ทำไมต้อง 7ไฟแปลงใหญ่? แนวทางการลดปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 ในเชียงใหม่ ในปี 2567

ช่วงนี้แม้จะอยู่ในฤดูหนาว เริ่มต้นช่วงฤดูท่องเที่ยวของภาคเหนือ หลังจากที่ซบเซาจากโควิด-19 ปีนี้เชียงใหม่จึงได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มที่อีกครั้ง แต่ในความยินดีเชียงใหม่ก็กำลังคืบคลานเข้าสู่ฤดูฝุ่น ที่ทุกคนไม่อยากเจอะเจอ แต่ก็หมุนกับมาเจอกันอีกครั้ง และดูว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าพูดถึงปัญหาฝุ่นควัน หากพอจะติดตามข้อมูลข่าวสารมาบ้าง ก็น่าจะพอรับรู้ข้อมูลว่าปีนี้หลายๆหน่วยงาน องค์กร มีการขยับ วางแผน พูดคุยกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาไฟป่าฝุ่นควัน จนมีแนวทางเรื่องของป่าแปลงใหญ่ และการพูดถึง 7 กลุ่มป่า! นโยบาย  7 ป่ามีจุดเริ่มมาจากการพยายามแก้ปัญหาฝุ่นในเชียงใหม่ ซึ่งหากย้อนกลับไป แนวทางการทำความเข้าใจ และแก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่นควัน Pm 2.5 ที่ผ่านมาปัญหาไฟป่าถือว่าเป็นสาเหตุหลักๆที่สร้างฝุ่นควัน  ในอดีตย้อนกลับไปสัก10ปี เราจะเข้าใจและรับรู้ว่าปัญหาฝุ่นควันเกี่ยวข้องกับพื้นที่ปลูกข้าวโพด แต่ภาพทุ่งข้าวโพดโล่งๆ สุดลูกหูลูกตากลับไม่ใช่สาเหตุหลักของปัญหาฝุ่นควันในเชียงใหม่ หรือแม้กระทั่งฝุ่นควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ก็ไม่ใช่สาเหตุหลักเช่นกัน จากการสืบค้นและศึกษาเชิงข้อมูลภาพถ่ายทางดาวเทียมที่เก็บข้อมูลร่องรอยการเผาไหม้ย้อนหลังไปมากกว่า10ปี พบว่าไฟในพื้นที่ป่าเป็นสาเหตุหลักของปัญหาฝุ่นควันในเชียงใหม่ จึงมีการพยายามผลักดันให้การจัดการมีความชัดเจนและเป็นแนวทางที่ถูกต้องมากขึ้น ผ่านมาการแก้ไขเรื่องไฟป่า จะถูกโยนให้เป็นหน้าที่ทั้งชุมชนชาวบ้าน  โดยแบ่งกันดูแลตามเขตการปกครองเป็นหลัก พูดง่ายๆก็คือ บ้านใครบ้านมัน แต่ในสภาพความเป็นจริงไฟป่าไม่ได้สนใจสิ่งเหล่านี้เลย!  เมื่อเกิดการลุกไหม้ลามไปเรื่อยๆ เขตการปกครองต่างๆ กลับเป็นปัญหาที่ทำให้การจัดการไฟไม่มีศักยภาพ ซึ่งหากต้องการจะแก้ไขให้ตรงจุด ก็ต้องเริ่มจากการมองเห็นภาพเดียวกันของทุกคน การแบ่งพื้นที่ป่าตามแนวเขตการปกครองหรือหน่วยงานต้องถูกแทนที่ด้วย ป่าที่มีพื้นที่ติดกันทั้งหมดแล้วดูว่าในผืนป่านั้นๆ มีใครอยู่บ้างและรับผิดชอบอะไรบ้าง แล้วทั้งหมดมาตกลงกันในการดูแล ใช่ครับนี้คือแนวคิดตั้งต้น พอมาถึงตรงนี้ก็จะเห็นภาพชัดเจนขึ้น ว่าพื้นที่ในการจัดการมีเท่าไหร่ … Continue reading ทำไมต้อง 7ไฟแปลงใหญ่? แนวทางการลดปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 ในเชียงใหม่ ในปี 2567