ชมย้อนหลังเสวนา “การเมืองแห่งความอาทร: วิกฤติผู้ลี้ภัยในเอเชียและยุโรป”

ชมย้อนหลังเสวนา “การเมืองแห่งความอาทร: วิกฤติผู้ลี้ภัยในเอเชียและยุโรป”

เสวนา “การเมืองแห่งความอาทร: วิกฤติผู้ลี้ภัยในเอเชียและยุโรป”

จัดโดยคณะรัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ และสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส 

วันที่ 14 กันยายน 2558 เวลา 13.30 – 16.30 น. 
ณ ห้อง ร 103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์
 
วิทยากร
ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผศ.ดร.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรยทราย วงศ์สุบรรณ อดีตเจ้าหน้าที่ International Rescue Committee (IRC)

ดำเนินรายการโดย 
ดร.จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สถานการณ์ผู้อพยพชาวซีเรียในยุโรปช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาอยู่ในการจับจ้องของประชาคมโลก สงครามกลางเมืองในซีเรียเริ่มจากการปฏวัติอาหรับในปี ค.ศ. 2011 เมื่อประชาชนในเมืองหลวงดามัสกัส รวมถึงเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือรวมตัวประท้วงรัฐบาลบารชาร์ อัล อัดซาด (Bashar al-Assad) เมื่อรัฐบาลตอบโต้ด้วยมาตรการรุนแรง ประชาชนเรือนหมื่นจึงรวมตัวกันประท้วงด้วยสันติวิธีอย่างกว้างขวาง

อย่างไรก็ดี แนวโน้มเช่นนี้เปลี่ยนเมื่ออดีตทหารที่เปลี่ยนข้างไปสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ปลุกระดมผู้คนให้จับอาวุธสู้ และก่อตั้งกองกำลังปลดปล่อยซีเรีย (Free Syrian Army-FSA) การต่อสู้ด้วยสันติวิธีเปลี่ยนเป็นสงครามกลางเมืองอย่างเต็มรูปแบบ ในเวลาต่อมาซีเรียกลายเป็นฐานที่มั่นสำคัญของกลุ่มรัฐอิสลาม (Islamic State – IS) ซึ่งใช้ความรุนแรงสังหารผู้คนอย่างไม่เลือกหน้า ตลอดจนทำลายสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของโลก 

จากรายงาน Global Peace Index ในปีนี้ ซีเรียติดอันดับประเทศที่อันตรายที่สุด เทียบกับ 7 ปีก่อนที่ซีเรียอยู่ในอันดับที่ 88 ของประเทศที่สงบสุขที่สุด (The Independent, July 23, 2015) สงครามในซีเรียคร่าชีวิตผู้บริสุทธ์ไปแล้วกว่าสามแสนคน และมีผู้บาดเจ็บราวหนึ่งล้านห้าแสนคน ที่สำคัญคือสงครามขับให้ผู้คนหนีตายด้วยการลี้ภัยออกไปนอกประเทศ หากไม่มีกำลังเพียงพอก็ต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (Internally Displaced Persons – IDPs)

ประมาณการว่าขณะนี้มีผู้อพยพชาวซีเรียถึงสามล้านคน จากจำนวนผู้อพยพทั่วโลก 50 ล้านคน ผู้อพยพชาวซีเรียส่วนใหญ่อยู่ในค่ายพักพิงที่ประเทศตุรกี เลบานอน จาร์แดน และอิรัก (Amnesty International, June 15, 2015) 

สถานการณ์เช่นนี้สะท้อนวิกฤตผู้อพยพจากภัยสงครามกลางเมืองดังที่เกิดในหลายที่ทั่วโลก ร่วมถึงเมียนมาร์ประเทศเพื่อนบ้าน และมลรัฐซินเจียง ในประเทศจีน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เล็งเห็นว่าสังคมไทยยังมีความรู้ความเข้าใจประเด็นผู้อพยพจำกัด จึงเห็นควรให้มีเวทีสาธารณะเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและกระตุ้นให้สังคมไทยเห็นปัญหาผู้อพยพเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในสังคมที่ต้องช่วยเหลือกัน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ