เลียบโขง ณ เชียงของ 2566

เลียบโขง ณ เชียงของ 2566

เชียงของเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งที่ไม่เป็นรองใคร เมืองติดชายแดน ริมฝั่งแม่น้ำโขง มองเห็นทิวทัศน์ของเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้วของ สปป.ลาว

ชวนปั่นสลับเดิน ดูชีวิตริมแม่น้ำโขงผ่านภาพในช่วงปลายฝนต้นหนาวอัลบั้มภาพ

เชียงของ เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต ด้วยพื้นที่เชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านทั้งพม่า ลาว จีน ศักยภาพของ อ.เชียงของ จ.เชียงราย มีพรมแดนติดแม่น้ำโขง และ สปป.ลาว เป็นประตูการค้าในแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ผ่านโครงข่ายถนน R3A หลังผ่านช่วงความเปลี่ยนแปลงที่มีทั้งแบ่งเขตพัฒนาและพื้นที่รักษาพื้นที่วัฒนธรรม ถือเป็นอีก หนึ่งเมืองที่มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ความเรียบง่ายและเสน่แบบเมืองเหนือ ที่สามารถสัมผัสได้บน ถนนสาย 1290 เชียงของ-เชียงราย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1290 เป็นทางสายหลักที่ใช้ในการติดต่อระหว่างอำเภอแม่สาย สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จ.เชียงราย

ช่วงทางขึ้นเขาที่ลาดชัน กับภูมิทัศน์สวยงามสองข้างทาง โค้งรับไปกับแม่น้ำโขง เส้นแบ่งเพียงแม่น้ำระหว่างพรมแดนไทย-ลาว ซึ่งเป็นเส้นทางที่ถ่ายทอดวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ ของชาวเชียงของได้เป็นอย่างดี

เช้า ๆ ตื่นมาสูดอาการบริสุทธิ์ เห็นแสงแรกสีเหลืองทองสะท้อนกับแม่น้ำ สวยประทับใจ แต่สังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตการจับปลามีน้อยลง ยังไม่รวมถึงสาหร่ายแม่น้ำโขง หรือที่รู้จักในนามว่า ไก ว่าหนาวนี้จะน้อยลงไหม

เมื่อฟ้าเริ่มสว่าง 07.30 น. เณรเดินตักบาตรข้างริมโขง เส้นทางออกกำลังกายของชาวเชียงของ

เดินทอดน่อง ไม่ไหวก็คว้าจักรยานไฟฟ้ามาขี่ ก่อนกินข้าวเช้า

ดูวิวริมแม่น้ำโขง 2 ฝั่ง ไทย-ลาว

ระหว่างขับไปเราจะเจอกับซากโบราณสถาน วัดวาอารามต่าง ๆ ที่แสดงความใกล้ชิดกันระหว่างชาวเชียงของและพระพุทธศาสนา

จุดหนึ่ง คือ ท่าผาถ่าน เป็น 1 ในสถานที่สำคัญสะท้อนประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเมืองเชียงของ สำหรับขนส่งสินค้าตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงในเมืองเชียงของ เป็นจุดชมวิวแม่น้ำโขงมีลักษณะเป็นลานกว้างมีโขดหินเรียงราย

นิทานท้องถิ่นเล่าเรื่องปู่ละหึ่งแบกถ่านจนคานหักตกลงในแม่น้ำโขง บอกเล่าที่มาของชื่อเรียกท่าผาถ่าน ด้วยความโดดเด่นของผาหินสีดำคล้ายถ่าน สัญลักษณ์ท่าเรือประวัติศาสตร์ของเมืองชายแดนเชียงของ

แม้ 2 ปีมานี้ การสัญจร การค้าขายผ่านแม่น้ำโขงดูเงียบเหงาไปบ้างจากโควิด-19 เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง สายน้ำโขงก็กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง จากการเห็นเรือท่องเที่ยวไทย-ลาว เรือใหญ่ล่องเรือ 2 วันจากห้วยทรายหลังจากข้ามพรมแดนมิตรภาพไทย-ลาวไปยังหลวงพระบาง

เห็นฟีพายซ้อม ช่วงนี้ใกล้ช่วงประเพณีสำคัญ ออกพรรษาของชาวริมโขง ที่ในพื้นที่มีประเพณีไหลเรือไฟ ซึ่งชาวริมโขงเรียกประเพณีนี้ว่า เฮือไฟ จัดขึ้นในวันออกพรรษา ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี และประเพณีที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การแข่งเรือ ซึ่งชาวบ้านริมแม่น้ำโขงเรียกกันว่า ส่วงเฮือ การแข่งเรือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน โดยจัดขึ้นระหว่างงานบุญออกพรรษา

แม้การมาเยี่ยมเยือนเชียงของครั้งนี้ แม้จะใช้เวลาได้ไม่นานแต่ แต่เพียงครู่เดียวเหมือนหยุดเวลาเราไว้กับความเงียบสงบ มีเวลามากกว่าเรากลับไปเรียนรู้วิถีจริง ๆ ของคนเชียงของกัน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ