The North องศาเหนือ X Locals ThaiPBS พร้อมปักธงสื่อสู้ฝุ่น เคียงข้างคนเหนือตลอดฤดูฝุ่น

The North องศาเหนือ X Locals ThaiPBS พร้อมปักธงสื่อสู้ฝุ่น เคียงข้างคนเหนือตลอดฤดูฝุ่น

นับเป็นเวลายาวนานหลายสิบปีกับปัญหาฝุ่น ไฟ โดยเฉพาะในภาคเหนือ ที่วนลูป ทำให้ราว 3 เดือน ช่วงใกล้วาเลไทน์ ไปจนถึงหลังสงกรานต์ของทุกปี กลายมาเป็น #ฤดูฝุ่นควัน ของภาคเหนือ ทำลายภาพจำอันงดงามว่าเป็นภูมิภาคที่อากาศดี เนื่องจากช่วงสภาพอากาศกด ส่งผลให้สถานการณ์ฝุ่น ควันฟุ้ง จนหลายจังหวัดในภาคเหนือมีค่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนต่อเนื่อง

แต่แม้ว่าเรายังคงต้องเผชิญสถานการณ์เช่นนี้ในทุกปี แต่ฝุ่นรอบนี้เรามีความหวัง ! แม้อาจไม่พ้นวังวนฝุ่น แต่เข้าใกล้วิธีการจัดการปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ

ตลอดทั้งปีที่แล้ว จนถึงปีนี้ “The North องศาเหนือ” สังเกตุเห็นความตื่นตัวของคนเหนือ และคนในสังคมไทย ต่อปัญหาฝุ่น ไฟ และ PM 2.5 มากขึ้น ภาคประชาสังคม แวดวงวิชาการ หน่วยงานราชการทุกระดับขยับค้นหาวิธีหลุดพ้น แก้โจทย์ฝุ่นไฟกันอย่างต่อเนื่อง ปรากฏการณ์ความพยายามมองภาพใหญ่ของปัญหาที่ซับซ้อน ผนวกกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทำให้เกิด Big DATA เราเห็นว่า ผู้คนที่อยากแก้ไขปัญหาฝุ่น เริ่มที่จะ ZOOM IN เข้าใกล้เงื่อนไขใหญ่ๆ ที่จะนำไปสู่ทางออกของปัญหาฝุ่น ไฟ ในบริบทของภาคเหนือชัดขึ้น

3 เดือนต่อเนื่องใน ฤดูฝุ่นปีนี้ “The North องศาเหนือ” พร้อมที่จะลุยฝุ่นไปด้วยกันกับทุกคน !!! เตรียมเสนอเนื้อหาแบบ longform interactive journal ด้วย Content premium ทาง web The citizen.plus Facebook fanpage The North องศาเหนือ และ 3 HD ThaiPBS พร้อมทั้งร่วมมือกับสภาลมหายใจภาคเหนือ เครือข่ายนักสื่อสาร ที่เป็นทั้ง เยาวชน ประชาชน และภาควิชาการ เคียงข้างคนเหนือ ร่วมกันสื่อสารในสถานการณ์เผชิญเหตุไปด้วยกัน กับ “สถานีฝุ่นแม่น้ำโขง ปี 3”

อะไรคือ Pain point ที่เราปักธงหา Solotion

เพื่อไม่ให้ความซับซ้อนของปัญหาฝุ่นทำให้การโฟกัสโจทย์พร่าเลือน เราจึงขอบเขตการทำงานของเราในฤดูฝุ่นปีนี้ว่า “ทำอย่างไรสังคมและผู้ที่อยู่ในกลไกกำหนดนโยบายจะเข้าใจสาเหตุหลักฝุ่นไฟเหนือในฤดูฝุ่น ผลักดันให้แก้ไขให้ตรงจุดและคนเหนือเอาตัวรอดในสถานการณ์นี้ได้ ? โดยไม่อยากนำเสนอเพียงปรากฏการณ์ แต่อยากสนับสนุนการผลักดันให้ปฏิรูปโครงสร้างและกลไกการจัดการใน 2 สาเหตุหลัก

1.ต้นตอไฟ ต้นตอฝุ่น พื้นที่ไหม้ซ้ำซาก กับการจัดการปัญหาแนวใหม่

“The North องศาเหนือ” ทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมที่เกาะติดเรื่องฝุ่น อย่างสภาลมหายใจภาคเหนือ ซึ่งค้นพบแง่มุมการจัดการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ไฟแปลงใหญ่ โดยผลักดันให้เกิดการวางระบบการจัดการแก้ปัญหาฝุ่น จากแหล่งกำเนิดไฟใหญ่ที่มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารการจัดการของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่มากขึ้น

เราจะพาไปลงพื้นที่ 3 ใน 11 พื้นที่ไฟใหญ่ของภาคเหนือกับมาตรการใหม่ ที่มีเป้าหมายต้องลดไฟลง 50% ชุดการสื่อสาร ไฟแปลงใหญ่ จะชวนเข้าใจความหมายและความสำคัญของ #ไฟแปลงใหญ่ อะไรคือเงื่อนไข และข้อจำกัดของการเกิดพื้นที่เผาไหม้นับแสนไร่ ซ้ำซาก ซึ่งหากจัดการได้ก็จะสามารถบรรเทามลพิษจากชีวมวลขนาดใหญ่ในฤดูฝุ่นที่เราเผชิญเหตุลงได้

พิกัด 1 ฝ่าไฟแปลงใหญ่รอยต่อลี้ ลำพูน “ก้อ” เดินหน้าจัดการฝุ่น

ลงพื้นที่ตำบลเล็ก ๆ อย่าง ต.ก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน พื้นที่ที่จะทำให้เราเข้าใจปัญหาของฝุ่น ไฟที่อยู่ในแอ่งกะทะ พร้อมกับความเกี่ยวข้องของเศษฐกิจกับฝุ่น ไฟ ที่สะท้อนภาพใหญ่ของปัญหา จนเป็นที่มาของการเกิดไฟในป่าแปลงใหญ่

พิกัด 2 ดอยสุเทพ ไฟใกล้เมือง

ดอยสุเทพ เหมือนสัญญลักษ์ของจังหวัดเชียงใหม่ ภาพของไฟในเขตดอยสุเทพจึงส่งผลต่อความรู้สึกของผู้คนมาก และเป็นป่าที่ติดเมืองเมื่อเกิดไฟ ใคร ๆ ก็เห็น เราจึงพาไปดูการจัดการ ว่าปีนี้พื้นที่สุเทพ และชุมชนรอบ ๆ เขาทำอะไร การแบ่งเขต ความหลากหลาย ไม่มีเจ้าภาพชัดเจน เป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าจะจัดการ แก้โจทย์นี้อย่างไร

พิกัด 3 ทำไมต้องไหม้ซ้ำซาก #อมก๋อย

จากข้อมูลกลุ่มก้อนฝุ่นควันขนาดมหึมาที่เกิดจากผืนป่าอันกว้างใหญ่นี้ เป็นสาเหตุหลัก ๆ อย่างหนึ่งที่ทำให้ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 รุนแรง ด้วยขนาดพื้นที่ ที่รวมเอาสามผืนป่าเข้าไว้ด้วยกันคือ ป่าอมก๋อย อุทยานแห่งชาติแม่ปิง และป่าแม่ตื่น รวมแล้วเป็นพื้นที่สองล้านกว่าไร่ ความยากและซับซ้อนของปัญหา และความท้าทายว่าจะจัดการอย่างไร ?


มาทำความเข้าใจ เป็นกำลังใจ เฝ้าติดตาม มาตรการ ไฟแปลงใหญ่ ที่เป็นนโยบายหลักในการรับมือกับฝุ่นไฟปีนี้ เป้าหมายที่ลดพื้นที่เผาไหม้ลง 50 % หากทำได้ ปีนี้ ฝุ่น Pm 2.5 จะต้องลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

2.ฝุ่นข้ามพรมแดน

ภาคเหนือมีพรมแดนติดประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งพม่า และลาว แต่ไม่มีพรมแดนระหว่างฝุ่น !!

ชุดการสื่อสาร “เข้าใจปรากฎการณ์ฝุ่นข้ามแดน ผลกระทบและไอเดียข้อเสนอแก้ไขจากคนชายแดน จึงเป็นอีกประเด็นที่ The North องศาเหนือ โฟกัส

เนื้อหาจะเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจ ธรรมชาติของฝุ่นที่เดินทางข้ามแดนมาก่อนว่าต้นตอของฝุ่นมาจากไหน เดินทางมาตามฤดูกาลอย่างไร

แม่สายยังไงก็โดน

เบื้องลึกเบื้องหลัง สาเหตุแท้จริงในพื้นที่ รวมถึงเสียงคนชายแดน รวมถึงในภาวะการโต้ตอบกับสถานการณ์ภัยพิบัติ ท้องถิ่นหรือระดับอำเภอ จะสามารถออกแบบในการดูแลประชาชนในพื้นที่ของเขาได้อย่างไร ?

พร้อมทั้งชวนการเตรียมความพร้อมรับมือด้านสุขภาพของหน่วยงานในจังหวัดเชียงราย ทั้ง ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน หรือ กระทั่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาวะชุมชนว่าเตรียมตัวอย่างไรบ้าง พร้อมรับมือเมื่อฝุ่นมาของคนในพื้นที่มากน้อยเพียงไร เพราะสุดท้ายแล้ว เมื่อไม่มีพรมแดนระหว่างฝุ่น คนชายแดนยังไงก็ต้องโดน แล้วจะอยู่อย่างไรให้รอดตลอดฤดู

นอกจากการวางชุดเนื้อหาสื่อสารแล้ว The North องศาเหนือ ยังจะมีความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่อยากยกระดับปัญหาฝุ่น แก้ไขเชิงนโยบายหลายระดับ ด้วยการพร้อมที่จะ เปิด #LOCALFORUM เพื่อเป็นพื้นที่ ล้อมวงคุยแก้ปัญหาเรื่องใหญ่ ๆ หาทางออกจากวังวนฝุ่นทั้งแง่ ข้อกฎหมาย /ระเบียบ /กลไกใหม่ หรือต้องแก้ไขของเดิม กับ Policy Maker เช่น กฏหมายอากาศสะอาด วงสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินพบท้องถิ่น เพื่อไขข้อข้องใจ แนวทางปฏิบัติของท้องถิ่นที่จะต้องเป็นทัพหน้าแก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่น ทั้งการดับไฟ การดูแลสุขภาพประชาชน เพื่อให้ทางออกของการจัดการของหน่วยงานสามารถเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาฝุ่น ไฟให้กับประชาชนคนเหนือได้ในระยะยาว

ใครคิดเห็นว่ามีประเด็นอะไรที่จะต้องล้อมวงคุยกัน แจ้ง The North องศาเหนือ มาได้เลย !!

แล้วเรา เรา จะทำอะไรได้บ้าง ? เราจะช่วยกันได้อย่างไร ?

ในขณะที่เรา ประชาชนทั่วไป กำลังเผชิญฝุ่นไปด้วยกัน “การสื่อสารสาธารณะ” เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประชาชนสามารถรับมือกับสถานการณ์ฝุ่นควันหนัก และขับเคลื่อนเนื้อหาเพื่อนำไปสู่แนวทางแก้ไข   ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการสื่อสาร มีความร่วมมือกัน ที่จะช่วยกัน สื่อสารในสถาการณ์วิกฤติฝุ่นนี้ไปด้วยกัน

ปีนี้ เรามีความร่วมมือกับสภาลมหายใจภาคเหนือ ที่ริเริ่มก่อตั้ง “สถานีฝุ่น “มาเป็นปีที่ 3 ซึ่งปีนี้ ขยับสู่บทบาทข้ามพรมแดน เป็น “สถานีฝุ่นลุ่มน้ำโขง” โดยมีความร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยลุ่มน้ำโขง สถาบันการศึกษา 5 แห่งในภาคเหนือ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย รวมถึงความร่วมมือข้ามพรมแดน มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ หลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา พวกเราได้เตรียมความพร้อม ฝึกอบรมทั้งด้านเนื้อหาและเทคนิค เตรียมจะเปิดสถานีฝุ่นลุ่มน้ำโขงในกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้

นอกจากนั้น เรายังมีความร่วมมือกับ เพื่อนสื่อสาธารณะท้องถิ่น WEVOสื่ออาสา เชียงรายสนทนา โทรโข่งลุ่มน้ำโขง กลุ่มเพื่อนผู้สื่อข่าวภาคเหนือ ที่จะร่วมกันปฏิบัติการสื่อสารขับเคลื่อนเนื้อหาอย่างมีทิศทางเพื่อนำไปสู่แนวทางแก้ไข 

และเรื่องของการสื่อสาร ไม่ได้จำกัดเพียงแค่คนที่อยู่ในอาชีพสื่อ คุณผู้อ่านเองสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการสื่อสารเนื้อหาประเด็นฝุ่น กับ #นักข่าวพลเมือง ทั่วภาคเหนือ ที่จับตาสถานการณ์ฝุ่นในพื้นที่ของตัวเอง ผ่านระบบ แอพพลิเคชั่น C-site ThaiPBS มาได้อย่างง่าย และยังสามารถจะเช็คค่าฝุ่น pm2.5 ในภาคเหนือผ่าน แอพพลิเคชั่น C-site ที่รวมค่าคุณภาพอากาศจากทุกสถานีวัดฝุ่นในประเทศไทยไว้ เพื่อเราได้รับทราบค่าอากาศแบบเรียลไทม์ ของ Smart Censor หรือ Lowcost Censer และ ค่าเฉลี่ยของกรมควบคุมมลพิษ

คลิก ดูค่าอากาศ จาก C-Site ได้ ที่ภาพนี้ https://www.csitereport.com/pm25noclus

Your Priorities คิด-เลือก-ร่วม

และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ ที่เราสามารถจะร่วมระดมความคิดเห็นไอเดียสาธารณะออนไลน์ นำเสนอ แลกเปลี่ยน จัดลำดับร่วมกัน เพื่อระดมหาทางจัดการ ’จุดเจ็บปวดร่วม’ ในเรื่องฝุ่นไปด้วยกันได้ เพราะ “หลายหัวดีกว่าหัวเดียว” และทางออกล้วนมาจากพลังสร้างสรรค์ของประชาชน ในหมวดมลพิษทางอากาศ มีเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายด้านอากาศหลายประเด็น


The North องศาเหนือ ปฏิบัติการสื่อสารของคนเหนือ และ ทีมท้องถิ่น Locals ThaiPBS ขอมีส่วนร่วมเผชิญฝุ่น ไฟ ไปด้วยกันกับทุกคน แล้วพบกัน !!!!

Website ของชาว Locals

Fanpage TheNorthองศาเหนือ

Fanpage สถานีฝุ่น

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ