ภาพยนตร์ ”สัปเหร่อ” ของทีมเซิ้งไทบ้าน กลายเป็นที่พูดถึงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่เพียงเฉพาะกลุ่มผู้ชมที่เป็นคนอีสาน ยังรวมไปถึงคนในภูมิภาคอื่น ๆ ก็สนใจในกระแสที่ผ่านมาเพียง 6 วัน ทำรายได้ไปกว่า 100 ล้านบาท
ภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านโนนคูณในจักรวาลไทบ้าน เล่าถึงชีวิต เจิด เด็กหนุ่มวัย 25 ปีที่เรีนนจบกฎหมาย 7-8 ปี มีพ่อทำอาชีพ สัปเหร่อ เขาหวังจะไปสอบเป็นทนายหรือปลัดอำเภอ แต่ต้องมาช่วยพ่อเป็นสัปเหร่อ เพราะพ่อมีอาการป่วยจนต้องมาช่วยพ่อทำงาน แต่ลังเลเพราะเกิดเป็นคนที่กลัวผีมากๆ และต้องมาทำงานกับศพ
พล็อตเรื่องเป็นเหตุการณ์ในบริบทความเป็นอีสานในสมัยปัจจุบันที่สะท้อนชุมชนได้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องของสังคม, อาชีพ, ความสัมพันธ์ และมิติของครอบครัว ที่เล่าผ่านกลิ่นอายความเป็นระทึกขวัญได้อย่างลงตัว จึงไม่แปลกใจเลยที่ภาพยนตร์เรื่องจะกลายเป็นกระแสในเวลาไม่กี่วัน
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่สะท้อนความเป็นอีสาน
ความสำเร็จของ “สัปเหร่อ” ถือเป็นความต่อเนื่องจากความสำเร็จของภาพยนตร์ที่เรียกรวมกันว่า “จักรวาลไทบ้าน” ที่หนึ่งในนี้มีชื่อเข้าชิงรางวัลสุพรรณหงส์ครั้งที่ 27 กว่า 5 สาขารางวัล และได้รับรางวัลมา 1 รางวัล คือ เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ส่งผลให้ภาพยนตร์จากซีรีส์จักรวาลไทบ้านเป็นที่พูดถึงและเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในฐานะภาพยนตร์จากทีมผลิตในระดับภูมิภาค
บทความจาก waymagazine สัมภาษณ์ทีมบริหารจากเซิ้งไทบ้านเกี่ยวกับสถานการณ์ของอุตสาหกรรมภาพยนต์และการผูกขาดโรงหนังในสังคมไทยอย่างไร (10 ธันวาคม 2022) ซึ่งทีมมองว่าพฤติกรรมคนดูเปลี่ยนไปมาก บวกกับสถานการณ์โควิดที่ผ่านมาด้วย จริงๆ แล้วมันต้องมีภาครัฐเข้ามาช่วย แต่ตอนนี้สังคมมันเปลี่ยนตัวเองแล้ว คนเสพออนไลน์กันค่อนข้างเยอะ เม็ดเงินเข้าไปโตในนั้นมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เราวัดจากหนังที่เคยขาย แต่ก่อนเราอาจจะขายได้ 2 ล้าน ทุกวันนี้มันกลายเป็น 4-5 ล้าน เพราะคนกำลังเปลี่ยนพฤติกรรม ทางทีมไม่รู้ว่าตอนนี้โรงฉายภาพยนตร์เอา VPF (Virtual Print Fee) หรือค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนระบบฉายจากระบบฟิล์มเป็นระบบดิจิทัลออกหรือยัง แต่ได้ยินมาว่าเหมือนเอาออกแล้ว สิ่งที่จะกล่าวก็คือ ค่าฉายต่อรอบมันจะไม่มีแล้ว และมองว่าคนน่าจะเสพสื่อออนไลน์เยอะขึ้น ทำให้ตลาดคนดูในโรงหนังน้อยลง
“ส่วนภาครัฐ มองว่า รัฐไม่ค่อยมีบทบาทช่วยเหลืออุตสาหกรรมภาพยนตร์เท่าไร ณ เวลานี้นะ เหมือนอย่างตอนโควิดระบาด บริษัทสื่อภาพยนตร์ต้องปิดตัวกัน 2-3 เดือน ออกกองก็ไม่ได้ รัฐก็ไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วย แต่คนที่ยื่นมือกลับเป็น Netflix เลยรู้สึกว่า ภาครัฐไม่ได้ช่วยผู้ประกอบการธุรกิจนี้เลย แล้วก็ไม่ได้มีความเข้าใจจริงๆ ขณะที่ Netflix เข้ามาจ่าย 10,000-20,000 บาท ต่อผู้ประกอบการหนึ่งรายในช่วงที่วิกฤตมาก ๆ ซึ่งตอนนั้นรัฐยังไม่ได้ออกนโยบายอะไรเกี่ยวกับการช่วยเหลือคนทำงานในธุรกิจสื่อเลย”
ทำไมต้องเป็นศรีสะเกษ ?
ในรายการฟังเสียงประเทศไทย ชวนปักหมุดล้อมวงสนทนาในพื้นที่อีสานใต้ “เมืองศรีสะเกษ” ซึ่งมีความหลากหลายของวิถีวัฒนธรรม 4 ชนเผ่า กูย เขมร ลาว และเยอ รวมถึงเป็นพื้นที่ของศิลปิน นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ที่มากด้วยผลงาน ทั้ง ศิลปะ ดนตรี และภาพยนตร์ในภูมิภาค อย่างเช่น ผู้สร้างไทบ้านเดอะซีรีส์ คุณรัฐวิทย์ อังคสกุลเกียรติ ประธานหอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ และเป็นในทีมสนับสนุนงบประมาณให้กับเซิ้งไทบ้านผลิตภาพยนตร์ ได้พูดถึงฉากทัศน์เรื่องของเมืองภาพยนตร์ที่น่าสนใจ
“ในตลอดช่วง 10 ปีมา ศรีสะเกษเรามีความโดดเด่นมากในเรื่องของภาพยนตร์ เราจะเห็นได้ว่า ถ้าพูดถึงสัตว์ของสตาร์ทอัพ เราจะมียูนิคอร์น แต่ถ้าเกิดว่าเราพูดแบบไทยหน่อยก็จะเรียกว่านิลมังกร เรามีนิลมังกรของศรีสะเกษ ก็คือทีมไทบ้านเดอะซีรีส์ เป็นกลุ่มการรวมตัวของน้อง ๆ คนรุ่นใหม่ ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการทำหนังออกมาจนปัจจุบันเติบโตและมีจักรวาลไทบ้าน
ซึ่งมันเป็นการจุดประกายทำให้คนรุ่นใหม่ๆในเมืองเขามองเห็นว่าด้วยศักยภาพของตัวเขาเขาสามารถที่จะไปถึงจุด ๆ นั้นได้แล้วมันเข้าครบสามเหลี่ยมความคิดสร้างสรรค์ จะเกิดขึ้นได้มันต้องมีฟีล มีโดเมน และมีเพอร์ซัน วันนี้น้อง ๆจักรวาลไทบ้านขยับตัวเองไปเป็นฟีล คือคนที่อยู่ในฟีลภาพยนตร์ ไปสร้างคนในวงการภาพยนตร์ให้เกิดขึ้นและมันก็จะเกิดเป็นวงที่ 3 ก็คือการต่อยอดในการสร้างบุคลากรด้านภาพยนตร์วันนี้มันทำให้ครบเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์มันเกิดขึ้นแล้วที่ศรีสะเกษ
เพราะฉะนั้น ถ้ามองถึงว่า หนังอีสานที่อยู่ในใจคนทั่วประเทศทุกคนต้องคิดถึงศรีสะเกษเพราะเรามีทีมจักรวาลไทบ้านที่เป็นทีมนำร่องให้กับพวกเราแต่สิ่งที่เราจะต่อยอดและมันจะเป็นผลพลอยได้หลังจากนี้คืออะไรคือเรื่องของการเขียนบทเรื่องของการทำนิยายผมคิดว่าสิ่งเหล่าเนี้ยมันจะเป็นจิ๊กซอว์อีกชิ้นหนึ่งที่จะมาต่อยอดวัฒนธรรมของศรีสะเกษ เราอาจจะมีหนังที่เชื่อมต่อเรื่องวัฒนธรรมของเผ่ากูย เรื่องเล่าของสไน เรายังขาดสิ่งเหล่าเนี้ยที่อนาคตถ้าเราทำได้อุตสาหกรรม เรื่องของนิยายการเขียนบทมันจะสร้างมูลค่าและซอฟท์พาวเวอร์ให้กับศรีสะเกษอย่างมหาศาล
เพราะฉะนั้นถ้าเกิดว่าเราเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้ร่วมกันได้ ผมคิดว่ามันไม่ไกลเกินไปที่ศรีสะเกษของเราจะเป็นเมืองแห่งภาพยนตร์แล้วก็มันจะสร้างเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก ๆ ทีนี้สิ่งที่เราจะต้องส่งเสริมกันหลังจากนี้คืออะไรภาครัฐถ้าเห็นแล้วว่าจุดเด่นของเราอยู่ในเรื่องของศักยภาพในการทำอุตสาหกรรมหนังมากับการศึกษา ต้องส่งเสริม ต้องมีการนำสิ่งเหล่านี้เข้าไปบรรจุในหลักสูตรเพื่อส่งเสริมให้เด็ก ๆ เราเข้าถึงมากขึ้นนโยบายเรื่องของการลงทุนนโยบายด้านภาษีจูงใจให้ภาคเอกชนยากที่จะฟันดิ้งหนังให้กับคนศรีสะเกษมากขึ้นแล้วด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันผมคิดว่ามันกว้าง สมัยก่อนเยอะ มันเป็นโอกาสหนึ่งที่ผมคิดว่าศรีสะเกษของเราจะโดดเด่นได้บนเวทีของโลกครับ”
จะเห็นว่า จ.ศรีสะเกษ มีความพร้อมในการขยับเป็นเมืองภาพยนตร์ แต่ถ้าจะก้าวเข้าสู่เมืองภาพยนตร์ได้ ต้องมีความพร้อมในด้านใดบ้าง ?
ตัวอย่างจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกา ฮอลลีวูด
ในส่วนของวงการภาพยนตร์ฮอลลีวูดเองนั้น ก็มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคแต่ละสมัยเกิดขึ้นมากมาย จากแรกทีเดียวที่ตั้งใจผลิตภาพยนตร์ป้อนให้กับคนอเมริกา แต่วันหนึ่งเมื่อเริ่มมีการขยายไปยังประเทศต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำสมัยจึงทำให้ได้รับความนิยมและกลายเป็นผู้นำด้านผลิตภาพยนตร์ของโลกไปโดยปริยาย
โดยการที่ทำให้ Hollywood ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของภาพยนตร์ระดับโลกได้นั้น ไม่ใช่เพียงเพราะเป็นเจ้าแรกๆ หรืออยู่มานานเท่านั้น แต่ด้วยการเผยแพร่ภาพยนตร์ออกไปจำนวนมากในแต่ละปี ทำให้มีการซึมซับและรับเอาวัฒนธรรรมต่างๆ ในความเป็นอเมริกาไปด้วย จากการเป็นหนังที่ผลิตเพื่อให้คนอเมริกันได้ดู โดยสื่อถึงการเป็นฮีโร่บ้าง การเป็นคนเก่งที่ช่วยปกป้องโลกได้บ้าง รวมถึงค่านิยมวัฒนธรรม กระแสแฟชั่นต่างๆ ภาพยนตร์จากฮอลลีวูดหรือจากอเมริกาจึงส่งผลต่อทัศนคติและการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลกไปด้วยไม่มากก็น้อย แม้ปัจจุบันจะเริ่มมีค่ายหนังจากหลายประเทศผลิตออกมาแข่งขันเพิ่มขึ้นด้วยก็ตาม
มาในยุคหลังนี้ นอกจากฮอลลีวูดแล้วยังมีเมืองอื่นๆ อีกหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมผลิตภาพยนตร์ สตูดิโอและผู้ผลิตหลายราย จึงเริ่มย้ายออกไปจากฮอลลีวูดไม่มากระจุกรวมตัวเหมือนกว่า การท่องเที่ยวจึงเป็นอีกธุรกิจที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อเมืองฮอลลีวูด โดยเฉพาะ Hollywood Wrak of Fame ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติยศแก่ศิลปินคนทำงานในวงการบันเทิงที่ประสบความสำเร็จต่างๆ โดยแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกกว่าหลายสิบล้านคนมาเยี่ยมชม โดยตลอดเส้นทางบนถนนระยะทางกว่า 2 กิโลเมตรจะมีชื่อของศิลปินมีชื่อเสียงทั้งนักร้อง นักแสดง ผู้กำกับภาพยนต์ชื่อดัง หรือแม้แต่ตัวการ์ตูนชื่อดังสลักอยู่เรียงรายในรูปดาวสีชมพูตลอดบนทางเดินของเมือง
อินเดีย
สำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ภายในอินเดียนั้น นับได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และด้วยความหลากหลายในแต่ละภูมิภาค โดยเฉพาะในเรื่องของภาษาที่แตกต่าง อันเป็นผลมาจากการที่ดินแดนในแถบอินเดียในสมัยก่อน มีการปกครองโดยตั้งเป็นรัฐอิสระของตนเองในแต่ละรัฐ ก่อนที่จะมีการรวมประเทศกันอย่างเป็นทางการในตอนที่อังกฤษเดินทางเข้ามา และด้วยการปกครองในรูปแบบสหพันธรัฐ เราจึงสามารถที่จะเห็นถึงรูปแบบทางเศรษฐกิจที่มีเอกลักษณ์ในแต่ละรัฐ จึงส่งผลถึงเรื่องของอุตสาหกรรมทางภาพยนตร์อีกด้วย โดยในฝั่งของอินเดียตอนเหนือจะมีการใช้ภาษาฮินดีเป็นหลัก ซึ่งภาพยนตร์ในโซนนี้จะเป็นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า “Bollywood”
ในปัจจุบันนี้นั้น ภาพยนตร์จากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทางอินเดียใต้ กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งเรียกได้ว่ากำลังเข้ามายิ่งใหญ่เทียบเท่ากับอุตสาหกรรมบอลลีวู้ด อันเป็นตลาดใหญ่ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอินเดียที่มีมาอย่างยาวนาน โดยในปี ค.ศ. 2022 ภาพยนตร์จากโซนนี้สามารถทำรายได้มากกว่า 7,000 ล้านรูปี ซึ่งถือว่าเป็นร้อยละ 65 ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์อินเดียทั่วประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม แต่ด้วยการเติบโตที่ขยายตัวมากขึ้นดังกล่าวนี้ ก็ยิ่งทำให้การแข่งขันทางอุตสาหกรรมภาพยนตร์เริ่มขยายตัวมากขึ้นเช่นกัน
เกาหลีใต้
เกาหลีใต้มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ที่เข้มแข็งมากประเทศหนึ่ง ที่สามารถท้ายการครองตลาดของภาพยนตร์จากฮอลลีวู๊ด เมื่อพิจารณาจากยอดรายได้คนดู และการมีส่วนแบ่งตลาดในประเทศที่มากกว่า 50% อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใต้ใหญ่เป็นอันดับ 5 รองมาจากสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร
นับจากปลายทศวรรษ 1990 อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใต้ เริ่มสร้างพื้นฐานทางตลาดของคนดูภาพยนตร์ขึ้นมา เพราะคนรุ่นใหม่ที่เป็นคนชั้นกลางของเกาหลีใต้ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น คนรุ่นใหม่พวกนี้ต้องการดูภาพยนตร์ ที่ตรงกับรสนิยมพวกเขา มีความช่ำชองในการสร้าง และให้ความบันเทิงสนุกสนาน หลังจากนั้น ภาพยนตร์เกาหลีใต้ก็ขยายตัวออกไปครองตลาดในเอเชีย และกลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ที่ประสบความสำเร็จมากสุดของโลก
จีน
ปัจจุบันอุตสาหกรรมบันเทิงของจีน เช่น ภาพยนตร์ ซีรีส์และวาไรตี้จีน มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และมีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทาให้มีสื่อภาพยนตร์ ซีรีส์ วาไรตี้จีนที่มีคุณภาพ ทันสมัย และ หลากหลายแนวให้เลือกชม โดยเฉพาะซีรีส์และภาพยนตร์จีน ที่มีหลากหลายแนว ได้แก่ แนวดราม่า โรแมนติกคอมเมดี้ ย้อนยุค แอคชัน แฟนตาซี อีสปอร์ต ธุรกิจและสายอาชีพต่าง ๆ ซึ่งจีนได้มีการพัฒนา เนื้อเรื่อง คุณภาพของนักแสดงและโปรดักชันที่เทียบเท่าระดับสากล บวกกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Streaming ที่เป็นฟันเฟืองสาคัญในการช่วยเผยแพร่คอนเทนต์ต่าง ๆ ให้สามารถชมภาพยนตร์ ซีรีส์และ วาไรตี้จีนได้สะดวกมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้ผู้ชมทุกกลุ่ม รวมถึงคนรุ่นใหม่ หันมาให้ ความสาคัญกับอุตสาหกรรมบันเทิงของจีนมากขึ้น จนชื่อเสียงศิลปินชาวจีนและผลงานบันเทิงของจีน
อินโดนีเชีย
ภาพยนตร์อินโดนีเซียรุ่งเรืองมากในช่วงปี 2006 – 2010 สร้างแรงจูงใจให้มีการผลิตภาพยนตร์อินโดนีเซียเพิ่มขึ้น โดยในปี 2014 มีภาพยนตร์อินโดนีเซียเข้าฉายทั้งหมด 113 เรื่อง แต่หลายเรื่องไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ผลิตภาพยนตร์อินโดนีเซียจึงหันไปซื้อลิขสิทธิ์นวนิยายขายดีมาทำภาพยนตร์ รวมถึงซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ต่างประเทศมาจัดทำในฉบับอินโดนีเซีย
ปัจจัยในการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมภาพยนตร์อินโดนีเซีย คือ ผู้บริโภค โรงภาพยนตร์ และรัฐบาล โดยผู้บริโภคอินโดนีเซียชื่นชอบภาพยนตร์แนว Action Romantic และ Horror ในขณะที่ภาครัฐ มีระเบียบกำหนดสัดส่วนการฉายภาพยนตร์อินโดนีเซียต่อภาพยนตร์ต่างประเทศในอัตรา 60 :40 ทำให้ภาพยนตร์ที่ฉายโดยส่วนใหญ่จะเป็นภาพยนตร์แนว Action จาก Hollywood เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค สร้างรายได้ให้แก่เจ้าของโรงภาพยนตร์ได้มากกว่า และผู้นำเข้าภาพยนตร์ Hollywood เป็นเครือ
บริษัทของโรงภาพยนตร์หลัก นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังกำหนดให้การลงทุนโรงภาพยนตร์ การนำเข้าภาพยนตร์และการทำคำบรรยาย (Film subtitling) เป็นกิจการสงวนสำหรับคนชาติ (100% Local Capital)
จะเห็นว่าที่ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในแต่ละประเทศมา เราจะเห็นจุดเด่นในการชูภาพลักษณ์ หรือ ความเป็นประเทศของพวกเขา การดึง Softpower ของประเทศเข้าไปนำเสนอสู่สายาตาชาวโลกได้
ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีนโยบายโครงการ 5F ได้แก่ อาหาร (Food), ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ (Film), การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion), ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) และ เทศกาลประเพณีไทย (Festival) เพื่อผลักดันให้เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ เชื่อมโยงวัฒนธรรมไทยสู่สากล สร้างโอกาสจาก Soft Power ที่มีศักยภาพเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ
ด้านภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ (Film) มีโครงการที่สำคัญ เช่น การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานHong Kong Film & TV Market 2023 หรือ Filmmart 2023 เมื่อเดือนมีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายคอนเทนต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชีย โดยมีนักลงทุน ผู้สร้าง ผู้กำกับ ผู้ซื้อจากต่างชาติ สนใจเข้าร่วมเจรจาการค้ากับผู้ประกอบการไทยจาก 21 บริษัท สร้างมูลค่าการเจรจาทางการค้าได้กว่า 1,300 ล้านบาท, โครงการ Content Lab ส่งเสริมการผลิตคอนเทนต์เข้าสู่ตลาดโลก และมาตรการคืนเงิน (Cash Rebate) แก่กองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป อินเดีย จีน ฮ่องกง เอเชียตะวันออก และอาเซียน โดยเน้นการสร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าและบริการไทย
ส่วนในศรีสะเกษเอง ก็มีการระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงาน ซึ่งสภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ได้ดำเนินโครงการเพื่อการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนาและต่อยอด และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคม โดยมีแนวทางการสร้างภาพยนต์ (Film) Soft Power จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับผู้บริหารบริษัท เซิ้ง โปรดักชั่น ผู้ผลิตหนังไทบ้านเดอะซีรี่ย์ โดยจะเอานำวัฒนธรรมประเพณีสี่เผ่า แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ