ลมหายใจที่ต้องจ่ายเราแต่ละคนจ่ายไม่เท่ากัน … บางคนต้องจ่ายด้วยชีวิต !
ทุกคนยังจำความรู้สึกนี้ไหม ? แสบตา แสบจมูก ไอ จาม … ในวันที่ท้องฟ้าขมุกขมัว คล้ายหมอก แต่สิ่งที่เราได้สัมผัส มันไม่ใช่หมอก แต่คือฝุ่นควัน…
ช่วงเวลานั้น บางคนที่มีทางเลือก มีทุนทรัพย์ ก็จะเลือกหาอุปกรณ์มาป้องกันตัวเอง เพื่อที่จะมีอากาศดีๆ ในการหายใจ ทั้งหน้ากากอนามัยกันฝุ่น เครื่องกรอง เครื่องฟอกอากาศ หรือ ต่อเติมเป็นบ้านที่มีระบบอากาศแบบความดันลบ เพื่อให้ได้อากาศที่ดีที่สุด
ซึ่งข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ในแต่ละครัวเรือนจะมีค่าใช้จ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์ป้องกันตนเองจากฝุ่น PM2.5 จำนวน 6,124.89 บาท/ปี หรือประมาณ 16,857 ล้านบาท/ปี เกือบครึ่งหนึ่งเงินเดือนเด็กจบใหม่
ลมหายใจที่ต้องจ่ายเราแต่ละคนจ่ายไม่เท่ากัน … แล้วคุณละ จ่ายกันเท่าไหร่
แต่รู้หรือไม่ …บางคนไม่สามารถจ่ายได้ เพราะเมื่อศึกษารายจ่ายของครัวเรือนที่เส้นความยากจนเพื่อเปรียบเทียบกับรายจ่ายอุปกรณ์ป้องกันฝุ่น จะพบว่าเมื่อเทียบกับรายจ่ายที่เส้นความยากจนที่อยู่ในช่วง 2,100 – 2,700 บาทต่อเดือนเท่านั้น ทั้งหมดยังไม่รวมยังมีค่ายา ค่ารักษาพยาบาล
นอกจากต้องซื้ออากาศหายใจ หลายคนต้องเจอกับภาวะเจ็บป่วยและความเสี่ยงของโรคร้าย อย่างคุณหมอ เจ้าของเพจดังที่กำลังเป็นกระแส…..
เพจ “สู้ดิวะ”ของ นพ.กฤตไท ธนสมบัติกุล ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้คือคุณหมอผู้แข็งแรงอายุยังไม่ถึง 30 ปี กำลังก่อร่างสร้างชีวิต ตามความฝัน ทั้งแต่งงาน ซื้อบ้าน แต่สุดท้ายต้องแลกกับชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย แม้ในทางวิทยาศาสตร์อาจจะสามารถระบุว่าส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ แต่ปัจจัยเร่งจากสถานการณ์ฝุ่นควันในพื้นที่ภาคเหนือก็เป็นแรงกระตุ้นไม่น้อย
คุณหมอเป็นอาจารย์หมอประจำศูนย์ระบาดวิทยาคลินิกและสถิติศาสตร์คลินิก ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะที่ล่าสุดมีการอัปเดตว่าคุณหมออาการไม่ค่อยดี มะเร็งมีการลุกลามไปทั่วร่างกาย ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนเก่า เปิดเพจเฟซบุ๊กเพจ “สู้ดิวะ” แบ่งปันเรื่องราวป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ระยะที่ 4 ซึ่งมีคนเข้ามาให้ความเห็นให้กำลังใจกันมากมาย
ก่อนหน้านี้ คุณหมอได้ตั้งคำถามต่อโครงสร้างการบริหารประเทศ ถึงความรับผิดชอบของประชาชนจริงหรือไม่ ที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่าย หน้ากาก ค่าเครื่องฟอก รวมถึงเครื่องแรงดันบวก เพื่อแลกกับการมีอากาศดีๆ หายใจ ความชัดเจนในการพยายามหาต้นตอของปัญหาเฉพาะแต่ละพื้นที่ และแก้ปัญหาคุณภาพอากาศของประเทศกันแบบยั่งยืน? ยังเป็นคำถามสำคัญ ที่ทวงถามถึงนโยบายและโครงสร้างการบริหารประเทศ
กรณีของคุณหมอกฤตไท ธนสมบัติกุล เป็นอีกกรณีหนึ่งเท่านั้นของผู้แข็งแรง ป้องกันตัวเองอย่างดี แต่ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคม 2565 สังคมเคยให้ความสนใจกับกรณี การเสียชีวิตของ รศ.ดร.ภานุวรรณ จันทวรรณกูร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านผึ้งระดับโลก ที่เสียชีวิตจากมะเร็งปอด ทั้งที่ไม่ได้สูบบุหรี่ ไม่สัมผัสควันบุหรี่ ยกเว้นอาศัยอยู่ในเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นพื้นที่มีปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 มายาวนาน โดยสาเหตุมะเร็งปอด คาดว่า น่าจะมาจากมลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่
ข้อมูลจาก Rocket Media Lab เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา เชียงใหม่มีวันที่อากาศคุณภาพดี อยู่ในเกณฑ์สีเขียวเพียง 62 วัน คิดเป็น 16.99% และต้องอยู่กับวันที่ไม่มีอากาศดี (สีเขียว) ถึง 5 เดือน คือเดือนมีนาคม มกราคม กุมภาพันธ์ เมษายน และธันวาคม ตามลำดับ
***ข้อมูลจาก สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 : วันที่ 29 เมษายน 2566
ระบุบจำวันที่มีค่าอากาศเกินมาตรฐานมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร
รองลงมาคือจังหวัด เชียงใหม่ มากที่สุด มากกว่า 97 วัน
รองลงมาคือจังหวัดลำพูน 98 วัน
ลงมาเชียงราย 92 วัน
รองลงมาคือจังหวัดแม่ฮ่องสอน 85 วัน
ค่าฝุ่นสูง เกินค่ามาตรฐานถึงขั้นวิกฤติต่อเนื่องติดกัน ที่คนเหนือจะต้องสูดลมหายใจที่เปื้อนฝุ่นเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจไปยังปอดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นี่ไม่ใช่เป็นเพียงระยะสั้นแต่มากถึง 15 ปีที่ต้องเผชิญกับปัญหานี้และยังคำหาทางออกได้ไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก
ชวนเช็คค่าฝุ่นจากสถานีตรวจวัดใกล้ตัวคุณ
สุขภาพที่ต้องจ่าย เพื่อลมหายใจคนเหนือ
ซึ่งสาเหตุนี้ ทำให้คนเหนือ เสี่ยงจากโรคระบบทางเดินหายใจ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ระบุช่วงตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2565 จนถึงปลายเดือนมีนาคม 2566 พบคนเหนือป่วยกลุ่มโรคทางเดินหายใจ เพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าฝุ่นที่สูงขึ้นด้วย
ขณะที่ภาพร่วมของประเทศไทยโรคมะเร็งปอดถือเป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบบ่อย ซึ่งพบมากเป็นอันดับ 2 ในเพศชาย และอันดับ 5 ในเพศหญิง แต่ละปีจะมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 17,222 ราย เป็นเพศชาย 10,766 ราย และเพศหญิง 6,456 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 14,586 ราย หรือคิดเป็น 40 รายต่อวัน
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคมะเร็งปอดคือการสูบบุหรี่หรือการได้รับควันบุหรี่มือสอง และการสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น ก๊าซเรดอน แร่ใยหิน รังสี ควันธูป ควันจากท่อไอเสีย และมลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5
โดยสถิติ คนภาคเหนือเป็นมะเร็งปอดมากกว่าทุกภูมิภาค ด้าน รศ.พญ.บุษยามาส ชีวสกุลยง หัวหน้าหน่วยมะเร็งวิทยา คณะเเทพย์ ม.เชียงใหม่ ระบุบ มีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเพศชายในทะเบียนมะเร็งของจังหวัดเชียงใหม่มี 14,299 ราย ขณะที่ผู้ป่วยมะเร็งปอดเพศหญิงมี 5,664 ราย เมื่อพิจารณาอัตราการการป่วยด้วยมะเร็งปอดภาพรวมของประเทศไทย ผู้ชายป่วยเป็นมะเร็งปอดร้อยละ 9.3 ขณะที่เพศหญิงร้อยละ 20.6 ขณะที่ข้อมูลผู้ป่วยในเชียงใหม่ ผู้ชายร้อยละ 22.3 ผู้หญิงร้อยละ 29.6, ที่ลำปาง ผู้ชายร้อยละ 27.6 ผู้หญิงร้อยละ 53, ที่สงขลา ผู้ชายร้อยละ 4.9 ผู้หญิงร้อยละ 13.5
อันตรายขนาดนี้ คุณป้องกันตัวเองจากฝุ่นกันอย่างไรบ้าง
คนเหนือค่าใช้จ่ายสุขภาพเพิ่มขึ้น
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่ ร้อยละ 16.95 ลำพูน ร้อยละ 14.43 ลำปาง ร้อยละ 12.62 พะเยา ร้อยละ 11.06 แพร่ ร้อยละ 10.92 แม่ฮ่องสอน ร้อยละ 11.34 เชียงราย ร้อยละ 11.34 และน่าน ร้อยละ 11.34) ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 8 มีนาคม 2566 ในหัวข้อ “มาตรการป้องกันปัญหา PM 2.5 ในจังหวัดภาคเหนือ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อมาตรการและแนวทางการรับมือกับปัญหาสถานการณ์หมอกควันของจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ผลการสำรวจพบว่าร้อยละ 92.58 มีการเตรียมตัวในการป้องกัน/รับมือ ปัญหาสถานการณ์ฝุ่นควัน
โดยอันดับ 1 ร้อยละ 99.64 มีการจัดหาอุปกรณ์ในการป้องกันและลดปัญหาหมอกควัน เช่น หน้ากากอนามัย เครื่องฟอกอากาศ
อันดับ 2 ร้อยละ 95.49 มีการจัดเตรียมสถานที่อยู่อาศัยให้สะอาด เพื่อป้องกันการสะสมของฝุ่นควัน
อันดับ 3 ร้อยละ 92.55 มีการลด/เลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การออกกำลังกายในที่โล่ง กลางแจ้ง มีเพียงร้อยละ 7.42 เท่านั้นที่ไม่ได้มีการเตรียมตัว
ซึ่งจากการสอบถามค่าใช้จ่ายในการป้องกันสุขภาพในสถานการณ์ฝุ่นควันพบว่า มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3,518 บาทต่อคนต่อปี
เมื่อสอบถามความคิดเห็นถึงผลกระทบของปัญหาหมอกควันที่ส่งผลต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น มะเร็งปอดหรือโรคระบบทางเดินหายใจของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 98.32 เห็นว่าฝุ่นควันจะส่งผลกระทบให้เกิดโรคต่างๆ ได้ และมีเพียงร้อยละ 1.68 เท่านั้นที่เห็นว่าฝุ่นควันจะไม่ส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคต่างๆ
หากค่าฝุ่นสูงเกินมาตรฐาน เราต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นจริงหรือ จากการพูดคุย และสำรวจกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ภาคเหนือ ระบุบว่า มีการซื้อหน้ากากอนามัยกันฝุ่น ชนิด N95 ใช้ในช่วงที่ค่าฝุ่นสูงเกินมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2 กล่อง ต่อคน (60 ชิ้น)
ค่าเฉลี่ยหน้ากากอนามัยชนิดกันฝุ่นแบบ N95 ราคาเฉลี่ย 29 บาทต่อชิ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ประเทศมีค่าเสียโอกาสด้านสุขภาพ (ค่ารักษาพยาบาล ค่าหน้ากากอนามัย เครื่องฟอกอากาศ) กว่า 2,000-3,000 ล้าน และอาจต้องจัดเตรียมเงินสำหรับการรักษาพยาบาลโรคที่เกี่ยวข้องในอนาคตสูงถึง 200,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี สาเหตุของมะเร็งปอดอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ด้วยเช่นกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 กัดกินสุขภาพเป็นเวลายาวนานและเป็นอีกภัยคุกคามที่ประชาชนไม่อาจรู้ตัว ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน จึงเป็นโจทย์ต่อไปว่าหากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยังไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังในระยะยาว ประเทศไทยคงต้องพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาว/ความเสี่ยงของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ของประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ทางการมุ่งหวังจะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจทั้งการท่องเที่ยว การแพทย์ และอื่นๆ ในเวทีโลก
ก่อนหน้านี้พรรคการเมืองหาเสียงอะไรไว้บ้าง
ก่อนการเลือกตั้งที่เป็นช่วงขมุกขมัว เราเห็นการหาเสียงท่ามกลางฝุ่นมี่ยังคละคลุ้ง และเป็นนโยบายหนึ่งที่คนเหนือให้ความสำคัญ ในกลุ่มของ “นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม” ที่เนื้อหาภายในของนโนบายแต่ละพรรค มีเนื้อหานโยบายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข PM 2.5
อย่างไรก็ดี สาเหตุของมะเร็งปอดอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ด้วยเช่นกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 กัดกินสุขภาพเป็นเวลายาวนานและเป็นอีกภัยคุกคามที่ประชาชนไม่อาจรู้ตัว ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน จึงเป็นโจทย์ต่อไปว่าหากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยังไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังในระยะยาว ประเทศไทย คงต้องพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะดูแลสุขภาพร่างกายอย่างดีแล้วก็ตาม
ซึ่งก่อนหน้านี้
ปี 2562 สภาพอากาศของภาคเหนือเลวร้ายหลายพื้นที่ เกิดนวัตกรรมเพื่อเอาชีวิตรอดจากฝุ่นโดยประชาชนมากมาย เช่น เครื่องฟอกอากาศ เครื่องวัดฝุ่นขนาดเล็ก ห้องปลอดฝุ่น และแจกหน้ากากกันเองโดยประชาชน
กุมภาพันธ์ 2562 รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศยกระดับการแก้ไขปัญหาฝุ่นและควันพิษให้เป็นวาระแห่งชาติอีกครั้ง ประชาชนที่รวมตัวกันเป็นกลุ่ม “เชียงใหม่จะไม่ทน” และต่อมายกระดับกลุ่มเป็น “สภาลมหายใจ” และสถาบันการศึกษาในภาคเหนือ ติดตามเจาะลึกถึงสภาพปัญหาและมาตรการการจัดการ โดยระบุว่า จำเป็นต้องมี “ชุดมาตรการจัดการที่เฉพาะพื้นที่”
รัฐบาลพรรคเพื่อไทยเคยเสนอทิศทางนโยบายลดฝุ่นอะไรบ้าง
- แจ้งเตือนเมื่อฝุ่นหนัก
- แจกหน้ากากให้กลุ่มเปราะบาง
- สั่งหยุดโรงเรียนเมื่อค่าฝุ่นสูง
- ดับไฟป่าทั้งปี
- ย้ายกลุ่มเสี่ยงไปยังศูนย์อพยพที่มีเครื่องฟอกอากาศ
- ส่งกำลังและอุปกรณ์จากกองทัพ-มหาดไทย ช่วยดับไฟ
- ปลูกต้นไม้ช่วยฟอกอากาศ
- ออกกฎหมายควบคุมการสร้างมลพิษของไซต์ก่อสร้าง
- ใช้ภาษีจูงใจให้เปลี่ยนมาใช้รถพลังงานสะอาด
- ปรับเงินอุตสาหกรรมรายใหญ่ที่ก่อฝุ่น
- ให้กรมชลประทานปล่อยน้ำเข้านาหลังเก็บเกี่ยวข้าว ให้ตอข้าวเน่าเป็นปุ๋ย ไม่ต้องเผา
- ประสานโรงงานน้ำตาลให้ลงทุนตัดอ้อยไถกลบแทนการเผา
- พัฒนาเครื่องมือการเกษตรเก็บเกี่ยว-ขุดกลบไร้เผา
- ผลักดัน พ.ร.บ.อากาศสะอาดเพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน บูรณาการทุกภาคส่วน และเพิ่มบทบาทท้องถิ่น
- ออกแบบผังเมืองใหม่ เพื่อลดการจราจร
- เจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน ช่วยกันหยุดฝุ่นข้ามพรมแดน
เคยมีข้อเสนอจากประชาชนในพื้นภาคเหนือ
มีเสียงสะท้อนจากประชาชน ในช่วงเผชิญสถานการณ์ฝุ่นควัน pm2.5 โดยระบุว่าประชาชนต้องดูแลตนเองทั้งการซื้อหน้ากากอนามัย N95 การซื้อเครื่องฟอกอากาศ และค่ารักษาพยาบาล แม้จะประกาศเป็นภัยพิบัติตามกฎหมาย
ขณะที่เคยมีเสนอจากประชาชน ในช่วงเผชิญสถานการณ์ฝุ่นควัน pm2.5 โดยระบุว่าประชาชนต้องดูแลตนเองทั้งการซื้อแมส การซื้อเครื่องฟอกอากาศ และค่ารักษาพยาบาล แม้จะประกาศเป็นภัยพิบัติตามกฎหมาย
ข้อเสนอคือ
-ต้องติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศอย่างน้อยทุกตำบลและสื่อสารให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศ เพื่อที่จะสามารถป้องกันสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง
-ต้องมีการประกาศภาวะวิกฤติทางสุขภาพเมื่อคุณภาพอากาศมีผลกระทบสูงต่อสุขภาพ และรัฐจะต้องมีสวัสดิการแมสฟรี เครื่องฟอกอากาศในราคาพิเศษ และมีห้องปลอดฝุ่นในทุกชุมชน
-ต้องจัดสวัสดิการในการดูแลรักษาและเยียวยาผู้ป่วยที่เกิดจากผลของฝุ่นควัน pm2.5
-การลดค่าไฟฟ้า กรณีช่วงฝุ่นควันเกินมาตรฐานที่ประชาชนต้องใช้เครื่องฟอกอากาศและเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้น
คุณมีข้อเสนออะไรบ้างไหม
ชวนย้อนดูพัฒนาการการขับเคลื่อนของประชาชนคนเหนือเพื่ออากาศสะอาด