เปิดแนวทางแก้ฝุ่น พรรคก้าวไกลปี 2567

เปิดแนวทางแก้ฝุ่น พรรคก้าวไกลปี 2567

บทเรียนพร้อมทำแผนปฏิบัติจัดการไฟป่าฝุ่นควันร่วมเครือข่าย @เชียงใหม่

ปี 2566 เป็นปีที่ประเทศไทยจะต้องกลับมาเผชิญอีกครั้งกับปรากฎการณ์ “เอลนีโญ”  คือ ประเทศไทยจะมีฝนน้อยกว่าปกติ และอุณหภูมิจะสูงขึ้นกว่าปกติประมาณ 1.5 องศา ตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 ไปจนถึง ต้นปี 2567 ซึ่งอาจจะส่งความเสียหายต่อ พื้นที่การเกษตรในฤดูฝน 2566 และฤดูแล้ง 2567 การประปาของชุมชนในหลายพื้นที่ และ โอกาสเกิดไฟป่าและคลื่นความร้อนในฤดูแล้งปีหน้า

ที่มา think.moveforwardparty

แม้สภาวะทางการเมืองปัจจุบันหนึ่งเดือนหลังเลือกตั้ง ว่าสังคมไทยอยู่ในบรรยากาศครึ่ง ๆ กลาง ๆ ปัญหาเรื่องฝุ่น บางส่วนจำเป็นต้องแก้ด้วยการเมือง

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2567 ณ อาคารศิริพาณิช เชียงใหม่ พรรคก้าวไกลเปิดแนวทางแก้ฝุ่น กับนโยบาย ปี 2567 ในวงสรุปบทเรียนและการทำแผนปฏิบัติจัดการไฟป่าฝุ่นควันเตรียมความพร้อมรับมือฝุ่น Pm 2.5 ในปี 2567 เป็นโอกาสในการรอจัดตั้งรัฐบาล พร้อมกับการเตรียมการเคลื่อนนโยบายทบทวนร่วมกับเครือข่ายประเด็นสิ่งแวดล้อม ที่นำโดยอาจารย์เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการ Think Forward Center

 แนวทาง/มาตรการในการรับมือฝุ่นละออง PM2.5  

1. การยกร่าง พรบ. อากาศสะอาด

• ครม. ใหม่สามารถรับรองร่างของภาคประชาชนที่ค้างอยู่ให้เข้าสู่การพิจารณาของสภาได้ทันที คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายกําลังดําเนินการร่างประกบ

• แจ้งคณะทํางานพรรคร่วมรัฐบาล หากพรรคอื่นๆ จะร่างประกบ เพื่อเข้าสู่การพิจารณา

2. การปรับค่ามาตรฐาน ค่าสีในคําเตือน และการวางระบบเตือนภัยให้ประชาชน

• กรมควบคุมมลพิษปรับแก้ค่ามาตรฐานให้เป็นสากล แต่การประชาสัมพันธ์/แจ้งเตือนประชาชนยังมีปัญหา/ความสับสน

• จะมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับแนวทางการสื่อสารกับประชาชนให้เป็นระบบ

3. การจัดทําแผนที่ความเสี่ยง และแผนที่เฝ้าระวัง

• ท่าการวิเคราะห์ย้อนหลังถึงจุดความร้อน (hotspot) และรอยเผา (burn scar) ในปี 2566

• ทําการติดตามพื้นที่การพื้นที่เพาะปลูก และประเมินปริมาณเชื้อเพลิงสะสมจากดาวเทียม

• จัดทําแผนที่ความเสี่ยงภัย และแผนที่เฝ้าระวัง

• ระบบกระจายทรัพยากรให้ท้องถิ่น/ท้องที่ในการป้องกันไฟป่า (เฉลี่ย 3 ล้านบาท/ตําบล)

4. การป้องกันไฟป่า

•  การปรับปรุงสวัสดิภาพและสวัสดิการของทีมอาสาป้องกันไฟป่า

• การวางแผนป้องกันไฟป่าในระดับท้องถิ่น

• การกระจายอํานาจและงบประมาณสําหรับท้องถิ่น (3 ล้านบาท/ตําบล)

• การเจรจากับกรมอุทยาน/กรมป่าไม้ในการวางแนวทางการดับไฟป่า และการวางถังน้ำ อุปกรณ์ดับไฟในพื้นที่อุทยานฯ

• การทําความเข้าใจและการทําข้อตกลงในการหาของป่าโดยปราศจากการเผา

5.การควบคุมการนําเข้าข้าวโพด/สินค้าเกษตรที่มาจากการเผาในต่างประเทศ

• มาตรฐาน Good Agricultural Practices (หรือ GAP) ที่ห้ามทําการเผา

• มาบังคับใช้กับข้าวโพดนำเข้า

• นําระบบตรวจสอบย้อนกลับได้ (จาก burn scar) มาตรวจสอบอีกทางหนึ่งด้วย

•  เตรียมยกร่างกฎหมายมลพิษข้ามพรมแดน Transboundary Haze Pollution Act ในปี 2567

6.มาตรการลดการเผาในพื้นที่การเกษตรในประเทศ

• วางระบบแผนที่ความเสี่ยง และระบบการตรวจสอบย้อนกลับ

•  มาตรการการรับชื่อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (1,000 บาท/ตัน) เตรียมทําระบบออนไลน์ในการเชื่อมโยงเกษตรกรที่ต้องการขายวัสดุเหลือใช้การเกษตรกับผู้ที่ น่าวัสดุการเกษตรไปใช้ประโยชน์ (เลี้ยงสัตว์ แปรรูป พลังงานชีวมวล)

• การสร้างความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกรณีอ้อย (โรงงานน้ําตาล) และ ข้าวโพด (ผู้ผลิตอาหารสัตว์)

• การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนพืช/ไม้ยืนต้น

•  มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนเครื่องจักรและอื่น ๆ

7. มาตรการตรวจสอบโรงงาน

•  ปัจจุบัน กรมโรงงานติดตามการปล่อยมลสารของโรงงาน 800 โรง

• แต่ยังมีโรงงานอีกประมาณ 60,000 โรงที่อยู่นอกการควบคุม

•  ยังไม่มีมาตรฐานการปล่อย PM2.5 สําหรับโรงงาน (อาจต้องพิจารณากําหนดเพิ่ม)

•  การเสนอร่างกฎหมาย Pollutants Release and Transfer Register

 8.การลดฝุ่นละอองจากยานพาหนะ

• การตรวจสภาพรถยนต์/ยานพาหนะก่อนช่วงฝุ่นละออง PM2.5 (กันยายน-ธันวาคม 2566) โดยเฉพาะสําหรับรถเมล์เก่า

• การปรับมาตรฐานคุณภาพน้ํามัน Euro5 ต้นปีหน้า

• การนํารถเมล์/รถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ให้มากขึ้น

•  มาตรการภาษีสําหรับรถเก่า และการควบคุมคุณภาพรถที่ใช้งาน

9.การวางแผนตรวจคัดกรองมะเร็งปอดและความผิดปกติอื่นๆ ในภาคเหนือตอนบน

• มีมาตรการคัดกรองเบื้องต้นที่มีค่าใช้จ่ายต่ําก่อน

• ตรวจคัดกรองมะเร็งสําหรับผู้ที่พบความเสี่ยง

10.การเตรียมพื้นที่/ห้องปลอดภัย และอุปกรณ์/มาตรการป้องกันสําหรับประชาชน

• โรงพยาบาลมีความพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัย

• ต้องเตรียมพื้นที่ศูนย์เด็กเล็กทุกแห่งให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย

• ต้องเตรียมพื้นที่ปลอดภัยอื่นๆ ในแต่ละอําเภอ

ซึ่งทางก้าวไกลเน้นย้ำว่านี่ไม่ใช่แผนระยะยาว เป็นแผนระยะสั้น เริ่มก่อน 1 มกราคม 2567 มาตรการสำหรับปี 2567 เท่านั้น

เปิดวงแลกเปลี่ยนจากตัวแทนประชาชนกลุ่มภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ชุมชน และประชาชนในพื้นที่

คุณ เดโช ไชยทัพ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  กล่าวว่า ประเด็นแรกต้องพูดให้ชัดเรื่องกลไกในการจัดการไฟป่าไม่ควรจะมีแค่ 149 สถานีกรมอุทยาน กลไกเหล่านี้ไม่เพียงพอเราต้องสร้างกลไกระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะเรื่องการถ่ายโอนภารกิจ ตอนนี้เราทำการถ่ายโอนภารกิจไป 2,400 กว่าตำบลในพื้นที่ 50 ล้านไร่ แต่ขาดความเอาจริงเอาจังในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ ถ้าเราบวกดี ๆ 2,400 กว่าแห่งจะมีสถานีควบคุมไฟป่าขึ้นอีก 4,000 ตำบล และเราจะมี 2,400 กว่าแห่งที่ควบคุมไฟป่าภายใต้การบริหารจัดการของท้องถิ่น ถ้าเราสามารถขับเคลื่อนเรื่องนี้ได้เราจะมีกลไกในการขับเคลื่อนไปพร้อมกันและมีฐานอำนาจรองรับ สำคัญคืออยากจะเพิ่มเติม ในการกระจายอำนาจในการควบคุมไฟป่าไฟในเขตป่าอนุรักษ์เพียงแต่ตอนนี้เรายังไม่ได้เริ่ม แผนกำหนดให้กรมอุทยานเตรียมความพร้อม จนป่านนี้ยังไม่มีการริเริ่มการถ่ายโอนภารกิจ เรื่องนี้รัฐบาลเองอาจจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการกระจายอำนาจ พูดคุยและทำแผนให้ชัดก่อน 1 มกราคม 2567 เพื่อเป็นการถ่ายโอนภารกิจให้ชัดและเป็นการถ่ายโอนภารกิจที่ เนื้องาน เนื้องบ องค์ความรู้ เพราะบางท้องถิ่นอาจจะไม่พร้อม ต้องสร้างความพร้อมได้อย่างไร

ประการที่ 2 ในเชิง กลไก ปัจจุบันกลไกที่มีความชอบธรรมในทางกฎหมายคือ คณะกรรมการจัดการป่าชุมชน ซึ่งเรามี พรบ.มาแล้ว อำนาจหน้าที่ในการดูแลจัดการขึ้นอยู่กับชุดทำงานนี้ ถ้าได้ทำแผนการจัดการไฟป่า เสนอต่อคณะกรรมการป่าชุมชนจังหวัด ถือว่าแผนนั้นชอบด้วยการจัดการทางกฎหมาย เพียงแต่ว่าตอนนี้เรามีป่าชุมชนทั่วประเทศ 12,000 กว่าแห่ง ซึ่งรวบแล้ว 7 ล้านกว่าไร่ แต่กรมป่าไม้มีแผนจะทำให้ครบ 10 ล้านไร่ ประมาณ 1500 ชุมชน ซึ่งแสดงว่าเราจะมีกองกำลังที่ชอบด้วยกฎหมาย มาช่วยในการจัดการไฟป่า มากกว่า 15000 แห่ง เพียงแต่ข้อจำกัดในตอนนี้ คณะกรรมการป่าชุมชนระดับจังหวัดได้งบประมารมาประชุมน ปีละ 2 ครั้ง เช่นจังหวัดเชียงใหม่มีเจ้าหน้าที่ 5 คนดูแลรับผิดชอบ 540 กว่าป่า ซึ่งเป็นข้อจำกัด เช่นถ้าชาวบ้านจะเสนอแผนการจัดการไฟป่าไปที่คระกรรมการป่าชุมชนระดับจังหวัด 1 ปีมีการประชุม 2 ครั้งไม่มีทาง จะปรับปรุงกลไกในการขับเคลื่อนป่าชุมชนเพื่อตอบโจทย์เรื่องการแก้ปัญหาไฟป่า ให้มีประสิทธิภาพเพราะชาวบ้านถ้าให้เขาได้ทำทำแผนชอบด้วยกฎหมายแผนนั้นสามารถทำแผนอนุรักษ์ แผนพื้นฟู แผนการใช้ประโยชน์  เรื่องนี้สามารถที่จะมีนโยบายให้คระกรรมการป่าชุมชน ซึ่งมีทั้งหมด 68 จังหวัด

ประการที่ 3 คือเรื่ององค์ความรู้ สถานการณ์ตอนนี้เราเถียงกันมานานว่า การควบคุมจัดการไฟป่า เชียงใหม่เราก็ชัดเจนต้องชัดเจนไฟจำเป็น กับไฟที่ไม่จำเป็น ถ้าสามารถแยกแยะได้ทุกหมู่บ้านไฟที่จำเป็นต้องควบคุมใช้เท่าที่จำเป็นฟไม่ให้ลุกลาม ไม่ที่ไม่จำเป็นอย่าให้เกิดก็อย่าให้เกิดควบคุมให้ไว หลักการง่าย ๆ สามารถทำได้ เพียงแต่หลักการนี้ไม่เคยเป็นจริงเพราะไม่ได้เกิดการยอมรับในสิ่งที่ชุมชนทำ รัฐส่วนกลางมีแต่การคิดนโยบาย  เวลาชุมชนทำนี่คือองค์ความรู้ แผนที่เกิดขึ้นทุกหมู่บ้านทุกตำบลมีแผนเกี่ยวกับการควบคุมไฟที่แตกต่างกัน คิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่ององค์ความรู้ในการจัดการ ถ้างบ 3 ล้านที่จะเกิดขึ้น ทุกชุมชนมีแผนที่รองรับควบคุมไฟป่าที่เป็นไฟจำเป็นจะใช้แปลงไหน ไฟที่ไม่จำเป็นเท่าไหร่ คิดว่างบ ตำบลละ 3 ล้าน จะบรรลุตั้งแต่เริ่มต้นจุดเริ่มต้นที่บริหารจัดการได้

ประการที่ 4 เรื่องที่ดินในเขตป่า พื้นที่เกษตรป่า รวมที่ดินในเขตป่าที่ไม่ได้ถูกสำรวจรองรับ คิดว่านี่เป็นมาตรการรองรับความจำเป็นเร่งด่วน เร่งรัด เชียงใหม่มีพื้นที่ในเขตป่าอุทยานกว่า 4 แสนไร่ ที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ อยู่ในเขตป่าสงวน  1 ล้าน 8 แสนไร่ รวม 2.2 ล้าน ที่ต้องรอการดำเนินการตรวจพิสูจน์สิทธิ์รองรับ เพียงแต่ว่าเรามีนโยบาย และมีความล่าช้า  ทำอย่างไรจะเร่งทำให้ที่ดินที่อยู่ในเขตป่า 2.2 ล้านในเชียงใหม่ สามารถพิสูจน์สิทธิ รองรับเขต และเข้าสู่กระบวนการพิจารณาปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ไม่ยั่งยืน เป็นมาตรการในการควบคุมไฟป่า

เรื่องแนวกันไฟ ถ้าชุมชนทำเป็นแนวกันไฟที่สามารถมีประสิทธิภาพ เพราะเขารู้ว่าตรงไหนควรทำไม่ควรทำ และเป็นสัญญะของชาวบ้าน ที่ให้รู้ว่าพวกเขาต้องดูแลพื้นที่ แต่อื่นใดต้องถ่ายโอนภารกิจให้ชุมชนทำ แนวกันไฟแบบซอยถี่ ๆ เพื่อเป็นบัพเพอร์ให้มีแนวย่อย ๆ มากขึ้น และมีการดูแลต่อเนื่อง

คุณ บัณรส บัวคลี่ สภาลมหายใจภาคเหนือ กล่าวว่า จากที่มีการได้พูดคุยกับ สปอ.16 รองผู้ว่าราชการ และ ปภ.จังหวัด เป็นไปได้หรือไม่ที่เชียงใหม่ให้ชุมชนชาวบ้านเป็นผู้ดูแล เพราะปกติเขาจะมีการรับเหมา แต่ละสถานีควบคุมไฟจะมีการรับเหมา มีเอกชนเข้ามารับ คำถามคือแนวกันไฟที่ทำ บางปีมาช้า ปีนี้มาเร็ว แต่ทำเสร็จแล้วภายใน 3 สัปดาห์ใบไม่ทับถมหล่นลงมาแนวกันไฟทิพย์ หายไป เพราะ TOR บอกว่าให้ทำรับมองแล้วจบ ไม่ได้มีเรื่องการดูแลต่อ ขอเสนอว่าให้ชาวบ้านรับเดินลาดตระเวน 3 เดือน ให้เงินชาวบ้านไปเลยเพิ่มใน TOR แต่ทั้งหมดทั้งมวลขึ้นอยู่กับนโยบาย

จากที่ดูข้อเสนอของก้าวไกล เข้าประเด็นหากต้องการควิกวิน ปีหน้าเราจะรบกับฝุ่นอย่างมีนัยยะสำคัญ ให้เห็นเนื้อหนังจริง ๆ เตรียมข้อมูลมาหลัก ๆ คือ เราจะต้องโจมตี ปลาตัวใหญ่ ควันข้ามแดนมีผลจริง ๆ จากพยากรณ์ มช. พยากรณ์ประมาณครึ่งหนึ่งที่กระทบ ปี 2565 ฝนตกไม่มีจุดฮอตสปอตเลย แต่มีไฟที่ประเทศลาว เมื่อลมพัดมาในวันที่ 8 9 10 เมษายน 65 น่าน แพร่ เชียงใหม่ ในเชิงรูปธรรมความเข้มข้นในระยะ 250 กิโลเมตรเข้มข้นไม่เท่ากัน อย่างไรก้ตามนี่คือปัจจัยภาพนอก สิ่งที่เล็งคือไฟใกล้มีผลจริง ๆ เช่นที่ ออบหลวง ฮอต เดือนกุมภาพันธ์ ตัวค่าเซ็นเซอร์ที่ฮอต ขึ้น beyond AQI ขึ้นมากกว่าค่าสีม่วง เพราะฉะนั้นไฟใกล้แค่ระดับ 1หมื่นก็มีผลขึ้นเห็นระดับสีน้ำตาล beyond AQI

ทางก้าวไกลจะทำแผนที่ชุมชนเห็นด้วย ซึ่งล้อไปกับงบ 3 ล้านที่จะให้ชุมชน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่จะโจมตีแหล่งกำเหนิดหลักที่สุดของภาคเหนือคือป่า เพียงแต่สิ่งที่เราจะทำแผนที่ความเสี่ยงมีคณะทำงานกันอยู่ เช่นข้อมูลไฟแปลใหญ่ซ้ำซาก ของ Gisda ย้อนหลังไป 10 กว่าปี ปีไหนพื้นที่เกิน 5 ปีปรับมาเป็นเกิดไฟซ้ำซาก ที่เกินแสนไร่ มี 11 ป่า เกิน สามหมื่นไร่ 17 ป่า นี่เป็นพื้นที่เป้าหมาย แต่ไฟที่ซ้ำซากเป็นพฤติกรรมที่เกิดไฟซ้ำ ๆ และนอกจากพิกัดเราลงลึกรายละเอียดว่าอะไรมาก่อนมาหลัง แถว ๆ เหนือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิตปลายมกรามาแล้ว ซึ่งยากใหญ่ที่สุดอยู่เหนือเขื่อน อยู่ห่างจาก อำเภอสามเงาเพียงไม่กี่กิโลเมตร ปีที่แล้วผู้ว่าตากพยายามจะแก้ไขเรื่องนี้แต่แก้ไขไม่ได้ ปลายมกราคม – กุมภาพันธ์ แถวออบหลวง ตอนล่างพื้นที่เชียงใหม่ ไฟป่าแปลงใหญ่ที่ใหญ่ที่สุดคือที่สาละวิน ตรงนี้จะจัดการอย่างไร ไฟแปลงใหญ่ตรงนี้จะ เราการจัดการอย่างไร เรามีข้อมูลรวมถึงพฤติกรรมทั้งหมเด เสนอการจัดกำลังไปจัดการตรงนี้ก็จะสามารถจัดการตัวตึงตัวใหญ่ได้ ปัญหาคือสิ่งที่นำเสนอมายังวางอยู่บนพื้นฐานเดิม ยังรื้อไม่ทัน ตามกรอบวาระแห่งชาติ คือการวัดด้วย KPI จะทำอย่างไร ภายใต้โครงสร้างที่อ่อนแอ คือโครงสร้างเช่นที่จังหวัด 13 ล้านไร่มีป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ 9 ล้านไร่ มีหน่วยไฟป่าศูนย์ควบคุมไฟป่าภายใต้สำนักไม่ครอบคุมการดูและพื้นที่ป่า 5 ไร่ เพราะฉะนั้นดูแลได้แค่ 2 ล้านจาก 9 ล้านป่าของรัฐเพราะฉะนั้นภายใต้โครสร้างที่อ่อนแอมาตั้งแต่ต้น คุยกับผู้ใหญ่บ้านกำนันไม่มีเงบให้ ดังนั้นวิธีคิดการใส่เงินลงไปให้ชุมชน ถูแล้วแต่จะต้องลงรายละเอียด

ขอให้มุ่งไปที่เป้าหรือพื้นที่ป่า ซึ่งขณะนี้รุงรังและจัดการยาก ผู้ว่าเชียงใหม่ 1 วัน 50 จุดเอาอยู่ แต่เอาจริงขึ้นมาเช้าขึ้นมา 70 -100 กว่าจุด เพราะมีไฟกลางคืนมีไฟเกิดขึ้น ไฟกลางคืนมีมากกว่าไฟกลางวัน มากที่สุดในอาเซียนแตกต่างลาวมีไฟดลางวัน และกระทบให้ช่วงเช้ามีฝุ่น ล้มนโยบายการสั่งห้ามไม่เอาจุดความร้อน hotspot นับไหมและนโยบายสั่งห้ามเด็ดการเปลี่ยนเป็นบริหารไฟ โดยมี kpi  2 ตัว คือไฟจำเป็น control คือฟที่บริหารผ่าน APP ผ่านพื้นที่ได้ทั้งป่า ทั้งพื้นที่เกษตรด้วย และสถาปนาความศรัทธาให้สังคมเห็นว่าใครเป้นผู้จัดการสิ่งนี้ให้เห็นว่าใครเป็นคนควบคุม สถาปนาสิ่งนี้ขึ้นมา และไฟดังกล่าวมีเหตุและผลในการคอนโทลได้ เป็นสิ่งที่อยากเห็นในระยะยาว

คุณ วิทยา ครองทรัพย์ สภาลมหายใจภาคเหนือ กล่าวว่า  ความกังวลใจคืออยากได้ยินแผนการตั้งใจว่าจะทำอะไรก่อน 1 มกราคม 2567 เรื่องร่างกฎหมาย พรบ. อากาศสะอาด มีของเพื่อไทยค้างไว้ และร่างของเครือข่ายอากาศสะอาด จากที่ได้มีดูรายละเอียดมีการดูแลภาคเหนือน้อยกว่าที่ควรจะเป็น คำถามคือหากจะผลักดันคือร่างใด ร่างของเครือข่ายอากาศสะอาดอยากให้พิจารณ์ถึงตัวกฎหมายที่ระบุ ร่างของเพื่อไทยค่อนข้าวครอบคลุม และอีกร่าคือร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ของ พยป. ซึ่งค่อนข้างเป็นร่างที่ครอบคลุมและตรงกับความต้องการของประชาชน

อีกเรื่อง คือ เรื่องของการติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศ low cost sensor ทุกพื้นที่ในภาคเหนือ พื้นที่ซ้ำซากการเกิดไฟ รวมทั้งองค์ความรู้ในการอ่านค่า การเตือน โดยปัจจุบันมี สสส. สนับสนุนผ่านตัวห้องเรียนสู้ฝุ่น

สุดท้ายเรื่องงบ 3 ล้าน มีเงื่อไขสำหรับให้บางชุมชน ก่อนหรือไม่ต้องทำเงื่อนไขขึ้นมา และการให้เงินชดเชยเกี่ยวกับไร่อ้อย ทราบมาว่านักวิชาการได้มีการวิจัย การให้เงินชดเชยการเผาไร่อ้อยให้โดยไม่มีเงื่อนไข และการปกป้องสุขภาพช่วงวิกฤติ ศูนย์ PHEOC ศูนย์นี้จะออกมาช่วยทันทีที่เกิดฝุ่น ล่าสุดที่จังหวัดเชียงใหม่ประกาศพื้นที่พบภัยพิบัติ 2 ชุมชน และเห็นหน้าตาของศูนย์นี้ขึ้นมา แต่เครื่องมือการรับมือไม่พร้อม ดังนั้นอยากจะขอเพิ่มแผนการปกป้องสุขภาพประชาชนให้พร้อมมากกว่านี้ รวมทั้งเข้าไปในชุมชนให้รู้จักเครื่องมือ DIY หน้ากาก มุ้งกันฝุ่น และให้เยาวชนร่วมติดตามไฟใสชุมชนผ่านแผนที่ไฟป่า ให้เราได้เห็นทิศทางการเผาไหม้ รวมทั้งให้ภาคประชาชนในจังหวัดนั้น ๆ แจ้งกรรมการแก้ไขฝุ่น โยงไปหาการจัดตั้งแผนร่วมรัฐกับภาคประชาชน

คุณสุรีรัตน์ ตรีมรรคคา สมาชิกสภาลมหายใจเชียงใหม่ กล่าวว่า การทำการบ้าน 1 เดือนของก้าวไกลที่เพิ่มเรื่องสุขภาพประชาชนเข้ามา ประเด็นเรื่องการคัดกรองมะเร็งสำคัญ ถ้าเรามองทั้งประเทศเป็นภาพใหญ่แต่ถ้าเรามองภาคเหนือกับ กทม. เป็นมาตรการเสริมในระดับพื้นที่ได้เติมเข้าไปในชุดสิทธิประโนชน์ และทำการบ้านกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ต่อ

สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นนอกจากการเตรียมห้อง เตรียมอุปกรณ์ การประกาศวิกฤตด้านสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ ในช่วงวิกฤติ ในช่วงที่ผ่านมาไม่มีใครยอมประกาศ ปีที่ผ่านมาเราใช้เกณฑ์มาตรฐานที่ 50 ไมโครกรัม เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มันเกินและประชาชนต้องออกมาประกาศกันเอง สิ่งนี้เป็นช่องโหว่หรือติดขัดอะไรให้ประกาศ ต้องพุ่งเป้าไปที่กระทรวงวาธารณะสุขที่ต้องมีส่วนมารับผิดชอบเรื่องนี้ ใช้กระบวนการโควิด มีคณะกรรมการด้านสุขภาพภาคเหนือ เพื่อช่วยอำนวยการทำงานให้ต่อเนื่อง จากที่เราเห็นในจังหวัดเชียงใหม่ทาง อบจ. สนับสนุนงบประมาณในการจัดการและแก้ปัญหาถ้า อบจ. ทุจังหวัดภาคเหนือ ทำงานร่วมกันอยู่ภายใต้คณะกรรมการ ทาง อบจ.จะสนับสนุน ในการช่วยแก้ปัญหาได้ไม่ใช่เพียงแค่ช่วยเรื่องการดับไฟเพียงแค่อย่างเดียว แต่ช่วยเรื่องการเตรียมอุปกรณ์

อีกส่วนที่ทางสภาลมหายใจ ดูเรื่อง ควันดำ ควรจะมีแรงจูงใจรถที่ไม่ผ่านการตรวจ ทางสภาลมหายใจเคยคุยกับบริษัทน้ำมัน และการตรวจสุขภาพลด เราช่วยเรื่องงบหนุนให้ลดราคา และให้รถเหล่านี้เข้าไปตรวจสภาพรถจะต่อเนื่อง

สุดท้ายประเด็นการเตรียมพร้อมในการรับฝุ่น คือเราไม่สามารถที่จะไม่มีม่วงไม่มีแดง แต่การเตรียม การบริหารจัดการพื้นที่สีเขียว ในเมืองต่าง ๆ สิ่งที่เชียงใหม่เจอคือการตัดต้นไม้ตัดทิ้ง ตัดกุด หรือการ อปท.ในเขตเมืองจะเชื่อมพื้นที่สีเขียนว ซึ่งยังไม่มีนโยบายและทิศทางในการบริหารเรื่องพื้นที่สีเขียว ช่วยกระตุ้นเรื่องตรงนี้โยงกับประเด็นการดูดซับคาร์บอนได้  

ตัวแทนชาวบ้านแม่แจ่ม กล่าวว่า แนวกันไฟตำบลละ 3 ล้าน ดับได้แน่นอน เพราะตนเคยทำกับชุมชนแล้วสำเร็จ ถ้าถึงชาวบ้านถ้าถึงชาวบ้านแนวกันไฟไม่ต้องทำก็ได้ ต้องทำแนวกันใจ เพราะไฟมาจากคน ไฟป่าไม่มี มีแต่คนเผาเท่านั้น เพราะที่ผ่านมารัฐบาลเดิมไม่จริงใจและไม่ถึงชาวบ้าน ไม่แก้เรื่องที่ดินทำกินไม่มีความจริงใจ  

นายศรีวรรณ ปภัสสรวัฒนกุล นายก อบต.กองแขก  กล่าวว่า แม่แจ่มโมเดลตอนนี้มีพื้นที่ประกาศ คทช โครงการต้นไผ่ กำลังไปได้ดีและการเพิ่มพื้นที่สีเขียวกาแฟสร้างป่าในช่วงที่ผ่านมา รอหน่วยงานรัฐมาขับเคลื่อนจริงจัง  ขับเคลื่อนพื้นที่เพิ่มพื้นที่สีเขียว และการส่งเสริมอาชีพ  การเผาไหม้เกิดจากพื้นที่ในป่ามากว่า พื้นที่เกษตร : งบประมาณเป็นเรื่องสำคัญ  การจัดการไฟในชุมชน ในการชเป็นแรงจูงใจในการให้ชาวบ้านเข้ามาช่วย ลงสู่ชุมชนการช่วยดูแล

มองปัญหาฝุ่น กับ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สั้น ๆ แต่ไม่วนอยู่กับวาทกรรมเดิม

ด้านมูลค่าจากการอ้างอิงตัวเลขของแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ แบ่งผลกระทบเป็นมิติในช่วงฝุ่นเหนือท่วม ซึ่งเสียหายหลัก 10,000 ล้าน แต่งบที่ใช้แก้ปัญหาหลัก 100 ล้าน ที่กระจายในหน่วยงานต่าง ๆ แบบเบี้ยหัวแตก

มอง 3 ระดับออกจากวังวน กลไก งบ กฏหมาย

1.นานาชาติ มีข้อตกลงมากว่า 20 ปี แต่ผู้นำไม่ใส่ใจ ศูนย์ปฏิบัติงานด้านอาเซียนยังไม่มีสถานที่ลง ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution ใช้การต่างประเทศเชิงรุก เสนอมาตั้งที่เชียงใหม่ แม้ที่ผ่านมาแม้ว่าจะมี “ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน” (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution) ที่รัฐต่าง ๆ ในอาเซียนลงนามไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 แต่ตลอดหลายปีที่ผ่านมาก็ยังแก้ไขปัญหานี้ไม่ได้ มลพิษทางอากาศไม่มีพรมแดน ถึงเวลาแล้วที่ผู้นำอาเซียนจะต้องร่วมกันแก้ปัญหานี้ในแบบ “ผู้นำรัฐบาลหรือผู้นำทางการเมือง” ที่ลงมือทำจริงจัง และกองทุนมลพิษข้ามชาติที่มีการลงขันยังไม่มีใครขอใช้ กฎหมายอากาศสะอาดระดับอาเซียนมียังไม่ได้นำมาใช้

2.ระดับประเทศ ไม่ตัดเสื้อโหล่ เพราะบริบทปัญหาไม่เหมือนกัน pm 2.5 ค่าเฉลี่ยไม่สมจริง ตัววัดกรมควบคุมมลพิษอีกแบบ ของเอกชนอีกแบบสูงกว่าเป็นจริง แต่ละพื้นวิธีแก้แต่ละพื้นที่แตกต่างกันสิ้นเชิง

3.ระดับท้องถิ่น งบไม่มี กระจายอำนาจต้องไปให้เหมือนขาเก้าอี้ 4 ขา อำนาจ ภารกิจ งบ และคน

หลังจากนี้ทีม อ.เดชรัตน์ รวบรวมความคิดข้อเสนอจากวงระดมความเห็นภาคประชาชนเหนือ เตรียมลงรายละเอียด ไฟแปลงใหญ่ | พื้นที่เมือง | การป้องกันด้านสุขภาพ และอื่น ๆ

@thenorth_thaipbs

มองปัญหาฝุ่น กับ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สั้น ๆ แต่ไม่วนอยู่กับวาทกรรมเดิม

♬ original sound – The North องศาเหนือ – The North องศาเหนือ

อ่านเพิ่มเติม ดันอาเซียนตั้งศูนย์ฝุ่นควันที่เชียงใหม่ กลยุทธ์สู้ฝุ่นของพิธา เป็นจริงได้ไหม ?  https://thecitizen.plus/node/81827?fbclid=IwAR1goGMOcbrKUlT0FTPwHFEwQvs8T1kdZ4whqG1zTdLSH7ErG1bMBfGDA38

ฟังคลิปเสียง มองปัญหาฝุ่น กับ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์  https://www.csitereport.com/newsdetail?id=0000032972&fbclid=IwAR0MoFlqIWJJMSUvLZfg7c7Hq2ejXbi4rjHXygR-dRm-62_hicZlxNVbfLM

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ