19 เมษายน 2560 หรือ 5 ปีที่แล้ว เรือขนาดใหญ่ของจีนเข้าเทียบท่าเรือเชียงแสน จ.เชียงราย เพื่อปฏิบัติการสำรวจเตรียมการปรับปรุงร่องน้ำโขง ตั้งแต่สามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน ถึงแก่งผาได อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย นับเป็นการปลุกชาวบ้านริมน้ำโขงลุกขึ้นมาคัดค้านอีกครั้ง หลังเงียบหายไปนับ 10 ปี
ครูตี๋ นิวัฒน์ ร้อยแก้ว นำเรือชาวบ้านแล่นประชิดเรือสำรวจจีนขณะทำการขุดเจาะ เพื่อแสดงจุดยืน และมีข้อเสนอถึงรัฐบาล 3 ข้อคือ ควรประเมินผลกระทบทางสังคมสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจจากการระเบิดเกาะแก่งแม่น้ำโขงในระยะที่ 1 ก่อน ควรประเมินผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ด้านมูลค่าและคุณค่าของนิเวศลุ่มน้ำโขงตลอดลำน้ำโขงเพื่อเป็นฐานข้อมูลตัดสินใจก่อนที่จะเดินหน้าโครงการ และควรศึกษาและพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่นถนนสายเอเชีย R3a รีบเร่งพัฒนาการขนส่งทางราง ท่าเรือเชียงแสนให้รองรับการขนส่งสินค้าได้เต็มศักยภาพมากกว่าการจะทำลายเกาะแก่งแม่น้ำโขง
ข้อเสนอนี้ยืนยันได้ว่า ครูตี๋ ไม่ได้ต่อสู้ปกป้องแม่น้ำโขงจากการระเบิดแก่งโดยไม่คำนึงถึงการพัฒนา แต่ตั้งคำถามกับการจะพัฒนาอย่างเหมาะสมคุ้มค่าและต่อรองผลที่ตามมา เช่นที่ครูตี๋คุยกับทีมสื่อพลเมือง ในครั้งนั้นว่า
“เราไม่ได้ต่อสู้ เราไปต่อรอง ใช้ความรู้เป็นตัวต่อรองกับอำนาจ”
ข้อต่อรองของครูตี๋ และเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำโขงทั้งเหนือและอิสานทำอย่างต่อเนื่องเพื่อยืนยันถึงสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรและสายน้ำโขง สายน้ำนานาชาติที่หล่อเลี้ยงผู้คน 6 ประเทศ คือ “ความรู้” เช่นที่ครูตี่เล่าในคลิป นี้
และอยากชวนอ่าน
- คุยกับครูตี๋ ในวันที่เรือจีนเทียบท่าสำรวจแม่น้ำโขง ย้อนหลังไปเมื่อ 19 เมษายน 2560 ที่เรือสำรวจแม่น้ำโขงจากประเทศจีนเริ่มเข้างานสำรวจภาคสนามเพื่อการเดินเรือในแม่น้ำโขงช่วงไทย ลาว ระยะที่ 2 ซึ่งครม.เห็นชอบไปเมื่อ ปลายปี 2559 และต่อมา 4 กุมภาพันธ์ .2563 ครม. มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมให้ยุติการดำเนินโครงการปรับปรุงร่องน้ำการเดินเรือในแม่น้ำล้านช้าง แม่น้ำโขง ภายใต้ความตกลงการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง แม่น้ำโขง พ.ศ. 2543
ย้อนไปในอดีตในช่วงการระเบิดเกาะแก่งแม่น้ำโขงครั้งแรกเมื่อปี 2542 เรือจีน VS แก่งน้ำโขง คลิกดูคลิป
และบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ที่ยืนยันว่าเมื่อแก่งแม่น้ำโขงที่หายไป ส่งผลกระทบอย่างไร ช่วงปี 2545-2547มีการระเบิดแก่งหิน 10 จุด เหนือเชียงแสนขึ้นไปถึงประเทศจีนแก่งหินหายไป แต่สิ่งที่มาทดแทน คือทราย ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเดินเรือไม่แพ้แก่งหินปริมาณทราย ทิศทางการไหล และการก่อตัวที่ควบคุมไม่ได้กลายเป็นตัวเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในลำน้ำโขงชาวบ้านที่นั่นบอกว่าในอนาคต หากทรายสะสมตัว จนเกิดเป็นเกาะใหม่ขึ้นกลางน้ำจะส่งผลต่อเส้นเขตแดนไทย/ลาว ตามสนธิสัญญาที่ไทยทำกับฝรั่งเศส
ครั้งนั้นเมืองไร้แก่ง ที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย มีบทเรียนบางอย่างจะบอกชาวเชียงของที่กำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์ในช่วงปี 2560 โดยการระเบิดแก่งน้ำโขง ทำให้ได้อะไร เช่น ได้แม่น้ำโล่งๆๆๆได้หาดทรายใหม่เต็มลำน้ำ ได้งบซ่อมตลิ่งพัง นกได้หาบ้านใหม่ ชาวประมงได้พักผ่อน ได้คุยกับลาวเรื่องเส้นเขตแดน
และนี่เช่นกัน 4 เหตุผล กับไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ที่เคยให้สัมภาษณ์ทีมสื่อพลเมืองไว้เมื่อปี 2560 ว่า
การระเบิดแก่งแม่น้ำโขงคนที่ได้รับผลกระทบ ไม่ใช่แค่เพียงชาวบ้านริมฝั่งโขงที่ จ.เชียงรายเหตุการณ์นี้ เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของคนทั้งประเทศโดยเฉพาะเรื่องของอธิปไตยและความมั่นคงของประเทศ
ทั้งนี้ สถานะล่าสุดของโครงการระเบิดแก่งแม่น้ำโขงยุติลง เมื่อมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ .2563 ที่ครม.เห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมให้ยุติการดำเนินโครงการปรับปรุงร่องน้ำการเดินเรือในแม่น้ำล้านช้าง / แม่น้ำโขง ภายใต้ความตกลงการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง / แม่น้ำโขง พ.ศ. 2543
ย้อนรอย ระเบิดแก่งน้ำโขง
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
อ่านความรู้สึกครูตี๋ต่อการได้รับรางวัลและอนาคตแม่น้ำโขงแม้จะไม่ถูกระเบิดแก่ง ที่ transbordersnews