“บ้านเรามีของดีมากมาย อากาศดี ป่าดี น้ำดี ดินสมบูรณ์ …เรารักษาทรัพยากรของเราไว้ดีแล้ว”
ประโยคสั้น ๆ จากใจหญิงชาติพันธ์กะเหรี่ยง วันนี้พวกเรา ทีม Localsvoice เดินทางมาที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง ท่ามกลางสายฝนที่ตกตลอดทาง ทำให้ทีมงานของพวกเราเข้าใจความยากลำบากของการเดินทางของชาวบ้านที่นี่มากขึ้น
เราเดินทางมาถึง ณ ที่ว่าการอำเภออมก๋อย ซึ่งในวันนี้ชาวบ้านที่นี่รวมตัวกันทำกิจกรรม ในงาน“ชัยชนะจะสมปองต้องต่อสู้”4 ปีแห่งการไม่สยบยอมให้อมก๋อยกลายเป็นเหมืองถ่านหิน จัดโดย ชาวชุมชนกะเบอะดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (CPCR) ห้องทดลองนักกิจกรรม (Act Lab) ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ (CAN) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) กรีนพีซ ประเทศไทย (Greenpeace Thailand เอิร์ทไรท์อินเตอร์เนชั่นแนล (EarthRights Internation) เครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง (IMN) สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (IMPECT) มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ เพื่อทบทวนเส้นทางการต่อสู้คัดค้าน “เหมืองแร่ถ่านหิน” ตลอด 4 ปีของชาวบ้านกะเบอะดินและชาวอมก๋อย เพื่อปกป้องวิถีชีวิตที่มีมาอย่างยาวนาน และพื้นป่าเขียวขจีกว่า 284 ไร่ 30 ตารางวากลางหุบเขา จากโครงการเหมืองแร่ของบริษัทอุตสาหกรรมที่จะเข้ามากระทบชุมชน
กิจกรรมแบ่งออกเป็น เวทีเสวนาถอดบทเรียนการเคลื่อนไหวในการคัดค้านการทำเหมืองแร่ถ่านหินของชาวบ้านอำเภออมก๋อย พร้อมกับนิทรรศการที่จัดแสดงย้อนอดีตของการเคลื่อนไหว และต่อด้วยเวทีวิชาการ “การรับประชาคมในกลไกสิทธิมนุษยชนและสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลก“ ปิดท้ายเดินรณรงค์ปราศรัยเคลื่อนขบวนออกจากหมู่บ้านกะเบอะดินและหมู่บ้านเส้นทางผ่านขนส่งแร่ถ่านหิน
ขณะที่พวกเรา ทีม Localsvoice อยากฟังเหตุผลของชาวบ้านที่นี่อีกครั้ง ของการหวงแหน ที่จะปกป้องขุมทรัพย์บนยอดดอยแห่งนี้
ชาวบ้านทยอยกันขึ้นบนรถ Localsvoice สตูดิโอเคลื่อนที่ ฟังเสียงกับเรื่องที่อยากบอกของคนอมก๋อย
แม้จะพูดกันคนละครั้งคนละที แต่เสียงของพวกเขาต่างพูดเป็น เสียงเดียวกัน บอกว่าที่นี่ดินดีน้ำดี อากาศก็บริสุทธิ์ อย่ายัดเยียดโครงการใดหรือมาทำเหมืองในบ้านของเราเลย เราอยู่ดี ๆ ของพวกเรา ก็ดีอยู่แล้ว
อันที่จริงหากใครดูข่าวที่เกิดขึ้นที่อมก๋อยมีหลายเรื่องราว ที่ซับซ้อนและแวะเวียนมาสร้างความไม่สบายใจให้กับชาวบ้านที่นี่ไม่ว่าจะเป็น นโยบายทวงคืนผืนป่า ผลักกลุ่มชาติพันธ์ออกจากพื้นที่ทำกินปี 2557 คสช.ออก “นโยบายทวงคืนผืนป่า” ทำให้เกิดการยึดที่ดินทำกินในหลายพื้นที่ พื้นที่อมก๋อยก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งผลกระทบที่ตามมาก็คือคนที่อยู่ในป่าที่ไม่มีโฉนด โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่ทำไร่หมุนเวียน ทำเกษตรตาม วิถีส่งผลกระทบถึงวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาติพันธ์ุ
โครงการผันน้ำยวม 70,000 ล้าน โดยรัฐวิสาหกิจจีน โครงการสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากแม่น้ำยวมไปยังเขื่อนภูมิพลเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าและชลประทาน ต้นทางคือบริเวณแม่น้ำสองสี “แม่น้ำเงา” และ “แม่น้ำยวม” สร้างอุโมงค์ยักษ์ตัดอมก๋อยที่ยังต้นน้ำที่จะไหลลงเขื่อนภูมิพลเพื่อนำน้ำมาเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าและบริการจัดการน้ำเพื่อทำการเกษตรใต้เขื่อน
และโครงการนี้เหมืองถ่านหินบ้านกะเบอดิน ที่จะมีการสร้างเหมืองถ่านหินเพื่อป้อนอุตสาหกรรมการผลิตไฟ ทำให้ชาวกังวลว่าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนจากการเบี่ยงทางน้ำเพื่อเปิดทางให้ขุดเจาะ มีปัญหามลพิษทางน้ำและอากาศ ตามมาด้วยปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งกรณีนี้พวกเขาเคลื่อนไหวมาแล้วสี่ปี จนเป็นที่มาของการรวมตัวกันในวันนี้
นอกจากกิจกรรมของชาวบ้านที่นี่แล้ว ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล เดินทางร่วมกิจกรรมในวันนี้พร้อมกับแสดงความเห็นและให้กำลังใจชาวบ้าน ซึ่งวันนี้ Localsvoice ตั้งคำถามว่า การปกป้องรักษาทรัพยากรของชาวบ้านถึงจะยั่งยืน และเขาอยากจะบอกอะไรคนอมก๋อยผ่าน Localsvoice รถสตูดิโอเคลื่อนที่จาก ThaiPBS
ถ้าจะทำให้ยั่งยืนได้ก็ต้องยอมรับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นที่อมก๋อยคือปัญหาเดียวกันที่เกิดขึ้นที่สามจังหวัดใช้แดนภาคใต้ ปัญหาที่เกิดขึ้นเดียวกันกับพื้นที่ EEC ปัญหาเดียวกันกับพื้นที่แก่งคอยสระบุรี เป็นต้น เมื่อมันเกิดขึ้นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่ให้รัฐราชการรวมศูนย์ นายทุนที่ไม่เคยมาเหยียบพื้นที่ สามารถที่จะใช้ทรัพยากรได้อย่างไม่มีที่สุด มันจะสามารถเกิดได้หลายพื้นที่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นพาราดอนภาพที่มีการถูกละเมิดในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง มันก็สามารถละเมิดในพื้นที่หน้าบ้านของเราได้เช่นเดียวกัน
วันนี้คนอมก๋อยลุกขึ้นมาปกป้องทรัพยากรในพื้นที่ของตนเอง เพราะพวกเขามีส่วนได้ส่วนเสียกับสิ่งที่เกิดขึ้น บางทีคนที่เป็นเจ้าของเหมือง คนที่อนุญาติประทานบัตรเหมือง อยู่ที่กระทรวงอุตสาหกรรมหรือเป็นคนที่ดูแลพระราชบัญญัติป่าสงวนของกระทรวงทรัพยากรที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการบริหารแบบรวมศูนย์ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียเท่ากับ คนอมก๋อยที่อยู่มาตั้งแต่เกิดสามสี่ช่วงอายุคน ซึ่งเกิดลูกหลานที่อยู่ในพื้นที่ที่จะต้องรับปัญหาที่ตามมา ในขณะเดียวกันไม่ได้รับผลประโยชน์จากเหมืองนี้ ทำให้เกิดความรับผิดรับชอบไม่เท่ากัน แน่นอนว่าทุกคนในวันนี้ที่มารักบ้านเกิดของตนเองมากกว่าคนทั่วไป เพราะเป็นชุมชนความเป็นท้องถิ่นสำคัญ ถ้าจะทำให้ยั่งยืนได้ก็ต้องยอมรับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นที่อมก๋อยคือปัญหาเดียวกันที่เกิดขึ้นที่สามจังหวัดใช้แดนภาคใต้ ปัญหาที่เกิดขึ้นเดียวกันกับพื้นที่ EEC ปัญหาเดียวกันกับพื้นที่แก่งคอยสระบุรี เป็นต้น เมื่อมันเกิดขึ้นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่ให้รัฐราชการรวมศูนย์ นายทุนที่ไม่เคยมาเหยียบพื้นที่ สามารถที่จะใช้ทรัพยากรได้อย่างไม่มีที่สุด ซึ่งมันจะสามารถเกิดได้หลายพื้นที่ในประเทศไทยซึ่งเป็นพาราดอนภาพที่มีการถูกละเมิดในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งมันก็สามารถละเมิดในพื้นที่หน้าบ้านของเราได้เช่นเดียวกัน
อยากจะบอกว่าชาวอมก๋อยไม่ได้สู้เพียงลำพัง
ยังมีพรรคการเมืองที่สู้เคียงข้าง ตนมาครั้งแรกยังเป็นพรรคอนาคตใหม่ ทราบมาถึงความเดือดร้อนความเหลื่อมล้ำในการใช้ที่ดินอมก๋อยถ้าเป็นป่าสงวนซัก 1,000,000 ไร่ เป็นเขตอนุรักษ์ 300,000 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านอยู่ได้ 4000 กว่าไร่เท่านั้นเอง ในขณะที่ชาวบ้านอยู่ไม่ได้แต่ทำเหมือนได้เพียงเท่านี้ก็ไม่สามารถที่จะมองเห็นคำว่าสามัญสำนึกในการอธิบายว่าเพราะอะไรถึงเกิดเรื่องราวแบบนี้ในพื้นที่ ทำไมเราไม่ทำงานร่วมกันกับคนในอมก๋อยแล้วสามารถให้คนอยู่กับป่าได้และทำในสิ่งที่เป็นจุดแข็งของพื้นที่ เป็นศักยภาพของพื้นที่หรือเศรษฐกิจชาติพันธุ์ สามารถเป็นพื้นที่ทางการท่องเที่ยว พื้นที่อากาศบริสุทธิ์ และเป็นพื้นที่ที่สามารถเพราะปลูกมะเขือเทศ พืชในเขตป่า ถ้าเราสามารถพัฒนาและเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งเหล่านี้ แต่เป็นการพัฒนาที่ยึดโยงกับคนในพื้นที่ยึดโยงกับประชาชนและเพิ่มความเป็นชาติพันธุ์ให้เขาโดยไม่ลดความเป็นตนเองของคนในพื้นที่ สิ่งนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ตนพร้อมที่จะทำเพื่อคนอมก๋อยผ่านการทำงานในการยื่นกฎหมายหลาย ๆ อย่าง แม้ว่าเราจะเป็นฝ่ายค้านอยู่ในตอนนี้ก็สามารถทำงานเพื่อพี่น้องคนอมก๋อยได้ และหากกฎหมายหลายๆ ตัวผ่านอย่าง พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ และอื่น ๆ ในอนาคตหากเรากลับมาเป็นรัฐบาลได้ ก็จะเป็นรัฐบาลที่ดีที่สุดสำหรับคนอมก๋อยอย่างแน่นอน
#เสียงของคนท้องถิ่น เป็นการที่ให้คนใกล้ปัญหาแก้ปัญหา และคนใกล้ศักยภาพใช้ศักยภาพของท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ถ้าไม่เป็นการกระจายอำนาจ หรือการให้โอกาสในการปกครองท้องถิ่นแก้ปัญหาของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอากาศที่หายใจ เรื่องของฟุตบาทที่เดินอยู่ตามท้องถนนน้ำที่ใช้ โรงพยาบาลในพื้นที่ ถ้าไม่ให้คนที่อยู่ในพื้นที่หรือคนที่ ไม่ได้เป็นห่วงใกล้ชิดกับประชาชนเช่นผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีอยู่ในพื้นที่ประมาณหนึ่งปีครึ่งโดยเฉลี่ยแล้วไม่ได้เป็นคนที่เกิดที่นั่น ไม่ได้เป็นคนที่ผูกพันกับท้องที่ ก็จะไม่สามารถที่จะมีจิตใจหรือมีความผูกพันในการแก้ปัญหาและในขณะเดียวกันก็ไม่รู้ว่าศักยภาพของท้องถิ่นที่จะต้องปลดล็อคคืออะไรบ้าง เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของ การปกครองตัวเองด้วยชุมชนและเป็นศักยภาพของชุมชนด้วย