“สื่อชุมชน หลายสื่อ หลากเสียง ในโลกเดียวกัน”

“สื่อชุมชน หลายสื่อ หลากเสียง ในโลกเดียวกัน”

องศาเหนือเก็บประเด็นจากวงแลกเปลี่ยนการพบปะกันของนักวิชาการและสื่อชุมชน ผ่านงานเสวนาและงานนิทรรศการ หัวข้อ “หลายสื่อ หลากเสียง ในโลกเดียวกัน” ที่จัดโดย ศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ชวนคนสื่อที่รักในชุมชนจะมารวมตัวกัน แลกเปลี่ยนอัปเดตกันที่ โรงแรมวีซี ดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เมื่อวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม ที่ผ่านมา

การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Many voices, Many media, one world”

โดย Dr.Mc Rasmin Visiting faculty at the University of Vocational Technologies, Sri Lanka, and KIIT University, India พูดถึงการก่อตั้งวิทยุชุมชนในศรีลังกา แชร์ประสบการณ์ตรงการก่อตั้งวิทยุชุมชนในศรีลังกา ว่าควรจะเป็นช่องทางการเชื่อมต่อคนในชุมชนเข้าด้วยกัน เป็นพื้นที่แชร์เสียงเป็นกระบอกเสียงของคนตัวเล็กตัวน้อยในชุมชน พูดถึงกรณีศึกษาที่เกี่ยวกับวิทยุชุมชนที่ได้ไปดูจากหลายประเทศไม่ว่าจะเป็น เนปาล บังกะลาเทศ อินเดีย ซึ่งประสบการณ์ตรงนี้ มาจากประสบการณ์ตรงเป็นสิ่งที่ตนทำวิจัยอยู่

ยุคก่อนวิทยุชุมชนเป็นสิ่งที่แทบจะไม่มีเสียงหรือส่งเสียงไปยังผู้มีอำนาจไม่ได้เลย เมื่อเรามีสื่อสังคมออนไลน์เข้ามาทำให้คนสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ที่ประเทศศรีลังกา คนที่อายุต่ำกว่า 25 ปี ใช้เวลาใน Social media มากกว่า 5-6 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นนี่เป็นช่องทางที่สามารถนำมาเชื่อมต่อกับสื่อชุมชนที่เรามีอยู่ได้ คนมีโอกาสใช้เสียงในการแสดงความเห็นทั้งความคิดเห็นทางการเมือง การตัดสินใจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย วิทยุชุมชนจะไม่ใช่เสียงที่คนมีอำนาจหรือรัฐไม่ได้ยินอีกต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะเป็น มันควรจะเป็นเสียงของความยากจน หรือการเข้าถึงการพัฒนาต่อทาง ๆ ที่ทำให้ตัวชุมชนได้มีการพัฒนาสิ่งเหล่านี้มากขึ้น สำคัญที่สุดคือการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งเสียงที่ได้ไม่ใช่เพียงแค่คนเดิม ๆ การแชร์ Community Radio หรือวิทยุชุมชน ส่วนใหญ่เสียงที่ออกมาจะเป็นคนเดิม ๆ เราควรเพิ่มการเข้าถึงของเสียงต่าง ๆ ของคนที่หลากหลาย หรือคนที่ต้องการจริง ๆ สิ่งเหล่านี้ควรจะต้องมี 1.ควรจะใช้สื่อสังคมออนไลน์ เครื่องมือสื่อต่อทาง ๆ ในยุคปัจจุบันเป็นแรงผลักดัน ในการส่งเสียงผู้คนเหล่านี้ในการพัฒนาวิทยุชุมชน 2.ใช้สมาร์ทโฟนมือถือในการผลักดัน และเครื่องมือดิจิทัลต่าง ๆ  3.คนฟังมีส่วนร่วมวิทยุชุมชนนี้ เพื่อผลักดันเสียงที่ไม่ได้ยินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เราควร Freedom of speech มีอิสระที่ต้องส่งเสียงหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ก็ได้ที่เป็นส่วนหนึ่งของเรา กฎต่าง ๆ ที่รัฐบาลตั้งขึ้นมา ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่ก่อตั้งวิทยุชุมชน เราควรก่อตั้งจากความต้องการของชุมชนโดยแท้จริงว่าเขาต้องการจะส่งเสียงสื่อสารประเด็นอย่างไร ให้เสียงนั้นไปถึงตัวรัฐบาล

Q : วิทยุชุมชนทำงานแตกต่างจากสถานการณ์เดิมอย่างไร ท่ามกลางวิกฤตของศรีลังกา ?

Ans : วิทยุชุมชนในประเทศศรีลังกา ตามแนวคิดของเขาไม่ได้ให้ความเป็นเจ้าของจริง ๆ เพราะโปรแกรมหรือการจัดสรรคลื่นความถี่ไม่ให้ความเป็นเจ้าของโดยชุมชนเลย ต่างจาก  กสทช. ที่มี พ.ร.บ. จัดสรรคลื่นความถี่ฯ เมื่อปี 2553 ที่ให้ชุมชนมีอำนาจและให้สิทธิ์ความเป็นเจ้าของ 20% และในวิทยุชุมชนศรีลังกาคนไม่ได้มีความเป็นเจ้า เพราะฉะนั้นรายการต่าง ๆ ที่สื่อสารออกมาเป็นสิ่งที่มาจากของรัฐบาลสื่อสารโดยที่ไม่ได้เป็นเสียงของชุมชนอย่างแท้จริง สิ่งที่มีอยู่ปัจจุบันคือช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เป็นกระบอกเสียงในการสื่อสาร ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝั่งคือเสียงที่สนับสนุนกับเสียงที่ต่อต้านรัฐบาล วิทยุชุมชนควรมีกลยุทธการให้กำลังใจประชาชน ให้ข้อมูลการศึกษาต่าง ๆ อย่างแท้จริงให้เกิดการพัฒนา

ไฮไลท์หลักของงาน คือเวที การเสวนาหัวข้อ “อนาคตของสื่อชุมชน ในยุคหลายสื่อ หลากเสียง” โดยมี ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ นักวิชาการด้านสื่อชุมชน เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

ชัยวัฒน์ จันธิมา บรรณาธิการ พะเยาทีวี

คุณชัยวัฒน์ จันธิมา บรรณาธิการ พะเยาทีวี กล่าวว่า พูดถึงสื่อชุมชนจินตนาภาพของ สำหรับตนคือว่างเปล่า เรามองไม่เห็นว่าจะเป็นโทรทัศน์ชุมชนได้อย่างไร ? จินตนภาพที่เราเห็นคือชุมชนเป็นทั้งคนดูและคนทำ ในตอนเริ่มต้นเรายังมองไม่ออกว่ากล้องใหญ่ รถ 6 ล้อ โทรทัศน์ชุมชนที่เป็นของชุมชนจริง ๆ จะมีหน้าตาอย่างไร ?

พะเยาชุมชน เริ่มต้นจากมือถือ เริ่มมีสตูดิโอ อยู่ในวัด และมีรูปแบบการให้บริการ 4 รูปแบบ

  1. มีรถถ่ายทอดตามสถานทีต่าง ๆ ชุมชนมีกิจกรรม ใช้รถออกไปตระเวนถ่ายทอด
  2. มีสตูดิโอ ห้องเล็ก ๆ วัดศรีโคมคำ
  3. ชุดเล็กออกนอกสถานที่
  4. สตูดิโอที่บ้านเชื่อมโยงกับคนพื้นที่อื่น ๆ ในการจัดรายการร่วมกัน เหมือนการประชุมซูม และผลิตรายการบันทึก

รายการแบบแห้งไว้เพื่อนำไปออกอากาศ มีรูปแบบ 4 แบบ ข่าว รายการสนทนา รายการถ่ายทอดสด แบบไปยังสถานที่ต่าง ๆ และถ่ายทอดสดเล็ก ๆ โดยมือถือ เช่นภัยภัยบัติ และการให้ความรู้อบรมการผลิตสื่อให้กับชุมชน

จินตนาภาพของสื่อชุมชนตนมองว่า ปัจจุบันเรามีอาวุธครบมือ ข้อค้นพบในช่วงที่ผ่านมาคือท้ายที่สุดสื่อชุมชนไม่ได้แตกต่างไปจากสื่อมวลชลกระแสหลัก แต่สิ่งที่เป็นประเด็นคือพรมแดนของปัญหายังคงเหมือนเดิม เช่น ปัญหาฝุ่นควัน ปัญหายาเสพติด การค้ามนุษย์และอื่น ๆ ข้อท้าทายคือ เรื่องราวที่เคลื่อนมากับเนื้อหาพรมแดนของการสื่อสารคือเราจะสื่อสารอย่างไร ?

บัณรส บัวคลี่ : ตัวแทนสื่อชุมชนสถานีฝุ่น

คุณ บัณรส บัวคลี่ : ตัวแทนสื่อชุมชนสถานีฝุ่น กล่าวว่า ส่วนตัวสถานีฝุ่นเราเป็นสื่อที่พยายามจะแก้ปัญหาฝุ่นควัน ในมิติของชุมชนของสถานีฝุ่นเป็นตัวแทนของชุมชน ชุมชนมีหลายขนาดมีความยืดหยุ่นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สถานีฝุ่นเกิดขึ้นเมื่อปี 2564 อยากให้เป็นแบบกฐินสามัคคี เพื่อสื่อสารเรื่องฝุ่นในแต่ละจังหวัด ในนี้มี 1-2 ท่าน เริ่มมีเครือข่ายและชุมชนผู้ได้รับผลกระทบ ชุมชนเริ่มขยายในช่วงเดือนมีนาคม

การทำงานทำงานของสถานีฝุ่น คือ เรายืดหยุ่น On demand On สถานการณ์ หน้าที่กำหนดหน้าที่ไว้ 4 ประการ ปัญหานี้ซับซ้อน สื่อส่วนกลางให้ความสำคัญเพียงข่าวราชการ ไม่มีใครอธิบายความซับซ้อน ที่รัฐไม่อธิบายหรือสื่ออื่น ๆ ไม่ได้อธิบาย การผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหา เป็นพื้นที่ให้กับเครือข่าย นำเครือข่ายคนเล็กคนน้อยในช่วงสถานการณ์มีคนในพื้นที่ มีหน้าที่ให้คนเหล่านั้นมีตัวตนเป็น จส. 100 ต้องมีพื้นที่โดยเทคโนโลยีเราออนไลน์ได้ ทันทีที่เกิดสถานการณ์ต้องมีพื้นที่ on site ร่วมลงขันกับ ม.พะเยา หอการค้า กสทช. มูลนิธิเพื่อนผู้สูงอายุมาลงรายการ งบจาก สสส.และสภาลมหายใจ เกิดเป็นพื้นที่ออนไซต์ขึ้น

ความท้าทายคือความยั่งยืน เราตั้งใจอยากทำให้เป็นรูปแบบกฐินสามัคคี สลับพื้นที่คนที่พร้อมเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เป็นพื้นที่ให้ลูกหลานมาฝึกงานทดลองปฏิบัติสื่อสารจริง

สมเกียรติ จันทรสีมา ตัวแทนองค์กรสื่อวิชาชีพที่ทำงานร่วมกับสื่อชุมชน

สมเกียรติ จันทรสีมา ตัวแทนองค์กรสื่อวิชาชีพที่ทำงานร่วมกับสื่อชุมชน กล่าวว่า ปัจจุบันไทยพีบีเอสต้องเปลี่ยนอยู่ 2 ส่วน คือ วิธีคิดของคนทำงานองค์กรใหญ่ ต้องเปลี่ยนมามองว่าสังคมที่ขับเคลื่อนได้คือสังคมประชาธิปไตย เราต้องมองว่าในปัจจุบันสื่อใหญ่ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการของคนในชุมชน ฝุ่น น้ำท่วม ปากท้องเป็นเรื่องสำคัญ ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนมีการแก้ปัญหาในเมื่อสื่อหลักทำไม่ได้ทั้งหมด สื่อชุมชนเอง ทำอย่างไรให้เกิดความต่อเนื่อง

ในส่วนของไทยพีบีเอส การอบรมคือสารตั้งต้น การเป็นผู้สื่อสารต้องยกระดับให้เขาเป็นทำงานที่หลากหลาย ยืดหยุ่น แต่เมื่อจังหวะที่ไม่ได้มีภารกิจ สิ่งที่ยากคือ เราจำเป็นต้องมีฐานการทำงานที่ในคง เช่น ทำงานให้ไปได้โดยไม่ต้องพึ่งพาทุน งานวิจัยของอาจารย์แนนจุดแข็งคือ มีทุนจาก กทปส. แล้วคือการมีมหาวิทยาลัยเป็นฐาน เราจะหาทุนจากตรงไหนมาสนับสนุน หนี้ไม่พ้นในพื้นที่เองสนับสนุน สื่อสาธารณะชุมชนยืนได้ การมีสื่อชุมชนตรงนี้ตอบโจทย์อะไรบ้าง

ไทยพีบีเอสไม่ได้มีทุน กฎหมายไม่ได้เปิดช่อง แต่มีทุนบางอย่างที่ร่วมแชร์กันได้ ตั้งหลักและเดินไปได้ภายใต้รูปแบบ Business Model ที่สอดคล้องกับพื้นที่ เช่น ใช้ทุนชุมชนมาทำสื่อและสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างรายได้

ธีรนันท์ ขันตี นักวิชาการด้านสื่อทำงานร่วมกับสื่อชุมชน

อาจารย์ ธีรนันท์ ขันตี นักวิชาการด้านสื่อทำงานร่วมกับสื่อชุมชน กล่าวว่า สิ่งที่ทำมา 10 ปี บทบาทของสถาบันการศึกษาไม่ได้เรียกตนว่าเป็นสื่อชุมชน ไม่ได้มองสื่อชุมชนเป็นสถานีหรือแพลตฟอร์ม การสื่อสารเชิงประเด็นและเครือข่าย เปิดพื้นที่การสื่อสารใหม่ในพื้นที่ร่วมกับนิเทศศาสตร์

เมื่ออาจารย์ นักศึกษาลงไปทำสื่อมีความเป็นสื่อที่น่าเชื่อถือ โอกาสหนึ่งที่ลงไปทำกับทีมไทยพีบีเอสลงไปทำงานร่วมโดยการเป็นนักข่าวพลเมือง ขับเคลื่อนประเด็นสิ่งแว้ดล้อม นักข่าวพลเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ คนในพื้นที่มองเราเป็นสื่อกระแสหลัก เขาให้นักข่าวพลเมืองเข้าไปทำ เช่น สถานการณ์การขุดเจาะปิโตเลียม เพราะในพื้นที่ประสานสื่อส่วนกลางไม่ได้รับการตอบรับ นักข่าวพลเมืองเข้าไปทำเกิดการสื่อสารทำเพจขึ้นในชุมชนโดยแท้จริง

เราทำให้อำนาจการต่อรองเรื่องสื่อเกิดขึ้น ชุมชนสามารถกำหนดวาระของตนเองขึ้นมาได้ ไม่ใช่นักข่าวสตริงเกอร์ แต่เป็นนักข่าวพลเมืองที่ผ่านการอบรมและการทำงานร่วมกับเครือข่ายเชิงประเด็น

คุณ อรศรี ศรีระษา ตัวแทนจาก กสทช.

คุณ อรศรี ศรีระษา ตัวแทนจาก กสทช. กล่าวว่า อนาคตของสื่อชุมชน กสทช. ชุดแรกของการทำงาน 11 ปี  วิทยุ/โทรทัศน์ แนวโน้มชุดที่ 2 กำหนดอนาคตเพื่อนสื่อ คนที่กำหนดนโยบาย คือ กสทช. ที่ผ่านมาชุดแรกของ กสทช.ทำอะไรบ้าง ก่อนหน้านี้ที่พูดถึงเรื่องโครงการ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโทรทัศน์ชุมชน คือหลักเกณฑ์ หนึ่งในนั้นมีเรื่องบริการชุมชน โทรทัศน์+วิทยุ โทรทัศน์ยากกว่า

กสทช.มองว่า ควรจะมีการศึกษาแนวทางรายละเอียดเป็นโครงการร่วมกัน ชุดของกรอบแนวทางเป็นเรื่องความโชคดีที่ได้ชุดความรู้นี้มา ตกลงแล้วเราต้องมีธรรมนูญหรือหลักการอะไรบ้าง เมื่อได้ชุดความรู้นี้ขึ้นมา เหมือนเป็นจินตภาพขับเคลื่อนสู่ความจริงได้อย่างไรบ้าง

เมื่อ 6-7 ปีที่แล้วยังคิดไม่ออก ตั้งสตูดิโอพร้อมทั้งผลิตรายการ โทรทัศน์ชุมชนที่เป็นของชุมชน ต้องสร้างกระบวนการ + วิธีการ ออกอากาศเราควรจะวัดผลอย่างไร ชุดต้นแบบจากชุมชน / สำนักงาน กสทช . ทำการสำรวจ การที่มีโทรทัศน์ชุมชนดีกว่ามีโทรทัศน์ภาค แต่กังวลเรื่องความยั่งยืน จนกระทั้งวันนี้ได้ชุดความรู้ และพื้นที่ต้องการอย่างไร นำมาสู่วันนี้ 2 โครงการนี้ขึ้นมา ยุคปัจจุบัน เราได้ชุดความรู้ กระบวนการ วิธีการ พร้อมทั้งเครือข่าย มหาวิทยาลัย+หน่วยงานวิชาการในแต่ละภูมิภาค นอกจากนั้นบอร์ดชุดใหม่มีการกำหนดด้านที่รับผิดชอบชัดเจน ดร. พิรงรอง รามสูตร นำเรื่องนี้ไปแสดงวิสัยทัศน์ นโยบายที่สำคัญคือโทรทัศน์ชุมชน เรื่อง 4G, 5G ที่จะมาหนุนเสริมโครงข่าย *มีการกำหนดอนาคตเรื่องนี้แน่นอน

อนาคตของสื่อชุมชนที่เราต้องการเห็น

คุณ ชัยวัฒน์ จันธิมา บรรณาธิการ พะเยาทีวี กล่าวว่า ทางรถไฟกำลังมา R3A รถไฟจีนกับลาวมาแล้วและมาที่เวียงจันทน์ หลวงพระบาง ขนเอาสินค้าไทยไป และมีบ่อนกาสิโนที่เชียงแสนเป็นอาณาจักร สิ่งที่ท้าทายคือต่อมาชายแดน สิ่งที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ ผลกระทบคือคนไทยกลับเป็นคนถูกหลอก สิ่งที่กระทบนอกจากบ่อน การค้ามนุษย์ ความเกลียดชัง ความเหลื่อมล้ำ เรื่องภัยพิบัติและโรคระบาด สิ่งที่ท้ายสื่อชุมชนคือเรื่องเหล่านี้

จินตนาภาพควรจะเป็นอย่างไร ? ยกปรากฏการณ์ หนังเรื่อง lost in Thailand ทำให้ นทท. จีนแห่เข้ามาปรากฏการณ์ที่เรามองพี่น้องจันในอีกสายตา แต่เมื่อมองแล้วทำไมเข้าถึงใจของคนจีน มรดกทางวัฒธรรมที่มีร่วมกัน เรามีขุมทรัพย์เนื้อหาที่ทำให้กลุ่มคนที่อินเช่นเดียวกัน โครงการขนาดใหญ่ คนพะเยาจะได้อะไร ? การออกแบบตนเองของสื่อชุมชน จัดการตนเอง 4-5 ระดับ พื้นที่การทำงานในการสื่อสาร เพื่อส่งออกเนื้อหา เรื่องต่าง ๆ ในพื้นที่ไปขายได้อย่างไร กับชายแดน ไม่ต้องการใหญ่เหมือนสื่อหลัก

การออกแบบสื่อชุมชนขยับเรื่องภาษาและวัฒนธรรม สิ่งที่สำคัญคือการใช้ประเด็นและสร้างความรู้ความเข้าใจ + กิจกรรมร่วม เชื่อมชุมชนสู่สังคมได้อย่างไร การยอมรับลูกหลานของเขาในอนาคต ทำสื่อแสดงตัวตนให้สังคมยอมรับ คิดว่าลูกหลานกลับมาทำสื่อชุมชนและเป็นสื่อชุมชนจริง ๆ

คุณ บัณรส บัวคลี่ : ตัวแทนสื่อชุมชนสถานีฝุ่น กล่าวว่า จินตภาพ ขยายความชุมชนไม่ใช่เพียงแค่พื้นที่ – ชุมชนทางจินตกรรม ชุมชนจึงมีมิติหลากมากกว่าพื้นที่ ขนาดไม่ใหญ่ ในการสื่อสารโลกยุคใหม่ ข่าวจากที่อื่นเป็นหลักที่เราได้รับ สื่อชุมชนฝ่าคลื่นตอบสนองและแก้ปัญหาทำอย่างไรให้สื่อสารให้นายอำเภอทำจัดระเบียบการสื่อสารและออกแบบการสื่อสาร

คุณ สมเกียรติ จันทรสีมา ตัวแทนองค์กรสื่อวิชาชีพที่ทำงานร่วมกับสื่อชุมชน กล่าวว่า ภาพ 2 ภาพที่ตีคู่กันมา มีนศ.ที่จบและทำงานในวงการสื่อ 1 คน ถามอาจารย์ การถดถอยของสื่อหลัก ประเด็นของสังคมเยอะขึ้น ในขณะสื่อที่ตอบโจทย์ในเชิงค้าขายเพิ่มขึ้น แต่อีกฝั่งเรามองเห็นการเติบโตของสื่อชุมชน เหตุผลไม่เพียงอยากทำสื่อหรือถ่ายภาพเป็นแต่เป็นส่วนหนึ่งของการที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของชุมชนได้

เมื่อก่อนอาจจะเรียกร้องให้นักข่าวมาทำข่าว เช่น นักข่าวพลเมืองน้ำท่วมที่ไร่นา ขอสื่อกระแสหลักมาทำข่าว คือ 3,000 บาท ไม่เป็นงั้นถ่ายเองลงโซเชียลกลายเป็นสื่อกระแสหลักนำภาพวีดีโอไปใช้อีกทีหนึ่ง วิธีคิดเปลี่ยนโลกเปลี่ยน บางเรื่องอาจจะไม่ใช่ทำคนเดียว บางเรื่องต้องช่วยกันทำต้องมีองค์กร มีการสนับสนุนจากหลายส่วน เป็นสิ่งหนึ่งที่คนทำสื่อต้องเปลี่ยนรวมถึงไทยพีบีเอสเองด้วย

เพราะฉะนั้นวิธีคิดจึงต้องเปลี่ยน องค์กรอาจจะต้องเล็กลง มองภาพอนาคตองค์กรเราอาจะไม่ใหญ่แบบนี้ ซึ่งฟังกชันกว่าเผลอ ๆ ไปได้ด้วยทุนของชุมชน เพราะการสื่อสารตอบโจทย์ชุมชน ชุมชนต้องการสื่อของตนเอง เป็นช่องทางที่จะออกแบบชีวิตสื่อของเราเอง ทำอย่างไรมีถนนมาจากจีน มีรถบรรทุกวิ่งทั้งวัน เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาเราจะสื่อสารกับใคร เราจะบอกสื่อใหญ่ก็ยาก เพราะฉะนั้นเราจะทำอย่างไร ต้องทำให้ยั่งยืน

ไทยพีบีเอสเองมาว่ารู้สึกตื่นเต้นและมองว่าถ้ามันไปได้เป็นส่วนหนึ่งที่มาหนุนให้สิ่งที่เราคิดเมื่อ 6-7 ปีที่แล้วว่ามันยากเย็น คิดว่าเป็นไปได้ เชื่อมาเสมอว่าทีวีไปรอดต้องมีทีวีชุมชน ไม่งั้นเราจะดูกันเอง 1 เรื่อง ออกทุกช่อง ดูของเดิมคนเดิม เรื่องเดิม ปัญหาของทีวีเพราะเนื้อหาไม่มีให้ดู เพราะซ้ำกัน มีช่องทางที่เข้าถึงได้ แต่ถ้ามีเรื่องของชุมชนขึ้นมาแค่เรื่องวัด ผลิตภัณฑ์ก็ตอบโจทย์แล้ว เข้าไปดูในออนไลน์ ถ้ามีช่องทางที่เข้าถึงได้คน รับรู้นี่เป็นอีกหนึ่งทางออกของชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมด้วย

คุณ อรศรี ศรีระษา ตัวแทนจาก กสทช. กล่าวทิ้งท้ายว่า เป็นนโยบายของบอร์ดส่วนของนโยบายให้คิดต่อในคนที่เกี่ยวข้องในระยะหนึ่งว่าจะเป็นไปในทิศไหนได้บ้าง ตัวล่าสุดในกฎหมายเขียนว่าทำไมเราต้องมีสื่อชุมชน สุดท้ายสูงสุดคือต้องการให้ชุมชนเข้มแข็ง เพราะฉะนั้นชุมชนเข้มแข็งเกิดจากอะไรได้บ้าง คือความเป็นอยู่ รายได้ต้องดีก่อน ตรงนี้ 1 สิ่งที่ตอบโจทย์ของการมีโทรทัศน์ชุมชนคือ 1.ถ้าได้รับข้อมูลข่าวสารอะไรก็ตามที่จะเป็นประโยชน์ที่สามารถช่วยให้เขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ 2.แก้ปัญหาทำให้ชุมชนมีตัวตนมากขึ้น เวลาเกิดปัญหาในชุมชนส่วนนี้จะเป็นเสียงที่แข็งแรงในการคุยหรือต่อรองกับหน่วยงาน 3.สื่อสารอัตลักษณ์ได้ชัดเจน เป็นตัวตนที่น่าสนใจได้มากขึ้น จากชุมชนสู่สังคมโลกได้ 4.เรื่องของเอนเตอร์เทนเมนต์ เป็นโทรทัศน์ที่นาสนใจกว่าสื่อกระแสหลัก

ในส่วนของช่องทางหรือแนวทาง ช่องทาง 2 ช่องทางหลัก มองในภาษาของการสื่อสารเหมือนเป็นช่องทางที่ออกอากาศถ้าออกอากาศภาคพื้นที่ทุกวันนี้ตกลงโครงข่ายที่เป็นดิจิทัล ของโครงข่ายไหนพร้อมที่สุด ไทยพีบีเอส หรือกรมประชาสัมพันธ์ ลงทุนอาจไม่เยอะแต่มีพื้นที่ที่ชุมชนมีความพร้อม ซึ่งตรงนี้สำคัญ เพราะฉะนั้นกระบวนการนี้ต้องมีการออกแนวทางในการทดลองและคัดเลือกชุมชนที่มีความพร้อมด้วย และต้องลองดูว่าไปได้และออกและเกณฑ์ต่อไป และเราคาดหวังว่าเราจะเห็นสิ่งเหล่านี้ในช่วงเวลาไม่นานนี้และเนื่องจากสิ่งต่าง ๆ อยู่บนอินเทอร์เน็ต เป็นไปได้หรือไม่ตอนนี้ที่จะเซ็ตระบบแบบเป็น sand box เพราะอย่างที่เราฟังอาจารย์ที่พูดถึงบทเรียนจากศรีลังกาว่าคนไทยอยู่บนโซเชียลมีเดีย หลายคนอยู่บนโลกออนไลน์ เพราะฉะนั้นอย่างน้อยช่องทางหนึ่งคือบนออนไลน์ต้องมี Social media ซัพพอร์ต อนาคตควรมีแพลตฟอร์มออนไลน์หรือแอปพลิเคชันที่เป็นของสื่อชุมชนเอง ทั้ง 77 จังหวัด คลิกเข้าไปมีแพลตฟอร์มออนไลน์ในพื้นที่สื่อชุมชนแต่ละพื้นที่ นี่คือสิ่งเป็นภาพฝันอนาคตที่อยากจะเห็น

https://www.facebook.com/CMLCUP/videos/1144953326087930

การแสดงซอ Sawsanowa โดยแม่ครูหวัน ยินดี ช่างซอพะเยาที่ผสมดนตรีแนว Bossanova เข้ากับซอพื้นบ้าน และการแสดง จากวงดนตรีอังกะลุงกลุ่มผู้สูงอายุ วงม่วนใจ๋ วัยแสนสุข บ้านหนองหล่มพร้อมทั้งนิทรรศการผลงานวิจัยของศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชนและสร้างประสบการณ์ร่วมกับสตูดิโอชุมชนของกลุ่มสื่อชุมชน เมืองสวดแชนแนล สถานีฝุ่น และสตูดิโอเคลื่อนที่พะเยาทีวี

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ไทยพีบีเอส จับมือศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน ม.พะเยา ยกระดับสื่อสาธารณะท้องถิ่น

สื่อชุมชนภาคเหนือกับพลังสื่อสารเปลี่ยนอนาคต

เปิดประสบการณ์ชุมชนทำสื่อ : ทำไมต้องรู้ ทำไมต้องทำ ?

มหาวิทยาลัยกับการหนุนสร้างสื่อชุมชน: พะเยาทีวี

สื่อชุมชน : ทางรอด คุณค่า และทางเดินต่อ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ