สื่อชุมชนภาคเหนือกับพลังสื่อสารเปลี่ยนอนาคต

สื่อชุมชนภาคเหนือกับพลังสื่อสารเปลี่ยนอนาคต

วานนี้ (22 มีนาคม 2565) มีการพบปะกันของนักวิชาการและสื่อชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยน ในเรื่องการสื่อสารชุมชน โดยมีตัวแทนทั้งนักวิชาการ และนักวิชาชีพ ทั้งสถานีฝุ่น เมืองสวดชาแนล ศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน ม.พะเยา นักวิชาการด้านสื่อในจังหวัดเชียงใหม่ และไทยพีบีเอส มาร่วมถอดบทเรียนการทำงานเพื่อหนุนเสริมและพัฒนากันทั้งงานสื่อชุมชน การสื่อสารในชุมชนและงานวิชาการในการสื่อสาร ณ รวมโชคมอลล์ จ.เชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรา บุรารักษ์ ศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน ม.พะเยา เล่าถึงที่มาที่ไปของการมารวมตัวกันครั้งนี้ว่า เป็นความคืบหน้าของความร่วมมือของ ศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน ม.พะเยา ชุมชน และไทยพีบีเอสที่ได้ร่วมกับอบรมเติมศักยภาพให้เครือข่าย เพื่อสร้างนักสื่อสารในชุมชน และนำไปสู่การมีสื่อชุมชนในท้องถิ่นที่ตอบโจทย์พื้นที่มากขึ้น

คุณบัณรส บัวคลี่ ตัวแทนสถานีฝุ่น เล่าว่าการเกิดขึ้นของสถานนีฝุ่นเป็นการสื่อสานแบบกฐินสามัคคี คือร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อสื่อสารเรื่องฝุ่นปัญหาใกล้ตัวของทุกคน โดยก่อนหน้ามีเพจ WEVO ซึ่งช่วงสองปีก่อนทำงานได้ดีในการสื่อสาร อย่างเรื่องไฟ คนเข้าถึงเป็นหมื่น หรือกรณีการจากไปของ รศ. ดร.ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากโรคมะเร็งปอด คนเข้าถึงเป็นล้าน มีคนดูจำนวนมาก สอดรับกับสถานการณ์  ปรากฎการณ์ แต่ไม่นำไปสู่การแก้ปัญหา

ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นพิบัติภัย จึงมีการขยับการทำงานสู่สถานีฝุ่นในปีนี้เพื่อให้คนเข้าถึงคนกลุ่มต่าง ๆ มากขึ้น เราคิดว่าการรายงานสถานการณ์สด จะนำไปสู่การแก้ปัญหาสถานการณ์ได้ดี การรายงานโดยทันที จะนำไปสู่การแก้ปัญหาในทันที อย่างไฟป่าบ้านนาเม็ง ช่วงแรกก็มีการถกเถียงว่าไม่มีเหตุการณ์จากคนในพื้นที่ ทีมจึงนำ hotspot มาเป็นตัวยืนยัน จุดที่ไฟเกิดอยู่หลังเขา จะมีการคุยกันจนนำไปสู่ปฏิบัติการดับไฟป่าในที่สุด

คุณบัณรส บัวคลี่  ตัวแทนสถานนีฝุ่น

ถ้ามองในแง่มิติการรณรงค์เรามีสภาลมหายใจภาคเหนือ มีการเรียกร้องในเชิงนโยบายมากขึ้น ทั้งการติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศให้ครอบคลุม และต่าง ๆ รวม 8 ข้อ การรณรงค์ให้คนสนใจปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมนั้น จำเป็นต้องมี แม้ว่าปกติคนจะไม่ค่อยสนใจ สนใจน้อย เป็นเรื่องเฉพาะเรื่อง แต่จำเป็นต้องมี เพื่อให้ระหว่างช่วงมีสถานการณ์ฝุ่น จะมีที่ให้ติดตามข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้

การใช้สื่อรณรงค์นั้นมีเป้าหมาย 1. ให้คนสนใจปัญหานี้ 2. เติมความรู้เพิ่มให้คนในขณะที่กำลังสนใจปัญหาภายใต้ความซับซ้อนของปัญหา 3. เปิดพื้นที่ให้เครือข่าย 4. มีพลังในการผลักเชิงมาตรการ นโยบายที่มีผลต่อการแก้ปัญหา เช่น กรณีลำปาง นำไปสู่การติดตั้งเครืองวัดค่าอากาศกระจายตัวมากขึ้น

ดร.นภดล สุดสม ทีมเมืองสวดชาแนล เล่าว่าพวกเขาใช้ชื่อนี้เพราะชื่อที่จะได้ยึดโยงกับชุมชน เริ่มต้นมาจากพวกเราเป็นบุคคลากรใน รพ.บ้านหลวง พบว่าในช่วงโควิด19 การสื่อสารแบบเดิมไม่ตอบโจทย์ชุมชน เลยคิดว่าเราต้องมีสื่อของตัวเองเพื่อให้สื่อสารกับชุมชนได้ดีขึ้น จึงมาทำสื่อเองและได้พัฒนาศักยภาพร่วมกับศูนย์เรียนรู้สื่อชุมชน ม.พะเยา ได้ความรู้และเครือข่าย และพัฒนามาเรื่อย ๆ เพื่อทำสื่อเรื่องสุขภาพสื่อสารกับชุมชน ผ่านเฟซบุ๊ก และยูทูบ เนื้อหาก็เป็นข่าว แต่เนื่องจากเป็นบุคลากรด้านการแพทย์ก็ไม่สามารถสื่อสารได้ทุกวัน แต่พยายามรวมตัวเพื่อนำเสนอเนื้อหาอย่างต่อเนื่องในอนาคตเราอย่างให้องค์ความรู้ในการทำสื่อลงไปสู่ชุมชน อยากให้ผู้นำชุมชน และคนในชุมชนที่สนใจทำสื่อเข้ามาเรียนรู้เพื่อผลิตสื่อและสร้างการสื่อสารในชุมชน

ทีมเมืองสวดชาแนล จ.น่าน

หลังจากที่รู้ที่มาที่ไปของสื่อชุมชนทั้ง 2 แห่ง สถานีฝุ่นและเมืองสวดชาแนลแล้ว นำไปสู่การกำหนดแนวทางในการก้าวต่อของสื่อชุมชนในยุคสมัยนี้ที่ต้องเผชิญกับ Distruption ต่าง ๆ ใน 3 ประเด็นหลักที่ชวนพูดคุย คือ

1. ความหมายและมีคุณค่าของสื่อชุมชน ผ่านคำสำคัญที่ว่าด้วยเรื่องคน ชุมชน 2. คือความเป็นเจ้าของของชุมชน 3. คือการสื่อสาร ที่มีหลากหลายมิติ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาของชุมชนตัวเองได้

ชุมชนไม่ใช่แค่การรวมกลุ่มเชิงพื้นที่ แต่มีความหมายที่กว้างกว่า คือ เส้นสายที่เกี่ยวโยง ให้ก่อรูปเป็นชุมชน มีทั้งแบบที่สนใจเรื่องนั้น สนใจเชิงประเด็น อยากให้นิยามเชิงกว้าง โดยองค์ประกอบมีคน ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยง มีผลประโยชน์ การดำรงอยู่ตามเป้าของชุมชนนั้นๆ

หลายคนมองว่าช่วงตั้งต้นของสื่อชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ สื่อชุมชนนั้น สื่อต้องมีความหลากหลาย เปลี่ยนแปลงได้ตามเทคโนโลยี และบริบทของสังคม แต่สสิ่งสำคัญคือคน ความเป็นชุมชนที่มีทั้งเชิงพื้นที่กายภาพ ที่สะท้อนอัตลักษณ์ วิถี และเชิงประเด็นที่มีความสนใจร่วม คนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเป็นตัวขับเคลื่อน ทั้งพื้นที่และประเด็นมีจุดร่วม คือ มีการใช้สื่อหลากหลาย ข้ามไปมา มีการเชื่อมกับสังคม พึ่งตัวเองได้ มีความร่วมมือ สื่อสารด้วยช่องทางที่หลากหลาย หลายระดับ และนำไปสู่ นักสื่อสารที่สื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแลปงในสังคมที่ดีขึ้น พื้นที่ที่ดีขขึ้น

2.ความมุ่งหวังที่อยากให้สื่อชุมชนเป็น และเป้าหมายที่อยากให้ไปถึงร่วมกัน มีทั้งในเชิงบุคคล ในเชิงแพลตฟอร์มเรื่องราว ประเด็น ข้อมูล นำไปสู่การได้ประโยชน์ โดยใช้ทุกมิติของการสื่อสาร

มองว่าชุมชนไม่ใช่พื้นที่ แต่เป็นแหล่งข้อมูล เรื่องราวของคนที่สนใจเรื่องนั้น ๆ มีทั้งเฉพาะเรื่อง และเรื่องนั้น ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เรื่องราวต่าง ๆ ของชุมชน

การสื่อสารของชุมชน ชุมชนต้องได้รับประโยชน์ ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการสื่อสารต้องได้รับประโยชน์ ในทุกมิติการดำรงชีวิต ทั้งเรื่องง่าย ๆในชีวิตประจำวัน และเรื่องยาก ๆ เชิงนโยบาย ผ่านสื่อหลากหลาย

การมีช่องทางการสื่อสารของชุมชน เพื่อให้ได้รับข่าวสารที่แท้จริง สื่อสารทั้งภายในและภายนอก โดยคนในชุมชน มาหนุนเสริมและเกิดการจ้างงาน และการหนุนเสริม โดยใช้สื่อไหนก็ได้ที่สามารถเข้าถึงเป้าหมาย ได้อย่างทันเหตุการณ์ จากนั้นจึงรวมรวม ประมวลผลแล้วก็จะนำไปสู่การไปข้างหน้า ในการเป็นช่องทางการสื่อสารให้คนในชุมชน โดยใช้สื่ออะไรก็ได้ เกิดเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ คือ เนื้อหาของท้องถิ่น original content เป็นตัวกลางในการเชื่อมคน แก้ไขปัญหาในพื้นที่ เผยแพร่ในช่องทางที่เหมาะสม และรวบรวมไว้  โดยต้องมีคน มีใจ มีเรื่องและมีเครือข่ายและทำการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง

3.สิ่งที่สื่อชุมชนต้องการรณรงค์สื่อสารในยุคสมัยนี้ มีทั้งเรื่องพื้นฐาน คุณภาพชีวิต สิทธิการเข้าถึงทรัพยากร และโครงสร้างต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การเมืองท้องถิ่นเป็นประเด็นสำคัญหนึ่งที่จะช่วยให้มีนโยบายท้องถิ่นในกแก้ไขปัญหาปากท้องเศรษฐกิจ ดำรงรักษาวัฒนธรรม และช่วยพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น

สื่อชุมชนในยุคสมัยนี้คือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกชุมชนที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยมีเป้าหมายนั้นการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนมากขึ้น จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา พัฒนาคุณภาพชีวิต ผ่านข้อเท็จจริง ที่น่าเชื่อถือได้ โดยในอนาคตต้องมีเครือข่าย ทั้งการเป็นเครือข่ายในการสื่อสาร

อย่างสมัยก่อนในพื้นที่ของเมืองสวดชาแนล สมัยก่อนการสื่อสารชุมชน คือการประชุมหมู่บ้าน หอกระจายข่าว ตอนนี้อย่างคนบ้านหลวงเกินครึ่งเข้าถึงเฟซบุ๊ก ไลน์ ถ้าเราสร้างกระบวนการในการให้เมืองสวดชาแนลไปสู่การเป็น ศูนย์สื่อชุมชนประจำตำบล ต้องค้นหาเครือข่าย ทั้งในพื้นที่กลุ่มคนสนใจด้านสื่อ เยาวชน ผู้นำชุมชน ให้มีความเข้มแข็ง และพัฒนาศักยภาพศูนย์ ทั้งเชิงสถานที่ อุปกรณ์  ความรู้ โดยมีเครือข่ายต่าง ๆ สนับสนุนเริ่มจากคนสนใจสื่อไม่ได้มีพื้นฐาน จึงอาศัยประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญทำให้นำไปสู่การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

หลังจากที่มีการพูดคุยได้มีแนวทางในการทำงานร่วมกัน คือ หนึ่งขับเคลื่อนประเด็นปัญหา วิธีมองปัญหา เชื่อมโยงกัน มองข้ามพื้นที่ เชื่อมระดับโลกได้ เป็นประเด็นร่วมของคนที่ไม่มีการแบ่งแยก สองเกิดการขยายแนวร่วม พื้นที่ คนทั้งในและนอกพื้นที่ สามมีพื้นที่ปฏิบัติการร่วม เพราะการเรียนรู้ร่วมกัน คือของจริงและสื่อสารได้อย่างมีพลัง สี่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ทั้งวิธีคิด ความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกัน หนึ่งรวมคนให้ได้ กระตุ้นความอยาก ให้เห็นความสำคัญของการสื่อสาร และใช้แกนนำ ให้ทดลองทำโดยต้องโดนใจชุมชนหรือเลือกเรื่องที่สำคัญกับท้องถิ่น และใช้ผลงานในการกระตุ้นให้คนอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วม จนเป็นเครือข่าย แล้วค่อยไปสู่การแสวงหารายได้ พร้อมวิเคราะห์ตนเอง พัฒนาศักยภาพ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย

ในยุคสมัยมันเห็นชุมชนเปลี่ยนแปลงกระบวนการสร้างคนสำคัญ เน้น Mindset ระบบคิด ทัศนคติ มองชุมชน ตัวเอง สังคมและโลกอย่างไร รู้เท่าทัน วิเคราะห์สื่อ เพื่อเท่าทัน นำเสนอมุมมองจากตัวเองและชุมชน ประเด็นร่วม ไปสู่การเปลี่ยนแปลงชิงสร้างสรรค์ และมีพื้นที่เชิงปฏิบัติการที่มีการเปลี่ยนแปลง มีพื้นที่ได้สื่อสารแล้วคุยกับชุมชน

หัวใจคืออยากเห็นสังคมที่ดีขึ้น

เยี่ยมชมสถานีฝุ่น

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ