“กรมทรัพยากรน้ำในฐานะรัฐไทย ต้องใช้สิทธิ์ยับยั้งเขื่อนดอนสะโฮง” – สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล

“กรมทรัพยากรน้ำในฐานะรัฐไทย ต้องใช้สิทธิ์ยับยั้งเขื่อนดอนสะโฮง” – สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล

10 พฤศจิกายน 2557, อุบลราชธานี – สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล ได้ออกแถลงการณ์ต่อกรณีการสร้างเขื่อนดอนสะโฮง ใน สปป.ลาว ซึ่งในวันเดียวกันนี้ก็มีการเปิดเวทีให้ข้อมูลเรื่องการสร้างเขื่อนดอนสะโฮงของกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานีด้วย โดยเนื้อหาของแถลงการณ์นั้นมีข้อความดังนี้

1. เขื่อนดอนสะโฮง ก่อสร้างโดย สปป.ลาว บริเวณแม่น้ำโขงตอนล่าง ช่วงที่ 4 (ปากเซ สปป.ลาว – กระแจะ กัมพูชา) เกาะสีพันดอน ทางใต้ของ สปป.ลาว เขตติดต่อพรมแดนกัมพูชาประมาณ 7 กิโลเมตร (จากพรมแดน ลาว – กัมพูชา) เป็นการสร้างเขื่อนปิดฮูสะโฮง (ฮูสะโฮง เป็นช่องน้ำไหลอยู่ในแนวเดียวกันกับน้ำตกคอนพะเพ็ง และน้ำตกหลี่ผี) โดยมีแผนจะขุดขยายลำน้ำ(ฮูสะโฮง) เป็นช่องรับน้ำ 5 กิโลเมตร และก่อสร้างตัวเขื่อนเป็นคันคอนกรีตบดอัดแน่น ความยาว 6.8 กิโลเมตร ความสูง 25 เมตร มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีขนาดกำลังผลิต 240-260 เมกะวัตต์ ขณะที่ฮูสะโฮง มีความลาดเอียงต่ำกว่าหลี่ผีและคอนพะเพ็ง สภาพเช่นนี้จึงเอื้อให้ปลาจำนวนมาก สามารถเดินทางจากทะเลสาบเขมรเข้ามาสู่แม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาแม่น้ำโขง ซึ่งรวมถึงแม่น้ำมูนด้วย แต่วัฏจักรของปลานี้จะหายไปเมื่อเขื่อนดอนสะโฮงสร้างแล้วเสร็จ

2. เขื่อนดอนสะโฮง จะถูกสร้างขึ้นในลำน้ำโขงซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติ แม่น้ำโขงนับเป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดกำเนิดจากที่ราบสูงทิเบต และมีจุดกำเนิดร่วมกับอีก 2 แม่น้ำ คือแม่น้ำแยงซี และแม่น้ำสาละวิน ไหลผ่านถึง 7 ประเทศ จนกระทั่งไหลไปออกทะเลจีนใต้ที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่เวียดนาม มีลำน้ำสาขาต่าง ๆ มากมาย รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำอีกจำนวนมาก เช่น แม่น้ำมูน, แม่น้ำชี ,แม่น้ำสงคราม และทะเลสาบเขมร แม่น้ำโขงนับเป็นแม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับที่ 10 ของโลก และเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายของชนิดปลามากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ และแม่น้ำคองโกในทวีปแฟริกาปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง

ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 1,200 ชนิด และคาดว่าอาจมีถึง 1,700 ชนิด จะส่งผลกระทบทำให้ปลาจำนวนมากลดจำนวนลงและปลาอีกหลายชนิดจะสูญพันธ์ุไป เช่นเดียวกับการสร้างเขื่อนปากมูลที่ทำให้ปลาในแม่น้ำมูนลดจำนวนลงอย่างมาก ซึ่งผลกระทบนี้จะเกิดขึ้นกับประชาชนในหลายประเทศร่วมถึงประชาชนไทยด้วย

3. แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ.2538 กลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงทั้งสี่ประเทศซึ่งใช้ประโยชน์ลุ่มน้ำโขงตอนล่างร่วมกัน ได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการร่วมมือ “การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง แบบยั่งยืน” ได้ร่วมกันก่อตั้ง คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission – MRC) โดยในส่วนของประเทศไทยหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการคือ “กรมทรัพยากรน้ำ” การสร้างเขื่อนดอนสะโฮง กั้นแม่น้ำโขง จึงควรอย่างยิ่งที่ MRC จะต้องทำหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนในกลุ่มประเทศสมาชิก และที่สำคัญกรมทรัพยากรน้ำในฐานะตัวแทนประเทศไทย ได้จัดเวทีแทนเจ้าของเขื่อน (เจ้าของเขื่อนคือ สปป.ลาว)

4. ความล้มเหลวจากเขื่อนปากมูล แต่ไม่นำไปเป็นบทเรียน เขื่อนปากมูลถูกสร้างขึ้นโดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของชาวบ้านคนหาปลา และนักวิชาการว่าเขื่อนปากมูลจะส่งผลให้ปลาลดลง ซึ่งนักสร้างเขื่อนพยายามหาเหตุผลและเสนอเทคนิคมากมายเพื่อแก้ไขปัญหาการลดลงของชนิดพันธ์ุปลา และปริมาณปลาในลุ่มน้ำมูน แต่จนถึงปัจจุบันก็ไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้แล้วเขื่อนปากมูลซึ่งเดิมเป็นเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นเขื่อนเพื่อการชลประทาน ขณะที่ชาวบ้านยังคงเรียกร้องความเป็นธรรมต่อเนื่องยาวนานกว่า 26 ปี และพวกเขายังคงต้องเรียกร้องต่อไปจนกว่าความเป็นธรรมจะเกิดขึ้น

5. คำสัญญาที่ชาวบ้านปากมูนได้เคยมีข้อตกลงจำนวนมากกับการไฟฟ้า ฯ และรัฐบาล ทั้งก่อนการสร้างเขื่อนปากมูล และเมื่อเขื่อนปากมูลสร้างเสร็จแล้ว แต่ทุกข้อตกลงที่ผ่านมา เจ้าของเขื่อนและรัฐบาลไม่เคยทำตามสัญญา และนี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้ปัญหายืดเยื้อเรื้อรังมาถึง 26 ปี และเช่นเดียวกันในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 หน่วยงานที่นำเสนอข้อมูลเขื่อนดอนสะโฮง เชื่อว่าจะนำเสนอข้อมูลเฉพาะด้านดีของเขื่อนเพียงด้านเดียว พร้อมกับรับปาก สัญญา ต่าง ๆ นานา เพื่อให้เวทีผ่านไปจนเสร็จ แต่หลังจากนั้น ก็จะหายไปไม่มาให้เห็นหน้าอีกเลย

ต่อพฤติกรรมของ MRCS และกรมทรัพยากรน้ำ ที่เร่งรีบดำเนินการจัดเวทีให้ข้อมูลเขื่อนดอนสะโฮง ในครั้งนี้ พวกเรามิอาจคาดหวังได้ว่าจะมีการให้ข้อมูลอย่างรอบด้าน เพียงพอที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถตัดสินใจได้ และที่สำคัญพวกเราไม่เห็นหลักประกันอันใดเลยว่า ข้อเสนอของพวกเราจะถูกนำไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจ ต่อการดำเนินการของเขื่อนดอนสะโฮง เพราะ สปป.ลาว ได้ตัดสินใจแล้ว และกำลังเดินหน้าก่อสร้างเขื่อน

ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และปกป้องการทำลายแม้น้ำโขง สมัชชาคนจน กรณีปัญหาเขื่อนปากมูล จึงเรียกร้องให้ MRCS และกรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการ ดังนี้

1. ให้ MRCSและกรมทรัพยากรน้ำ ยกเลิกการจัดเวที ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พร้อมกับทบทวนบทบาทหน่วยงานของตนเอง ว่าจะดำเนินการเพื่อรับใช้นักสร้างเขื่อน หรือเพื่อจะปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนไทย

2. ให้กรมทรัพยากรน้ำ ในฐานะของรัฐไทย ใช้สิทธิ์ยับยั้งการสร้างเขื่อนดอนสะโฮง ของ สปป.ลาว พร้อมกับเสนอให้ สปป.ลาว เป็นผู้ดำเนินการจัดเวทีให้ข้อมูลกับประชาชนในประเทศสมาชิก MRC ทั้งสี่ประเทศ ไม่ใช่ MRSC และกรมทรัพยากรน้ำ มาทำแทนเช่นนี้

3. ให้กรมทรัพยากรน้ำ หันมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น ปัญหาที่เกิดจากเขื่อนปากมูล ให้เสร็จสิ้นก่อน พร้อมทั้งหาแสวงหาแนวทางในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนโดยยึดประโยชน์สูงสุดของประชาชน เป็นที่ตั้ง

“พวกเรายังหวังว่า กรมทรัพยากรน้ำ ที่เป็นตัวแทนของรัฐไทย จะตระหนักว่า เบี้ยหวัดที่พวกท่านได้รับอยู่นั้น มาจากภาษีของประชาชนชาวไทย และในฐานะหุ้นส่วนของสังคมไทย พวกเราจึงมิอาจนิ่งเฉยอยู่ได้ และที่สำคัญพวกเราได้มีประสบการณ์ที่เจ็บปวดมาแล้วกว่า 26 ปี ซึ่งพวกเราไม่อยากให้ความเลวร้าย ที่ได้เกิดขึ้นกับพวกเรา เกิดขึ้นซ้ำ ซ้ำ อีกต่อไป การยับยั้งการจัดเวทีในวันพรุ่งนี้ จึงเป็นภารกิจเพื่อปกป้องแม่น้ำ ปกป้องวิถีชีวิต วิถีชุมชนของพวกเรา และของทุกคน”

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

Prev

May 2025

Next

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

28
29
30
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1

25 May 2025

Nothing to show.

เข้าสู่ระบบ