เสียงประชาชนในดงฝุ่น @ภาคเหนือ

เสียงประชาชนในดงฝุ่น @ภาคเหนือ

คนไทยส่วนใหญ่เริ่มรู้จักและคุ้นเคยกับสิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่าฝุ่น หรือ PM2.5 ที่คละคลุ้งทั่วท้องฟ้าในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงปลายฤดูหนาวลากยาวมาถึงปลายฤดูร้อน

ตายผ่อนส่ง…เริ่มได้ยินคำนี้ หลังฤดูฝุ่นมฤตยูผ่านไป ชวนย้อนไปช่วงต้นเดือน มกราคม – เมษายน 2566 ที่ค่าฝุ่นสาหัส สากัน ที่อยู่กับค่าคุณภาพอากาศ Beyond AQI

ข้อมูลจาก สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 : วันที่ 21 พฤษภาคม 2566

รองลงมาคือจังหวัด เชียงใหม่ มากที่สุด มากกว่า 98 วัน  

รองลงมาคือจังหวัดลำพูน 90 วัน

ลงมาเชียงราย 81 วัน

รองลงมาคือจังหวัดแม่ฮ่องสอน 80 วัน

ก่อนการเลือกตั้งที่เป็นช่วงขมุกขมัว เราเห็นการหาเสียงท่ามกลางฝุ่นมี่ยังคละคลุ้ง และเป็นนโยบายหนึ่งที่คนเหนือให้ความสำคัญ ในกลุ่มของ “นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม” ที่เนื้อหาภายในของนโนบายแต่ละพรรค มีเนื้อหานโยบายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข PM 2.5

เข้าไปอ่านนโยบายได้ที่ อ่านนโยบายพรรคการเมืองเรื่องฝุ่นผ่านปากผู้สมัคร

ฝุ่น คือ วาระแห่งชาติแต่เรายังติดอยู่กับวังวนเรื่องนี้ ที่เดิมพันด้วยลมหายใจ ขอ 1 คำสำหรับ “ไอเดียแก้ฝุ่น” ทีมงานเราได้รวบรวมคำสำคัญจากออนไลน์และออนกราวน์ เพื่อเป็นสารตั้งต้นสื่อสารสาธารณะข้อเสนอ เรื่องฝุ่น ไฟ แก้อย่างไรให้ตรงจุด

กระจายอำนาจ : ไฟป่ากับฝุ่นควัน อยากจะแยกออกเป็น 2 เรื่อง เพราะเรื่องฝุ่นควันมีหลายปัจจัย ในแง่ของการจัดการไฟป่ามองเรื่องของกลไลเป็นหลัก ที่นอกจากกลไกของป่าไม้ที่เป็นอยู่มา มีกลไกของชุมชนและองกรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มประสิทธิภาพให้กับ 2 กลไกหลักนี้เลยเกี่ยวพันธ์กับเรื่องของ กระจายอำนาจ

แก้ที่ระบบ : ปัญหาฝุ่นมีการพูดถึงมาก ยิ่งจะพูดมากขึ้นในช่วงที่เผชิญเหตุเมื่อฝนตกลงมาฝุ่นหายไป เราก็จะเงียบหายไป เราเป็นผู้ที่ผ่อนปรน ไม่อยากต่อสู้กับผู้อื่น และคิดว่าปีต่อ ๆ ไปไม่มีปัญหาอะไร โชคดีปีที่แล้วมีฝน 12 เดือน เราพูดเรื่องโควิด -19 มากมายมหาศาล เราไม่เคยพูดถึงปัญหาฝุ่นควันที่ผ่านมา จนกระทั่งปีนี้เราเจอปัญหาเรื่องฝุ่นควันหนักที่สุด ถ้าวันนี้เราบอกว่าอากาศเป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องใช้ชีวิตไปในการหายใจใช้ตั้งแต่เกิดจนถึงละทิ้งจากโรคนี้ อากาศที่เราใช้อยู่วันนี้มันเหมาะจะใช้ชีวิตจริงหรือไม่ สิ่งที่เกิดขึ้นถ้าไม่ดีจริงแล้วใครอยากจะมาบ้านเรา แม้แต่เราเองยังไม่อยากอยู่บ้านเราเลย ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการท่องเที่ยวเลย เพราะฉะนั้นเราต้องไม่ละความพยายามที่จะดันและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้

Public transport : เป็นผู้ที่ย้ายจาก กรุงเทพมหานคร มาอยู่ที่เชียงใหม่เราต้องอยู่ในประเทศแบบนี้จริง ๆ หรือไม่ ที่ใครทนไม่ไหวก็หนี เป็นไปได้ไหมที่เราจะต้องย้ายคนที่บ้านรวมถึงตัวเรา ไปอยู่ต่างประเทศ เพียงเพราะปัญหาเราไม่ได้รับการแก้ไข / ที่บอกว่าเป็น Public transport ย้ายมาอยู่ซื้อคอนโด แต่ย้ายมา 6 ปีแล้วยังไม่เห็นรถสาธารณะสักคัน

มีอำนาจแล้วทำไมไม่ทำ : เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ รู้สาเหตุหลัก ๆ คือฝุ่นข้ามถิ่นและฝุ่นข้ามแดน และทั้งเกิดจากแปลงเกษตรและไฟป่า แปลงเกษตรยังไม่มีมาตรการใดที่แก้ไขชัดเจน เช่น เหนือล่างกลุ่มที่เผาฟางเพื่อทำนาปรัง ซึ่งทำให้ฝุ่นควันลอยขึ้นมายังพื้นที่ภาคเหนือเพราะมีลักษะเป็นแอ่งกระทะ เจอกับชั้นบรรยากาศที่ปิดทำให้ไม่สามารถไปไหนได้ หรือเศษวัสดุทางการเกษตรให้เกษตรกรหาวิธีแบบไม่ต้องเผา ก็ทำให้ต้นทุนสูง ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปแก้ไข

เรื่องอำนาจมีเรื่องฝุ่นควันช้ามแดนอีกประเด็นหนึ่ง และหนักหนาสาหัส พื้นที่ปลูกข้าวโพดข้ามไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแค่ปัญหาเรื่องฝุ่นควัน แต่เป็นสภาพแวดล้อมที่พังพินาศ

สำหรับคุณผู้อ่านที่กำลังอ่านอยู่ตอนนี้ ในช่วงเวลาต้นปีที่ผ่านมา รู้สึกอย่างไรกันบ้าง และคิดว่าไอเดียไหน โจทย์ หรือการบ้านของรัฐบาลชุดใหม่ ควรเป็นแบบไหน แม้ว่าจะเหมือนเป็นช่วงเวลาฤดูฝุ่น แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าวนลูปทุกปีและยิ่งเลวร้ายลงเรื่อย ๆ ในวันที่ต้องเจอกับสภาพอากาศไม่โปร่งใส มีฝุ่นปกคลุมหนาไปทั่ว ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ด้านล่างนี้เลย

https://wordcloud.csitereport.com/addans?token=e5c1c32b5fb7bfb176d511343f5ecd2b&fbclid=IwAR2RQL23TeQS51LpnTOuk_4Vynl655ADy2x6cuSO1OrP6fVMG83nv6ZkCd0

รายการฟังเสียงประเทศไทย ตอน คนเหนือ ในดงฝุ่น ชวนมาร่วมกันมองภาพอนาคตและแนวทางการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ไปด้วยกัน กับตัวแทนเครือข่ายสภาลมหายจภาคเหนือ ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนภาครัฐ คนในชุมชน คนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งคนรุ่นใหม่ที่สนใจประเด็นสิ่งแวดล้อม กว่า 30 คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางฝุ่นพิษในช่วงฤดูฝุ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3 ฉากทัศน์ ภาพอนาคตสถานการณ์ฝุ่นควัน ในอีก 10 ปีข้างหน้า  

แต่ก่อนที่เราจะไปพูดคุยเพื่อหาทางออกของปัญหาเรื่องนี้ เรามีภาพอนาคตสถานการณ์ฝุ่นควัน ในอีก 10 ปีข้างหน้า มาให้ทุกคนร่วมกันมองทั้งหมด 3 ฉากทัศน์ด้วยกัน

ฉากทัศน์ที่ 1 ลมเงียบ 

สถานการณ์ฝุ่นควันยังคละคลุ้ง รัฐตอบรับข้อเสนอการแก้ปัญหาจากประชาชน โดย พยายามออกแบบแผนปฏิบัติการจากส่วนกลางเป็นวาระแห่งชาติ หรือONE PLAN ในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ  แต่ขาดการมีส่วนร่วมจากพื้นที่หรือภาคปฏิบัติการ และไม่ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนเท่าที่ควร เนื่องจากภาคประชาชนเริ่มอ่อนแรงในการขับเคลื่อนแก้ปัญหา และขาดแรงจูงใจจากมาตรการลดแหล่งกำเนิดของฝุ่นควัน ทั้งในภาคการเกษตร และภาคการผลิต การขยายพื้นที่ทางการเกษตรในประเทศเพื่อนบ้านสูงขึ้น มลพิษฝุ่นควันทวีความรุ่นแรงตามภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศของโลก การปรับปรุงและพัฒนากฎหมายทำได้ช้า จากความมั่นคงและเสถียรภาพของรัฐบาล  ประชาชนพึ่งพาธรรมชาติมากขึ้น รอฟ้าฝน

ฉากทัศน์ที่ 2 ลมเอื่อย 

สถานการณ์ฝุ่นควันยังคละคลุ้ง รัฐตอบรับข้อเสนอการแก้ปัญหาจากประชาชน โดยมี มาตรการระยะสั้น มาตรการระยะกลาง และมาตรการระยะยาว โดยมีการทบทวนวาระแห่งชาติ ทบทวนกฎหมาย พร้อมเดินหน้าออก พ.ร.บ.อากาศสะอาดควบคู่กันไป และออกแบบการแก้ปัญหาฝุ่นควันของแต่ละพื้นที่ภูมิภาค โดยใช้ข้อมูล Big Data  เข้ามาช่วยจัดการ  ควบคู่กับการออกมาตรการในระยะต่าง ๆ เช่น ระงับการใช้รถยนต์ที่ก่อให้เกิดมลพิษ ปรับและจัดผังที่ตั้งโรงงานที่มีส่วนก่อมลพิษทางอากาศ มาตรการให้เงินอุดหนุนแก่เกษตรกรเพื่อป้องกันการเผาพืชไร่ ตลอดจนทำแผนปฏิบัติการป้องกันและควบคุมมลพิษทางอากาศ ตามมาตรฐานสากล ซึ่งจำนวนวันค่าคุณภาพอากาศโดยรวม ดีขึ้น แต่ด้วยระบบการทำงานของภาครัฐราชการแบบเดิม มีการรวมศูนย์ ปรับได้ช้า ทำให้แผนที่กำหนดได้ประสิทธิภาพไม่เต็มร้อย ประชาชนบางกลุ่มไม่ให้ความสำคัญ การลงทุนของเอกชนชะลอตัวจากมาตรการรัฐที่ออกมา 

ฉากทัศน์ที่ 3 ลมพัดโชย

สถานการณ์ฝุ่นควันยังคละคลุ้งในระยะแรก รัฐตอบรับข้อเสนอการแก้ปัญหาจากประชาชน โดยมี มาตรการระยะสั้น ระยะกลาง และมาตรการระยะยาว โดยทบทวนวาระแห่งชาติ ทบทวนกฎหมาย พร้อมเดินหน้าออก พ.ร.บ.อากาศสะอาดควบคู่กันโดยใช้ข้อมูล Big Data  เข้ามาช่วยจัดการปัญหามลพิษ ควบคู่กับการออกมาตรการในระยะต่าง ๆ  

มาตรการระยะสั้น มีการใช้เครื่องมือเศรษฐศาสตร์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนลดมลพิษ เช่น มาตรการทางภาษีที่จัดเก็บจากผู้ปล่อยมลพิษ การดำเนินมาตรการจัดการมลพิษที่แหล่งกำเนิด เช่น การห้ามเผาในที่โล่ง การยกระดับมาตรฐานการปล่อยมลพิษในภาคยานยนต์ ไปพร้อมกับการถ่ายทอดความรู้และสร้างความตระหนักให้กับภาคส่วนต่างๆ    เอกชนให้ความสนใจกับมาตรการทางภาษี ที่รัฐกำหนด และร่วมทุนในบางมาตรการร่วมกับรัฐและประชาชน อีกทั้งมีการปรับปรุงหรือทบทวนกฎหมายให้มีความทันสมัย และลดช่องว่างของอำนาจการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานต่างๆ พร้อมกับ ส่งเสริมและร่วมทุนในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการกำจัดวัสดุการเกษตรหรือแหล่งกำเนิดอื่น มีการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและบูรณาการการทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหามลพิษ และการส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การทบทวนปรับมาตรการเป็นระยะ  

ฤดูฝุ่น  กำลังกลายเป็นวัฎจักรสภาพอากาศของไทย  เมื่อทุกปลายฤดูหนาว ยาวมาจนถึงปลายฤดูร้อน ในภาคเหนือต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยฝุ่นและควัน “PM 2.5”ฝุ่นละเอียดขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 เท่าของปลายเส้นผม  จำนวนมหาศาลปะปนควันไฟจนทำให้ท้องฟ้าและเมืองทั้งเมืองหลัวหม่น ฝุ่นควันปกคลุมยาวนานและหนาแน่นกว่า 4 เดือน จนส่งผลกระทบต่อผู้คนและระบบเศรษฐกิจ

ปี 2566 เป็นอีกครั้งที่เครือข่ายประชาชนภาคเหนือ ออกมาประท้วงและยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่รัฐ ต่อศาลปกครอง เรียกร้องให้ปฏิบัติการตามกฎหมายและนโยบายที่กำหนดไว้เป็นวาระแห่งชาติ 

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2547 มลพิษทางอากาศของเชียงใหม่ถูกหยิบยกเป็นปัญหาเร่งด่วนตามมติคณะรัฐมนตรี  และในปี 2549 เป็นครั้งแรก ที่ประชาชนชาวเชียงใหม่ และนักวิชาการรวมตัวกันเข้าพบผู้ว่าราชการเรียกร้องให้ตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุ และรายงานค่ามลพิษทางอากาศให้ประชาชน หลังพบค่าฝุ่น PM 10 ซึ่งเป็นค่าฝุ่นในขณะนั้นสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน 3 เท่าตัว 

มีอุบัติการณ์และผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ประชาชนใน 8 จังหวัดภาคเหนือ เจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยมะเร็งปอด โรคระบบทางเดินหายใจ ตลอดจนโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฝุ่น เพิ่มสูงมาก นักวิชาการจึงผลักดันให้รัฐกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศด้วยค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กโดยใช้ค่า PM 2.5 ซึ่งเล็กและมีอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าแทน PM 10  ในปี 2553

ปี 2561 เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ กรมควบคุมมลพิษประกาศใช้ค่ามาตรฐานตัวชี้วัดคุณภาพอากาศ และค่าฝุ่นละอองจาก PM 10 มาเป็น PM 2.5 ประกอบกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ประชาชนสามารถเข้าถึงการวัดค่ามาตรฐานอากาศแบบเรียลไทม์ได้ง่าย ปีเดียวกันนั้นมีรายงานจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุดพบว่า เชียงใหม่มีคุณภาพที่แย่ที่สุดในโลก และมีการรายงานเช่นนี้ทุกปี 

ปี 2562 สภาพอากาศของภาคเหนือเลวร้ายหลายพื้นที่  เกิดนวัตกรรมเพื่อเอาชีวิตรอดจากฝุ่นโดยประชาชนมากมาย เช่น เครื่องฟอกอากาศ  เครื่องวัดฝุ่นขนาดเล็ก   ห้องปลอดฝุ่น  และแจกหน้ากากกันเองโดยประชาขน  

กุมภาพันธ์ 2562 รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศยกระดับการแก้ไขปัญหาฝุ่นและควันพิษให้เป็นวาระแห่งชาติอีกครั้ง

แต่ วาระแห่งชาติที่เป็นภาพรวม และขาดมาตรการที่ตรงจุด ย่อมไม่สามารถแก้ปัญหาฝุ่นภาคเหนือได้

อะไรคือโจทย์ที่ต้องทำความเข้าใจกับปัญหาฝุ่นเหนือ

1.สภาพภูมิประเทศของภาคเหนือ เป็นเขาสูงสลับซับซ้อน และแอ่งกระทะ  มีผลต่อการกักตัวของฝุ่นควันระบายยากกว่าพื้นที่ราบโล่ง  

2.พื้นที่กว่า 100 ล้านไร่ของภาคเหนือ  กว่าครึ่งหรือร้อยละ 53 เป็นป่าไม้  ที่เหลือเป็นพื้นที่ทำการเกษตรร้อยละ 30 และพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่นร้อยละ 16  

3.สภาพป่าเหนือเป็นป่าไม้ผลัดใบที่ทิ้งใบในฤดูแล้ง และป่าในแต่ละจังหวัดมีความต่างกัน ป่าส่วนใหญ่อยู่ในการดูแลของหน่วยงานรัฐ และมีสถานการณ์ของวิถีทำไร่หมุนเวียน การหาของป่า และการเปลี่ยนสภาพพื้นที่เพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่เกี่ยวโยงกับปัญหาเชิงโครงสร้างสิทธิที่ดินทำกินในเขตป่า  

4.มีการใช้ไฟเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรช่วงฤดูแล้งทั้งภูมิภาค ร่วมถึงการใช้ไฟในการบริหารการจัดการเชื้อเพลิงของหน่วยงานรัฐ

5.มีควันข้ามแดน จากการส่งเสริมและลงทุนในการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมการเกษตร

นอกจากนั้นมีปัจจัยจากแหล่งกำเนิดในเมือง การคมนาคม และกิจกรรมการผลิต  

แต่เอกสารวาระแห่งชาติ “ต้นตอสาเหตุหลัก” ของมลพิษในภาคเหนือโดยพุ่งเป้าไปที่การทํากินภาคเกษตรทั้งในและนอกพื้นที่ป่าของประชาชน ทำให้มาตรการจัดการกับปัญหาฝุ่นมุ่งเน้นไปที่การห้ามเผาเด็ดขาด zero burning แต่ไม่ได้ผล เพราะสภาพแต่ละจังหวัดแตกต่างกัน  

ประชาชนที่รวมตัวกันเป็นกลุ่ม “เชียงใหม่จะไม่ทน” และต่อมายกระดับกลุ่มเป็น “สภาลมหายใจ” และสถาบันการศึกษาในภาคเหนือ  ติดตามเจาะลึกถึงสภาพปัญหาและมาตรการการจัดการ โดยระบุว่า  จำเป็นต้องมี “ชุดมาตรการจัดการที่เฉพาะพื้นที่” 

แม้จะดูเหมือน คนเหนือต้องอยู่ในดงฝุ่นและวังวนของปัญหานี้มาอย่างยาวนาน   แต่มีสัญญานที่บ่งชี้ถึงความก้าวหน้าของการผลักดันแก้ไขปัญหานี้ 

สถาบันการศึกษาหลายแห่งทำการวิจัย หาทางออกระดับพื้นที่  มีการจัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ทำงานร่วมกับหน่วยราชการและประชาชน

สภาลมหายใจภาคเหนือ ก่อตัวขึ้นหลายจังหวัด ขับเคลื่อนรณรงค์ความรู้และแก้ปัญหาระดับพื้นที่ ขณะเดียวกันรวมตัวเคลื่อนเชิงนโยบาย เสนอกระบวนทัศน์ใหม่เพื่อแก้ปัญหา

6 ประการ หลักการสำคัญคือ บริหารจัดการสาเหตุตามบริบทภูมิสังคม หลักความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ เป็นต้น    

ประชาชนมีการนำข้อกฎหมายมาขับเคลื่อนแก้ไข มีการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด ที่หวังจะเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย

ผลักดันให้มีหน่วยงานที่ “กำกับดูแล”เรื่องมลพิษทางอากาศอย่างจริงจัง 

ขณะที่แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ซึ่งรัฐบาลประกาศแผนนี้มาตั้งแต่ปี 2562 ใกล้เสร็จสิ้นลง  และประชาชนมีข้อเสนอให้ทบทวนมาตรการณ์ในปีนี้  และเป็นปีที่กำลังจะมีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งแต่ละพรรคการเมืองล้วนแต่มีประเด็นฝุ่นควันเป็นนโยบาย  

2 มุมมอง แก้ไขปัญหาฝุ่น

หลังจากทุกท่านได้รับรู้ถึงข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่นควันในพื้นที่ภาคเหนือ และเป็นการผลักดันของภาคประชาชนรวมถึงมาตรการที่ผ่านมา แน่นอนว่านี่เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งอาจไม่ได้ครอบคลุมและครบถ้วนมากที่สุด ; จึงชวนทุกคนมาร่วมกันมองภาพอนาคต แนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมไปกับวิทยากรทั้ง2  ท่าน ที่มีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง

คุณ พัลลภ แซ่จิ๋ว ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่ : ชัดเจนว่าคนไทยที่ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านฝุ่นควันทำให้มีอัตราการยกเลิกการเดินทางหรือเดินทางไปในพื้นที่ที่คนมองว่าดีกว่า ส่วนคนต่างชาติเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่เป็น long stay ที่มาอาศัย 10 -20 วัน กลุ่มนี้มีทางเลือกและสามารถเลือกไปอยู่ที่อื่น กลุ่มที่ 2 ที่มากับกรุ๊ปทัวร์ด้วยความไม่รู้และจองตั๋วไว้แล้ว นักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับกรุ๊ปทัวร์ไม่สามารถยกเลิกได้ ไม่ว่าจะเป็นคนจีน เวียดนาม อย่างนักท่องเที่ยวที่เป็นโซนยุโรปที่เดินทางเอง เมื่อมาเจอกับสถานหารณ์จริงในพื้นที่แล้วเมื่อมาถึงก็บินกลับไปยังพื้นที่อื่นคืออยู่ในเชียงใหม่เพียง 2-3 วัน และบินไปยังพื้นที่อื่น ซึ่งไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็บินไปยังจังหวัดอื่นแทน เร็วกว่ากำหนดที่วางแผนไว้ และการท่องเที่ยวก็จะดูใจร้ายมากหากเชิญคนมาเที่ยวทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าจะส่งผลกระทบต่อคนที่มาเที่ยว เพราะฉะนั้นเราคงไม่สามารถเห็นแก่ตัวที่จะเชิญเขามาเพราะเป็นผลกระทบของนักท่องเที่ยวที่กระทบด้านสุขภาพของเขา แต่ในทางตรงกันข้ามเราก็พยายามที่จะนำเสนอว่าเรามีของดีมีสังคมวัฒนธรรมประเพณีและอาการที่เราจะโปรโมทในการวางแผนการท่องเที่ยวแบบเนิ่น ๆ

ทางด้านการท่องเที่ยวเสนอมาตรการพิเศษเฉพาะเมื่อถามผู้ที่มีอำนาจ ให้ความสำคัญน้อยเมื่อเทียบกับเรื่องอื่น เมื่อให้ความสัมพันธ์จริงจัง นำมาสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาที่น่าเร็วกว่านี้ และเป็นรูปธรรมกว่านี้ ตนเป็นเพียงปลายน้ำที่กินบุญเก่า หวังว่าหลังจากนี้ไปเราพยายามนำคืนสู่สังคมและกระบวนการต่าง ๆ ตั้งไข่ให้เร็วที่สุดในกระบวนการการแก้ไขปัญหานี้

คุณ บัณรส บัวคลี่ สภาลมหายใจเชียงใหม่ : ข้อจำกัดคือทุก ๆ ปี ย้อนหลังกลับไป เมื่อเกิดสถานการณ์นี้ขึ้นเราจะเป็นวงจรของวัฎจักร รอไปอีก 7-8 เดือนแล้วค่อยปลุกให้ตื่นขึ้นมาอีกที ช่วงมกราคมเป็นต้นไป นี่คือข้อจำกัด

ศูนย์ติดตามภูมิอากาศของสหรัฐอเมริกากล่าวว่าปีหน้ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดเอลนินโญ่ มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดเอลนินโญ่ ประมาน 62 % ซึงเร็วมากกว่าปกติ ข่าวร้ายคือเรามีเวลากเพียง 12 เดือนเท่านั้นที่จะรับมือกับภัยธรรมชาตินี้

สิ่งที่จะหนักขึ้นกว่าปีนี้ ตอนนี้ทีมเราทำแคมเปญนี้ขึ้นมาคือ 2567 ต้องเปลี่ยนวาระแห่งชาติด้วยฝุ่นควัน

หลักการมาตรการปฎิบัติการของแต่ละจังหวัดเป็นอย่างไร ต้องทำฝ่ายกัน 5 ลูก 8 ลูก จัดอบรมเรื่องปลูกทัศนคติ จัด ๆ ไป มีเอกสารแผ่นพับ ถ้าเราบอกว่ารัฐบาลจะต้องทำทั้งปีเขาจะตอกหน้าหงายและบอกว่าทำแล้ว แต่คุณไม่ลงไปสู่เชิงปฎิบัติการและรายละเอียดการเผาในภาคการเกษตรเขาจะให้หน่วยงานต่าง ๆ ทำ ปรากฏว่าในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ น่าน อื่น ๆ ไม่มีเจ้าภาพในการดูแลลงไปยังพื้นที่ ใครเป็นคนทำ จังหวัดของฉันอยู่ตรงไหนบ้างไม่เคยมี เรารออะไรเรารอผู้ว่าย้ายในแต่ละปีเตรียมข้อมูลใส่แฟ้มเอาไว้ จะมีโครงการแบบนี้ท่านช่วยเคาะถ้ามาใหม่ ๆ ก็เรียกหลาย ๆ จังหวัดมาทำห้ามเผาร่วมกัน โดยไม่รู้ว่าข้อมูลจาก Gisda บอกแล้วว่าการห้ามเผานั้นมันไม่สำเร็จ ยิ่งห้ามเผายิ่งไปกันใหญ่เพราะมันไม่เหมาะกับบริบทพื้นที่ การเปลี่ยนต้องเปลี่ยนที่มาตรการ ต้องมองในเชิงเราเป็นตัวแทนของนายก ผู้ว่าและเราก็จะเห็นภาพรวมและองค์รวม

เมื่อรับฟังข้อมูลแล้ว เราอยากฟังเหตุผลในการตัดสินใจ ว่าผู้เข้าร่วมแต่ละท่านเลือกฉากทัศน์ใดเพราะอะไร

เลือกฉากทัศน์ที่ 2 เพราะมองว่า ปัจจุบันเรามีการพูดคุย เทรนใหม่ globalization เฝ้าระวัง วิธีการรับมือ ป้องกัน ยับยั้ง

สองคือมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นแล้วจะใช้อย่างไร

เลือกฉากทัศน์ที่ 2 เพราะ คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน ผู้นำสูงสุดถ้าไม่กระดิกอะไรคิดว่าการแก้ไขยาก

เลือกฉากทัศน์ที่ 3 เพราะถือว่าดอยปุย เราทำได้อยู่ระดับหนึ่ง เราทำมา 30 กว่าปี ตอนนี้ป่าชุมชนตนเองก็ฟื้นขึ้นมาแล้ว แนวกันไฟชุมชนก็ทำแล้ว ดับไฟก็มากันมาแล้ว แต่ฝุ่นควันยังมากขึ้นกว่าเดิม เชื่อได้ว่าไฟไหม้ทุกปีมาจากฐานของความขัดแย้ง แล้งนี้คุณไม่รอดถ้าเป็นแบบนี้

เลือกฉากทัศน์ครั้งแรก คือ ฉากทัศน์ที่ 3 คิดว่าอนาคตน่าจะดี แต่พอฟังข้อมูลก็เปลี่ยนใจไปเลือก 1 อันดับแรกเรื่องทุจริตคอรัปชั่น ทุกเวทีมีข้อมูลแน่นแต่ไม่สามารถจัดการได้จริง วันนี้

มีหนึ่งคำที่เราไม่พอใจที่สุดคือ ช่วย ๆ กันแกไปเถอะ 3 เดือนก็จบไปละ ทุก ๆ ระดับต้องช่วยกัน พ่อบ้านพ่อเมืองควรเป็นผู้ที่เข้าใจและมาจากการเลือกตั้งของคนในพื้นที่ เลือกฉากทัศน์ที่ 3 ทั้ง 2 สภาลมหายใจภาคเหนือเป็นหน่วยงานที่เข้มแข็งที่สุดในประเทศไทย

คุณก็สามารถมองอนาคตและเลือกอนาคตไปกับเราได้

ร่วมโหวตฉากทัศน์

หลังจากที่ได้อ่านข้อมูลและทิศทางการเข้าถึงอากาศสะอาดจากตัวแทนภาคประชาชน นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว คุณคิดว่า อนาคต หรือ ทิศทางการแก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่น ควรเดินหน้าต่อไปทางไหน สามารถร่วมโหวตฉากทัศน์ที่อยู่ด้านล่างนี้ได้เลย

https://thailandlive.csitereport.com/vote?token=d6f5e02bbb23e7eff4f7cd4856728447

นอกจากนี้ยังร่วมแสดงความคิดเห็น หรือออกแบบนโยบาย หรือนำเสนอแนวคิดเพื่อการจัดการอากาศ หรือแก้ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 ได้ที่ your priority พื้นที่ออกแบบนโยบายแบบมีส่วนร่วม

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ