แอมเนสตี้ฯ ชี้การตรวจสอบของยูเอ็นเป็นโอกาสยุติการทรมานในประเทศไทย

แอมเนสตี้ฯ ชี้การตรวจสอบของยูเอ็นเป็นโอกาสยุติการทรมานในประเทศไทย

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์วันนี้ในช่วงที่ประเทศไทยจะได้รับการตรวจสอบรายงานสถานการณ์การทรมานในประเทศไทยจากคณะกรรมการต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติ เรียกร้องรัฐบาลไทยต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อยุติการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายเพื่อกำหนดให้การทรมานเป็นความผิดอาญาอย่างหนึ่ง

             

รูเพิร์ต แอ็บบอต (Rupert Abbott) รองผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายยังคงเป็นปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้นทั่วประเทศไทย และการที่ยังไม่มีกฎหมายเอาผิดการทรมานเป็นการเฉพาะ ชี้ให้เห็นความจำเป็นที่รัฐบาลต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ

“การที่ประเทศไทยเข้าร่วมกระบวนการตรวจสอบขององค์การสหประชาชาติ เป็นเรื่องน่ายินดีและเป็นโอกาสในการแก้ปัญหาที่เป็นข้อกังวลอย่างยาวนาน แต่เพื่อให้การเข้าร่วมครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างจริงจัง ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างจริงจังเพื่อยุติการทรมาน”

ในวันที่ 30 เมษายน 2557 คณะกรรมการต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติจะตรวจสอบข้อมูลการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายของประเทศไทย ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีครั้งแรกของไทยตามข้อกำหนดในพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment-CAT)  

ในรายงานที่ส่งมอบให้กับคณะกรรมการต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ถูกควบคุมตัวโดยทหารและตำรวจในไทยมาเป็นเวลานาน รวมทั้งข้อกังวลเกี่ยวกับสภาพของเรือนจำ ความแออัดยัดเยียดในเรือนจำและศูนย์กักตัวคนต่างด้าว ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ลี้ภัยและคนเข้าเมืองอาจเผชิญกับการกักตัวโดยไม่มีกำหนด และเสี่ยงที่จะได้รับการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย

ระหว่างปี 2550 – 2556 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายจำนวน 134 เรื่อง กว่า 75% ของเรื่องร้องเรียนดังกล่าวมาจากจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเจ้าหน้าที่มักมีส่วนร่วมในการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายที่เกิดขึ้นในบริบทของการก่อความไม่สงบอย่างต่อเนื่อง

มีการกล่าวหาว่าตำรวจมักใช้การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย โดยเฉพาะกับผู้ต้องสงสัยในคดียาเสพติด ในปี 2556 ตำรวจนายหนึ่งยอมรับต่อสื่อมวลชนว่า “ไม่ใช่เรื่องผิดปรกติ” ที่ตำรวจจะซ้อมทรมานผู้ต้องสงสัย

ผู้ทำการทรมานมักลอยนวลพ้นผิด ที่ผ่านมามีผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดถูกฟ้องดำเนินคดีเพียงไม่กี่ราย และเนื่องจากไม่มีความผิดฐานการทรมาน เป็นเหตุให้ต้องตั้งข้อหาอื่น อย่างเช่น การทำร้ายร่างกาย

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้ทุกหน่วยงานของไทยที่รับผิดชอบต่อการควบคุมตัวบุคคลและรับผิดชอบต่อกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการควบคุมตัวบุคคล ให้ร่วมมือกันเพื่อทำการทบทวนอย่างเป็นระบบและอย่างเป็นองค์รวมต่อกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย และยังปิดกั้นการเข้าถึงการเยียวยาของผู้เสียหาย และให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติดังกล่าว

“ทางการไทยต้องปฏิบัติการโดยทันทีเพื่อแสดงให้เห็นพันธกิจที่มีต่อการขจัดการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายขั้นตอนต่าง ๆ ควรรวมถึงการกำหนดมาตรการเชิงปฏิบัติเพื่อป้องกันการทรมาน การกำหนดให้เป็นความผิดทางอาญา การนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษและการให้การเยียวยาต่อผู้เสียหาย  รัฐบาลยังควรเปิดให้หน่วยงานอิสระสามารถเข้าไปตรวจสอบสถานคุมขัง และดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้สัตยาบันรับรองต่อพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน” รูเพิร์ต แอ็บบอตกล่าว

////

 

Thailand: UN review is an opportunity to end pervasive torture

 

Thailand must take urgent steps to put an end to torture and other cruel, inhuman or degrading treatment or punishment, and immediately enact and enforce legislation to recognize torture as a criminal offence, Amnesty International said today as Thailand is up for review by the UN Committee Against Torture.

“Torture and other ill-treatment are still endemic problems across Thailand, and the fact that torture is not yet recognized as a crime highlights the need for the government to take concerted action,” said Rupert Abbott, Amnesty International’s Deputy Asia Pacific Director.

“Thailand’s engagement with this UN review is welcome and does offer an opportunity to address long-standing concerns. But for this engagement to be meaningful, Thailand must follow through with genuine action to end torture.”

On 30 April 2014, the UN Committee Against Torture will examine Thailand’s record on torture and other ill-treatment in the first review of Thailand’s fulfilment of its obligations set out by the Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment.

In its submission to the UN Committee Against Torture, Amnesty International documents long-standing practices of torture and other ill-treatment in military and police custody in Thailand, as well as concerns around prison conditions, including heavy overcrowding in prisons and immigration detention centres, where refugees and migrants may face indefinite detention and are vulnerable to torture and other ill-treatment.

Between 2007 and 2013, Thailand’s National Human Rights Commission received a total of 134 complaints about torture and other ill-treatment. Just over 75 per cent of these came from the country’s southern provinces, where security forces have frequently employed torture and other ill-treatment in the context of the ongoing insurgency. 

Police stand accused of frequently employing torture and other ill-treatment, in particular against suspects in drug related cases. In 2013, a police officer even admitted in the media that it was “not uncommon” for police to physically assault suspects.

Impunity is the norm for torture cases, with only a handful of suspected perpetrators held to account, and in the absence of the criminalization of torture tried under charges such as assault.

Amnesty International is calling on all agencies in Thailand with responsibility for detainees and for laws and regulations governing detention to engage in a coordinated, comprehensive and systemic review to recognize and amend laws, policies and practices that facilitate torture and other ill-treatment and impair victims’ access to remedies.

“The Thai authorities must act now to show their commitment to stamping out torture and other ill-treatment,” said Rupert Abbott.

“Steps should include putting in place practical safeguards against torture, recognizing it as a criminal offence, holding suspected perpetrators to account and granting reparations to victims.”

“The government should also open places of detention to independent scrutiny, and take the further step of ratifying the Optional Protocol to the Convention against Torture.”

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ