ฟังเสียงชายเเดนใต้ กับการจัดการภัยพิบัติ

ฟังเสียงชายเเดนใต้ กับการจัดการภัยพิบัติ

ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เผชิญกับ อุทกภัยครั้งใหญ่สุดในรอบ 50 ปี  ความรุนแรงของน้ำท่วมในรอบนี้ ถือว่าอยู่ในระดับที่กินพื้นที่ในวงกว้างกว่าน้ำท่วมที่เคยเกิดขึ้น  โดยในครั้งนี้ พื้นที่เคยท่วมไม่หนักก็ท่วมสูงกว่าปกติ และยังท่วมขยายไปยังพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดน้ำท่วมมาก่อน  ทำให้บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบเกือบ 20,000 ครัวเรือน  รวมถึงสิ่งของเพื่อประกอบอาชีพที่สูญเสียไป

แม้ตอนนี้ ระดับน้ำลดลงแล้วในเกือบทุกพื้นที่ เข้าสู่การฟื้นฟูเยียวยาแล้ว สถานการณ์ที่ผ่านมายังสะท้อนถึงปัญหาความผันแปรของสภาพภูมิอากาศในรอบหลายสิปปี ดั้งนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชาวบ้านต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้น สร้างความตระหนักให้ชุมชนรู้เท่าทัน ตั้งแต่การเตรียมตัว การอ่านข้อมูลสถานการณ์น้ำ เข้าใจภูมิศาสตร์ของพื้นที่ เพื่อไม่ให้มีการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

วันนี้ออกเดินทางมาที่ ริมแม่น้ำปัตตานี พื้นที่นี้เป็นพื้นที่รับน้ำ ที่ไหลมาจากจังหวัดยะลา โดยมีต้นน้ำจากเทือกเขาสันกาลาคีรี อ.เบตง จ.ยะลา เป็นเส้นทางน้ำออกสู่ทะเลที่ อ.เมืองปัตตานี ชวนพูดคุยถึงการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ชายแดนใต้  และสำรวจความเสียหายใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ในวันที่แม้น้ำจะลดลงแล้ว เหลือทิ้งไว้แต่ซากบ้านเรือน และอนาคตที่ไม่แน่นอน จะทำอย่างไรที่ชาวบ้านจะลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติได้มากขึ้น รวมถึงการเกิดระบบการจัดการดีขึ้นได้ ล้วนเป็นโจทย์สำคัญ ในการชวนล้อมวงคุยถึง การจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ชายแดนใต้  ร่วมกันกับฟังเสียงประเทศไทย

พาอีส๊ะ ท่วมงาม ชาวบ้านจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เราจะเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ ซื้อเรือเป็นเรือไม้ซ่อมเรือ เราเตรียม เพื่อแจกไข่เป็ดไข่ไก่ชาวบ้านเพื่อช่วยเหลือกันยามที่ฝนตกน้ำท่วม ที่สำคัญเราต้องสร้างอาสาสมัครในพื้นที่ในชุมชนเราให้มากขึ้นก่อนที่จะรอให้หน่วยงานรัฐมาช่วย อย่างน้อยต้องมีการอบรมในชุมชน สร้างชุมชนเข้มเเข็งทำให้เกิดกลไกการช่วยกันเองให้มากที่สุด

นิอันนุวา สุไลมาน นายกเทศมนตรีเมืองปัตตานีกล่าวว่า การจัดการภัยพิบัติ สิ่งสำคัญคือการสื่อสาร วันนี้การดูข้อมูลหรือเตรียมการไม่มีเลย เราต้องดึงสภาเด็กเยาวชน ดึงคนรุ่นใหม่เข้าเติมเต็มความรู้อย่างน้อยให้ดู ลม ฟน เข้ามาอย่างไร เเละดึงกลุ่มผู้นำทางศาสนาเช่น อีหม่ามเข้ามาเรียนรู้เส้นทางน้ำ ทำให้เกิดเป็นภาคีเครือข่าย ลำพังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรเดียวทำไม่ไหว 

เเละมองว่าภาคีเครือข่ายสำคัญ ณ วันนี้ปัตตานีเปรียบเสมือนบางระจัน เครื่องสูบน้ำเปรียบเสมือนปืนใหญ่ ซึ่งการป้องกันภัยพิบัติเราต้องมีเครื่องสูบน้ำของตัวเองที่เพียงพอเพื่อบรรเทาผลกระทบให้กับพี่น้องประชาชน เเต่ตอนนี้เครื่องสูบน้ำเราไม่พอเราต้องระดมเครื่องสูบน้ำจากเอกชนมาช่วยกัน

สุไลมาน  เจ๊ะแม นักสิ่งเเวดล้อมกล่าวว่า เราจะทำอย่างไรให้การสื่อสารทรงพลัง ตอนนี้เราเห็นเทศบาลประกาศเสียงตามสาย สมัยก่อนมัสยิดก็ใช้อันนี้การสื่อสารในลักษณะนี้ เเต่ตอนนี้เราต้องจับมือกันทำงานกับยูทูบเบอร์ในพื้นที่ที่มียอดคนติดตามเยอะๆ เป็นอีกช่วงทางในการกระจายข่าวสารที่กว้างมากขึ้น

จากสถานการณ์ที่ผ่านมา เราพบว่า เรือเราไม่พอเราได้รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัครในต่างจังหวัดที่เข้ามาช่วยเหลือเเต่ไม่รู้เส้นทางลายน้ำร่องน้ำ ทำให้เรือล่มเเละเสียหายไปหลายลำ จะทำอย่างไรให้ท้องถิ่นมีความรู้ มีเครื่องมือในการรับมือภัยพิบัติ อนาคตเราต้องร่วมกันคิด ที่สำคัญความเป็นสังคมมุสลิมในบ้านเรา มีความเป็นพี่น้องสูงมากทำให้เกิดการช่วยเหลือกันได้อย่างรวกเร็ว เเต่ที่สำคัญเราต้องปลดล็อคท้องถิ่นให้แข็งแรงขึ้น

ผศ. ดร.สมพร ช่วยอารีย์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอ ร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีกล่าว่า เราต้องมีเรือ มีชุดความรู้  มีอาหาร มีอนามัยที่ดี มีเดด้าข้อมูล การจัดการในระดับชุมชนเเละการสื่อสารสำคัญมาก เราต้องมีองค์ความรู้ รู้เท่าทันธรรมชาติเพื่อเราสามารถเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัต

ถ้าเรามีเครือข่ายเกิดการสื่อสารสองทาง มีวอร์รูม เเละหากเรามีข้อมูลเห็นว่าตำบาลของเรารับน้ำมากจากต้นน้ำในตำบลอะไร เเละเราเป็นปลายน้ำจากต้นน้ำตำบลอะไรทำให้เข้ารับมือกับภัยบิบัติได้ เกิดเครือข่ายที่ขยายมากขึ้น เเละเกิดข้อมูลของผังตำบล เป็นข้อมูลเป็นเครือข่ายที่มองเป็นลุ่มน้ำสลายเขตปกครอง มองในเชิงภูมิศาสตร์พื้นที่มากขึ้น ที่สำคัญจะทำอย่างไรให้เราเเละชุมชนเห็นข้อมูลร่วมกันเเละเข้าถึงชุดข้อมูลร่วมกัน

ล่าสุดเครือข่ายภาคประชาสังคมร่วมกับนักวิชาการในพื้นที่ร่วมกันถอดบทเรียนการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ชายเเดนใต้

  • การสร้างความตระหนักรู้การทำให้ประชาชนเข้าใจและรับรู้ถึงความเสี่ยงและวิธีการป้องกันในสถานการณ์ที่เป็นไปได้ การจัดกิจกรรมการฝึกอบรมและการแนะนำข้อมูลสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาร่วมกันเฉพาะหน้า
  • การมีระบบแจ้งเตือนที่ได้รับการยอมรับจากชุมชน ระบบการแจ้งเตือนที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสามารถช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มเวลาในการเตรียมความพร้อม ของระบบช่วยเหลือ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ง่ายเช่น ไลน์กลุ่มของผู้นำชุมชน สามารถช่วยประสานงานและส่งเสริมความร่วมมือในชุมชน
  • การจัดทำแผนชุมชนที่มีแนวทางในเรื่องจาการจัดการภัยพิบัติ และระบบป้องกันภัย รวมถึงการระดมทรัพยากรภายในและภายนอกในการจัดการปัญหาได้
  • ส่งเสริมให้เกิดกลุ่มจิตอาสา ที่มีทักษะและความรู้เบื้องต้นในการจัดการภัยพิบัติ การจัดการอพยพ การจัดการกลุ่มเปราะบาง ในระดับชุมชน และสนับสนุนอุปกรณ์อย่างง่ายให้มีในชุมชน
  • การจัดหาจุดปลอดภัย ที่พร้อมสำหรับการอพยพและการรวมพลของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ โดยมีการจัดเตรียมสถานที่ไว้ให้มีความพร้อมในช่วงน้ำหลาก
  • สร้างระบบ บัญชาการเหตุการณ์ที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในระดับชุมชน เช่น ท้องถิ่น ท้องที่ และกลุ่มอาสา เพื่อจัดการปัญหาตั้งแต่ ช่วงก่อนเกิดเหตุ (กรณีที่สามารถรับรู้ได้ล่วงหน้า) ระหว่างเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ โดยหน่วยงานระดับท้องถิ่นจะต้องมีการลงทุนในการจัดหาเครื่องมือที่จำเป็น เช่น เรือยนต์ ชูชีพ เพื่อใช้ในการสนับสนุนการจัดการเหตุการณ์
  • การจัดตั้งเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติภาคประชาสังคม ที่สามารถทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัดเพื่อร่วมบริหารจัดการสถานการณ์และการระดมความช่วยเหลือให้กับพื้นที่ประสบเหตุได้อย่างรวดเร็ว

รับฟังข้อมูลเพิ่มเติม

หลังจากอ่านชุดข้อมูลเเล้วทางรายการได้จัดทำฉากทัศน์ตั้งต้นให้ทุกท่านได้ลองเลือกกันดูว่า ฉากทัศน์ไหนที่ทุกคนอยากจะให้เกิดขึ้นจริง

ฉากทัศน์ที่ 1: “รถพุ่มพวงยามวิกฤต” ชุมชนเข้มแข็ง รู้คิด รู้ทำ

  • การรับมือและจัดการภัยพิบัติเป็นแบบปีต่อปี  มีการจัดทำแผนการปฏิบัติก่อนเกิดภัยในชุมชนเเละ มีหลักการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ภายในชุมชน
  • ชุมชนผู้ประสบภัยสามารถลุกขึ้นมาบริหารจัดการภัยพิบัติด้วยตนเอง ตั้งแต่ระยะการช่วยเหลือเฉพาะหน้าไปจนถึงการฟื้นฟูชุมชน และมีระบบการจัดหาที่อยู่อาศัย / ศูนย์พักพิง รองรับผู้ประสบภัยอย่างปลอดภัย
  •  สนับสนุนให้พื้นที่ประสบภัยทุกแห่งจัดตั้งกองทุนการจัดการภัยพิบัติทั้งแบบที่รวมอยู่ในกองทุนสวัสดิการชุมชนหรือเป็นกองทุนแยกเฉพาะ เพื่อให้สามารถนำเงินกองทุนมาช่วยเหลือกันเองได้
  • เเต่ฉากนี้ การจัดการยังเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติจากส่วนกลาง ขาดความคล่องตัว ประชาชนจึงทำได้เพียงตั้งรับและรอคอยความช่วยเหลือ ซึ่งจำเป็นต้องมีการออกแบบร่วมกันให้หน่วยงานในท้องถิ่นสามารถปรับแผนการรับมือภัยพิบัติ และทบทวนกฎหมายข้อบังคับ หรือมาตรการรองรับภัยพิบัติต่าง ๆได้ โดยออกแบบการจัดการรับมือภัยพิบัติตามแนวทางเฉพาะเจาะจง เพื่อให้มีการจัดทำแผนการจัดการภัยพิบัติขั้นสูงสุดที่เหมาะสมสอดคล้องกับแต่ละท้องถิ่น

ฉากทัศน์ที่ 2: “ตลาดนัดท้องถิ่นสู้ภัยพิบัติ”  แจ้งเตือนทันใจ ช่วยเหลือทันท่วงที

  • การรับมือและจัดการภัยพิบัติเป็นไปตามการออกแบบร่วมกันจากหลายภาคส่วน มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันในพื้นที่มากขึ้น ตั้งแต่การป้องกัน  การบรรเทาผลกระทบ การเตรียมพร้อม การรับสถานการณฉุกเฉิน  การพื้นฟู
  • โดยการดำเนินการจะต้องมีระบบบริหารจัดการข้อมูลที่ดี
  • ไปถึงพื้นที่เสี่ยงภัย ชุมชนที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติ มีวิธีการ มาตรการที่สามารถลดภัยที่จะเกิดขึ้นได้
  • แต่ฉากนี้ ยังขาดความคล่องตัวจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมีระเบียบข้อบังคับหลายขั้นตอน ขณะที่เมื่อเผชิญเหตุผู้เกี่ยวข้องในท้องถิ่น ท้องที่ ต้องแก้ปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า โดยยึดแนวทางการบริการสาธารณะแนวใหม่
  • เน้นให้ความเสมอภาค ให้สิทธิและหน้าที่ในฐานะพลเมืองมีส่วนร่วม โดยมีรัฐสนับสนุนรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อร่วมออกแบบการป้องกันและรับมือ
  • เน้นให้ท้องถิ่นย่อย ๆ ต่าง ๆ มีศักยภาพมีอำนาจหน้า ที่ตามกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกัน และบรรเทาสาธารณะภัยได้อย่างเต็มที่ เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน

ฉากทัศน์ที่ 3: “เครือข่ายดิจิทัลโลจิสติกส์พร้อมอยู่ร่วมภัยพิบัติ บูรณาการเทคโนโลยีสร้างนิเวศน์ครอบคลุมทุกมิติ

  • การรับมือและจัดการภัยพิบัติให้ความสำคัญกับเครือข่ายการทำงานบูรณาการทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอาสาสมัคร ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนที่มีประสิทธิภาพ สามารถ รับมือ กู้ชีพ กู้ภัย และช่วยเหลือกันในระดับชุมชน
  • ภายใต้ความร่วมมือกับรัฐ เอกชน นักวิชาการ และประชาชน ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย ในพื้นที่ชายแดนใต้  และทั่วประเทศ
  • ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินการหาแนวร่วม และนำเอาระบบฐานข้อมูล DATA  และใช้เทคโนโลยีเข้ามาวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ นำเอาข้อมูลมาใช้ในการวางแผนออกแบบบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ  มีระบบเตือนภัย มีสถานีวัดอากาศ ทุกตำบล 
  • รู้ภูมินิเวศน์ของชุมชนตัวเอง เเละชุมชนโดยรอบ ทั้งทิศทางลม น้ำ ดิน ที่เท่าทันธรรมชาติ มองเเบบองค์รวม บริหารจัดการทรัพยากร เเบบเข้าใจเชื่อมโยงเเละเสริมพลังกันทั้งระบบ
  • มีระบบการสื่อสารในพื้นที่ เกิดคอมมูนิเคชั่นแพลตฟอร์มครบวงจร
  • เเละ  ร่วมกับการปรับแก้กฎหมายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อให้การทำงานทุกระดับมีความคล่องตัว มีเครื่องมือ อุปกรณ์ในการช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่สามารถปฏิบัติการได้จริง
  • แต่ต้องใช้เวลาในการออกแบบ หารือ และคิดคำนวณต้นทุนที่เกี่ยวข้อง เพราะการบริหารจัดการน้ำ มีความเกี่ยวข้องทั้งภาครัวเรือน เกษตรกรรม และ อุตสาหกรรม ซึ่งรัฐต้องลงทุนงบประมาณ

ชวนโหวต ฉากทัศน์

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ