ข้าววัชพืช

ข้าววัชพืช

โดย ดร.จรรยา มณีโชติ
กลุ่มวิจัยวัชพืช  สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
กรมวิชาการเกษตร

ข้าววัชพืช
ปัจจุบัน ชาวนาในเขตภาคกลางจนถึงเหนือตอนล่าง กำลังประสบกับวัชพืชชนิดใหม่ที่มีลักษณะเหมือนต้นข้าวจนแยกไม่ออก
ในระยะต้นกล้า วัชพืชชนิดนี้มีชื่อเรียกต่างๆกันในแต่ละท้องถิ่นตามลักษณะภายนอกที่ปรากฏว่า “ข้าวหาง ข้าวนก ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวลาย หรือ ข้าวแดง”   ซึ่งข้าวเหล่านี้จัดเป็นวัชพืชร้ายแรงในนาข้าว มีชื่อสามัญ ว่า “ข้าววัชพืช” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า
“weedy rice”  ในระยะเริ่มต้นของการ ระบาด ข้าววัชพืชจะแฝงตัวเข้ามาในนาข้าวเพียงไม่กี่ต้น หากไม่มีการกำจัดในระยะเวลา
2-3 ฤดู เท่านั้น ข้าววัชพืชสามารถเพิ่มจำนวนเป็นหลายล้านต้นปกคลุมจนมองไม่เห็นต้นข้าว

ประวัติการระบาดของข้าววัชพืช
พบการระบาดรุนแรงครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ปีพ.ศ. 2544 ในนาหว่านน้ำตม ที่ตำบลเขาสามสิบหาบ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และในนาหว่านข้าวแห้ง ในเขตจังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี พื้นที่การระบาดเริ่มต้นเพียง 500 ไร่ และขยาย
วงกว้างออกไปเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2549  ข้าววัชพืชกลายเป็นปัญหาร้ายแรงที่พบในพื้นที่ทำนาหว่านน้ำตมจำนวนหลาย
แสนไร่ ทั่วเขตภาคกลางจนถึงเหนือตอนล่าง รวม 21 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง ชัยนาท อยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก นอกจากนั้น ยังแพร่กระจายไปสู่แหล่งปลูกข้าวคุณภาพ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และหนองคาย

ข้าววัชพืช..มาจากไหน?
ข้าววัชพืช เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าที่พบทั่วไปในธรรมชาติ กับข้าวปลูก เกิดเป็นลูกผสมที่มีการกระจายตัวของลูกหลาน
ออกเป็นหลายลักษณะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่ชาวนาไม่ต้องการ คือ เปลือกเมล็ดสีดำหรือลายน้ำตาลแดง เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ปลายเมล็ดมีหางและเมื่อสุกแก่เมล็ดจะร่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว

ชนิดของข้าววัชพืช
ข้าววัชพืชสามารถจำแนกตามความแตกต่างทางลักษณะภายนอกเป็น 3 ชนิด คือ ข้าวหาง ข้าวดีด และข้าวแดง ชนิดที่เป็นปัญหา
ร้ายแรงของชาวนาคือ ข้าวหาง และ ข้าวดีด เพราะเป็นข้าววัชพืชชนิดร่วงก่อนเกี่ยว เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และสูงข่มข้าวปลูก
ในระยะแตกกอ ข้าวหางและข้าวดีดจะออกดอกและเมล็ดจะสุกแก่ก่อนก่อนปลูกข้าวประมาณ 2 สัปดาห์ ชาวนาไม่สามารถ
เก็บเกี่ยวได ้เพราะเมล็ดร่วงเกือบหมด ทำให้ผลผลิตข้าวเสียหาย 10-100 % ขึ้นอยู่กับความหนาแน่น ของข้าวหาง และข้าวดีด บางแปลงที่มีความหนาแน่นมาก ใน 1 ตารางเมตร มีข้าวหาง 800 ต้น เหลือต้นข้าวจริงเพียง 2 ต้น ชาวนาไม่สามารถ เก็บเกี่ยวได้ ทำให้ผลผลิตเสียหาย 100% ส่วนข้าวแดงนั้นเป็นข้าววัชพืชชนิดเมล็ดไม่ร่วง ชาวนาสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ผลผลิตจึงไม่เสียหาย แต่คุณภาพ

ข้าวลดลง เพราะเมล็ดขาวสารแดงที่ปนอยู่ ชาวนาถูกโรงสีตัดราคาเกวียนละ 200 – 800 บาท ตามเปอร์เซ็นต์ของข้าวแดงที่ปน เพื่อชดเชยผลผลิตที่จะต้องเสียไปบางส่วน เพื่อจะขัดเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงออก
ให้เป็นเมล็ดข้าวสารสีขาว ซึ่งบางครั้งในรายที่มีข้าววัชพืชปนเป็นจำนวนมาก โรงสีจะไม่รับซื้อ ชาวนาต้องนำไปขายเป็นข้าวเลี้ยงเป็ด และไก่ ในราคาถูกถังละ 30 – 50 บาท

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ