิเวศ รวมทั้งวิถีวัฒนธรรมของชุมชน เพราะแม่น้ำคือชีวิต คือบ้าน ที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหาร หลายทศวรรษมานี้ แม่น้ำถูกแปรรค่าเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ การมองแม่น้ำ ที่เห็นเพียงน้ำที่เป็นเพียงปริมาณ ถูกแยกส่วนจากระบบนิเวศที่เป็นความหลากหลายทางชีวภาพ และวิถีชีวิตของชุมชน จึงถูกบริหารจัดการโดยความไม่เข้าใจ ของนโยบาย ที่เมื่อพูดถึงแม่น้ำ มีความเข้าใจที่ค่อนข้างแตกต่าง ตามบริบทสังคมและสภาพแวดล้อม ผู้คนส่วนหนึ่งมองแม่น้ำเห็นแค่ปริมาณ ในด้านมูลค่าและการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ผู้คนอีกส่วนหนึ่ง ที่อยู่กับแม่น้ำที่พึ่งพิงฐานทรัพยากร ใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ฟื้นฟู มาวันนี้แม่น้ำหลายสายถูกทำร้าย ทั้งด้วยความไม่เข้าใจและด้วยผลประโยชน์ จนก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถฟื้นคืนกลับได้เหมือนเดิม ทั้งจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ประตูกั้นน้ำ การขุดลอก และการพัฒนาต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับระบบนิเวศ ที่มาจากความไม่เข้าใจ และไม่ใช้วิธีการที่ดีพอ เป็นการมองแม่น้ำที่แยกส่วนทรัพยากรน้ำออกจากทรัพยากรอื่นในระบบนิเวศลุ่มน้ำ ในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ดิน ป่าไม้ และวิถีชีวิตผู้คน
เช่นเดียวกับ น้ำอิง และน้ำกก แม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา แม่น้ำสาขาเหล่านี้ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำต่างได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างหลี่กเหลี่ยงไม่ได้ ชวนติดตามเวทีเสวนามหกรรม แม่น้ำและชุมชน “นิเวศ วิถี วัฒนธรรม กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ลุ่มน้ำ กก อิง โขง Community River Forum Kok Ing Mekong ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา พูดคุยในเรื่องของการปกปักษ์รักษาวิถีชีวิตวัฒนธรรมการปกปักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่หลงเหลืออยู่และพูดถึงแนวทางในอนาคตที่จะร่วมสร้างความร่วมมือกันในหลายภาคส่วน ในการที่จะดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ที่ยังหลงเหลือความอุดมสมบูรณ์อยู่ไว้ให้กับลูกหลานในอนาคต
สถานการณ์น้ำโขงที่เปลี่ยนไป ส่งผลต่อวิถีชาวบ้าน
บทบาทการทำงานของสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตกับงานในลุ่มน้ำอิง
คุณสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา : สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตก็ถือว่าเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่ได้ ทำงานร่วมกับพี่น้องชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ กก อิง หรือโขงเหนือ ถือว่าเป็นเวลาระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ได้ทำงานในเรื่องของการสร้างความร่วมมือในการอนุรักษ์ รวบรวมความรู้ของชุมชนท้องถิ่นที่เป็นความรู้ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่นทำงานกับหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษา เพื่อนำเอาความรู้ท้องถิ่นมาเป็นความรู้ทางวิชาการและเผยแพร่ศึกษาได้ให้คนได้เข้าใจ ถึงเรื่องคุณค่าและประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงเหนือซึ่งเป็นก็ถือว่าเป็นพื้นที่พิเศษ เพราะว่าแม่น้ำทุกสายของประเทศไทยเกือบทั้งหมด ปิง วัง ยม น่าน หรือแม่น้ำในภาคตะวันออก ภาคกลาง เป็นแม่น้ำที่ไหลอยู่ภายในประเทศ
แต่ว่าความพิเศษของแม่น้ำ ในพื้นที่ภาคเหนือจะมีสองพื้นที่คือแม่น้ำสาละวิน เป็นแม่น้ำนานาชาติที่มีต้นน้ำมาจากประเทศจีน และแม่น้ำโขงก็เช่นกันก็เป็นน้ำแม่น้ำที่มีความพิเศษ ฉะนั้นคนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา และคนส่วนหนึ่งที่อยู่ในตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย ถือว่าเป็นประชากรที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงเหนือ พื้นที่ที่พิเศษมีความหลากหลายทาง วิถีชีวิตวัฒนธรรมและความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ลุ่มน้ำโขงเหนือนี้มีกลุ่มชาติพันธุ์ ประมาณ 30 กลุ่มชาติพันธุ์ ที่อยู่ในพื้นที่โขงเหนือ เป็นความพิเศษที่ทำให้พื้นที่ของภาคเหนือยังคงความอุดมสมบูรณ์
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงลุ่มน้ำอิง
ลุ่มน้ำอิงมีความยาวทั้งหมดประมาณ 250 กิโลเมตร จากต้นน้ำที่อยู่เขตจังหวัดพะเยา ไหลลงสู่น้ำอิงตอนใต้ จำแนกพื้นที่ลุ่มน้ำออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ตามลักษณะของพื้นที่ คือวน้ำอิงตอนบน ตอนกลางและตอนปลาย ตอนบนจะเป็นลักษณะพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สำคัญ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติ มีพื้นที่อยู่ประมาณ 6 พันไร่ เชื่อมลงมาเป็นคลองเล็ก ๆ สู่กว๊านพะเยากว๊าน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ ลุ่มน้ำอิงตอนกลาง เริ่มมาจากคล้ายน้ำก้นพะเยาไหลลงมาถึงอำเภอเทิง พื้นที่เหล่านี้จะมีลักษณะพิเศษคือเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการเกษตร หลังจากอำเภอเทิงลงมาถึงอำเภอเชียงของจะเป็นที่ลุ่มน้ำอิงตอนปลาย มีลักษณะพิเศษคือจะมีพื้นที่ชุ่มน้ำ ได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำโขง พื้นที่ชุ่มน้ำอิงตอนล่างที่ชาวบ้านรักษาไว้คือ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับระดับท้องถิ่น หรือที่ชาวบ้านเขาเรียกว่าเป็น “มดลูกของแม่น้ำโขง” เพราะว่าเวลาน้ำขึ้นมาจากน้ำโขง ปลาจะขึ้นไปวางไข่แถบพื้นที่ชุ่มน้ำนี้ หลังจากน้ำลดลง ปลาบางส่วนก็ไหลลงกลับสู่แม่น้ำโขงอีกส่วนหนึ่งก็อยู่ในพื้นที่ที่อยู่นั้นอิง
ที่ผ่านมาปัญหาของการจัดการพื้นที่ป่าต้นน้ำหรือพื้นที่ป่าประเทศทั้งประเทศไทย ถูกรัฐสัมปทาน จนน้ำอิงหรือว่าพื้นที่พื้นที่ต้นน้ำป่าต้นน้ำกว๊านพะเยาถูกสัมปทาน โดยบริษัทข้ามชาติมาเกือบทั้งหมด ทำให้เกิดปัญหาวิกฤตเมื่อพี่น้องแถบกว๊านพะเยาไม่มีน้ำ ทำให้เกิดความเสียหายทางการเกษตร จึงนำมาสู่การหาสาเหตุ จึงได้มีการรวมตัวของพี่น้องที่อยู่ต้นน้ำ12 ลำห้วย เกิดเป็นชมรมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำกว๊านพะเยาขึ้นมา นำมาสู่เรื่องของการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาร่วมกัน จนสุดท้ายภายในสามปีสามารถที่จะฟื้นฟูป่าต้นน้ำได้ เชื่อมสู่น้ำลุ่มอิงตอนลางและปลาย เรียนรู้ร่วมกันแล้วก็นำมาสู่เรื่องของการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เกิดการจัดตั้งสภาประชาชนลุ่มน้ำอิงเพื่อที่จะเอาคนต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มาเจอกันเรียนรู้ร่วมกันหาทางวิเคราะห์แก้ไขปัญหาเพื่อที่จะให้เกิดความยั่งยืนในอนาคตร่วมกัน พ่อหลวงขวัญ สภาประชาชนลุ่มน้ำอิง กล่าวว่า
“เราตั้งใจว่าเราตั้งใจว่าจะทำน้ำให้เป็นพื้นที่ เรื่องการเป็นพื้นที่ต้นแบบเรียนรู้ร่วมกันของลุ่มน้ำในลุ่มน้ำภาคเหนือได้เพราะว่าว่าเรื่องรูปแบบเรื่องของสภาประชาชนเริ่มมีเนี่ยเป็นเป็นทางออกที่ เพราะว่ามันสามารถที่จะแก้ไขปัญหาทั้งระดับของชุมชนได้แก้ไขปัญหาปัญหาระดับนโยบายได้มันสามารถที่จะต่อรองสร้างการต่อรองในระดับนโยบายได้หลายอย่าง”
มานพ ตัวแทนชาวบ้านน้ำอิงตอนใต้ : เป็นพื้นที่ปากน้ำเชื่อมกับแม่น้ำโขง ซึ่งได้รับผลกระทบไม่ต่างจากพื้นที่อื่นคืออการขึ้นลงของแม่น้ำโขง ที่ไม่เป็นปกติและไม่เป็นธรรมชาติ เรื่องเรานี้เราไม่มารถบริหารจัดการได้ ต้องใช้ความร่วมมือจากหลายฝ่ายซึ่งชาวบ้านเองไม่สามารถเข้าไปควบคุมได้ ส่วนเรื่องของ ผลกระทบก็เป็นเรื่องของน้ำขึ้นลงไม่ปกติ หมู่บ้านที่ทำการประมง ช่วงหลายปีมานี้พันธุ์ปลาหลายชนิดในพื้นที่ได้หายไป จากปกติที่เคยหาปลากันทุกวัน ตอนที่ยังเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ ถ้าเราลงลงหาปลาไงเราก็ต้องได้ปลากลับมาทุกครั้ง แต่ปัจจุบันลงไปแล้วบางวันไม่ได้ปลาก็มี หรือสองสามวันไม่ได้ปลาเลยก็มี
อีกอย่างหนึ่งที่เราได้รับผลกระทบจากแม่น้ำโขง คือพันธุ์ปลาที่เราหายไป การหาปลาจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเราไม่สามารถบริหารและจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ อย่างเช่น การระเบิด การช็อต ซึ่งเป็นเรื่องของระหว่างประเทศ เราไม่สามารถที่จะดำเนินการแก้ไขด้วยชุมชนของเราเองได้
การจัดการลำน้ำสาขา ถัดเข้ามาจากน้ำโขง เราจัดทำเป็นเขตอนุรักษ์ไว้ เพื่อให้ปลาฤดูวางไข่เข้ามาวางไข่ในพื้นที่อนุรักษ์ของเรา เพราะว่าอย่างน้อยเราหาปลาจากน้ำโขงไม่ได้ ก็ยังมีปลาที่จะหาในแม่น้ำอิง เพื่อจะให้ชาวบ้านได้บริโภคในครัวเรือน หากมีมากก็นำไปไปขายเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครัวเรือน
สถานการณ์แม่น้ำกกกับการเปลี่ยนแปลงและบทบาทของชาวบ้านกับพระสงค์
พระมหานิคม มหาภินิกฺขมโน กล่าวว่า บทบาทของชาวบ้านและพระสงค์ที่มีความเกี่ยวข้องกับแม่น้ำกก ด้วยในฐานะที่ได้มาอยู่กับแม่น้ำมาตั้งแต่เด็ก น้ำกกเป็นแม่น้ำสองแผ่นดิน ซึ่งมีต้นน้ำไหลมากจากพม่า ส่วนของตอนกลางนั้นอยู่ที่ ตำบลท่าตอน หรือบ้านท่าตอน อำเภอแม่อาย จ.เชียงใหม่ ตอนกลางอยู่ในเขตของจังหวัดเชียงราย ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง ของหมู่บ้านในตำบลท่าตอนที่มีส่วนในการใช้แม่น้ำกก มีประชากรถึง 15 หมู่บ้าน หรือมีราวสองหมื่นกว่าคน ส่วนมากประกอบอาชีพในการทำนาทำไร่ อาชีพเสริงจะเป็นประมง หรือที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำกก เช่น ล่องเรือ ล่องแพ เป็นต้น
กิจกรรมหรือวัฒนธรรมต่างๆ ก็เริ่มจากแม่น้ำกก ในส่วนของตำบลท่าตอนได้ดูแลแม่น้ำกก ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำกก เป็นเส้นทางสัญจรในสมัยก่อน ที่ทางรถจะเข้ามาที่ท่าตอน แม่น้ำกกซึ่งก็เป็นที่อาศัยอยู่อาศัยและดำรงชีวิตของชาวอำเภอแม่อายและท่าตอน มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่อย่างหลากหลายทั้ง ไทยใหญ่ ลาหู่ อาข่า กะเหรี่ยง ดาราอั้ง มีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำ เช่นประเพณียี่เป็ง การการสืบชะตาแม่น้ำกก ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีเดือนสิบ พิธีลอยพระอุปคุต ในตำบลท่าตอนที่หมู่บ้านท่าตอน ซึ่งถือว่าเป็นอาจเป็นกำลังใจในทางศาสนาเพื่อให้คนเข้ามาร่วมกัน สำนึกในภาระหน้าที่ ช่วยกันดูแลเอาใจใส่แม่น้ำกก วัฒนธรรมเหล่านี้ก็จะช่วยให้ชาวบ้านในการใส่ใจในเรื่องของแม่น้ำกกมากขึ้น
ปัจจุบันที่เห็นความเปลี่ยนแปลงก็คือระดับของของแม่น้ำกกลดน้อยลง แล้วจำนวนปลาที่หายไป มีการใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น ในส่วนของพระสงฆ์ได้มีการจัดการร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภาครัฐเข้ามาร่วมมือด้วย เบื้องต้นก็มีการรณรงค์สร้างการรับรู้ ออกระเบียบสร้างข้อตกลงรวมกันในชุมชน รวมไปถึเครือข่ายชุมชนดูแลสายน้ำดูแลทรัพยากร
สมเดช ตัวแทนชาวบ้าน สบกก : กล่าวว่าสบกกเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำกกตอนปลายก่อนจะลงสู้แม่น้ำโขง เราประสบกับปัญหาในเรื่องของสายน้ำที่เปลี่ยนทิศทาง และการขึ้นลงของน้ำโขงที่ผันผวน เนื่องจากการเกิดขึ้นของเขื่อนทางตอนบน ไม่สามารถคาดการณ์การขึ้นลงของน้ำโขงได้ การหาปลานั้นมีความยากลำบากมากขึ้นจากอดีต ชาวบ้านในพื้นที่ยังใช้วิถีชีวิตตามเดิม แต่เรามีการสร้างข้อตกลงในการใช้น้ำของพื้นที่แม่น้ำกกผ่านการรวมกลุ่มกัน
ชวลิต บุญทัน คนรุ่นใหม่น้ำกก กล่าวว่า ปัจจุบันปลาหนังของแม่น้ำโขงได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เกือบทั้งหมด เพราะการสร้างเขื่อน 10 กว่าเขื่อน กระทบมากที่สุดคือเขื่อนปากแบงซึ่งรัศมีห่างจากเชียงของเวียงแก่นลงไปประมาณเกือบ 90 กิโลเมตร ซึ่งมีการแก้ปัญหาจะทำยังไงให้อยู่รอดกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ปรับตัวอย่างไร พันธุ์ปลาหายไป ทั้งปลาหนังแล้วก็ปลาเกร็ด ปลาบางชนิดอาจมีมากเกินไปด้วยสายน้ำที่ขึ้นลงผิดปกติ ทำให้ชีวิตชาวบ้านที่เคยหากินได้รับผลกระทบ เช่น ไก ที่เคยสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน หลังจากนั้งโขงขึ้นลงผิดปกติทำให้ ไก หายไป
แนวทางแก้ไขพื้นที่ชุ่มน้ำอิง
เราจะดำเนินการการแก้ไขให้ยั่งยืนและถาวรจริง ๆ คือการสร้างจิตสำนึก เพราะว่าถ้าเราจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาแก้ไขปัญหานั้น ทำได้แค่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หากอยากให้มันยั่งยืนและถาวร เราต้องร่วมกัน แม่น้ำสาขาต้องร่วมกันบูรณาการ ร่วมกันจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ การบูรณาการร่วมกันเราจะต้องมีการทำงานที่มันชัดเจน มีกฎระเบียบ การทำงานที่ชัดเจน ว่าต้นน้ำกลางน้ำปลายน้ำ เราจะทำงานบูรณาการร่วมกันอย่างไร ถึงจะยังกลับมาไม่ถึงหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ อย่างน้อยสักแปดสิบก็ถือเป็นเรื่องที่ดี เพื่อความอุดมของสายน้ำ เราไม่พูดถึงแม่น้ำโขงเพราะแม่น้ำโขง การแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องที่ยากสำหรับชุมชน เพราะมีความเกี่ยวข้องกับหลาย ๆ อย่าง
ดังนั้นเราก็ถ้าเราจะบริหารการจัดการเกี่ยวกับแม่น้ำอิง เราก็ต้องบูรณาจัดการ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มาคุยกันว่าเราจะบริหารจัดการในรูปแบบไหนมีหลักเกณฑ์อย่างไร ที่ผ่านมาหลายเวทีหลายครั้ง สิ่งที่เราพูดคุยมันจะเป็นการนำเสนอถึงปัญหาแต่เราไม่เคยพูดถึงเรื่องการบูรณาการร่วมกันอย่างไร เราจะเดินไปอย่างไร คนต้นน้ำทำอย่างไรบ้าง กลางน้ำคุณทำอะไร ปลายน้ำทำอะไร จุดตรงนี้เราไม่เคยนำมารวมกันและประสานและทำร่วมกันมันยังไม่เกิด มีแต่เวทีที่ว่าปัญหาแต่ไม่เคยนำมารวมแล้วบริหารจัดการร่วมกัน ถ้าทำได้ผมว่ามันจะยั่งยืน คุณ มานพม ชุมชนป่าอิงใต้ กล่าว
การขยับเรื่องยุทธศาสตร์ของสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง
ส่วนของสภาประชาชนร่วมอิงที่ เรามีเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้ามาร่วมด้วย พยายามสร้างให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของคนในลุ่มน้ำ นอกจากเราจะทำงานร่วมกันแล้วมีสถานการณ์ปัญหา เช่น ปัญหาเรื่องโครงการต่าง ๆ นโยบายต่าง ๆ ที่จะกระทบชาวบ้านในลุ่มน้ำ เราจะแก้ไขปัญหากันอย่างไร ก็นำเรื่องนี้มาหารือกัน และมีองค์กรพัฒนาเอกชนที่เข้ามาทำงานในลุ่มน้ำอิงหลายองค์กร เข้ามาส่งเสริมสนับสนุนมาสร้างกระบวนการเรียนรู้ และมีการพัฒนาเป็นยุทธศาสตร์หลาย ๆ ด้าน เช่น
ศึกษาเรื่องการจัดการป่าไม้ แก้ไขปัญหาเรื่องเรื่องป่าไม้โดยออกแบบเรื่องแนวคิดเรื่องการจัดการเรื่องป่าชุมชนขึ้นมา มีการมีกระบวนการใช้องค์ความรู้ชาวบ้าน นำเอาประเพณีพระธรรมเข้ามาเชื่อม เช่นการเลี้ยงผีขุนน้ำและสร้างความเชื่อมโยงการบวชป่า สืบชะตาแม่น้ำ
เรื่องปลา ยุทธศาสตร์เรื่องการแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องเราเห็นปัญหาว่าที่ผ่านมามีการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร ทำให้กระทบกับสัตว์น้ำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องปากท้องของชาวบ้านเราจะมีกระบวนการอย่างไร จึงพาชาวบ้านไปลุ่มน้ำอิงไปดูงานที่ จ.น่าน เรื่องการจัดการและเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาเพื่อนำความรู้เหล่านี้มาปรับใช้ในพื้นที่ของลุ่มน้ำอิง
ยุทธศาสตร์เรื่องการจัดการที่ดิน ทำอย่างไรเพราะที่ผ่านมาการใช้ ที่ดินของพี่น้องเกษตรกรจะใช้สารเคมีปริมาณมาก นำมาสู่เรื่องของประเด็นการทำเกษตรอินทรีย์ ทดลองพื้นที่ที่เหมาะสมพัฒนาเรื่องของการจัดการน้ำระบบเหมื่องฝาย เราจะมีระบบเหมืองฝายซึ่งเป็นระบบภูมิปัญญาที่ชาวบ้านมีการจัดการน้ำ โดยที่ชาวบ้านไม่ต้องแย่งน้ำ เพราะที่ผ่านมาคือ ชาวบ้านมีการแย่งน้ำกันน้ำไม่พอใช้
เรื่องของการข้อบัญญัติท้องถิ่น ยกระดับเรื่องการจัดการป่าชุมชน แก้ไขปัญหาเรื่องของที่ดิน การแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำการแก้ไขปัญหาเรื่องพันธุ์ปลา ยกข้อมูลเหล่านี้นำไปสู่ข้อบัญญัติท้องถิ่น เพราะว่าการจัดการป่าชุมชนบางครั้งในบางหมู่บ้านอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ กฎหมายของรัฐไม่สามารถที่จะเข้าไปดูแลเรื่องการจัดการของทีมเจ้าบ้านได้ แต่ว่าท้องถิ่นสามารถที่จะออกข้อบัญญัติ สามารถที่จะผลักดันงบประมาณไปช่วยเหลือชาวบ้าน และสร้างความอบอุ่นใจให้กับชาวบ้านได้ มั่นใจว่าองค์กรท้องถิ่นรองรับเรื่องเรื่องของการจัดการทรัพยากร
การจัดการแม่น้ำอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เราอจากจะต้องมองภาพใหญ่ทั้งระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกัน ตั้งแต่ป่าต้นน้ำพื้นที่ทำกิน จะทำอย่างไรให้ระบบการผลิตเป็นมิตรกับแม่น้ำ การจัดการที่เชื่อมโยงมองอย่างเป็นระบบจะทำให้ลุ่มน้ำยังอุดมสมบูรณ์ เครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ยุทธศาสตร์การจัดการลุ่มน้ำ ที่คนลุ่มน้ำจะต้องร่วมกันพัฒนาขึ้นมา ร่วมไปถึงน้ำกกและน้ำโขง ต้องขยับ เรื่องกลไกสภาประชาชนซึ่งเป็นกลไกที่เอาเสียงของประชาชนลุ่มน้ำขึ้นมาสู่ระดับนโยบาย เรื่องของ ยุทธศาสตร์ใหญ่ต้องมีข้อบัญญัติในระดับตำบลระดับเล็ก ๆ ขึ้นมาเป็นเครื่องมือที่สำคัญการ โดยใช้กลไกทางประเพณีวัฒนธรรมที่ผู้เฒ่าผู้แก่ และความเชื่อต่าง ๆ ปรับใช้ในการจัดการแม่น้ำลุ่มน้ำ เปิดโอกาสให้กับพื้นที่เฉพาะเช่นกลุ่มต่าง ๆ ได้เข้ามาออกแบบนี้การจัดการในมุมของเขา การเชื่อมร้อยคนสามกลุ่มต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ อาจยังไม่เพียงพอ ต้องเติมเรื่องของพัฒนาศักยภาพของคนในพื้นที่ร่วมด้วยเป็นประเด็นที่สำคัญมาก
.
ติดตามเวทีมหกรรมแม่น้ำและชุมชน กก อิง โขง ย้อนหลังได้ทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ พะเยาทีวี และ สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต
https://web.facebook.com/phayaotv/videos/823011032186113
https://web.facebook.com/profile.php?id=100064738926728
.
บทความที่เกี่ยวข้อง
มารู้จัก ”แม่นํ้าอิง”ไปกับเรา
https://thecitizen.plus/node/25370
บวชป่าพื้นที่ชุ่มน้ำลุ่มน้ำอิง นาก และความพยายามผลักดันสู่แรมซาร์ไซต์