วันที่ 4 สิงหาคม 2566 ภาคมานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดกิจกรรม 2030 SDGs Game กิจกรรมบูรณาการความรู้ การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนสู่ห้องเรียน : การจัดการเรียนรู้เรื่อง SDGs สำหรับนักศึกษามานุษยวิทยา โดย มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ
ภายใต้คอนเซ็ปต์ Sustainable Development Goals : SDGs เป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีทั้งหมด 17 เป้าหมาย

ภายใต้การทำความเข้าใจเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมายแล้ว มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ พานักศึกษาทำกิจกรรม 2030 SDGs Game เป็นกิจกรรมบูรณาการความรู้ การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนสู่ห้องเรียน : การจัดการเรียนรู้เรื่อง SDGs สำหรับนักศึกษามานุษยวิทยา

กิจกรรมนี้จะให้นักศึกษาทดลองเป็นเจ้าของโครงการที่จะต้องสร้างโดยมีข้อจำกัดภายใต้เวลาและงบประมาณที่ได้มา และได้รับผลตอบแทนมาจากการสร้างโครงการ แต่ต้องคำนึงถึงสิ่งที่ตามมาที่เป็นเสาหลักทั้ง 3 มิติ คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการวัดค่าสมดุลของสถานภาพโลกว่าการใช้ทรัพยากรทั้ง 3 ด้านในการสร้างแต่ละโครงการ ได้ส่งผลกระทบต่อด้านใดแล้วบ้าง แล้วค่าสถานภาพโลกยังมีความสมดุลอยู่รึไม่

ทั้งหมดคืออุปกรณ์ของกิจกรรม จะแบ่งเป็น กองการ์ดโครงการ คือสีน้ำเงิน สีเขียว และสีเหลือง
โครงการสีน้ำเงิน คือ โครงการที่เกี่ยวกับมิติเศรษฐกิจ
โครงการสีเขียว คือ โครงการที่เกี่ยวกับมิติสิ่งแวดล้อม
โครงการสีเหลือง คือ โครงการที่เกี่ยวกับมิติสังคม
ถัดมาจะมีการ์ดสำหรับงบประมาณ และการ์ดระยะเวลาในการประเมินและสร้างโครงการ เพื่อให้นักศึกษาได้ทดลองประเมินความคุ้มค่าในการสร้างโครงการโดยใช้เงื่อนไขของงบประมาณและระยะเวลาที่กำหนด
นักศึกษาทุกคนจะได้รับมอบหมายในสร้างโครงการภายใต้งบประมาณและเวลาที่จำกัด



ช่วงทำกิจกรรม คือ นักศึกษาจะเริ่มจากได้รับมอบหมายได้สร้างโครงการการพัฒนาในมิติต่าง ๆ โดยจะได้รับโครงการ งบประมาณและระยะเวลาที่ได้รับ เพื่อให้นักศึกษาได้เอาโครงการไปประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบจากการริเริ่มสร้างโครงการภายใต้ข้อจำกัดที่กำหนดให้สำเร็จ ซึ่งถ้าหากการประเมินการสร้างโครงการไม่สำเร็จไม่ว่าจะด้วยไม่ผ่านเงื่อนไข เช่น มีผลกระทบต่อมิติต่าง ๆ มากเกินไป หรือระยะเวลาและงบประมาณไม่เพียงพอก็จะต้องไปทำข้อตกลงร่วมกับเจ้าของโครงการคนอื่น ๆ เพื่อร่วมมือกันสร้างโครงการและแบ่งปันงบประมาณ ระยะเวลา และผลประโยชน์ร่วมกัน
ลูกโซ่ ลญา ภัทรวาทิน นักจัดการองค์ความรู้และออกแบบการเรียนรู้ จากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และเป็นกระบวนกรในกิจกรรมนี้ เล่าว่า กิจกรรม 2030 SDGs มีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาได้รับมีประสบการณ์ในการนำแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนมาเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้ทำให้เห็นถึงผลกระทบจากการกระทำของการสร้างโครงการหรืออะไรก็ตาม จะมีผลกระทบทั้งในแง่บวกและลบตามมาเสมอ ซึ่งไม่ใช่เรื่องไกลตัว

ลูกโซ่ เล่าต่อว่า หลังจากที่นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแล้ว ทำให้เห็นว่าการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนถือเป็นแนวทางในการได้ช่วยกันหาทางออกที่คิดว่าลงตัวและสามารถทำให้ปัญหาไปต่อได้ โครงการสามารถสร้างได้ภายใต้ข้อจำกัดที่มีและสามารถเชื่อมโยงกับการจัดการแก้ปัญหาจากในกิจกรรมมาสู่ชีวิตจริงได้อีกด้วย

ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เล่าว่า จากกิจกรรม 2030 SDGs Game นอกจากได้รับความบันเทิงแล้ว ยังได้รับความรู้ใหม่ ๆ รวมไปถึงทักษะการรับรู้และการต่อรองเรื่องต่าง ๆ ยังมีเรื่องความกดดันในการต่อรองเจรจาที่ต้องรับมือและการจัดการสถานการณ์ต่าง ๆ ค่อนข้างยากด้วย สิ่งที่สามารถนำไปใช้ได้เลยคือทักษะทางความคิดและการรับมือกับผลกระทบที่ตามมาจากการกระทำอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ชวนให้นักศึกษามานุษยวิทยาเชื่อมโยงประเด็นจากกรอบคิด SDGs มาประยุกต์ใช้และชวนมองร่วมกับปรากฎการณ์ทางสังคมในปัจจุบัน เพื่อนำกรอบคิด SDGs มาใช้กับประเด็นสังคมอย่างไร และสามารถนำมาพัฒนา เปลี่ยนแปลง แก้ไขปัญหาอย่างไรได้บ้างจากสายตานักศึกษามานุษยวิทยา
โดยนักศึกษาได้พูดถึงเรื่องความเหลื่อล้ำทางทางการศึกษา ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องปัญหาใกล้ตัวในฐานะนักศึกษา โดยพูดถึงปัญหาต่าง ๆ ที่ปัญหาสังคมไทยกำลังพบเจอ และแนวทางการแก้ปัญหาต่อในอนาคต

ท้ายที่สุดกิจกรรม 2030 SDGs Game มีความต้องการสร้างศักยภาพในการคิด วิเคราะห์ เชื่อมโยง การพูดคุยหารือ แนวทางการแก้ไขปัญหาให้นักศึกษาเพื่อเชื่อมโยงกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในฐานะมนุษย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรโลกภายใต้แนวคิด SDGs เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ต่อไปในอนาคตอีกด้วย
กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาทักษะบัณฑิตเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษามานุษยวิทยาเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการทำความเข้าใจปรากฎการณ์ทางสังคมอีกด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทีมงาน Public Intelligance (PI) ไทยพีบีเอส สนใจที่จะเข้าร่วมไปดูกระบวนการกิจกรรมการประยุกต์ใช้กรอบคิด SDGs กับแนวคิดทางมานุษยวิทยาเพื่อให้สังคมได้เข้าใจถึงกรอบคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในการเชื่อมโยงกับปรากฎการ