จุดแสงสว่างกลางหุบเขา “กะเบอะดินแมแฮแบ” เปิดข้อมูลรายงาน CHIA สู่สาธารณะ

จุดแสงสว่างกลางหุบเขา “กะเบอะดินแมแฮแบ” เปิดข้อมูลรายงาน CHIA สู่สาธารณะ

“รายงานอีไอเอได้จัดทำขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ ได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด และยังพบข้อพิรุธหลายประการ”

เสียงจากเยาวชนบนเวทีสาธารณะเปิดข้อมูลรายงาน CHIA กะเบอะดิน ผ่านงาน “อมก๋อย แดนมหัศจรรย์: ลมหายใจบนไหล่เขา รอยยิ้มของแผ่นดิน เสียงหัวเราะของสายน้ำ” โดยผลัดกันบอกเล่าประสบการณ์ จากเยาวชนและชาวชุมชนที่เล่าเรื่องฉบับย่อจากหนังสือ CHIA

มีรายงานความเคลื่อนไหวเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง โดย พรชิตา ฟ้าประทานไพร เยาวชนบ้านกะเบอะดินปักหมุดผ่าน C-Site รายงานเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2565 ณ ลานหน้าคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยลัยเชียงใหม่ และวันนี้ ( 4 เมษายน 2565 ) ยังร่วมกันจับตา ณ ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ ในการยื่นฟ้องหน่วยงาน สผ. และ คชก. กรณี EIA เหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อย ให้เพิกถอนอีไอเอโครงการเหมืองอมก๋อย

“กะเบอะดินแมแฮแหแบ” คือ ถ้อยประโยคที่ถูกเอ่ยร้องประสานร่วมกันในพิธีกรรมบวชป่าจิตวิญญาณของคนกะเหรี่ยงบ้านกะเบอะดินเมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ซึ่งแปลความได้ว่า “กะเบอะดินไม่เอาเหมืองแร่”

ประโยคนี้กลายเป็นฉันทามติร่วมกันของชุมชน ในการขับเคลื่อนเพื่อที่จะส่งเสียงไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการเหมืองถ่านหิน ที่กำลังจะเป็นอีกหมุดหมายสำคัญของยุคสมัย มิใช่เพียงแต่อนาคตและความเป็นไปของทุกชีวิตและนิเวศแวดล้อมของคนกะเบอะดิน คนอำเภออมก๋อย หรือคนจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น แต่เป็นดั่งตัวแทนของผู้คนในชุมชนท้องถิ่นที่กำลังส่งเสียงยืนยันอำนาจของพวกเขาในการตัดสินใจต่อทุกชีวิตบนผืนดินถิ่นอาศัยที่ได้สืบสานมาจากบรรพชนและจะเป็นผู้ส่งต่ออนาคตสู่คนรุ่นถัดไปด้วยโลกในแบบที่พวกเขาปรารถนา

ฟังจากเวทีถึงเนื้อหาภายในหนังสือ

หนังสือรายงานฉบับนี้ได้ แสดงให้เห็นการละเมิดสิทธิของชาวอมก๋อยที่ได้รับผลกระทบและไม่ครอบคลุม ประเด็นต่าง ๆ ที่พี่น้องมีความกังวลรวมถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตความ เป็นอยู่ ถ้าโครงการยังเดินหน้าต่อไปจะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิโดยเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี สิทธิการใช้ทรัพยากร รวมถึง สิทธิการมี อากาศสะอาดหายใจและสิทธิการเข้าถึงน้ำสะอาด

พรชิตา ฟ้าประทานไพร เยาวชน ชุมชนอมก๋อย บอกว่า ด้วยความที่ชาวบ้านมีความกังวลเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อย ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับชุมชน ขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นความบกพร่องของรายงานอีไอเอ และชุมชนได้รับการสนับสนุนจากองค์กรประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนและ ผู้เชี่ยวชาญแขนงต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดการศึกษาและจัดทำรายงานอ้างอิงจากหลักฐาน ที่มีและมีการวิเคราะห์ตามหลักวิทยาศาสตร์ ชาวบ้านอมก๋อยต้องการให้เกิดการทำอี ไอเอใหม่ที่โปร่งใสกว่าเดิมและเป็นไปตามหลักการมาตรฐานสากล

CHIA กะเบอะดิน “รายงานการศึกษาชิ้นนี้ คือส่วนหนึ่งในศักยภาพสำคัญของคนกะเบอะดิน ในการร่วมสร้างเครื่องมือการประเมินผลกระทบโดยชุมชน ที่ประยุกต์ใช้การประเมินผลกกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (Community Health Impact Assessment หรือ CHIA) โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนท้องถิ่นในการค้นหา รวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์สรุปประเด็นสำคัญอย่างรอบด้านบนฐานของความรู้ในหลายมิติ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อ เคารพต่อ องค์ความรู้ขของชุมชนท้องถิ่น (Traditional knowledge / local knowledge) ที่ยึดโยงแนบแน่นกับระบบนิเวศของตัวเอง การยืนยันหลักการสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ ธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบายสาธารณะ ตลอดจนการเชื่อมโยงกับพันธสัญญา หรือข้อตกลงระดับสากลที่ประเทศไทยร่วมลงนาม 

รายงานการศึกษาภายในเล่มนี้ ประกอบด้วยเนื้อหา 5 บท

  1. “กะเบอะดิน ดินแดนมหัศจรรย์” (ข้อมูลพื้นฐานพื้นที่และความสำคัญในมิติต่างๆ) 
  2. “ชีวิตกับ 7 ลำน้ำ”
  3. คำถามขของชุมชนต่อรายงานอีไอเอ (รายงงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม”
  4. ชุมชนกับการประเมิน 7 ผลกระทบ (จากโครงการหากเกิดขึ้น)
  5. “โครงการเหมืองแร่อมก๋อย: ความผิดพลาดที่สวนกระแสโลกกำลังจะบอกอะไร”

กรณีเหมืองถ่านหิน บ้านกระเบอะดิน ต.นาเกียน อ.อมก๋อย เป็นอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งชุมชนทนความเหลวแหลกของ EIA ไม่ได้ ต้องออกมาศึกษาผลกระทบด้วยตนเอง เพื่อให้เห็นมิติต่าง ๆ ที่มากกว่ามือปืนรับจ้างเข้ามาศึกษา และต้องการชี้ให้เห็นว่าชุมชนก็สามารถทำเองได้

ส่วนหนึ่งของบทสรุปผู้บริหาร ในรายงาน CHIA กะเบอะดิน คลิก  อ่านรายงานฉบับเต็ม

อนึ่ง เครือข่ายภาคีปกป้องอมก๋อย ประกอบด้วยชาวชุมชนกะเบอะดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ร่วมกับ 14 องค์กร-เครือข่าย คือ เครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (CPCR) เอิร์ทไรท์อินเตอร์เนชั่นแนล (EarthRights International) ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ (CAN) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมชาวไทยภูเขาในประเทศไทย กรีนพีซ ประเทศไทย(Greenpeace Thailand) เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง (IMN) มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ (มพน.) และห้องทดลองนักกิจกรรม (Act Lab)

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ