เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 จังหวัดตรัง จัดประชุม “การจัดทำแผนพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา บูรณาการการทำงานระหว่างเครือข่าย กสศ. และ บพท. บนพื้นที่เทศบาลนครตรัง” โดยนายนิวรณ์ แสงวิสุทธิ์ รองนายกเทศมนตรีนครตรัง เป็นประธานการประชุมฯ ร่วมด้วย ดร.อรทัย เกิดภิบาล ศึกษาธิการจังหวัดตรัง สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดตรัง (สกร.ตรัง) และกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่จังหวัดตรัง (YEC Trang)
การประชุมครั้งนี้มุ่งบูรณาการงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของจังหวัดตรังอย่างรอบด้าน โดยมีสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (สกศ.) ในฐานะองค์กรนโยบายด้านการศึกษา ทีมนักวิจัย City Unit ผู้เชี่ยวชาญด้านเมืองแห่งการเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยพะเยา ประสานงานในการเชื่อมพื้นที่สู่ระดับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยจะประชุมติดตามและขับเคลื่อนงานทุก 2 เดือน
ที่ประชุมได้หารือถึงทิศทางในการพัฒนาจังหวัดตรังให้ก้าวสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) โดยมีการผสานวัฒนธรรมจีน ขุมทรัพย์วัฒนธรรมด้านอาหาร มาออกแบบ Learning City ที่นำอัตลักษณ์ของชาวตรังมาหลอมรวมเป็นองค์ความรู้ที่ช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและการมีงานทำ (Learn to Earn) พร้อมเตรียมต่อยอดศูนย์การเรียนรู้ทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตรัง (Regional Center for Education) และห้องสมุด สกร. ตรัง เป็นรากฐานในการขยายแหล่งเรียนรู้ ร่วมกับเทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ย่านเมืองเก่าให้คนทุกช่วงวัยสามารถเรียนรู้อย่างสนุกและเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
ทางด้าน นางสาวกรกมล จึงสำราญ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนานโยบายด้านการมีส่วนร่วมและการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กล่าวว่า การพัฒนาเมืองของทุกๆเมืองบริบทสำคัญคือจังหวัดส่วน สำนักงานสภาการศึกษา ก็จะสนับสนุนการพัฒนาเมืองในด้านต่างๆ เช่น จังหวัดสุโขทัยต้องการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรม
ทางสำนักงานสภาการศึกษาก็จะสนับสนุนด้านนโยบายการศึกษา ให้คณะทำงานได้ทำงานบูรณาการให้เกิดการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ส่วนของจังหวัดตรัง ก็ต้องมาศึกษาดูว่าจะให้เมืองเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ด้านใด ที่จะเป็นเมือง Gastronomy หรือเมืองชุมชนไทยจีนก็ได้ แต่ทุกภาคส่วนต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ที่มุ่งสู่ Gastronomy หรือ ชุมชนไทยจีน ทางการการศึกษาก็จะมีแหล่งเรียนรู้ทางด้านอาหาร หรือการมีหลักสูตร หรือแผนการจักการเรียนรู้ หรือการมีแพลตฟอร์มต่างๆให้ นักเรียน ประชาชน นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้.
– รองศาสตราจารย์ ดร. ผณินทรา ธีรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า ทางด้านมหาวิทยาลัยพะเยา มีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้ภาคส่วนต่างๆ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาคม ได้มาร่วมพูดคุย กำหนดทิศทางเมืองว่าจะเดินไปในทิศทางใด ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก็จะขึ้นกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการทางเศรษฐกิจของเมืองให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยที่ทุกคนในจังหวัดตรังจะต้องมีส่วนร่วมในการขันเคลื่อนเมืองไปด้วยกัน ทั้งนี้ ขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมพัฒนาคน พัฒนาเมือง เพื่อตรัง ดี เด่น ดัง ด้วยกัน
– นายจิรวัฒน์ วิระพรสวรรค์ เลขานุการกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่จังหวัดตรัง (YEC Trang) สำหรับการเตรียมจังหวัดตรังให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ การให้โอกาสให้เด็กๆ นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสนในพัฒนาทักษะ ประสบการณ์ในการเรียนรู้ เพื่อเป็นส่วนในการขับเคลื่อนเมือง หากมีการพัฒนาเมืองตรังให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ก็เป็นโอกาสที่ดีที่จังหวัดตรังจะได้นำเสอนของดีที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดตรัง ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร การท่องเที่ยวชุมชน วัฒนธรรมไทยจีน ให้แก่นักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนจังหวัดตรัง ได้เรียนรู้ควบคู่กับการท่องเที่ยว.