ปรากฏการณ์ #สัปเหร่อ คล้ายกับเป็นผู้ปลุกชีวิตวงการภาพยนตร์ที่อ่อนกำลังให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ทำให้หนังท้องถิ่นในรูปแบบบ้าน ๆ แบบนี้ สามารถดึงคนคืนโรง ที่หลังจากมีแอพลิเคชั่นดูหนังออนไลน์ ที่ทำให้หลายคนไม่ไปดูหนังที่โรง ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้แวดวงอุตสาหกรรมหนังซบเซาไป สัปเหร่อเป็นหนังไทยอีกเรื่องที่ทำกระแสปลุกส่วนแบ่งตลาดหนังไทยในภาวะวิกฤต และปลุกกำลังใจคนทำหนังแนวท้องถิ่นนิยม
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ในระยะ 10 ปีผ่านมา ถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีการเปิดกว้างของตลาดภาพยนตร์และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในการสร้างหนังท้องถิ่น ความพยายามนำเนื้อหาท้องถิ่นออกมาสื่อสารในรูปแบบที่หลากหลาย ด้วยวิถีวัฒนธรรมและเรื่องราวจากท้องถิ่น ในวันนี้ที่ความสร้างสรรค์กำลังเบ่งบาน เราเห็นค่ายหนังเล็ก ๆ โรงหนัง Stand Alone ตามหัวเมืองที่เริ่มคึกคักไปด้วยหนังจากท้องถิ่น โดยคนในท้องถิ่น เพื่อคนในท้องถิ่น ทำโดยคนท้องถิ่น นี่เป็นโอกาสของนักทำหนังหน้าใหม่ในต่างจังหวัด ที่ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในกรุงเทพแบบยุคก่อน หากมองดูแล้วคนต่างจังหวัดก็พร้อมที่จะพัฒนาหนังไทย
แต่ยังมีโจทย์บางอย่าง เช่น รัฐเองที่พูดถึงเรื่องนโยบาย Soft power ภายใต้ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ Creative Economy แต่วันนี้ยังมองเห็นกลไกซัพพอร์ตคนทำหนังในท้องถิ่นไม่ชัดเจน หากรัฐบาลหนุนให้เกิด Soft power ได้มาก ก็น่าจะเป็นโอกาสใหม่ของคนทำหนัง คนเขียนบทภาพยนตร์ นักสร้างสรรค์ Creator หน้าใหม่ด้วยเช่นกัน
ซึ่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยแบ่งออกเป็น 15 อุตสาหกรรมใน 5 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ วัฒนธรรมสร้างสรรค์ / คอนเทนต์และสื่อสร้างสรรค์ / บริการสร้างสรรค์ / สินค้าสร้างสรรค์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และในเบื้องต้นก็มีแผนผลักดันใน 5 F คือ Fight มวยไทย/ /Food อาหาร / Festival ประเพณีไทย / Fashion แฟชั่น และ Film ภาพยนตร์
- ชวนมองทิศทางวงการหนังท้องถิ่น คนทำเนื้อหาท้องถิ่น จากปรากฏการณ์ที่อาจเป็นแรงหนุนสำคัญที่ให้คนทำหนังและเรื่องราวจากท้องถิ่นถูกสื่อสารเพิ่มมากขึ้น กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิสิทธิ์ ศรีประเสริฐ ผู้ช่วยฝ่ายยุทธศาสตร์และงานบริหารทั่วไป คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมวกอีกหนึ่งใบ เป็นนักเขียนนวนิยายนามปากกา “เนียรปาตี” บทละครกลิ่นกาสะลอง
เกริ่นก่อนว่าจุดตั้งต้นของกลิ่นกาสะลอง พื้นฐานเราต้องการนำเสนอเนื้อหาของความเป็นภาคเหนือให้คนอื่นได้รู้จักในวงกว้างมากขึ้น คำว่าภาคเหนือไม่จำเป็นต้องเป็นวัฒนธรรมให้คนรู้จัก นุ่งซิ่น หรือกินข้าวเหนียวอย่างเดียว แต่หมายถึงความเป็นภาคเหนือทุกสิ่งอย่างคือ คนภาคเหนือเป็นอย่างไร คนเชียงใหม่เป็นอย่างไร มันอยู่ในนั้น นี่คือความเป็นภาคเหนือ เหมือนที่เราพูดกันถึงเรื่องความเป็นไทย ความเป็นอีสาน หรือความเป็นภาคใต้ พวกศิลปะวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบหนึ่งในความเป็นภาคเหนือ
ที่ผ่านมา สำหรับคนอื่น ๆ ที่อยู่ในจุดที่เรียกว่าผลักดันความเป็นเหนือให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เช่น คุณ จรัล มโนเพ็ชร ที่เป็นที่คนรู้จักทั่วประเทศ ว่าเป็นศิลปินภาคเหนือที่นำเสนอความเป็นท้องถิ่นผ่านบทเพลงโฟลก์ซองคำเมือง เพลงของคุณ จรัล มโนเพ็ชร
หรือลานนา คัมมินส์ ที่ใช้บทเพลง ดนตรีเป็นสื่อกลางในการนำเสนอ content ความเป็นท้องถิ่นออกไป
มีศิลปินแห่งชาติ คือ พ่อครูมาลา คำจันทร์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2556 ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน พหุวัฒนธรรม การเล่าเรื่องภาพสะท้อนของคนในท้องถิ่นออกไป รวมไปถึงตำนานพื้นบ้าน ผี ความเชื่อ
อีกหนึ่งท่าน คือ อ.ไชยวรศิลป์ เป็นนามปากกาของ อำพัน ไชยวรศิลป์ นักเขียนสตรีชาวเชียงใหม่ที่สร้างผลงานนวนิยาย เรื่องสั้น และวรรณกรรมเรื่องเล่าล้านนาไม่ต่ำกว่า 40 เรื่อง เป็นมุมมองของผู้หญิงเพราะตัวท่าเองเป็นครูในพื้นที่ห่างไกล วิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นที่ถูกนำเสนอไป
อยากให้เห็นภาพรวมก่อนว่า มีความพยายามและคนที่พยายามทำมาอย่างต่อเนื่องและนานแล้ว เพียงแต่การให้ความสำคัญอาจจะไม่เท่ากัน เราถึงมีความรู้สึกว่า เราต้องมาพูดถึงเรื่องของการเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่นในทุกวันนี้อย่างเข้มข้น
เนื้อหาท้องถิ่นอาจเป็นเทรนของโลกที่เปลี่ยนไป ทำให้เราต้องจับตามองตรงนี้มากขึ้น
หนังหรือเนื้อหาของคนท้องถิ่นมันคือ Message ของคนท้องถิ่น ที่อยากจะสะท้อนอะไรบางอย่าง ?
Content ท้องถิ่นในหลาย ๆ ที่ หากเรามองในแง่ของการวิเคราะห์เนื้อหา เราจะพบว่า มันจะมีอยู่ 2- 3 แบบ ที่จะปรากกฎอยู่ในเนื้อหาโดยทั่วไป
อย่างแรก คือ การให้ข้อมูลเนื้อหาเชิงบอกเล่า Information เล่าให้รู้ว่าเรามีวิถีชีวิตอย่างไร เล่าให้รู้ว่าเรามีประเพณี วัฒนธรรมอย่างไร ซึ่งเราจะเห็นได้ง่ายสุด คือ ภาษา เช่นเพลงโฟลก์ซองคำเมืองของคุณ จรัล มโนเพ็ชร ก็ใช้ภาษาคำเมืองในการเล่าเรื่อง
ถ้าเราไปดูทางฝั่งอีสานก็จะเป็นอีกแบบหนึ่งแต่ทุกคนมีรูปแบบเดียวกัน มีเพลงอีสาน เพลงหมอลำ มีวัฒธรรมอีสาน หรือช่วงหนึ่งเราจะได้เห็น “เสียงพากย์อีสาน” ที่สะท้อนการเติบโตในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ภาคใต้ก็เช่นกัน นี่คือภาษาที่เป็นการนำเสนอ Content ท้องถิ่น ในอีกรูปแบบหนึ่ง
อย่างที่ 2 ในระดับที่สูงขึ้น ถ้าเราตีความ Message เหล่านั้นจะมองเห็นความขัดแย้งบางอย่าง คำว่าความขัดแย้งไม่ได้ตีความว่าถูกหรือผิด หรือเรียกว่าการแสดงความคิดเห็นเชิงวิพากวิจารย์ ที่เอ๊ะ วัฒนธรรมแบบนี้ดีหรือเปล่า หรือสะท้อนความลำบากบางอย่างในท้องถิ่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้การตั้งคำถามแบบนี้ก็สะท้อนมาจากวัฒนธรรมส่วนกลาง หรือวัฒนธรรมของทางภาคกลางถูกเหมารวมและสร้างการรับรู้มาอย่างต่อเนื่องว่าวัฒนธรรมภาคกลาง คือ วัฒนธรรมไทยทั้งหมด ซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่นมีอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของตนเองในหลาย ๆ เรื่อง ในยุคหนึ่งเราต้องยอมรับถ้าเรามองในเชิงโครงสร้างด้วยการสะท้องผ่านระบบการศึกษา ภาษาที่ถูกยอมรับว่าเป็นภาษาทางการของไทยคือภาษากลาง เราจะต้องพูดภาษากลาง ภาษาท้องถิ่นเป็นเพียงแค่ภาษาสื่อสาร ในชีวิตประจำวันของคนที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ แต่ภาษาท้องถิ่นไม่ได้นำพาเราก้าวเข้าไปสู่คนของส่วนกลางได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะต้องสอบข้อเขียนเพื่อเข้ารับราชการ 1.เราต้องรู้เขียนภาษากลางได้ 2.เราต้องสอบข้อเขียนเป็นภาษากลาง 3.คือเราต้องเข้าใจวิธีคิดแบบคนภาคกลาง
ยกตัวอย่างง่าย ๆ จาก Backgrounds ในเรื่องภาษามันจะมี 1 ยุคที่เราพูดภาษาถิ่น จะถูกแซวและล้อเลียนมาว่าจากที่นั่นที่นี่ หรือเราพูดภาษากลางแล้วติดภาษาถิ่นก็จะโดยแซวว่าพูดไทยไม่ชัด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่สะสมและหล่อหลอมมาเรื่อย ๆ ทำให้เอกลักษณ์วัฒนธรรมของท้องถิ่นมันถูกลดทอนคุณค่าลงเรื่อย ๆ จนกลายเป็นความไม่สามารถเชิดหน้าชูตาได้ ก็เป็นยุคสมัยหนึ่งที่เป็นแบบนั้น
แต่เมื่อมายุคสมัยปัจจุบัน แม้ว่าจะยังมีอยู่บ้างที่เป็นแบบเดิม แต่เรื่องแบบนี้เริ่มคลี่คลายลงไป และได้ยอมรับมากขึ้นในเรื่องของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการยอมรับในคุณค่ามากขึ้น ยอมรับวัฒนธรรมที่หลากหลายมากขึ้น นี่อาจเป็นเชิงอุดมคติมาก ๆ แต่มันได้เริ่มขึ้นแล้ว และในภายภาคหน้าอาจจะดีขึ้นเรื่อย ๆ เราจะค่อย ๆ ยอมรับวัฒนธรรมต่าง ๆ ในระดับที่เราเริ่มเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมที่ต่างกันอย่างเท่า ๆ กัน
ซึ่งถ้าเรามองในเรื่องของอุตสหกรรมบันเทิง เป้าของเราพูดถึงเรื่อง Mass media และเข้าถึงคนได้ง่ายจำนวนมากเช่นตัวละครโทรทัศน์ ซีรีย์ ภาพยนตร์ หรือแม้แต่ MV แต่เมื่อตอนต้นอย่างที่เราพูดว่าการพยายามนำเสนอ Content ท้องถิ่น มันมีความพยายามมาอย่างยาวนานอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น Content Creator ที่เป็นคนท้องถิ่น และเป็นคนที่มีความภาคภูมิใจในการสื่อสารเนื้อหาเรื่องราวพื้นที่ของตนเองและพยายามนำเสนอออกไป
แต่ถ้าเรามองในแง่ของผู้ผลิตที่อยู่ในอุตสาหกรรมบันเทิงส่วนใหญ่ที่ถูกสร้างในแต่ละปี จะบอกว่าส่วนใหญ่จะเป็น content ของภาคกลางทั้งหมดเลย นาน ๆ ทีจะเห็นเป็นเรื่องราว เนื้อหาวิถีของคนท้องถิ่น หรือความเป็นท้องถิ่นในภาคอื่น ๆ
ถ้าเราไล่เรียงในช่วงที่ผ่านมา อย่างภาคเหนือก็จะมีเรื่องแหวนทองเหลือ สาวเครือฟ้า กลิ่นกาสะลอง ส้มป๋อย ที่ล่าสุดเป็น content ทางเหนือ
และทางอีสานอย่างเช่นอาจมีเรื่องนาคี ที่คนยังจดจำได้ถึงตอนนี้ ภูตน้ำโขง หรือก่อนหน้านี้บทประพันธ์ซีไรซ์ที่คนจดจำได้อย่าง ลูกอีสาน อย่างภาคใต้ก็มีเนื้อหาจากภาพยนตร์ แต่ถ้าเปรียบเทียบกับภาคอื่น ๆ อาจจะดูน้อย อันนี้คือปริมาณของ content ในอุตสาหกรรมบันเทิงที่ถูกผลิตโดยส่วนกลาง นี่เป็นแค่ปริมาณก่อนหน้านี้ซึ่งก็ไม่เท่ากันแล้ว เพราะนาน ๆ ที content ท้องถิ่นจะถูกนำมาเล่าผ่านสื่อจากส่วนกลาง
ถัดมาคือ content ที่ถูกนำมาเล่าก็เป็นมุมมองปรับเปลี่ยนจากส่วนกลางซึ่งไม่ใช่ content ท้องถิ่นจริง ๆ ซึ่งนี่อาจเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้เราคุยกันต่อได้ว่าทำไมหนังสัปเหร่อ ประสบความสำเร็จ ในแง่ของรายได้และกระแสความนิยมที่คนพูดถึง เพราะที่ผ่านมากระแส content ที่พูดถึงท้องถิ่น มันเป็นมุมมองจากภาคกลาง พอเป็นมุมมองจากภาคกลางเราจะได้ยินเสียงสะท้อนอยู่ 2-3 ข้อว่า ไม่ใช่แบบนี้นะ เราไม่พูด ไม่กิน หรือแต่งตัวแบบนี้ เป็นเสียงวิพากย์วิจารถึงเนื้อหาท้องถิ่นที่ไม่ความเป็นท้องถิ่น 100 % ที่ถูกดัดแปลงและถูกเล่าโดยส่วนกลาง และเป็นความแฟนตาซีของคนภาคกลาง ที่อยากจะทดลองทำบางสิ่งบางอย่าง วัฒนธรรมท้องถิ่นมันถูกนำเสนอในฐานะแฟนตาซีภาคกลาง ซึ่งกลับกันในขณะเดียวกันถ้าเราเอาคนท้องถิ่นมาอยู่ในเรื่องราวก็ถูกนำเสนอในลักษณะของคนบ้านนอก คนล้าหลัง ในตัว content ก็บอกว่าเธอคนต่างจังหวัดต้องปรับตัวนะไม่งั้นเธอจะอยู่ที่นี่ไม่ได้ ซึ่งต้องบอกว่าอุตสาหกรรมบันเทิงที่พูดถึงความเป็นภาคกลางกับความเป็นท้องถิ่นมันถูกเล่าในโมเดลแบบนี้มายาวนาน จนเรารู้สึกว่าจนเราคุ้นชินกับมัน นี่คือลักษณะของการทำงานแบบ Soft power ที่ทุกวันนี้เราชอบพูดถึงกัน ซึ่งอาจมีการตีความแบบผิด ๆ กันว่า Soft power ที่พออะไรที่เป็นวัฒนธรรมไปปรากฏอยู่ในสื่อซึ่งจริง ๆ แล้วมันไม่ใช่
Soft power คือ การที่เราทำให้คนเข้าใจนึกคิดถึงสิ่งเหล่านั้นโดยไม่ตั้งข้อสงสัย
และเรารู้สึกอยากจะทำอะไรแบบนั้นโดยที่ไม่ตะขิดตะขวงใจ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ในกระบวนการของมันต้องอาศัยหล่อหลอมมายาวนาน ไม่ใช่การที่ละครหนึ่งเรื่องใส่วัฒนธรรมเข้าไปแล้วคุณประสบความสำเร็จในการทำ Soft power
เช่น ละครดัง ๆ บุพเพสันนิวาสที่ทำให้คนแต่งชุดไทยไปอยุธยา อาจารย์มองว่ากระแสของความนิยมในช่วงเวลาหนึ่งแต่ทุกวันนี้เราไม่สามารถใส่ชุดไทยในชีวิตประจำวันได้โดยที่เราไม่รู้สึกว่ามันใช้เนื่องในโอกาสพิเศษ หรือแม้แต่กลิ่นกาสะลองที่เล่าเรื่องของเชียงใหม่ เล่าเรื่องแม่แจ่มในช่วงที่ละครออกอากาสในช่วงเวลานั้นคนก็แห่มาเที่ยวภาคเหนือตามรอยละคร แห่กันแต่งกายนุ่งซิ่น หรือแม้แต่คำมีคนพยายามพูดคำเมืองมากขึ้น แต่นั่นไม่ได้หมายถึงว่าเป็น Soft power มันเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่น แต่เมื่อคนรู้จักแล้วประเด็นสำคัญคือเราจะสานต่ออย่างไร ให้ไปสู่การยอมรับและเข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อมันไปถึงจุดนั้นได้ถึงจะเรียกว่าเป็นความสำเร็จไปสู่การเผยแพร่ Soft power
เมื่อเนื้อหาของ Local ถูกยอมรับมากขึ้น
เราจะสังเกตเห็นในช่วงหลังหนังไทยหลายต่อหลายเรื่องในปีนี้อยู่พ้นจากกรุงเทพฯ เป็นส่วนใหญ่ สะท้อนแง่มุมหนึ่งของความหลากหลายในระบบนิเวศภาพยนตร์มากขึ้น มันมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งเสริมให้ปัจจุบันมาถึงจุดนี้
ปัจจัยแรก คือ เรื่องของเทคโนโลยี มีผลเรื่องของการสื่อสารและการผูกขาดของการนำเสนอ เช่น แต่ก่อนคือสถานีโทรทัศน์ช่องหลัก หรือเข้าสู่วงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็ต้องเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ใหญ่ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเริ่มอัพเดตมาเรื่อย ๆ Steaming หรือตัว YouTube เองที่คนสามารถเปิดช่องของตนเองได้ เพราะฉะนั้นการเปิดกว้างและพัฒนาการของเทคโนโลยีหลาย ๆ ทำให้หลาย ๆ คนมีช่องเป็นของตนเองได้ และเลือกทำ Content ในรูปแบบของตนเอง เป็นเจ้าของช่องทางการสื่อสาร เนื้อหาเป็นพื้นที่ของตนเอง เราไม่จำเป็นต้องทำ Project เสนอนายทุนที่สุดท้ายท้ายสุดนายทุนเองต้องคัดเลือกในความเป็นเรื่องเศรษฐกิจเป็นหลัก ที่เนื้อหาของแต่ละเรื่องมองแล้วจะสามารถสร้างกำไรได้มากน้อยแค่ไหน นี่เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปรากฏการณ์ content ท้องถิ่นที่สามารถเลือกไปอยู่ในช่องทางไหนก็ได้ และไม่ได้โดดไปอยู่ในช่องทางหลักเสียทีเดียว ไม่อยู่ในระบบการผูกขาดเพียงอย่างเดียว
ปัจจัยที่สอง คือ สืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีทำให้คนเราสามารถเข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ ที่ตนสนใจได้ โดยที่เราไม่ต้องดูทีวีช่องเดียวเสมอไป ไม่เข้าโรงหนังโรงเดียวเสมอไป มีช้อยส์ให้เลือกมาขึ้นซึ่งทั่วโลกด้วย content หลายอย่างไม่ได้เข้าฉายในประเทศไทยเลย แต่เราสามารถได้ดูแล้ว เพราะมี community ของกลุ่มคนที่ชอบเนื้อหาแบบนี้อยู่ กลุ่มคนที่ชอบ content ต่าง ๆ ที่หลากหลาย กลุ่มคนชอบ content เกาหลี content ญี่ปุ่น content ประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากอเมริกา มีกลุ่มคนใน content เดียวกันที่นำมาเผยแพร่ ผ่านช่องทางถูกกฎหมายไม่ถูกกฎหมายบ้าง นี่ก็ว่าไปเรื่องตามกฎหมายอีกทางหนึ่ง แต่ในแง่ของกลุ่มคนทั่วไปจะเข้าสู่เนื้อหาต่าง ๆ ที่หลากหลายมันเยอะขึ้น
และอย่างในเคส ปรากฏการณ์ไทยบ้านเดอะซีรีย์ ซึ่งเป็น content ของทางอีสาน บวกกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่คนเข้าระบบออนไลน์ เข้าถึงเว็บต่าง ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ มันก็ต้องพูดถึงในมุมของคนรับสาร ณ ตอนนี้คนไทยมีอยู่ทั่วโลก คนอีสานมีอยู่ทั่วโลก คนไทยที่ไปอยู่ทั่วโลกในแง่ของความรู้สึก ส่วนใหญ่เป็นคนอีสานที่ไปอยู่ต่างจังหวัด ต่างประเทศ แล้ว ณ วันหนึ่งที่มันมี content อยู่บนโลกออนไลน์ และเป็น content ที่พูดถึงบ้านเค้า เป็น content ที่มันคือชาวบ้านทั่วไป ใช้ภาษาท้องถิ่นที่คุ้นเคย มันฟังแล้วมันฟังเข้าใจได้ทันที ที่ไม่ต้องแปล และเรามีประสบการณ์ร่วมในวัฒธรรมเหล่านั้น เช่น การกินข้าวนำกัน วิถีประเพณี สำหรับคนที่อยู่ไกลบ้านเมื่อเห็น content เหล่านี้ มันทำหน้าที่ในการตอบโจทย์ของการคิดถึงบ้าน และเป็นมุมมองของคนท้องถิ่นจริง ๆ ไม่ใช่มุมมองของคนตรงกลางสร้างความเป็นอีกสานออกมา มันเป็นการพูดถึงบ้านของตัวเองจากคนพื้นที่ ตรงนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนท้องถิ่นได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน
ปัจจัยที่สามมองเรื่องของ เทรนการเคราพสิทธิที่เท่าเทียมกัน มันมาแล้ว ซึ่งคำว่าสิทธิที่เท่าเทียมกันมันเป็นคำกว้างมาก ๆ ที่อยู่ข้างบน ซึ่งในรายละเอียดข้างล่างมีนมีอีกหลายหลายอย่าง เช่น เทรนในการยอมรับคู่รักเพศเดียวกัน เทรนในการยอมรับเรื่องของความหลากหลายในวัฒนธรรม เทรนเรื่องความเหลื่อมล้ำ ซึ่งกระแสเหล่านี้ที่เรียกว่ากระแสความอนุรักษ์ วิพากย์วิจารในเรื่องเหล่านี้มีมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ตัววัฒนธรรมท้องถิ่น content ท้องถิ่น ที่ขาดโอกาสในการนำเสนอตัวเองมีเยอะขึ้น และเวลาที่กลไกเรื่องความเท่าเทียมมันทำงาน เช่น เวลานำเสนอ content อะไรไปแล้วมีคนพิพากย์วิจารว่าทำไมเป็นแบบนั้น แบบนี้ มันจะไม่ถูกว่าเพียงอย่างเดียวมันจะเริ่มมีคนมาโต้แย้งบ้างมาแสดงความคิดเห็นบ้าง ตรงนี้จะเป็นกลไกที่จะทำให้วัฒนธรรมที่เราไม่เคยรับรู้มาก่อน วัฒนธรรมที่ถูกกดทับด้วยค่าในอดีต และถูกด้อยค่า จะถูกยอมรับในอนาคตมากขึ้น
รัฐเองมีการพูดถึงเรื่องนโยบาย Soft power ภายใต้ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ Creative Economy แต่วันนี้ยังมองเห็นกลไกซัพพอร์ตเรื่องนี้ไม่ชัดเจน แต่สิ่งที่ชัดเจนวันนี้คือภาพยนตร์ไทยมีศักยภาพเป็น Soft power ได้แน่ ๆ แต่จะทำยังให้เติบโตแพร่หลายกว่านี้
มองในส่วนของผู้ที่อยู่สูงสุดในการกำหนดด้านนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงวัฒนธรรก็ดี หรือกลุ่มผู้ที่อยู่ในส่วนของการผลิต content ท้องถิ่น เราต้องจัดลำดับวัฒนธรรมให้เท่ากันก่อน ปรับมุมมองในการจัดลำดับวัฒนธรรม เราต้องไม่พูดว่าวัฒนธรรมใดดีกว่าวัฒนธรรมใด ต้องรีเซ็ตกันว่าทุกวัฒนธรรมมีคุณค่าเท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มใหญ่ ๆ หรือกลุ่มเล็ก ๆ ที่เรานำเสนอออกไปด้วยใจที่เป็นกลางและมุมที่เป็นกลาง
ต่อมาเรื่องของการแช่แข็งวัฒนธรรม ที่ผ่านมาเรามีวัฒนธรรมท้องถิ่น จะมี่วัฒนธรรมที่เป็นความสวยงามในอดีตและเราพยายามแช่แข็ง ฟรีซมันไว้ตรงนั้น เพราะการที่เราจะเผยแพร่วัฒนธรรมออกไปให้รู้จักไม่จำเป็นต้องเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิม
วัฒนธรรมที่อยู่รอดคือวัฒนธรรมที่มีการปรับตัว
ในยุคสมัยก่อนหน้านี้จะมีความกังวลว่าถ้าเราเอาวัฒนธรรมที่เป็นความงดงามขั้นสูงเอามาให้เป็นสินค้าตลาด อาจเป็นความไม่เหมาะสม แต่หากเราเปิดใจกว้างนำอิทธิพลของบางส่วนบางเสี้ยวมาปรับการนำเสนอให้เข้ากับยุคสมัย เมื่อคนสนใจแล้วเค้าจะกลับมาย้อนไปค้นหา original เอง ซึ่งในกลุ่มของคนที่ชอบสิ่งเหล่านี้จะมีกลุ่มที่ชอบแบบความ original จริง ๆ กับชอบในแบบ ที่ Adaptation แล้ว มองในมุมการอนุรักษ์วัฒนธรรมไม่ได้หายไปเลย
วัฒนธรรมงดงามแบบชั้นสูงก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม ในขณะเดียวกันมีคน generation ใหม่ ๆ ที่รับรู้วัฒนธรรมชั้นสูงในมุมมองใหม่มากขึ้น เช่น ในยุคที่วัฒนธรรมเกาหลีผลักดันตนเองเข้าสู่วัฒนธรรมระดับโลกเค้าใช้วิธีการแบบสมัยใหม่ ใช้เพลง Rap pop dance เล่าเรื่องประเทศของเขา ทุกวันนี้ในกลุ่มที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเกาหลีเขาก็ยังมีพื้นที่อยู่ ในขณะเดียวกันวัฒนธรรมเกาหลีถูสื่อสารนำไปสู่สายตาโลกมากขึ้น ๆ และไม่มีอะไรที่เสียเลย เรามองว่าในประเทศไทยเราเองใช้โมเดลในลักษณะเดียวกันแบบนี้ก็น่าจะเป็นไปได้ วัฒนธรรมที่เป็นความงดงามดั้งเดิมอย่างโขน รำฟ้อน ที่เป็นประเพนิยมมาก ๆ ยังคงต้องมีเพราะอนุรักษ์ไว้อยู่ แต่ในขณะเดียวกันคนที่ทำงาน content หยิบบางส่วนไปสื่อสารกลิ่นอายวัฒนธรรมเดิมไปสื่อสารรูปแบบใหม่เราต้องเปิดใจกว้างให้เขาได้ทดลองทำต่อไป เป็นส่วนหนึ่งที่น่าจะทำให้วัฒนธรรมถูกนำเสนอออกไปและถูกยอมรับมากขึ้น
เรื่องของนโยบาย ต้องเป็นนโยบายแห่งชาติจริง ๆ ไม่ใช่เพียงการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียว แล้วบอกว่าเป็น Soft power ของประเทศไทย
เรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์เราพูดกันมามากกว่า 5 -10 ปีแล้ว ในตอนที่เราเห็นว่าเกาหลีเริ่มประสบความสำเร็จในการส่งออกวัฒนธรรมบันเทิงออกไป และในช่วงปีหลัง ๆ เราเริ่มมองเห็นว่า Soft power สร้างเม็ดเงินทางเศรษฐกิจจริง ๆ เราต้องไม่หลงทางเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ การเข้าไปในหมู่บ้านแล้วบอกว่าเราฟื้นฟูการสานชะลอมกันเถอะ นั่นคือการสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น แต่การเผยแพร่ออกไปมันอยู่ในอุตสาหากรรมการสื่อสารที่จะได้ผลในการนำเสนอวัฒนธรรมสร้างสรรค์หรือแม้แต่ Soft power คืออุตสาหกรรมสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การกีฬา วัฒนธรรม หรือแม้แต่ content ต่าง ๆ ภาพยนตร์ ละคร ซีรีย์ เป็นเครื่องมือที่จะเผยแพร่ความสร้างสรรค์เหล่านี้ออกไป และไม่ได้เป็นการเผยแพร่แบบโต้ง ๆ แบบละครพจมานถือชะลอมเข้าไปในบ้านทรายทองและฮัลโลนี่ คือ Soft power ของประเทศไทย เครื่องจักรสาน ต้องอาศัยระยะเวลายาวนานซึ่งการอาศัยระยะเวลายาวนานแบบนี้รัฐบาลต้องตั้งโจทย์ประจำปี เพราะทุกวันนี้มีอะไรที่เป็นกระแสขึ้นมาเรามักตื่นเต้น และทำเร็วและเห็นผลสำเร็จรวดเร็ว เพราะกลไก Soft power ต้องอาศัยระยะเวลาของความถี่ที่คนมองเห็นและรับรู้อย่างสม่ำเสมอ ซึมเข้าไปโดยที่เราไม่รู้ตัวเช่นภาษาอีสานในหนังไทบ้าน ในละครนาคี ช่องท้องถิ่นอื่น ๆ ที่สนับสนุนเช่นเด็กเซาะกราวนด์ หรือแม้แต่ลิซ่าแบล็กพิงค์เองที่บางคนรับรู้ว่าเป็นคนอีสานและสามารถเป็นศิลปินในระดับโลกได้ ที่ยกตัวอย่างมาอยากจะบอกว่ามันไม่ได้มีแค่เพียงคอนเท้นเดียวที่จะทำให้คนมาเกิดการยอมรับว่าภาษาอีสานเป็นภาษาที่มีเสน่ห์ แต่มันเกิดจากหลาย ๆ content และมารวม ๆ กันและคนมีความรู้สึกว่าภาษาอีสานเป็นภาษาหนึ่งที่มีเอกลักษณืน่าสนใจอีกหนึ่งภาษา ยกตัวอย่างเพื่อบอกว่าเวลาที่เราจะผลักดันอะไรสักอย่างหนึ่งให้อยู่ในระดับที่ไปถึง Soft power มันต้องมีหลายองค์ประกอบ และต้องร่วมมือร่วมใจกันที่ผ่านมาไม่ได้ทำเป็นระบบที่มีข้อตกลงกัน เรพาะฉะนั้นในสิ่งนี้รัฐจะทำให้ลิสหัวข้อหรือคัดเลือกให้เป็นโจทย์ประจำปี
ถ้าเราจะเผยแพร่ซอฟพาวเวอร์ อยากจะเผยแพร่วัฒนธรรมหรือเรื่องอะไรซักอย่างให้ไปสู่ระดับซอฟพาวเวอร์ เราต้องยอมรับเรื่องของการใช้เวลาแต่การใช้เวลาตรงนี้เราต้องมีการวางแผนที่ดีมีกลยุทธ์ที่ดีที่ทำแล้วต่อเนื่องซึ่งสิ่งเหล่านี้อาศัยระยะเวลาจริงๆและต้องอาศัยความต่อเนื่องด้วยเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้นในผู้กำหนดนโยบายอาจจะต้องมีลิสต์ที่บอกว่าปีนี้เราจะสนับสนุนเรื่องอะไรเราอยากจะโชว์ซอฟพาวเวอร์และเป็นเป้าหมายของประเทศไทยตัวไหนเช่น สมมุติว่าปีนี้เราบอกว่าจะรณรงค์เรื่องภาษาถิ่นเราจะ promote ให้คนรู้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เราไม่ได้มีแค่ภาษากลางเพียงภาษาเดียวแต่เรามีภาษาท้องถิ่นด้วยเพราะฉะนั้นแล้วปีนี้เรากำหนดนโยบายว่าซอฟพาวเวอร์ปีนี้จะเผยแพร่ภาษาท้องถิ่น เนื้อหาที่ถูกคิดหรือโปรเจ็คต่างๆที่ถูกคิดออกมาในปีนี้หรือสามปีต่อจากนี้ต้องนำ เสนอด้วยภาษาท้องถิ่นเหล่านี้จะทำให้คนดูหรือผู้รับสารหรือผู้ชมจะเริ่มรู้สึกว่าคุ้นกับภาษาถิ่นมากขึ้นมีเพลงสมัยใหม่ที่รับเป็นภาษาท้องถิ่นเข้าไปหรือแม้แต่วงดนตรีหมอลำ วงซอ พลิกนำเสนอให้ดูมีความทันสมัยมากขึ้น นวันหนึ่งตัวภาษาท้องถิ่นจะถูกยกระดับขึ้นมาเป็นวัฒนธรรมร่วมหรือถ้าจะมองในแง่ของคอนเทนท์อื่นๆเช่นศิลปะ ประเพณี อาหาร และอาหารเป็นเรื่องที่เข้าถึงคนง่ายโดยอาหารไทยมีเยอะมาก ทุกวันนี้ในระดับโลกคนรู้จักผัดไทย ส้มตำ ต้มยำกุ้งเป็นอาหารไทยสามอย่างที่คนทั่วโลกรู้จักและยอมรับว่าเป็นอาหารไทยสิ่งนี้เป็นสิ่งที่อยู่ในระดับซอฟพาวเวอร์
กลับไปสู่หัวข้อเรื่องตรงนี้คือรัฐต้องตั้งโจทย์ เพราะทุกวันนี้ที่ผ่านมาเพราะอะไรเป็นกระแสวัฒนธรรมหรือขออะไรบางอย่างที่บูมขึ้นมาแล้วเราตื่นเต้นในชั่วขณะ มันเป็นความบังเอิญยังไม่ถึงขั้นที่เป็นซอร์ฟพาวเวอร์หรือตั้งใจจงใจที่จะเผยแพร่สิ่งนี้ออกไปให้คนรู้จัก ฉันก่อนหน้านี้ที่มีนักร้องไทยแร็พเปอร์กินข้าวเหนียวมะม่วงและทุกคนต้องกรี๊ดว่าเข้าเหนียวมะม่วงคือซอฟพาวเวอร์ของไทยแต่ในพื้นที่ไม่มีการทำงานต่อหลังจากนั้นว่าเราจะพลักดันอย่างไร ให้ข้าวเหนียวมะม่วงของไทยนำไปสู่การยอมรับในระดับโลกในระดับที่ยอมรับและมองว่ามันเป็นซอฟพาวเวอร์ได้จริงๆ
รัฐควรตั้งโจทย์ในกลุ่มบรรดาของศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตอาหาร เครื่องแต่งกาย เครื่องนุ่งห่ม หรือแม้แต่กระทั่งประเพณีเทศกาลในประเทศไทยปีนี้โจทก์ของเราคืออะไร และกลุ่มที่เป็นคอนเทนท์คลีเอเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวสถานีโทรทัศน์ ผู้ผลิตภาพยนตร์ ผู้จัดรายการต่างๆ หรือแม้แต่กระทั่งอินฟูเอ็นเซอร์ ยูทูบเบอร์หลายๆ รายเล็กรายย่อย มีหน้าที่ในการผลิตคอนเทนท์เหล่านั้นออกมา เราต้องเอาสิ่งที่เป็นโจทก์เหล่านั้นอยู่ในคอนเทนท์ของเราด้วย อยู่ในคอนเทนท์ในลักษณะที่ว่าไม่จำเป็นที่จะต้องจงใจพูดแบบตั้งใจพูด แต่อยู่ในบางช่วงบางตอนของคอนเทนท์ที่เรานำเสนอด้วยเช่น ในบทหนังหรือเอ็มวีอาจมีการกินข้าวเหนียวมะม่วงด้วย เป็นพร๊อบอยู่ในฉากนั้น ๆ ลักษณะนี้เพราะคนเข้าใจคุ้นเคยกันไปได้เรื่อยเรื่อยมันจะค่อยค่อยซึมเข้าไปเอง ซึ่งนะวันนึงในระดับที่คนรู้จักเยอะมากขึ้นคนรับรู้อยากทดลองมันจะส่งผลไปให้กลุ่มอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมการสื่อสารเพียงอย่างเดียวแต่จะส่งผลไปยังเกษตรกรการท่องเที่ยวและสามารถไปไกลได้กว่านั้น
มองวงการหนังไทย หลังจากนี้มันควรจะเป็นไปในทิศทางไหน ?
ตัวคนทำคอนเทนท์ท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จทุกวันนี้มันมีโอกาสมากขึ้น ในการที่ทำให้วัฒนธรรมตัวเองเป็นที่รู้จักวัฒนธรรมพื้นถิ่นท้องถิ่นเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง แต่ที่รู้จักและได้รับความนิยมขึ้นมา ก็อาจจะเป็นเพราะลองผิดลองถูกมาหลายครั้ง จนครั้งนี้ที่คนพูดถึงมากอาจเป็นเรื่องบังเอิญขึ้นมาจริงๆ และได้บังเอิญนี้มีปัจจัยหลายอย่าง ถ้าคนเบื่อการเล่าเรื่องแบบแพตเทิร์นเดิมๆ เราเบื่อการที่มีมุมมองเล่าเรื่องแบบเดิมๆบางครั้งเป็นการเล่าเรื่องจากส่วนกลางแต่เป็นเรื่องราวของคนในท้องถิ่น พอเรามาเจอสิ่งแปลกใหม่ที่เริ่มต้นจากการหาสิ่งใหม่ใหม่ดูแต่นานวันเข้าก็ซึมซับมากขึ้น ในสิ่งที่อยากจะฝากไว้ในแง่ของคนที่เป็นคลีเอเตอร์ท้องถิ่นคนเขียนบทหรือคนทำหนัง อยากให้ทำต่อไปเพราะมองว่าโอกาสที่มันจะถูกเผยแพร่ในมุมกว้างในปัจจุบันมีมากขึ้น
เรื่องต่อมาคือภาครัฐควรสนับสนุนอย่างจริงจังซึ่งที่ผ่านมาอาจจะมี การนำเสนอในมุมที่เป็นส่วนกลางมากเกินไปอาจจะต้องมีการจัดสรรปั่นส่วนในการสนับสนุนครีเอตอร์ท้องถิ่นให้อยู่ในระดับที่เป็นระดับกลางมากขึ้นซึ่งตรงนี้จะเป็นกำลังใจให้กับคลีเอเตอร์ท้องถิ่นในการที่จะผลิตงานของตัวเองให้มีความเป็นที่นิยมมากขึ้น ด้วยการนำคอนเทนท์ท้องถิ่นของตัวเองแต่มีวิธีการนำเสนอที่ทำให้คนสนใจมากขึ้น
ท้ายคือเราอาจจะต้องมีความใจเย็นแต่ทำต่อเนื่องและอยากคาดหวังว่าทำเรื่องนี้แล้วจะประสบความสำเร็จในทันที คอนเทนท์เดียวอาจไม่ได้ประสบความสำเร็จแล้วสร้างจุดเปลี่ยนอะไรบางอย่างแต่นำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นได้
ยกตัวอย่าง นวนิยายเรื่อง กลิ่นกาสะลอง เขียนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2550 จุดเริ่มต้นที่เขียนตอนนั้นเราแค่อยากจะเล่าความเป็นภาคเหนือออกไปให้คนภายนอกรับรู้แต่ตลาดขายนิยายคือตลาดภาคกลางคนที่อ่านทั่วไปจะมีความรับรู้ว่านักเขียนคนนี้ก็เล่าวัฒนธรรมภาคเหนือ จนมาเป็นละครซึ่งตั้งแต่วันที่เป็นหนังสือจนมาเป็นละครใช้เวลากว่า 10 ปี พอเป็นละครเราโชคดีหน่อยตรงที่โปรดักชั่นดีเรื่องนำเสนอได้น่าสนุกมีคนติดตาม และนักแสดงที่มีชื่อเสียงมีคนรู้จักเยอะซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ดีในการทำให้คนรู้จักเรื่องนี้และเนื้อหาท้องถิ่นมากขึ้น สิ่งที่ได้รับมาหลังจากนั้นคือคนรู้จักคำเมืองเยอะขึ้น คนอยากจะมาเที่ยวตามรอยละคร คนอยากจะแต่งตัวเป็นคนเหนือมากขึ้นแต่ ณ วันนี้ผ่านมาเกือบสี่ถึงห้าปี คนอาจพูดถึงเรื่องนี้อยู่แต่ในมุมของภาครัฐเองไม่ได้ส่งเสริมไม่ได้ต่อยอดตรงนี้ต่อ ละครกลิ่นกาสะลองที่จุดกระแสมาได้ช่วงเวลาหนึ่งมันทำได้เพียงแค่จุดกระแสแต่ไม่มีคนทำต่อในพื้นที่
เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากจะบอกคือบางเรื่องที่มันเกิดขึ้นมาแล้วเป็นกระแสมันอาจจะเกิดจากความบังเอิญจากช่วงเวลานั้นแต่ ณ วันที่มันเป็นกระแสแล้ว เราควรจะต้องผลักดันต่อให้ยังคงอยู่ในกระแสต่อไปเพราะวันนึงที่มันเป็นกระแสแล้วหมายความว่าคนให้ ความสนใจแล้วและต้องให้มีคอนเทนท์เนื้อหาต่อเนื่องแต่ต่อเนื่องไม่ได้เป็นรูปแบบเดิม เป็นคอนเทนท์ที่เป็นความเป็นภาคเหนือต่อเนื่องเล่าในมุมต่างๆ มุมอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบ เพื่อไม่ให้คอนเทนท์ที่ถูกเป็นกระแสทิ้งช่วงไปนานและหายไป