ทบทวนบทที่ 1 เปิดห้องเรียนทีวีชุมชน

ทบทวนบทที่ 1 เปิดห้องเรียนทีวีชุมชน

                ทบทวนบทที่ 1  เปิดห้องเรียนทีวีชุมชน   เรียนรู้เพื่อก้าวไปข้างหน้าสู่สื่อสาธารณะชุมชน

 

             เมื่อวันที่ 20  และ 22  ตุลาคม 2558  มีเหตุการณ์ที่อาจถือได้ว่า  เป็นบทเรียนบทที่ 2 ของย่างก้าวการก่อเกิดทีวีชุมชนของประเทศไทย  เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ  ร่วมกันลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี และจ.พะเยา เพื่อหารือแนวทางการพัฒนากิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการชุมชน ซึ่งสร้างความตื่นตัวให้กับแวดวงผู้สนใจการสื่อสารในระดับชุมชนเป็นอย่างยิ่ง  หลังจากรอคอยมานาน 

20152310185956.jpg

 

20152310190022.jpg

20152310190038.jpg

20152310190138.jpg

 

            รายละเอียดของบทเรียนบทที่ 2 ที่เกิดขึ้นจากการลงพื้นที่พูดคุยพื้นที่นำร่องทั้ง 2  แห่งนั้นจะได้นำมาแบ่งปันผู้สนใจต่อไป  แต่หากย้อนกลับไปช่วงเวลาเดียวกันนี้เมื่อปี 2557  ได้มีบทเรียนบทที่ 1 ของการเรียนรู้เกี่ยวกับทีวีชุมชนขึ้น หลังไทยพีบีเอส ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันข้อมูล ความรู้ ทักษะการผลิตสื่อและหนุนเสริมให้เกิดพื้นที่นำร่องในการลองก่อกำเนินทีวีชุมชนทั้ง 2 แห่งคือ พะเยา และอุบลราชธานี  และนำบทเรียนที่ได้มาแบ่งปันผู้สนใจในงานประชุมใหญ่เครือข่ายสื่อพลเมืองประจำปี 2557  โดยเปิดห้องเรียนทีวีชุมชน   เรียนรู้เพื่อก้าวไปข้างหน้าสู่สื่อสาธารณะชุมชน  ผู้ร่วมงานเป็นตัวแทนเครือข่ายนักข่าวพลเมือง  ผู้ผลิตอิสระ  ผู้ผลิตสื่อชุมชนที่จะพัฒนาตนเองสู่การทำทีวีชุมชน  สถาบันการศึกษา ผู้ที่สนใจทั่วไป ตัวแทนกสทช.และสื่อมวลชน

          การทบทวนบทที่ 1  ก่อนก้าวสู่บทที่ 2  เป็นเรื่องสำคัญ จึงขอนำรายละเอียดการพูดคุยเมื่อวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2557 มาเผยแพร่ดังนี้

                ในงานวันนั้น มีการปาฐกถาเรื่อง “อนาคตทีวีชุมชนกับสังคมไทย” โดยพันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการ กระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)  

20152310190155.jpg

                   พันเอก ดร.นที กล่าวว่า ประเทศไทยมีช่องทีวีมาก มีการออกใบอนุญาตทุกประเภททกว่า 1,200 ใบ และบางส่วนมีมาก่อนการเกิดขึ้นของกสทช.ด้วย การเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดินจากแอนาล็อคสู่ดิจิตอล ทำให้มีช่องทางเพิ่มเติมขึ้นอีกด้วย    โดยลักษณะประกอบกิจการทีวีของไทย คือ แบบไม่ใช้คลื่นความถี่  เช่นทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี  ส่วนแบบที่ใช้คลื่นความถี่คือทีวีภาคพื้นดินมีการแบ่งประเภท 3 ประเภท บริการธุรกิจ บริการสาธารณะ บริการชุมชน  โดยบริการสาธารณะและบริการชุมชนต่างกันที่พื้นที่การให้บริการ   ทั้งนี้รูปแบบประกอบกิจการโทรทัศน์ถูกกำหนด โดย

1. พรบ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ พ.ศ.2551   

2. พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2553 

3. พ.ร.บ.สสท. เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการบริหารจัดการทีวี

                  กระบวนการเปลี่ยนผ่านกำหนดไว้ให้จัดสรรสัดส่วน 20  % ให้ประชาชนทำทีวีชุมชมด้วย โดยลักษณะและวัตถุประสงค์เดียวกับกับทีวีบริการสาธารณะแต่พื้นที่แตกต่างกันเท่านั้น  และเมื่อเปลี่ยนผ่านสำเร็จในทุกพื้นที่จะมีการรับชมทีวีบริการสาธารณะ 12  ทีวีบริการชุมชน 12 และทีวีบริการธุรกิจ 24 ช่อง   หลักการสำคัญคือการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลสำเร็จ  คลื่นความถี่ในระบบอนาล็อคจะได้เปลี่ยนมาให้บริการชุมชนและสาธารณะ  นอกจากนั้นข้อกำหนดตามกฏหมายระบุว่าทีวีบริการสาธารณะและทีวีบริการชุมชนไม่สามารถหารายได้เชิงธุรกิจได้ เลยต้องมีกลไกสนับสนุนจากกองทุนพัฒนากิจการเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งรายได้เข้ากองทุนมาจากกิจการประเภทธุรกิจซึ่งจะประสบความสำเร็จหรือไม่ย่อมมีผลกับทีวีชุมชน ถ้าล้มเหลวไม่มีเงินเข้ากองทุนก็ไม่มีเงินไปสู่ทีวีชุมชนอยู่ดี  และเดิมเงินกองทุนนี้มาจากรายได้ค่าประมูลควมถี่ด้วยแต่ตอนนี้เงื่นไขคือต้องนำเงินเข้าสู่ภาครัฐทำให้ไม่มีเงินมาสนับสนุนทีวีชุมชนที่ได้จากการประเมินคลื่นความถี่ จึงต้องรอให้บริการประเภทธุรกิจประสบความสำเร็จและเก็บค่าธรรมเนียมมาสนับสนุน แต่ยังมีเวลาพอสมควรเพราะทีวีชุมชนยังไม่เกิด

ดังนั้นอนาคตทีวีชุมชนจะเกิดขึ้นเมื่อใด ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย

1.จะยุติระบบอนาล็อคเมื่อไร เพราะคลื่นความถี่ในระบบอนาล็อคจะเป็นส่วนหนึ่งมาใช้กับทีวีชุมชน ซึ่งโยงกับไทยพีบีเอสด้วย เนื่องจากแผนที่ ส.ส.ท.(ไทยพีบีเอส) เสนอในเบื้องต้น คือ 3 ปี (2558-2560) ภายใต้เงื่อนไขประชาชนจะต้องเข้าถึงและรับชมทีวีดิจิทัลที่สัดส่วน 95% ทั้งนี้การแจกคูปองเพื่อแลกกล่องในการเข้าถึงดิจิตอลราคา 690 บาท มีผู้นำไปใช้ประมาณ20  

2.การมีเงินสนับสนุน เนื่องจากกฏหมายระบุให้ทำทีวีชุมชนแต่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ไม่มีงบประมาณรองรับ กำหนดรายได้ส่วนหนึ่งมาจากกองทุนที่มาจากค่าธรรมเนียมทีวีบริการธุรกิจมาอุดหนุนทีวีชุมชนที่มีค่าใช้จ่ายค่าเช่าใช้บริการโครงข่ายและการผลิตเนื้อหาด้วยเช่นกัน  ดังนั้นการเกิดขึ้นของทีวีชุมชนจะช้าหรือจะเร็วขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลที่มีเป้าหมายให้ทุกคนใช้คลื่นความถี่เท่าเทียมและประโยชน์ต่อส่วนรวม ในขณะนี้ช่องทางไหนที่สามารถทำได้เช่นการที่ไทยพีบีเอสเตรียมความพร้อมเครือข่ายเช่นที่เป็นอยู่เป็นสิ่งที่เหมาะสม   

            งานนี้ยังมี “การเปิดห้องเรียนทีวีชุมชน เรียนรู้ไปด้วยกันเพื่อก้าวสู่สื่อสาธารณะชุมชน” แบ่งปันประสบการณ์การเริ่มต้นทำทีวีชุมชนของ 2  พื้นที่นำร่องที่ไทยพีบีเอสได้ไปหนุนเสริม และมีนักวิชาการด้านสื่อดิจตอลมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์จากต่างประเทศ ตลอดจนตัวแทน กสชท มาร่วมให้ข้อมูลถึงแนวทางของก้าวต่อไปของทีวีชุมชน

20152310190214.jpg

             คุณสมเกียรติ จันทรสีมา ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ กล่าวว่า กว่า 2 ปีที่ได้ทำงานร่วมกันจนถึง วันนี้เป็นความร่วมแรงร่วมใจผลักดันการทำงานซึ่งไม่ใช่แค่เพียงตัวงานหรือการผลิตรายการเพียงอย่างเดียวแต่เป็นภารกิจที่มีเป้าหมายสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทำให้การสื่อสารท้องถิ่นและสังคมใหญ่ได้เชื่อมร้อยและเกิดความเข้าใจกัน แต่การสื่อสารที่ต้องใช้ทักษะเป็นเรื่องต้องฝึกปรึก และให้คนรู้สึกเป็นเจ้าของมีส่วนร่วม และอนาคตที่จะมีความเป็นเจ้าของในรูปแบบที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ จึงเป็นเหตุผลที่มาร่วมกันเรียนรู้ในก้าวต่อไปด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสื่อสารสาธารณะในหลายระดับ 

              วงสนทนาเริ่มต้นด้วยประสบการณ์จากพะเยาทีวีชุมชนและทีวีชุมชนอุบลราชธานีคุณชัยวัฒน์ จันทิมา ผู้ประสานงานสถาบันปวงผญาพยาว เล่าว่าสถาบันปวงผญาทำ 2 อย่างคือ  1.รวบรวมงานวิจัย องค์ความรู้ 2.สร้างพื้นที่สื่อสารเปิดเวทีพูดคุยและการผลิตสื่อ สนใจทำทีวีชุมชน เพราะเห็นว่าสื่อที่มีอิทธิพลต่อคนมากที่สุดคือทีวี  เลยเริ่มศึกษากฏหมาย และมองหาคนที่สนใจทำ ประกอบกับเพื่อนซึ่งเป็นอาจารย์การสื่อสารสื่อใหม่ของ ม.พะเยาคือดร.ภัทรา บุรารักษ์ที่มีนักศึกษามีทักษะการผลิต จึงมาร่วมมือกันโดยวิธีการคือจะร่วมทำงานกับชุมชนให้เป็นผู้กำหนดเนื้อหาด้วย

              รศ.ดร.ชาลี ทองเรือง รองอธิการบดีฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า  จุดเริ่มต้นของพะเยาทีวีเกิดจากความสนใจตรงกันของบุคคล แต่เป้าหมายของการทำงานไม่ใช่ของบุคคลเท่านั้น การขยายมายังมหาวิทยาลัยพะเยา เพราะสอดคล้องกับปรัชญาของสถาบันการศึกษาที่ก่อเกิดขึ้นมาที่จะมาแก้ไขปัญหาให้กับพื้นที่ เพื่อให้ปัญญาสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ดังนั้นต่อจากนี้ปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จคือความเข้มแข็งของนโยบายในมหาวิทยาลัยสำคัญมากต่อมาคือความเข้มแข็งและความสัมพันธ์ของชุมชนที่จะต้องสร้างความเข้าใจระหว่างกัน โดยจะต้องพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดการในสถานี ผังรายการให้ได้ คุยให้ชัดเจนว่านโยบายคืออะไร ซึ่งต้องยึดโยงกับกฏหมาย และบริหารจัดการอย่างไรให้ชัดเจนเพราะทำให้ความสัมพันธ์ระยะยาวเกิดความต่อเนื่อง และยังมีเงื่อนไขทางนโยบายให้ช่วยกันผลักดันอยู่

               สำหรับจังหวะก้าวต่อไป คุณชัยวัฒน์กล่าวว่ามีองค์ประกอบสำคัญ 1.คนดู ชุมชนที่เข้าไปพูดคุยด้วยหลายระดับค้นพบว่าเขาอยากดูเรื่องใกล้ตัว อยากใช้สื่อพัฒนาท้องถิ่นด้านภัยพิบัติ วัฒนธรรม  2.ตัวผู้ผลิตคนทำงานรุ่นใหม่มีจำนวนมาก แต่ยังขาดพื้นที่สื่อ  3.เครือข่ายภาคประชาสังคมพร้อมจะตอบรับและสนับสนุนเนื้อหา เช่นรายการร่วมกับสถาบันการศึกษาที่มีงานวิจัยมากมาย 4.นโยบายกรรมการก่อรูปที่ให้ทิศทางกำกับดูแลและระดมทุน โดยทีวีชุมชนเหมือนวัดที่สร้างโดยศรัทธา ที่มีกรรมการมาดูแล

            ด้าน รศ.ดร.ชาลีกล่าวว่า 3 ส่วนที่มาประกอบกันสำคัญคือ 1.นโยบายและการบริหารต้องชัดเจน 2.ภาคประชาสังคมมีใจที่จะก้าวไป และคนในชุมชนเอาด้วย 3.คลังความรู้ โดยเฉพาะไทยพีบีเอสที่เกิดจากประสบการณ์จริงที่กรองและกองให้เอาไปใช้โดยได้มากกว่าความรู้แต่เป็นเรื่องทักษะหลายลักษณะ  โดยส่วนตัวเห็นว่าระดับนโยบายจะต้องชัดเจนและผลักดันให้เป็นจริง

20152310190454.jpg

               คุณสุชัย เจริญมุขยนันท เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุข กล่าวว่าเริ่มต้นจากทำศูนย์ข่าวประชาสังคม โดยการชวนชุมชนต่างๆ มาพูดคุยและชวนเคเบิลท้องถิ่น วิทยุประชาสังคม และเติบโตมาเป็นมูลนิธิสื่อสร้างสุข งานวิจัยอยากให้คนสนใจ เลนทำหนังสั้น ให้ชาวบ้านเขียนบท เกิด กอนกวยส่วนไม่ลืมชาติ คนในท้องถิ่นทำดนตรี กระบวนการถามว่าอยากได้อะไรและไปช่วยทำ   เริ่ม 7 ชุมชน  เริ่มโรดแมบตอนธ.ค.56 ยังไม่เกิดขึ้นเลยชวนชาวบ้านมาคุย หัดชาวบ้านตามลำดับ  ยังทำไม่ได้ร่วมผลิต หรือได้แค่ข้อมูลก็ไปช่วย

                อาจารย์ทรงพล อินทเศียร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายชุมชนสัมพันธ์และกิจการภายใน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกล่าวว่าภาคประชาสังคมในพื้นที่อุบลราชธานีมีความเข้มแข็งและทำงานร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของมหาวิทยาลัยถือว่าโชคดีที่ได้เข้ามาร่วมในงาน ซึ่งการทำงานขณะนี้ทีมสื่อสร้างสุขยังเป็นหลัก โดยมหาวิทยาลัยร่วมผลิตในบางส่วนและติดตามเก็บข้อมูลและประเมินการทำงานผลิตรายการมีข้อดีหรือสิ่งต้องพัฒนาอย่างไร ตลอดจนมีกระบวนการทำงานอย่างไรเพื่อติดตามและประเมินผลทางวิชาการ ซึ่งการพัฒนาต่อไปจะต้องพูดคุยกันให้ชัดเจนว่ามหาวิทยาลัยจะมีบทบาทเพิ่มเติมอย่างไรได้บ้างซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าสนุก

               ส่วนจังหวะก้าวต่อไป คุณสุชัยกล่าวว่า อุบลฯเริ่มมีคณะกรรมการเหมือนกรรมการนโยบายที่ล้อมาจากโครงสร้างของไทยพีบีเอส อยู่ระหว่างการคิดโมเดลและผังรายการอยู่ สิ่งที่จะเดินต่อในพื้นที่ของไทยพีบีเอสก็จะพัฒนางานไปพร้อมๆ กัน  โดยหนุนเนื่องกันเองในพื้นที่ เชื่อมโยงกับไทยพีบีเอสในการพัฒนาหลังจอและหน้าจอไป

               อาจารย์ทรงพลกล่าวว่าที่ผ่านมางานวิจัยของมหาวิทยาลัยจะขึ้นหิ้งและไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์เท่าที่ควร  ที่ประชุมอธิการบดีคิดเรื่องนี้และเสนอตัวทำช่อง “ม.ทีวี” นำองค์ความรู้ที่มีมานำเสนอในช่องทีวีนี้  แต่โมเดลนี้ต่างจากการทำทีวีชุมชน เพราะ “ม.ทีวี” คนส่งสารเป็นสถาบันการศึกษา  แต่เป็นทีวีชุมชนคนส่งสารเป็นคนในชุมชน  การที่มหาวิทยาลัยมาทำงานร่วมกับชุมชนก็เป็นส่วนหนุนเสริม  และความเคลื่อนไหวในกระบวนการวิจัยพุ่งเป้าไปที่วิจัยเพื่อชุมชน ไม่ใช่แค่องค์ความรู้อย่างเดียว กระบวนการนี้สอดรับกับสิ่งที่เราทำอยู่ไปพร้อมกันได้

              คุณสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยอมรับว่าแผนเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอล ล่าช้าไปทุกขั้นตอน ทีวีบริการสาธารณะจะต้องออกก่อน ขณะนี้ยังไม่ได้จัดสรรเลยสักคลื่น ทีวีบริการชุมชนอยู่ในแผนหลังจากจัดสรรทีวีบริการสาธารณะ และบริการธุรกิจแล้วเสร็จ   อุปสรรมี 2-3 เรื่อง คือภาพรวมทั้งหมดที่ยอมรับว่ามองโลกให้แง่ดีมากเกินไปที่วาง Road Map  กระชั้นชิดมาก ในทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้  แผนการวางโครงข่ายด้านเทคนิคก็เป็นไปตามแผนครึ่งหนึ่ง อีกประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ให้บริการโครงข่ายก็ยังมีปัญหาอยู่ เพราะว่าทีวีภาคพื้นดินต้องวางโครงข่ายที่ไปตามเสาภาคพื้นแล้วก็ต้องรอให้คนรับได้ตามโครงการแจกคูปอง   หมายความว่า ถ้ายังไม่ได้รับคูปองหรือยังดูทีวีดิจิตอลไม่ได้ การขึ้นของทีวีบริการชุมนุมภาคพื้นดินก็เกิดขึ้นไม่ได้  

               กสทช. ตอนนี้เราแยกสิทธิ์ในการออกใบอนุญาตระหว่างคนที่เป็นผู้ประกอบการช่องรายการแยกออกจากผู้ให้บริการโครงข่าย  เปรียบเทียบคือ เหมือนขบวนรถไฟกับตัวรางรถไฟ   ผู้ที่จะขอทีวีชุมชน เป็นขบวนรถไฟได้สิทธิ์ในการวิ่งได้สิทธิ์วิ่งในรางนั้น แต่ถ้าไม่มีคนวางรางรถไฟให้หรือว่าสร้างชานชาลาสถานีให้คลื่นก็ไปไม่ได้  ตอนนี้กสทช.ให้สิทธิ์รัฐ 4 รายเป็นคนวางโครงข่าย คือไทยพีบีเอส   อสมท ททบ. 5 และกรมประชาสัมพันธ์ แต่ตอนนี้มี ททบ. 5 กับไทยพีบีเอสที่เป็นไปตามแผน อสมท. กับกรมประชาสัมพันธ์ ยังจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์ไม่เสร็จ ทำให้แผนการวางโครงข่ายถูกเลื่อนไป

             แต่สิ่งที่กำลังจะเร่งคือปี  2558 นจะกวดขันในเรื่องของโครงข่ายให้เร็วขึ้นขณะเดียวกันจะมีการศึกษาเรื่องทีวีชุมชนอย่างเป็นทางการมากขึ้น โดยร่วมกับ ITU สหภาพโทรคมนาคมสากล ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ปรึกษา ในการอออกแบบเรื่องคลื่นความถี่เรื่องดิจิตอลมาตลอด และจากองค์กรยูเนสโก้ โดยเริ่มจากการที่จะศึกษาหลักคิดทฤษฎีข้อเท็จจริง และนำประสบการณ์ที่เครือข่ายดำเนินงานตรงนี้ ผนวกเข้าไปอาจจะนำไปสู่การมีโครงทดลองบางอย่างในขณะที่รอภาคครัวเรือนเข้าถึงดิจิตอล   คงมีเวทีที่ กสทช. เป็นเจ้าภาพและก็อาจจะนำไปสู่ความร่วมมือกับไทยพีบีเอสหรือว่าอื่นๆ รวมทั้งโมเดลต่างๆที่ทุกวันนี้ทีวีพะเยา และทีวีชุมชนอุบลฯ ได้ทำขึ้นมาแล้วก็คงเป็นประโยชน์ในการที่จะได้ผลักดันต่อไป

               อย่างไรก็ตาม  เรื่องของงบประมาณคงต้องตั้งหลักกัน  เพราะว่าตามเจตนารมณ์เดิมก็คือจะต้องเอาเงินกองทุนที่ได้จากเงินประมูลมาจัดสรรให้กับวิทยุชุมชนหรือทีวีชุมชน แต่ตอนนี้มีการแก้กฎหมาย  สุดท้ายเงินทั้งหมดอาจจะกลับเข้าสู่คลังแล้วต้องไปผ่านกระบวนการสภา ฉะนั้นถ้าต่อไปจะนำมาใช้เพื่อสนับสนุนภาคชุมชนทีวีชุมชนก็คงต้องให้เป็นนโนบายส่วนหนึ่งของรัฐบาลใหม่ด้วยที่จะเลือกตั้งเข้ามา และคงจะต้องชูเรื่องนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติ และกันเงินส่วนหนึ่งที่ กสทช. จัดเก็บได้เข้าคลังนำมาจัดสรรให้กับทีวีชุมชนในอนาคต  

             “ถ้าจะมาใช้เงินกองทุนก็ต้องกลับเข้ามาโจทย์เดิมว่าจะต้องทำเป็นวาระแห่งชาติที่จะต้องขอเงินใช้ เหมือนอย่างตอนนี้ที่ กสทช. ใช้เงินจากการประมูลแจกคูปอง ก็ตัดสินใจเองไม่ได้แล้ว  ต้องทำเรื่องขออนุมัติจาก คสช. เพราะว่าการบริหารจัดการเงินทั้งหมดที่ได้จากการประมูลตอนนี้เข้าคลังไปแล้ว  เพราะฉะนั้นในอนาคตคือ กสทช. อาจจะเป็นเจ้าภาพเสนอได้ถ้ายังได้ทำงานอยู่ แต่ว่าคนอนุมัติก็คงยังเป็นรัฐบาล ถึงได้บอกว่าคงต้องยกระดับให้เป็นเรื่องวาระแห่งชาติที่จะเอาเงินมาสนับสนุน” 

20152310190607.jpg

                   คุณสุภิญญาระบุว่า กสชท.ถูกตัดอำนาจเรื่องของการให้ทุน แต่ว่ายังมีอำนาจให้เรื่องของการจัดสรรคลื่น จัดประมูลออกใบอนุญาต  และ Road Map ก็มีกติกาแล้ว เพียงแต่ว่าปัจจัยยังไม่ใช่เรื่องเงิน แต่เป็นเรื่องโครงข่ายยังไม่พร้อม ถ้าโครงข่ายพร้อมก็เป็นเรื่องของการออกใบอนุญาต ซึ่งอันนี้คือความท้าทายและงานของกสทช.ที่ต้องเผชิญ  ความยากของกสทช.คือเกณฑ์การวัดที่จะจัดสรรคลื่นให้ใคร เพราะจะต้องใช้เกณฑ์บิวตี้คอนเทส ที่เป็นกุญแจสำคัญที่ต้องสู้กันต่อไป โดยควรมีเกณฑ์ย่อย และความท้าทายต่อไปคือจะทำสถานีให้ยั่งยืนได้อย่างไร  หลายหน่วยต้องมาช่วยกัน  ต้องเป็นนโยบายแห่งชาติ  ต้องได้รับการหนุนเสริมจากภาครัฐบาลด้วยในแง่ของโดยเฉพาะเรื่องงบประมาณและรายละเอียดอื่นๆ ซึ่งก็ต้องสร้างภาคีไปเรื่อยๆ   งานที่ กสทช. จะทำปีหน้า 2558 ซึ่งได้คุยกับบอร์ดนโยบายของทางไทยพีบีเอสแล้วด้วย เราจะทำ MOU ร่วมกันที่จะทำพิมพ์เขียวขึ้นมาก่อนโดยดึงผู้เกี่ยวข้องลองให้ตกผลึกร่วมกัน เพื่อจะดันแผนไปข้างหน้า แต่จำเป็นต้องดึง ITU UNESCO  เพราะว่าเขาก็จะมีกรอบการทำงานในภาพรวมเรื่องเทคนิคด้วย ปีหน้าคงเห็น Road Map ละเอียดชัดเจนขึ้น แต่ส่วนจะเริ่มออกอากาศได้ที่ไหนอย่างไรต้องคุยกับไทยพีบีเอสก่อน ซึ่งคิดว่าโครงข่ายของไทยพีบีเอส และศักยภาพของไทยพีบีเอสตอนนี้น่าจะเป็นจุดหลักที่ทำให้เกิดขึ้นเร็ว  กสทช.ก็คงต้องทำงานร่วมกับไทยพีบีเอสในปี  2558 โครงการชัดเจนขึ้นเมื่อไหร่ก็เชิญเป็นเจ้าภาพที่กสทช.อีกครั้ง

                        ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อดิจิทัลและสื่อใหม่ กล่าวว่า   หลายๆประเทศเขาไม่ได้ใช้เวลาแค่เปลี่ยนผ่านระบบแอนาล็อคเป็นดิจิตอลในระยะสั้น  อย่างประเทศสหรัฐอเมริกาใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่าน 13 ปี ส่วนประเทศอังกฤษเคยทำไม่สำเร็จมาสองครั้งจนต้องกลับมาทำเกี่ยวกับทีวีดิจิตอลอีกครั้งปี 2008 – 2012    การประกาศเปลี่ยนผ่านระบบสู่ดิจิตอลในหลายประเทศเป็นภูมิภาคสู่ภูมิภาค เขตสู่เขต  ดังนั้นหากในแผนเดิมของกสทช. เปลี่ยนผ่าน 11 จังหวัดไปก่อนเรียบร้อยไปแล้ว เพราะฉะนั้นอาจจะกำหนดว่าทีวีชุมชนหรือทีวีอะไรก็แล้วแต่ที่เราพูดถึง เอา 11 จังหวัดที่พร้อมก่อนแล้วมาพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับใบอนุญาตได้ไหม  หรือจะเปลี่ยนผ่านเป็นระยะต่อระยะ 

                กรณีของอังกฤษกำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาล เป็นนโยบายวาระแห่งชาติ ในปี 2011  ที่น่าสนใจคือ ซึ่งตรงกับไทยพีบีเอสที่กำลังจะทำอยู่ คือรัฐบาลอังกฤษประสานงานกับ BBC ให้ 1 .เงินทุนสนับสนุนการเกิดขึ้นของทีวีชุมชน 2.ทำ MOU ว่าถ้าคุณจะได้เงินทุนสนับสนุนก้อนนี้คุณต้องทำงาน เช่นในกรณีของ BBC TRUST รัฐบาลให้เงินไว้ 44 ล้านปอนด์ เพื่อสนับสนุนสาธารณูโภคขั้นพื้นฐานของชุมชนหรือทีวีท้องถิ่น 25 ล้านปอนด์ ผลิตรายการท้องถิ่น 15 ล้านปอนด์ และก็มีงบผูกพันต่อเนื่อง 3 ปีต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งนี้คือรูปธรรมตอบปัญหาตอบโจทย์ในเรื่องที่ กสทช.กำลังกังวลเรื่องเงินกองทุนหรือไม่ ตนเห็นว่าเรามีทางเลือกใหม่ที่จะทำให้เกิดขึ้นนอกเหนือจากเงินกองทุนที่กล่าวถึง  

                ตัวอย่างที่สอดคล้องกับประเทศไทยเหมือนกัน คือประเทศออสเตรเลีย ในออสเตรเลียมี “ทีวีซิดนีย์” คือทีวีซิดนีย์เป็นทีวีของชุมชน ทีวีชุมชนประเภทนึง แต่ประกอบกิจการโดยมหาวิทยาลัยในซิดนีย์ (เวสเทอร์ซิดนีย์)เป็นผู้ประกอบการ ใช้บุคลากรจากอาจารย์ นักศึกษาและเป็นเวทีที่ในนักศึกษาได้ทำงานและชุมชนซิดนีย์ในตะวันตกด้วยเหมือนกัน นอกจากนั้นที่ประเทศนิวซีแลนด์มีช่อง เมาลีแชแนล  เป็นช่องสำหรับคนพื้นถิ่นพื้นเมือง มีความทันสมัยและยกระดับเนื้อหาเทียบเท่าช่องระดับชาติ   หลายประเทศเช่นแคนนาดามี พ.ร.บ.เหมือนกับไทย และแจกใบอนุญาตมีการสนับสนุนเฉพาะเจาะจงด้วย

           ดังนั้นเห็นว่า กรณีของทีวีชุมชนไทย เรามีระบุใน พ.ร.บ. จะมีการแทรกย่อหน้าหนึ่ง หรือมีการออกประกาศแนบท้ายเพิ่มเติมก็สามารถทำได้  เพราะอารยประเทศเขาทำกันแล้ว อย่างแคนนาดา, นิวซีแลนด์, ออสเตรเลีย  ดังนั้นข้อเสนอของตนคือ

หนึ่ง ควรจะมี Road Map สัก 10 ปี ถ้าเราเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่ปี 2558 – 68 แบ่งเป็นระยะ 4 ปีแรกคือก่อสร้างสร้างตัว 3 ปีต่อมาคือเรียนรู้และพัฒนา 3 ปีสุดท้ายเป็นช่วงเวลาที่ดำรงอยู่อย่างคงที่  ซึ่งจะสอดคล้องกับช่วงเวลา เช่น ระยะแรก ไม่ว่าเราจะรักหรือไม่รักสภาวะของสังคมและการเมืองเป็นอยู่ แต่อย่างน้อยๆควรแปลงวิกฤตให้เป็นโอกาส  เมื่อมีสปช. สนช.และรัฐบาล หรือกรรมมาธิการที่เกี่ยวกับการปฏิรูปสื่อก็เป็นคนที่ทำวิจัยเรื่องวิทยุชุมชน ตนจึงเสนอว่าโครงสร้างส่วนบนจะมีวิธีไหนดำเนินการให้เป็นเพื่อแก้ไขล็อคที่มีอยู่   

สอง กลไกการขับเคลื่อน  ไม่ว่ากสทช.จะเปลี่ยนหรือจะยังคงอยู่ แต่ กสทช.ก็ยังเป็นหน่วยงานผลักดันที่สำคัญ

สาม คลังสมอง ซึ่งตนคิดมาว่าถูกและต้องขอบคุณไทยพีบีเอสด้วย การทำ MOU กับมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นสิ่งที่ประเสริฐมาก ขณะเดียวกันการที่กสทช.มีคอร์สฝึกอบรมบางอย่างก็เป็นส่วนเสริม หากมาปรับโครงสร้างในการทำงานให้ได้เนื้อหาทางวิชาการ เพราะมีมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์มากมาย เราจะพัฒนาส่วนนี้ได้อย่างไร

สี่ ภาคสนับสนุนอย่างเช่น ไทยพีบีเอสที่ขณะนี้มีโมเดลสอดคล้องกับ BBC และส่วนสุดท้ายคือภาคประชาชน เครือข่าย

ดร.สิชเรศ มองว่าในอนาคตเกณฑ์บิวตี้คอนเทสต์ที่จะพิจารณาให้ใบอนุญาตทีวีชุมชนต้องชัดเจน และเราต้องพยายามศึกษาว่ามันมีแหล่งเงินทุนแบบอื่นได้หรือไม่   และเราต้องกลับสู่โลกแห่งความเป็นจริง คือกลับไปดูในพรบ. ว่าคำว่าหารายได้ไม่ได้ หารายได้ได้เพียงพอ หรือสนับสนุนรายการตรงนี้ เราจะทำอย่างไรให้ตรงกับเจตนารมณ์ที่เราอยากจะเป็น  โลกใบนี้ไม่ได้มีแค่โมเดลเดียวหรือแค่สองโมเดล ซึ่งมันมีโมเดลอีกเยอะมากมายที่เป็นแหล่งเงินทุน วิธีการหาเงินทุน  เช่นโมเดลของนิวซีแลนด์ที่มีกองทุน และมีคณะกรรมการที่เป็นอิสระ  อาจจะใช้วิกฤตเป็นโอกาส เพราะไหนๆกสทช.ถูกส่งเงินเข้าคลังเรียบร้อยแล้ว จะมีวิธีรูปแบบพรบ.หรืออะไรก็แล้วแต่เป็นทุนได้ เดี๋ยวเราจะมีพรบ.สื่อสร้างสรรค์ขึ้นมา แต่ตนก็ยังไม่เห็นในส่วนที่จะมันจะสนับสนุนเรื่องเกี่ยวกับตรงนี้

ประเด็นก็คือว่าเราจะทำอย่างไร  เราต้องการองค์ความรู้มาก  งบประมาณไม่ว่าจะเงินกองทุนจากไหน และตนมีความฝันว่าจะเกิดไทยพีบีเอสอคาเดมี่   เอ็นบีทีอคาดิมี่ เอ็มคอทอคาดิมี่ที่จะช่วยและอาจเป็นเงื่อนไขเสริมด้วยที่อาจต้องมี MOU หรือเงื่อนไขที่คุณต้องบริการความรู้และบริการการเปลี่ยนผ่านหรือบริการทางเทคนิคตรงนี้ให้กับประชาชนหรือโทรทัศน์ชุมชนด้วย และหลักการหนึ่งที่ตนชื่นชมกสทช.ก็คือการแชร์สาธารณูปโภคที่ตนคิดว่าเป็นหลักการที่ดีมาก เพราะฉะนั้นกรณีทีวีชุมชนตนไม่เห็นด้วยที่ทุกคนจะต้องลงทุนมหาศาล ตนคิดว่ามันไม่มีประโยชน์อะไร  เราต้องมีอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นทางออกที่ได้กันทั้งสองฝ่าย ในส่วนของมหาวิทยาลัยก็มีการประเมินคุณภาพที่ได้บริการวิชาการก็ได้แต้ม ตนคิดว่าสามเส้าในการที่จะพัฒนาองค์ความรู้ตรงนี้เป็นส่วนที่สำคัญมากๆ  ทุนและการพัฒนาองค์ความรู้เราจะทำอย่างไรต่อไปเป็นสิ่งสำคัญ

           

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ