7 +1 ไฟแปลงใหญ่ แนวทางการลดปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 ในเชียงใหม่ 2567

7 +1 ไฟแปลงใหญ่ แนวทางการลดปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 ในเชียงใหม่ 2567

ย้อนทวนแนวทางใหม่ของเชียงใหม่ ในปี 2567 ผลักดัน การแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน pm2.5 อย่างยั่งยืนแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

โดยการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันในปี 2567 นี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้ตั้งเป้าลดค่าความเสียหายในส่วนต่างๆ ให้ได้ถึงร้อยละ 50 จากในปี 2566 โดยตั้งเป้าลดจุดความร้อน (Hotspot) ให้เหลือไม่เกิน 6,547 จุด พื้นที่เผาไหม้ให้เหลือไม่เกิน 584,312 ไร่ จำนวนวันที่ค่าคุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐานให้เหลือไม่เกิน 49 วัน และจำนวนการมาใช้บริการตรวจรักษาของผู้ป่วยทางเดินหายใจให้เหลือไม่เกิน 17,290 ครั้ง

แนวทางการบริหารจัดการไฟป่าในปี 2567 จะแบ่งพื้นที่บริหารจัดการเชื้อเพลิงออกเป็น 7 พื้นที่ป่า กับอีก 1 พื้นที่พิเศษ

ประกอบด้วย กลุ่มพื้นที่ป่าอำเภออมก๋อย, พื้นที่ป่าอำเภอแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา, พื้นที่ป่าดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด, พื้นที่ป่าดอยสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอหางดง อำเภอแม่วาง อำเภอสะเมิง, พื้นที่ป่าอำเภอสันทราย อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอแม่ออน, พื้นที่ป่าศรีลานนา อำเภอพร้าว อำเภอแม่แตง และพื้นที่พิเศษที่เพิ่มขึ้นมา คือ ที่บริเวณดอยสุเทพฝั่งหน้าดอย เนื่องจากเป็นจุดที่มีผลต่อจิตใจของชาวเชียงใหม่ และเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของด่านประตูสู่เชียงใหม่ ทำให้เป็นที่จับตามองของทุกฝ่าย โดยระหว่างนี้ จะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ป่าแต่ละแห่งไปวางแผนการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตนเอง แล้วนำมารวบรวมจัดทำเป็นแผนบริหารจัดการในภาพรวมทั้งจังหวัด

1. กลุ่มป่า อมก๋อยฯในเขตพื้นที่อำเภออมก๋อย พื้นที่ป่าทั้งหมด 2,229,431.6 ไร่พื้นที่บริหารจัดการเชื้อเพลิงทั้งหมด 59,672.1 ไร่ (2.68%)

2. กลุ่มป่า แม่แจ่ม-กัลยาณิวัฒนาฯ ในเขตพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม และอำเภอกัลยาณิวัฒนาฯ พื้นที่ป่าทั้งหมด 2,099,395 ไร่พื้นที่บริหารจัดการเชื้อเพลิงทั้งหมด 77,352.53 ไร่ (3.68%)

3. กลุ่มป่าดอยอินทนนท์ในเขตพื้นที่อำเภอจอมทอง และอำเภอฮอดพื้นที่ป่าทั้งหมด 1,131,768 ไร่พื้นที่บริหารจัดการเชื้อเพลิงทั้งหมด 66,376 ไร่ (5.86%)

4. กลุ่มป่า ดอยสุเทพฯในเขตพื้นที่อำเภอเมือง หางดง แม่วาง สะเมิง สันป่าตอง และอำเภอแม่ริมพื้นที่ป่าทั้งหมด 537,496.52 ไร่พื้นที่บริหารจัดการเชื้อเพลิงทั้งหมด 115,844 ไร่ (21.55%)

5. กลุ่มป่า สันทรายฯในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย ดอยสะเก็ด แม่ออน และอำเภอสันกำแพงพื้นที่ป่าทั้งหมด 719,229 ไร่พื้นที่บริหารจัดการเชื้อเพลิงทั้งหมด 32,235 ไร่ (4.48%)

6. กลุ่มป่า ศรีลานนาในเขตพื้นที่อำเภอแม่แตง และอำเภอพร้าว ในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย ดอยสะเก็ด แม่ออน และอำเภอสันกำแพงพื้นที่ป่าทั้งหมด 727,261 ไร่พื้นที่บริหารจัดการเชื้อเพลิงทั้งหมด 31,927 ไร่ (4.39%)

7. กลุ่มป่า ดอยหลวงเชียงดาวในเขตพื้นที่อำเภอเชียงดาว เวียงแหง ไขยปราการ และอำเภอฝางพื้นที่ป่าทั้งหมด 1,027,710 ไร่พื้นที่บริหารจัดการเชื้อเพลิงทั้งหมด 163,246.25 ไร่ (15.88%) ไร่

(+1) 7.1 กลุ่มพื้นที่ป่าพิเศษ พื้นที่ฝั่งหน้าดอยสุเทพ 160,812.73 ไร่

ขณะเดียวกัน จะมีการกำหนดงบประมาณดำเนินงานและค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่างชัดเจนในทุกพื้นที่สามารถเปิดเผยและตรวจสอบได้ และจะบูรณาการความร่วมมือกับภาคประชาชนในการเปิดรับอาสาสมัครภาคประชาชน จำนวน 200,000 คน มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า และสนับสนุนการนำเศษวัสดุทางการเกษตรมาแปลงเป็นชีวมวลอัดเม็ดขายให้กับภาคธุรกิจรายใหญ่สร้างกระบวนการทำการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทำไมต้อง 7 +1 ไฟแปลงใหญ่

แนวทางใหม่เชียงใหม่ในปี 67 แบ่งพื้นที่ป่าทั้งจังหวัดเหนือจรดใต้เป็น 7 กลุ่มป่า +1 ซึ่งแต่ละโซนมีสภาพป่าและบริบทที่แตกต่าง

ทั้ง 7 +1 กลุ่มป่า มีกลไกเจ้าภาพชัดเจน เพื่อรับผิดชอบในการวางแผนบริหารจัดการ

“แผน” ของชุมชนท้องถิ่น ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่ “แผนเถื่อน” อีกต่อไป

ปรับคอนเซ็ปต์ใหม่

▶ “ห้ามเผาเด็ดขาด” ไม่ใช่คำตอบ

▶ ยอมรับการใช้ไฟที่จำเป็น ใช้ความจริงมาบริหารจัดการ

▶ บริหารจัดการเชื้อเพลิงอย่างเป็นระบบ ทั้งใน “พื้นที่เกษตร” และ “พื้นที่ป่า”

▶ วางแผนป้องกันการลุกลาม ควบคุมไฟที่ไม่จำเป็นอย่างสุดความสามารถ

▶ เป้าหมายร่วมกัน คือ ลดค่าฝุ่นควันให้ได้มากที่สุด จากหน้าฝนในช่วงนี้ ต่อเนื่องไปถึงฤดูไฟในปีหน้า จะมีการลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับชุมชนท้องถิ่นทั้ง 7+1 กลุ่มป่า เพื่อ “ทำแผน” และ “ประชาสัมพันธ์” ให้ทุกฝ่ายเห็นแนวทางและเป้าหมายร่วมกัน

“กำหนดเขตบริการจัดการเชื้อเพลิงและเขตควบคุมการเผาของจังหวัดเชียงใหม่”

เขตบริหารจัดการเชื้อเพลิงสามารถบริหารจัดการเชื้อเพลิงทางการเกษตร และพื้นที่ป่าที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าและพื้นที่ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการหยุดยั้งการลุกลามของไฟตามหลักวิชาการ โดยดำเนินการตามแผนการบริหารเชื้อเพลิงที่ได้จัดทำในระดับอำเภอและตำบล และให้นำข้อมูลลงทะเบียนในระบบการจองจัดการเชื้อเพลิงในระบบ Fire-D หรือ BumnCheck ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ระดับอำเภอหรือระดับตำบลพิจารณาอนุญาตก่อนดำเนินการพร้อมทั้งให้จัดทำแนวกันไฟและควบคุมไฟมีให้ลุกลามไปยังพื้นที่อื่น และเมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้รายงานผลการดำเนินงานในระบบ Fire-D หรือ BurnCheck ทุกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 – 31 พฤษภาคม 2567

เขตควบคุมการเผา คือ พื้นที่นอกเขตบริหารจัดการเชื้อเพลิง ห้ามมิให้มีการเผาในที่โล่งทุกชนิต ในพื้นที่ชุมชนห้ามให้มีการเผาขยะ เศษกึ่งไม้ใบไม้ทุกชนิด โดยผู้ฝ่าฝืนหรือปล่อยปละละเลย ให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเต็ดขาดในทุกกรณี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 เมษายน 2567

อ่านเพิ่มเติม

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ