เมืองเชียงรายตั้งขึ้นโดยพญามังรายผู้ซึ่งต่อมาสามารถรวบรวมแว่นแคว้นในลุ่มน้ำกก ลุ่มน้ำอิงและลุ่มน้ำปิงตอนบนเป็นอาณาจักรล้านนา นับรวมการตั้งเมืองเชียงรายมาจนถึงปี ๒๕๕๕ เป็นเวลาครบรอบ ๗๕๐ ปี บนเส้นทางประวัติศาสตร์เมืองเชียงรายอันยาวนานที่มีผู้คนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ได้ร่วมกันสร้างเมืองเจียงฮายมาจนถึงทุกวันนี้ ได้ผ่านทั้งแต่ยุครุ่งเรือง ยุคไร้ชื่อ ควบคู่กับอาณาจักรล้านนาที่ผ่านยุครุ่งเรือง ยุคตกเป็นเมืองขึ้น ยุคสมัยใหม่ เชียงรายมี…สถานะเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย
ในยุคปัจจุบันความเข้าใจของคนทั่วไป ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนและเป็นข้อถกเถียงต่อประวัติศาตร์เจียงฮาย ต่อตัวตนของคนเจียงฮายอยู่หลายประการ เช่น เมืองเจียงฮายสร้างเมื่อใดกันแน่ พญามังรายไม่ใช่พ่อขุนเม็งราย ฯลฯ ความเข้าใจคลาดเคลื่อนและข้อถกเถียงนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับมุมมองและวิธีการทางประวัติศาสตร์โดยใช้ประวัติศาสตร์ชาติเชิงเดี่ยวเป็นหลัก แล้วละเลยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากมุมมองคนใน รวมทั้งการไม่นับรวมองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นวิชาการความรู้ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีผลทำให้ความเข้าใจในตัวตนของคนท้องถิ่นเองก็มีความคลาดเคลื่อนและทำให้การเคลื่อนผ่านไปสู่การพัฒนาใดๆ ในท้องถิ่นต่างๆ มักจะผิดทิศทาง ละเลยตัวเก่าหรือตัวตน หรือการรู้จักตนเอง เพราะการรู้จักตนเองก่อนจะทำให้คน/เมืองนั้นๆ มีเอกลักษณ์ในการเติบโตที่เข้มแข็งและพัฒนาไปสู่ความเจริญทั้งภายในและภายนอกอย่างมีวุฒิภาวะ อย่างเป็นสุข
การใช้แนวทางประวัติศาสตร์แบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือในการค้นหา ทำความเข้าใจตัวตนของคนเจียงฮายโดยคนเจียงฮายเองมีขึ้นในหลายพื้นที่ในช่วงสิบปีที่ผ่าน และในช่วงใกล้วาระครบรอบ ๗๕๐ ปี เมืองเจียงฮายใน พ.ศ. ๒๕๕๕ นี้ โครงการสร้างสุขด้วยประวัติศาสตร์ (วาระครบรอบ ๗๕๐ ปี เมืองเชียงราย) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เกิดขึ้นกลางปี ๒๕๕๓ โดยเล็งผลกระทบจากกระบวนการทำงานให้เกิดสิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้นด้วย
อีกทั้งยังมีเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา ซึ่งเน้นการทำงานฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นภายใต้แนวคิดประวัติศาสตร์นิเวศวัฒนธรรมมาเกือบสิบปี และสถาบันยวนเชียงราย ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของนักวิชาการ นักเขียน ผู้รู้ท้องถิ่นเชียงรายเป็นฐานคิดและค้นคว้าวิจัยในทางประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมและวรรณกรรมโบราณ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดความเข้าใจต่อตัวตนคนเจียงฮายที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีหลายองค์กรในเชียงรายที่ได้ขับเคลื่อนแนวทางการสร้างประวัติศาสตร์แบบมีส่วนร่วมหรืออาจจะพูดได้ว่า การชำระประวัติศาสตร์เชียงรายให้เกิดความเข้าใจและการยอมรับในตัวตนของคนเจียงฮายอย่างถูกต้อง เพื่อจะก้าวไปสู่ทศวรรษใหม่เมืองเจียงฮายที่เติบโตเข้มแข็งอย่างเป็นสุข
งานเสวนา “เจียงฮายฮู้จักตัวเก่า” 'ชำระประวัติศาสตร์เชียงราย : ท้องถิ่นเป็นสุขด้วยการรู้จักตนเอง' จึงเกิดขึ้นโดยฐานแนวคิดที่กล่าวมาข้างตน โดยความร่วมมือขององค์กรดังต่อไปนี้ คือ โครงการสร้างสุขด้วยประวัติศาสตร์ (วาระครบรอบ ๗๕๐ ปี เมืองเชียงราย) ภายใต้การสนับสนุนของ สสส., เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา, สถาบันยวนเชียงราย, คณะทำงานบูรณาการจังหวัดเชียงราย และภาคีร่วม ๑๔ องค์กร เพื่อเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม ของเมืองเชียงราย และเพื่อจุดประกายการชำระประวัติศาสตร์เชียงรายให้เกิดความเข้าใจและการยอมรับในตัวตนของคนเจียงฮายอย่างถูกต้อง พร้อมจะก้าวไปสู่ทศวรรษใหม่เมืองเจียงฮายที่เติบโตเข้มแข็งและพัฒนาไปสู่ความเจริญทั้งภายในและภายนอกอย่างมีวุฒิภาวะ อย่างเป็นสุข
กำหนดการ
วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๔
๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ – ๐๙.๑๕ น. กล่าวต้อนรับ/ชี้แจงกำหนดการ
/วัตถุประสงค์และรายละเอียดงาน
๐๙.๑๕ – ๐๙.๓๐ น. ชมสารคดี “ประวัติศาสตร์สร้างสุขได้อย่างไร?”
๐๙.๓๐ – ๐๙.๔๐ น. หัวหน้าคณะจัดงานกล่าวรายงานต่อประธานเปิดงาน
โดย อาจารย์บดินทร์ จันวัน
ประธานสถาบันยวนเชียงราย
๐๙.๔๐ – ๑๐.๐๐ น. ประธานกล่าวเปิดงาน โดย พระเทพสิทธินายก เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย หรือผู้แทน
๑๐.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. เสวนา “ประวัติศาสตร์สร้างสุข :
ผู้คน ท้องถิ่นเป็นสุขด้วยการรู้จักตนเอง” โดย
– นายศักรินทร์ ปาระกา : ตัวแทนเยาวชนแม่คำ
– ตัวแทนเยาวชนโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม
– อาจารย์ดารณี อ่อนชมจันทร์ : ผอ.สถาบันสุขภาพวิถีไทย(สสว.)
– ทพญ. ปาริชาติ ลุนทา : ผอ.โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง
– ครูนิวัฒน์ ร้อยแก้ว : กลุ่มรักษ์เชียงของ
– นายสวาทพล ก๋าระร่วง : เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา
– นายสันติพงษ์ ช้างเผือก : หัวหน้าโครงการสร้างสุขด้วยประวัติศาสตร์ (วาระครบรอบ ๗๕๐ ปี เมืองเชียงราย)
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๓.๔๕ น. การแสดงดนตรีของเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์
ครูป้อ และกิตติ The Recycle
๑๓.๔๕ – ๑๔.๐๐ น. สีสะล้อและอื่อกะโลง โดย
สุคำ แก้วศรี และ ธัญญาณัฐ ชาวเหนือ
๑๔.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. เสวนาคีตวรรณกรรม
“ล้านนาต้นธารวรรณกรรมสยามประเทศ” โดย
– อาจารย์มาลา คำจันทร์
– ผศ. วิลักษณ์ ศรีป่าซาง
– นายไพฑูรย์ พรหมวิจิตร
– รศ. สุพรรณ ทองคล้อย
– อาจารย์นิคม บุญเสริม
– นายสมหวัง อินทร์ไชย ดำเนินรายการ
๑๖.๐๐ – ๑๗.๓๐ น. ร่ายกวี ดนตรี และอภิปรายทั่วไป
วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๔
๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียนวันที่สอง
๐๙.๐๐ – ๐๙.๒๐น. กล่าวต้อนรับ/ชี้แจงกำหนดการ
/วัตถุประสงค์/สรุปงานวันแรก
๙.๒๐ – ๑๑.๔๕ น. เสวนา “ชำระประวัติศาสตร์เชียงรายภาคประชาชน : พญามังรายไม่ใช่พ่อขุนเม็งราย, เมืองเชียงรายสร้างเมื่อไหร่กันแน่ ฯลฯ” โดย
– อาจารย์ชรินทร์ แจ่มจิตต์
– รศ.สรัสวดี อ๋องสกุล
– อาจารย์บดินทร์ กินาวงศ์
– อาจารย์อุดร วงษ์ทับทิม
– นายทองคร้าม ทองขาว : ดำเนินรายการ
๑๑.๔๕ – ๑๑.๕๐ น. หัวหน้าคณะจัดงานกล่าวรายงานต่อประธานปิดงาน
โดย อาจารย์บดินทร์ จันวัน:
ประธานสถาบันยวนเชียงราย
๑๑.๕๐ – ๑๒.๐๐ น ประธานกล่าวปิดงาน โดย นางเตือนใจ ดีเทศน์
รายละเอียดติดต่อ
รุ่ง ใจมา : 0897005830
นพรัตน์ ละมุล 0877178055
อ่านรายละเอียด พร้อมแผนที่งานที่
http://www.mekonglover.com/activity_info_mekong.asp?status=ActivityDetail&ActId=47