พิกัดไฟ พิกัดฝุ่น กับข้อเสนอจูงใจออกจากวังวนฝุ่น

พิกัดไฟ พิกัดฝุ่น กับข้อเสนอจูงใจออกจากวังวนฝุ่น

หลังวันวาเลนไทน์เทศกาลแห่งความรักผ่านพ้น..

สัปดาห์นี้มาเป็นเรื่องของลมหายใจและปอด  แทบทุกภาคของไทยเช้านี้สูงสุดเกินเกินค่ามาตรฐาน

ภาพ : พิกัดเครื่อง smart sener cmuccdc ค่าเฉลี่ย PM 2.5 รายชั่วโมง วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567

หากย้อนดูสถิติจุดความร้อนข้อมูลจาก Gistda มีรายงานจุดความร้อน 267 จุด ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวน ซึ่งจุดความร้อนสูงสุดอยู่ที่จังหวัดชัยภูมิ 32จุด

ภาพ : สรุปสถิติจุดความร้อน (Hotspot) จากข้อมูลดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS  ในพื้นที่ประเทศไทย

รองลงมาคือจังหวัดกาญจนบุรี 28 จุด ตามต่อด้วยจังหวัดตาก 24 จุด เชียงใหม่ 23 จุด แน่นอนว่านอกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนข้อมูลการเผายังพบในพื้นที่การเกษตร ซึ่งฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลหีบอ้อย ซึ่งการเผาน่ากลัวจนนายกรัฐมนตรีตกใจ

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายรายงานการผลิตอ้อยในปี 2566/67

https://www.ocsb.go.th/

มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ กว่า 70ล้านตัน ซึ่งในจำนวนนี้มีอ้อยที่ลักลอบเผาเข้าระบบการหีบกว่า 20 ล้านตัน โดยพบจุดความร้อนในพื้นที่ที่มีการเผาอ้อย กระจายตัวกันอยู่ทุกภูมิภาคทั้งภาคอีสานภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง

https://www.ocsb.go.th/

โดยพบมากที่สุดอยู่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นสูงสุดถึง163 จุด รองลงมาคือจังหวัดสุพรรณบุรี และลพบุรีมากกว่า 150 จุด ในขณะ ที่ข้อมูลทางวิชาการระบบฝุ่นในประเทศไทยส่วนใหญ่ส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้ทั้งในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตร กว่า 56%

แล้วการเผาเกิดขึ้นที่ไหนบ้าง …

ชวนคุยกับ รศ.ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

เลี่ยงไม่ได้ที่จะบอกว่าปัญหาหนึ่งมาจากภาคการเกษตรทั้งบนพื้นที่สูงและที่ราบ

ปัญหาการเผาในที่สูงหลัก ๆ มาจากการปลูกพืชเชิงเดียวและการทำไร่ ในช่วงฤดูแล้งหรือหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวการจัดการแปลงด้วยวิธีการเผาเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดรวดเร็วที่สุดและต้นทุนต่ำสุด แต่หารู้ไม่ต้นทุนที่ต่ำผลที่กลับคืนมาคือสุขภาพของประชาชนที่ต้องจ่ายไม่สามารถประเมินมูลค่าได้เพราะบางคนต้องแลกมาด้วยกับชีวิต

การเผาบนพื้นที่สูงเป็นโจทย์และถูกพูดถึงมานานมีความพยายามนำพาเกษตรกรและชาวบ้านออกจากปัญหานี้อย่างเช่น มีการปรับเปลี่ยนวิถีการปลูกของชาวบ้านแน่นอนว่าการปลูกไม้ผลไม้เศรษฐกิจจำเป็นต้องใช้เวลาอย่างน้อยห้าปีกว่าจะให้ผลผลิต แต่ละระหว่างรอก็มีแนวทางใหม่เช่นการปลูกพืชระยะสั้นเช่นพืชผักผลไม้ผลไม้เมืองหนาว

แต่โจทย์ที่ตามมานั่นก็คือกลไกการตลาดใครจะรับซื้อ และโจทก์สำคัญก็คือหากผลผลิตน้อยทำให้ไม่คุ้มทุนในเรื่องของการขนส่ง

ถ้าหากยังปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือพืชระยะสั้นเหมือนเดิมก็เป็นโจทย์เหมือนกัน ว่าหากเกษตรกรยังไม่ปรับเปลี่ยนจะมีวิธีการสนับสนุนอย่างไรบ้าง เช่น มีข้อเสนอให้บริษัทเอกชนซื้อชีวมวลหรือเศษซากทางการเกษตรพร้อมกับผลผลิตด้วยจะเป็นไปได้หรือไม่ ซึ่งแน่นอนว่าต้นทุนที่ผู้ประกอบการเอกชนแบกรับสิ่งที่จะตามมาแน่ก็คือปลายทางของผู้บริโภคจะต้องมีราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน หรือแม้กระทั่งการสนับสนุนการแปรรูปเศษวัสดุทางการเกษตรหรือชีวมวลแต่สิ่งที่ตามมาคือต้นทุนสูง หรือการจัดตั้งเครื่องกำจัดชีวมวลอาจจะไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือโจทย์ที่ยังต้องคิดต่อกันอยู่

ขณะที่ในพื้นที่ราบพืชหลักที่เป็นต้นเหตุของปัญหาฝุ่นควันก็คือพืชตามฤดูกาลอย่างเช่น อ้อย ข้าว และข้าวโพดที่กระจายตัวกันอยู่ในทั้งพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างภาคกลาง และภาคอีสาน

ส่วนพื้นที่การเกิดไฟในภาคการเกษตรโดยเฉพาะพื้นที่ราบ แปลงนาข้าวและข้าวโพดดูเหมือนจะแก้ไขปัญหาได้ยากสุดเนื่องจากกระบวนการผลิตนั้นมีกระบวนการที่ยาวกว่า จากแปลงเกษตร ไปสู่หน่วยรับซื้อ ก่อนส่งต่อไปยังโรงงานแปรรูป

แต่แปลงเกษตรที่มีข้อมูลชัดเจนและน่าจะแก้ไขปัญหาได้เร็วสุดคือ ไร่อ้อย หากดูจากข้อมูลโรงงานน้ำตาลจะรู้ถึงพิกัดแปลงปลูกล่วงหน้า และหากซ้อนข้อมูลจากดาวเทียมตามภาพในรายงาน เรารู้แม้กระทั่งเจ้าไหนเป็นผู้เผาซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด หากมีแรงสนับสนุนที่ชัดเจนจากภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะโรงงานผลิตน้ำตาล

ปัญหาไร่อ้อยกับการเผาดูเหมือนจะเริ่มคลี่คลายเนื่องจากมีกลไกสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนสนับสนุนการซื้ออ้อยที่ปอดจากการเผาแต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์แต่อย่างน้อยรู้ที่มาของจุดเผา และขั้นตอนการผลิตที่สั้นกว่าเนื่องจากรู้จุดแปลงปลูก ไปถึงโรงงานรับซื้อ แต่ข้อกังวลคือความต่อเนื่องของนโยบายในการสนับสนุนเพื่อที่จะเป็นแรงจูงใจเพื่อลดการเผาอย่างต่อเนื่องรวมไปถึงการสนับสนุนเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว

แต่สิ่งที่ยากในพื้นที่เหล่านี้คือแปลงนาข้าว ข้าวโพด เนื่องจากกระบวนการผลิตยาว และเป็นแปลงขนาดเล็กและมีกลไกกว่าจะถึงสถานที่แปรรูปนั้นมีหลายขั้นตอนทำให้การตรวจติดตามค่อนข้างยากซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบวิธีการติดตามแปลงปลูกต้นต้นทางหนำซ้ำยังขาดกลไกสนับสนุนทั้งรัฐและเอกชน

การเผาการเกษตร พอที่จะมีแนวทางในการลดการเผาอยู่แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนทำอย่างไรให้เกษตรกรที่เป็นต้นทางของปัญหาไม่ได้เป็นผู้แบกรับต้นทุนการกำจัดวัสดุทางเกษตรแต่เพียงผู้เดียว แต่หากดึงเข้าสู่ระบบประชาชนในฐานะผู้บริโภคอาจจะต้องมีส่วนในการร่วมจ่ายด้วย

ซึ่งขณะนี้กำลังมีงานวิจัยที่สนับสนุนเรื่องการตรวจแปลงปลูกไปจนถึงการออกแบบให้ผู้บริโภคสามารถสนับสนุนสินค้าการเกษตรหรือสินค้าจากการแปรรูปเกษตรแบบไม่เผาคาดว่าจะมีโมเดลและทดลองทำเร็ว ๆ นี้

อีกส่วนหนึ่งคือการเผาไหม้ในพื้นที่ป่า

แม้นว่าปีนี้จะชัดเจนเรื่องการถ่ายโอนภารกิจจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็คือกรมป่าไม้และกรมอุทยานไปที่ อปท. และให้เป็นการร่วมมือกันของคนในพื้นที่ก็คือ อปท.และชุม

แต่โจทย์แรกที่ต้องเผชิญคืองบประมาณในการบริหารจัดการเนื่องจากบางพื้นที่มาเพียงภารกิจแต่งบประมาณไม่ได้มา แต่แนวทางที่เคยมีอยู่ก็คือว่ามีเอกชนที่สนใจสนับสนุนโดยใช้งบผ่านกลไก CSR แต่ที่ผ่านมาคือกระจัดกระจายและขาดกลไกติดตามและความต่อเนื่อง

ตอนนี้อยู่ระหว่างการทำวิจัยเพื่อพัฒนาระบบ Service MENU สามารถให้เอกชนเลือกสนับสนุนงบประมาณกับชุมชนชุมชนและมีกลไกติดตามและสามารถเชื่อมกับนโยบายของตลาดหลักทรัพย์ มิติของเศรษฐกิจสีเขียวยั่งยืน และมีงานวิจัยที่อยู่ระหว่างการออกแบบระบบ e-payment ecosystem เพื่อให้คนสังคมได้ร่วมดูแลป่า

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ