15ปี การเรียนรู้จากนักข่าวพลเมืองสู่เครือข่ายสื่อสาธารณะในยุคอนาคต

15ปี การเรียนรู้จากนักข่าวพลเมืองสู่เครือข่ายสื่อสาธารณะในยุคอนาคต

สื่อสาธารณะท้องถิ่น เป็นเสียงของคนที่ไม่มีเสียง ถักสานความหวังของสังคมผ่านการรายงานให้ข้อมูล เห็นทางออก…และทำให้ชุมชนปรากฏตัวในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น

15 ปีที่แล้วที่ Active Citizen กับไทยพีบีเอสได้เริ่มทำงานร่วมกันในการพัฒนานักข่าวพลเมือง นักสื่อสารท้องถิ่น และผู้ผลิตอิสระ มีบทเรียนเกิดขึ้นมากมาย และเกิดคนทำสื่อรุ่นใหม่ทั้งมาจากการพัฒนาร่วมกัน หรือการเติบโตด้วยตัวเอง จนมีทั่งตอนนี้ที่เกิดระบบนิเวศของการสื่อสารใหม่ จากการศึกษาเบื้องต้นของอ.อังคณา พรมรักษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิตและสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และรศ.มัทนา เจริญวงศ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ถึงนิยามความหมายของสื่อสาธารณะท้องถิ่น ที่นำเสนอในการประชุมใหญ่เครือข่ายสื่อสาธารณะไทย วันที่ 14 ธันวาคม 2566  ณ ลานไม้ ไทยพีบีเอส (สำนักงานใหญ่) กรุงเทพฯ

บรรยากาศการประชุมใหญ่เครือข่ายสื่อสาธารณะไทย วันที่ 14 ธันวาคม 2566  ณ ลานไม้ ไทยพีบีเอส(สำนักงานใหญ่) กรุงเทพฯ

นิยามสื่อสาธารณะท้องถิ่น
สื่อที่ทำให้คนท้องถิ่นมีเสียงมีพื้นที่สร้างวาระของท้องถิ่นเอง ไม่จำเป็นเป็นต้องสัมพันธ์กับส่วนกลาง

สื่อในชุมชนที่ใช้พลังของตนเอง ในการแก้ไขปัญหาของชุมชน ทำงานโดยยึดหลักเหมือนสื่อสาธารณะ

สื่อท้องถิ่นที่มีอิสระจากกลุ่มทุน และรัฐสะท้อนเสียงของคนทุกกลุ่มนำ เสนอเนื้อหาที่มีความหลากหลาย เป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นและตรวจสอบได้

หน้าที่ของสื่อสาธารณะท้องถิ่น

ให้บริการข่าวสารชุมชน ตอนสนองความต้องการ เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับสนทนาถกเถียงของทุกฝ่ายอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม สื่อสารให้ชุมชนท้องถิ่นเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากนโยบายภายนอก ความเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่นกับเมือง ประเทศและโลก

สื่อสาธารณะท้องถิ่น เป็นจินตนาการร่วม เพราะท้องถิ่นมองเห็นปัญหาที่สัมพันธ์กับชีวิตทั้งหมด มีการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดจินตนาการร่วมกัน ไปสู่จิตสำนึกร่วมกัน ไปสู่ความต้องการหาทางออกให้กับปัญหาของ Active Citizen

เป็นเสียงของคนที่ไม่มีเสียง ถักสานความหวังของสังคมผ่านการรายงานให้ข้อมูล เห็นทางออก สื่อสารประเด็นที่เป็นปัญหาในชุมชน แม้เป็นประเด็นเล็ก ๆ ไม่ใช่ประเด็นสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา เป็นพื้นที่นำเสนอชุดความจริงที่หลากหลาย และทำให้ชุมชนปรากฎตัวในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น

ทบาทของไทยพีบีเอสในการหนุนเสริมสื่อสาธารณะท้องถิ่น สื่อพลเมือง

สนับสนุน สร้างระบบการนิเวศสาธารณะที่มีโครงสร้างความสัมพันธ์แบบอิสระ เปิดช่องทางให้เกิดเสียงของคนตัวเล็กตัวน้อย voice of voiceless เกิดการเชื่อมต่อของประเด็นปัญหาในหลากหลายมิติ

สนับสนุนกลไกการสื่อสารและกลไกการสร้างวาระของท้องถิ่น พัฒนาตัวตนคนท้องถิ่นให้มีศักยภาพ มีอำนาจในการทำสื่อ เกิดการสื่อสารที่สร้างปฎิสัมพันธ์ แก้ปัญหา วาระของท้องถิ่นเองได้

สร้างรูปแบบความสัมพันธ์ในลักษณะการเป็นพี่เลี้ยงช่วยสื่อสาธารณะท้องถิ่นให้เติบโต ผ่านโมเดลการทำงานกับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับคนในท้องถิ่นให้มากขึ้น

นี่คือนิยามจากการเก็บข้อมูล ผ่านต่าง ๆ ในการทำงานร่วมกันมา ซึ่งน่าจะแบ่งเป็น 3 ยุคใหญ่ๆ ชวนนักข่าวพลเมือง และสื่อพลเมืองย้อนคิดว่าแต่ละท่านอยู่กันมายุคไหน และมองอนาคตของสื่อพลเมือง สื่อสาธารณะท้องถิ่นอย่างไร

ยุคลงหลักปักฐาน (ม.ค. 2551-2554)
-15 มกราคม 2551 เกิดสื่อสาธารณะแห่งแรกของไทย ในชื่อว่า ทีพีบีเอส ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นทีวีไทย และไทยพีบีเอส -2551พฤษภาคม อบรมนักข่าวพลเมืองครั้งแรกที่กรุงเทพฯ
-ปลายปี 2551 เกิด สำนักเครือข่ายสื่อประชาสังคม
-2552 เริ่มมีกลไก กองบรรณาธิการร่วมภาคประชาสังคม วางประเด็นและพัฒนานักสื่อสารในพื้นที่ภาค  
-ในปี 2552 ในประเทศไทยมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์และ เริ่มมีการใช้ facebook
-2553 เกิด พ.รบ.การจัดสรรคลื่นความถี่ของ กสทช.   ในปีเดียวกันไทยพีบีเอส เริ่มมีสำนักงานภูมิภาคตั้งตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อเป็นพื้นที่ปฏิบัติงานให้ทีมงาน และสำนักเครือข่ายฯ มีเว็บไซต์
-ปี 2554 มีกสทช. ชุดแรก และประเทศไทยเกิดสถานการณ์สำคัญเกิดขึ้นคือ มีการเลือกตั้ง และเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ ขณะที่ไทยพีบีเอส เกิดรายการทีวีภูมิภาค (ดีสลาตัน ทีวีจอเหนือ ทีวีจออีสาน )
ยุคฝ่าคลื่นและการเปลี่ยนแปลง (พ.ศ.2555-2560)
-2555 มีงานประชุมใหญ่ของสื่อนานาชาติ ที่กรุงเทพฯ โดยไทยพีบีเอสรับเป็นเจ้าภาพ ขณะที่ในพื้นที่ภูมิภาคเกิดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสารคดีสั้น เช่นภาคเหนือ นำร่องโครงการทีวีชาติพันธุ์ และไทยพีบีเอสเปิดช่องทางทีวีออนไลน์ชื่อ web tv thaipbs
-2556 เริ่มนำร่องโครงการพัฒนาผู้ผลิตสื่อชุมชน มีทีมนำร่องเช่น พะเยาทีวีชุมชนและทีวีชุมชนอุบลราชธานีทดลองออกแบบรายการต้นแบบชุมชน แต่นำเสนอที่ไทยพีบีเอส
-2557 มีการเริ่มออกอากาศในระบบทีวีดิจิทัล (Digital TV) แทนระบบสัญญาณอนาล็อก   สำนักเครือข่ายฯ เปิดพื้นที่ เว็บไซต์ citizenthaipbs.net และเปิดนักข่าวพลเมืองใช้รายงาน
-พฤษภาคม 2557 เกิดรัฐประหาร โดยคสช. และมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ที่ จ.เชียงราย -นำร่องผลิตรายการ ทีวีชุมชน พะเยาม่วนแต้ และ ทีวีชุมชนอุบลราชธานี ต่อมาเป็นรายการชุดรายการจของผู้ผลิต
-2558 นักข่าวพลเมืองปรับรูปแบบมีพิธีกร มีช่วงของตัวเอง  ความยาว 5 นาที ในวันจันทร์-ศุกร์ (เช้า/เที่ยง/ค่ำ) เสาร์-อาทิตย์ (เที่ยง/ค่ำ) รายการทีวีภูมิภาคเริ่มกลับมาอีกครั้งในชื่อ องศาเหนือ อยู่ดีมีแฮง แลต๊ะแลใต้
-2559 มีการใช้สื่อออนไลน์อย่างเข้มข้นเริ่มมีการแข็งขัน
-2560 นักข่าวพลเมือง เหลือ 2 ช่วงต่อวัน คือข่าวเที่ยง และข่าวค่ำรวมที่นี่ไทยพีบีเอส ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ ไทยพีบีเอสมีงานถอดบทเรียน 10 ปีนักข่าวพลเมือง และมีอาคารใหม่ศูนย์ภูมิภาค 3 ศูนย์ สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะในภูมิภาคมีที่ทำการอย่างเป็นทางการ
ยุคยืนหยัดท่ามกลางพายุ (พ.ศ.2560-ปัจจุบัน)
-2561ไทยพีบีเอสเพิ่มช่องทางการสื่อของประชาชน มีการทดลองใช้แอพพิลเคชั่น C-site ครั้งแรก
-2562 เริ่มมีการใช้ C-site จัดเก็บข้อมูล เช่นข้อมูลสถานีตรวจวัดฝุ่น ตรวจสุขภาพต้นไม้ และมีรายการข่าวพลเมือง C-site ในข่าวเช้า ช่วงกินอยู่รู้รอบตอนเวลา 07.00 น.  
-2563 สถานการณ์ทางสังคม พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในไทย มีเหตุการชุมนุมทางการเมือง และมีการเลือกตั้งท้องถิ่น(อบจ.) ในรอบ 9 ปี ไทยพีบีเอสเพิ่มช่องทางการสื่อสารใหม่ เป็นทีวีช่องที่ 2 ALTVและช่องทางออนไลน์ เกิดเว็บไซต์ https://thecitizen.plus/ เกิดเว็บไซด์ Decode https://decode.plus/
-2564 16 สิงหาคม รายการที่นี่ไทยพีบีเอส ปรับโฉม ไม่มีช่วงนักข่าวพลเมือง แต่ไปปรากฏในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่แทน ในพื้นที่ภูมิภาค จัดทำโปรเจ็กค์ ฟังเสียงประเทศไทย และทดลองทำงาน Sandbox แนวทางกระจายอำนาจสู่สำนักงานสาขา3 สำนัก
-2565 กนย.ประกาศทิศทางการกระจายอำนาจของสำนักงานสาขาของไทยพีบีเอส มีการทดลองทำงานร่วมของเครือข่าย โหนดเขียว โหนดส้ม
-2566 ไทยพีบีเอสทดลองยกระดับเครือข่ายสื่อสาธารณะท้องถิ่นในแนวทาง SE

ก้าวต่อไปของของสื่อสาธารณะท้องถิ่น

จากการพูดคุย มีข้อให้สนับสนุนนโยบายการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาค โมเดล Sans Box เชื่อมร้อยเครือข่ายนักสื่อสาร นักวิชาการ มาออกแบบเนื้อหา การสื่อสาร เชื่อมร้อยเครือข่ายนักสื่อสารให้ครอบคลุมทั้งภุมิภาค และ Csite ทำเรื่องการสื่อสารร่วมกัน เห็นถึงความพยายามกระจายอำนาจสู่ภูมิภาค ที่มีการแบ่งย่อยในระดับพื้นที่มากขึ้น ถือเป็นเรื่องดี แต่มีข้อกังวลเรื่องการดูแลนักข่าวพลเมือง กำลังเจ้าหน้าที่หนุนเสริมจะเพียงพอหรือไม่ หรืออาจจะทำงานเหนื่อยมากการยก

นอกจากนี้ยังอยากให้ระดับนักข่าวพลเมืองในพื้นที่ ให้มีตัวตน มีการตั้งส่วนประสานงานนักข่าวพลเมืองในระดับพื้นที่ โดยคำนึงความปลอดภัยของนักข่าวพลเมืองในการนำเสนอประเด้นที่สุ่มเสี่ยง ทั้งเรื่องความรู้ กฎหมาย จริยธรรม การต่อยอดการทำงานระหว่างนักข่าวพลเมืองและนักข่าวมืออาชีพ ทดลองทำร่วมกัน

ผศ. ดร. พรรษาสิริ กุหลาบ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ. ดร. พรรษาสิริ กุหลาบ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองการทำงานที่ผ่านมาว่าเป็นการสื่อสารเล่าเรื่องราวที่จะเกิดจากากรเปลี่ยนแปลงในสังคม ความคิดความเชื่อ ที่คนข้างนอกยังเข้าใจผิด เข้าใจคลาดเคลื่อน พอได้เล่าทำให้เกิดความภาคภูมิในในท้องถิ่น ทำให้เห็นว่าสังคมมีความหลากหลาย แต่ยังมีปัญหาร่วม การสื่อสารแบบนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงพื้นที่และนโยบาย เพราะเสียงได้รับการรับฟัง และเป็นการทำงานกับองค์กรสื่อที่เป็นเจ้าของทรัพยากร เป็นการเป็นเจ้าของร่วมกับสื่อสาธารณะ ต้องช่วยกันรักษา พยุงกันต่อไป และการสื่อสารของสื่อพลเมืองการเป็นการสะท้อนว่าประชาชนได้ส่งเสียงมากขึ้น จะทำอย่างไรให้เสียงที่สื่อมารวมเป็นหนึ่งเดียว และไปต่อรองกับคนที่มีอำนาจ

นอกจากกระจายความเชี่ยวชาญ ช่องทาง พื้นที่แล้ว ทรัพยากรต้องไปถึงทุกคน คือ ในเรื่องการกระจายความรู้ในการหาแหล่งทุนที่หลากหลาย ที่ไม่ใช่พึ่งโฆษณาหรือสปอนเซอร์อย่างเดียว รวมถึงการบริหารจัดการองค์กรที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้เกิดการส่งต่อไปยังคนรุ่นต่อไปได้ และการมารวมตัวกันเป็นการสร้างเครือข่าย ไม่ใช่เแค่สื่อสารเชิงประเด็น แต่เป็นการสร้าง safety net ให้แก่กัน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ