ทำไมต้อง 7ไฟแปลงใหญ่? แนวทางการลดปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 ในเชียงใหม่ ในปี 2567

ทำไมต้อง 7ไฟแปลงใหญ่? แนวทางการลดปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 ในเชียงใหม่ ในปี 2567

ช่วงนี้แม้จะอยู่ในฤดูหนาว เริ่มต้นช่วงฤดูท่องเที่ยวของภาคเหนือ หลังจากที่ซบเซาจากโควิด-19 ปีนี้เชียงใหม่จึงได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มที่อีกครั้ง แต่ในความยินดีเชียงใหม่ก็กำลังคืบคลานเข้าสู่ฤดูฝุ่น ที่ทุกคนไม่อยากเจอะเจอ แต่ก็หมุนกับมาเจอกันอีกครั้ง และดูว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าพูดถึงปัญหาฝุ่นควัน หากพอจะติดตามข้อมูลข่าวสารมาบ้าง ก็น่าจะพอรับรู้ข้อมูลว่าปีนี้หลายๆหน่วยงาน องค์กร มีการขยับ วางแผน พูดคุยกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาไฟป่าฝุ่นควัน จนมีแนวทางเรื่องของป่าแปลงใหญ่ และการพูดถึง 7 กลุ่มป่า!

นโยบาย  7 ป่ามีจุดเริ่มมาจากการพยายามแก้ปัญหาฝุ่นในเชียงใหม่ ซึ่งหากย้อนกลับไป แนวทางการทำความเข้าใจ และแก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่นควัน Pm 2.5 ที่ผ่านมาปัญหาไฟป่าถือว่าเป็นสาเหตุหลักๆที่สร้างฝุ่นควัน  ในอดีตย้อนกลับไปสัก10ปี เราจะเข้าใจและรับรู้ว่าปัญหาฝุ่นควันเกี่ยวข้องกับพื้นที่ปลูกข้าวโพด แต่ภาพทุ่งข้าวโพดโล่งๆ สุดลูกหูลูกตากลับไม่ใช่สาเหตุหลักของปัญหาฝุ่นควันในเชียงใหม่ หรือแม้กระทั่งฝุ่นควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ก็ไม่ใช่สาเหตุหลักเช่นกัน จากการสืบค้นและศึกษาเชิงข้อมูลภาพถ่ายทางดาวเทียมที่เก็บข้อมูลร่องรอยการเผาไหม้ย้อนหลังไปมากกว่า10ปี พบว่าไฟในพื้นที่ป่าเป็นสาเหตุหลักของปัญหาฝุ่นควันในเชียงใหม่ จึงมีการพยายามผลักดันให้การจัดการมีความชัดเจนและเป็นแนวทางที่ถูกต้องมากขึ้น

ผ่านมาการแก้ไขเรื่องไฟป่า จะถูกโยนให้เป็นหน้าที่ทั้งชุมชนชาวบ้าน  โดยแบ่งกันดูแลตามเขตการปกครองเป็นหลัก พูดง่ายๆก็คือ บ้านใครบ้านมัน แต่ในสภาพความเป็นจริงไฟป่าไม่ได้สนใจสิ่งเหล่านี้เลย!  เมื่อเกิดการลุกไหม้ลามไปเรื่อยๆ เขตการปกครองต่างๆ กลับเป็นปัญหาที่ทำให้การจัดการไฟไม่มีศักยภาพ ซึ่งหากต้องการจะแก้ไขให้ตรงจุด ก็ต้องเริ่มจากการมองเห็นภาพเดียวกันของทุกคน การแบ่งพื้นที่ป่าตามแนวเขตการปกครองหรือหน่วยงานต้องถูกแทนที่ด้วย ป่าที่มีพื้นที่ติดกันทั้งหมดแล้วดูว่าในผืนป่านั้นๆ มีใครอยู่บ้างและรับผิดชอบอะไรบ้าง แล้วทั้งหมดมาตกลงกันในการดูแล ใช่ครับนี้คือแนวคิดตั้งต้น พอมาถึงตรงนี้ก็จะเห็นภาพชัดเจนขึ้น ว่าพื้นที่ในการจัดการมีเท่าไหร่ ซึ่งก็คือพื้นที่ 7 ป่านี้ครับ

การแบ่งการจัดการแบบ 7 กลุ่มป่าของจังหวัดเชียงใหม่

  1. กลุ่มพื้นที่ป่าดอยสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่

อำเภอหางดง – อำเภอแม่วาง – อำเภอสะเมิง

พื้นที่ป่าทั้งหมด 537,496.52 ไร่

2. กลุ่มพื้นที่ป่าอำเภอแม่แจ่ม และกัลยาณิวัฒนา

พื้นที่ป่าทั้งหมด 2,099,395 ไร่

3. กลุ่มพื้นที่ป่าดอยอินทนนท์

อำเภอจอมทอง และฮอด

พื้นที่ป่าทั้งหมด 1,131,768 ไร่

4. กลุ่มพื้นที่ป่าอำเภออมก๋อย

พื้นที่ป่าทั้งหมด 2,229,431.6 ไร่

5. กลุ่มพื้นที่ป่าดอยหลวงเชียงดาว

อำเภอเชียงดาว เวียงแหง ไชยปราการ และฝาง

พื้นที่ป่าทั้งหมด 1,027,710 ไร่

6. กลุ่มพื้นที่ป่าศรีลานนา อำเภอพร้าว และแม่แตง

พื้นที่ป่าทั้งหมด 727,261 ไร่

พื้นที่ป่าทั้งหมด 719,229 ไร่

7. กลุ่มพื้นที่ป่าอำเภอสันทราย ดอยสะเก็ด แม่ออน และส้นกำแพง

ถามต่อกันไปอีกว่า เมื่อมีการกำหนดพื้นที่แบบชัดเจนแบบนี้ จะนำไปสู่อะไรบ้าง?

ก็ต้องบอกว่านอกจากการจัดรวมแบ่งเขตพื้นที่ป่าออกมาแบบนี้ สิ่งที่ตามมาคือ คนที่รับผิดชอบที่อยู่แต่ละเขตป่ามาร่วมกันทำงานอย่างชัดเจนมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในมาตรการที่จะถูกใช้บนฐานข้อมูล 7 ป่าเป็นครั้งแรกก็คือแผนการจัดการบริหารเชื้อเพลิง! หรือพูดง่ายๆก็คือการเผาแบบควบคุมเพื่อลดเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่าทั้งหลาย ไม่ให้ไหม้ด้วยความรุนแรงหรือลุกลามเป็นพื้นที่กว้างๆเช่นที่ผ่านมา ส่วนจะได้ผลมากน้อยเพียงใด ก็คงต้องติดตามดูกันกับช่วงฤดูฝุ่นควันที่กำลังจะมาถึงนี้

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ