วาระครบรอบ 2 ปีจากการลงนามพูดคุยเพื่อสันติภาพเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 จากหมุดหมายสำคัญในวันนั้นส่งผลให้เกิดการเริ่มต้นสร้างพื้นที่พูดคุยสันติภาพขึ้น เเละเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 วันสื่อสันติภาพชายเเดนใต้/ปาตานีครั้งที่ 2 ที่ผ่านมา มีการรวมตัวกันของประชาชนและภาคประชาสังคมกว่า 800 คนและภาคประชาสังคม 15 เครือข่าย ร่วมแถลงจุดยืนออกแบบกระบวนการสันติภาพในพื้นที่ที่พวกเขาอยากจะเห็นปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าคนในพื้นที่ชายแดนใต้มีความหวังและมีความต้องการที่เเก้ไขปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง
อาบูฮาฟิช อัลฮากีม สมาชิกกลุ่มผู้มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างจากรัฐ กล่าวผ่านคลิปวิดีโอความตอนหนึ่งว่า กระบวนการพูดคุยสันติภาพย่อมใช้เวลายาวนานและเส้นทางย่อมเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม เราเน้นย้ำมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ถ้าทั้งสองฝ่ายมีความจริงใจและเชื่อมั่นว่าความขัดแย้งนี้สามารถคลี่คลายได้ด้วยการพูดคุยอย่างสันติ มันย่อมเป็นการดีกว่าถ้าเราเริ่มต้นกันตั้งแต่บัดนี้แทนที่จะต่อสู้กันต่อไปอีกสิบ ยี่สิบ หรือห้าสิบปี เพิ่มจำนวนผู้บาดเจ็บล้มตายและความเสียหายต่อทั้งสองฝ่าย ก่อนที่เราจะยอมก้าวเข้ามาพูดคุยกันที่โต๊ะเจรจาในท้ายที่สุด อ่านแถลงเต็ม https://thecitizen.plus/node/4814)
พล.ต.ชินวัตร แม้นเดช ผู้แทนแม่ทัพภาค 4 กล่าวว่า การแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ด้วยการขับเคลื่อนการพูดคุย ” เป็นนโยบายหลักของรัฐบาลชุดนี้ ในการแก้ปัญหาความไม่สงบใน3 จังหวัดชายแดนใต้จะเป็นไปโดยสันติวิธีและอยู่บนรากฐานการขับเคลื่อนไปสู่การพูดคุย เพื่อให้เกิดสันติสุขในพื้นที่ให้ได้ และสิ่งสำคัญที่สุดแม่ทัพภาคที่ 4 ทำอยู่ในขณะนี้ คือ การลดความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐทั้งหมดก่อน และพยายามจะไม่ใช้กฎหมายพิเศษมาแก้ปัญหาในพื้นที่
นี่เป็นเสียงส่วนหนึ่งในดุลยปาฐก งาน”สันติมองเห็นภาพ” วันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ที่เน้นย้ำการพูดคุยสันติภาพในรอบใหม่ และภายในงานยังมีการขึ้นกล่าวแถลงการณ์ของบรรดาเครือข่ายภาคประชาสังคมชายแดนใต้15 เครือข่าย อย่างรอมือละห์ แซแยะ ภรรยาอันวาร์ผู้ต้องขังคดีความมั่นคงชายแดนใต้เป็นหนึ่งในเครือข่ายที่ขึ้นแถลงการณ์สะท้อนความคิดเห็นในพื้นที่ต่อกระบวนการสันติภาพ เรียกร้องถึงความเป็นธรรมในพื้นที่และอยากให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
รอมือละห์ แซแยะ ภรรยาอันวาร์ผู้ต้องขังคดีความมั่นคงชายแดนใต้ ให้สัมภาษณ์ว่า อยากเห็นกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นจริง วันนี้มีโอกาสสะท้อนเราก็ต้องสื่อสารความยุติธรรม วันนี้เป็นการรวมตัวเครือข่ายอย่างมีพลังมากตลอด 11 ปีมันทำให้เห็นว่าคนที่เป็นเหยื่อหรือกำลังจะเป็นเหยื่อหรืออดีตเป็นเหยื่อ ทุกคนกำลังลุกขึ้นมาเพื่อต่อสู้ เพื่อปกป้องสิทธิของตัวเอง และมันเห็นพลังอย่างหนึ่งที่ทุกคนช่วยกัน มันไม่ใช่แค่ต่างคนต่างทำ แต่วันนี้เป็นการรวมพลังที่ช่วยให้เกิดสันติภาพอย่างจริงๆส่วนในเรื่องของทิศทางสู่สันติภาพเราไม่มีความเห็นที่ชัดเจนว่าต้องเป็น Party Aหรือ Party B แต่เรามองว่าทุกคนที่มีผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ต้องทบทวนการทำงาน คือ 11ปีที่ผ่านมา ทุกคนบอกว่าทำเพื่อประชาชน ถามว่า ณ วันนี้เพื่อประชาชนจริงหรือป่าว เพราะวันนี้ประชาชนยังรู้สึกเดือดร้อนและเป็นเหยื่ออยู่ สันติภาพจะเกิดขึ้นอย่างสวยงามไม่ได้ ฉะนั้นต้องฟังความเป็นประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ให้มาก ว่าเขาเดือดร้อนอะไรและเขาอยากให้พื้นที่เขาเป็นแบบไหน
รอมือละห์ กล่าวต่ออีกว่า เราอยากได้พื้นที่สงบสุข อยากได้ความปลอดภัย ดังนั้นตอนนี้อยากให้ทุกฝ่ายทบทวนและทำเพื่อประชาชนที่นี้จริงๆ เราคาดหวังว่าจะต้องมีพลังในการขับเคลื่อนต่ออย่างน้อยสุดความรุนแรงต่างๆต้องยุติและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ขณะเดียวกันสื่อในพื้นที่และนอกพื้นที่ ต่างแสดงความคิดเห็นต่อปากฎการณ์ในงานวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้ครั้งนี้ถึงพลังในการสื่อสารและพื้นที่ปลอดภัย ในการเดินสู่การพูดคุยสันติภาพ
สุวรรณา บุญกล่ำ รอง ผอ.ข่าวและรายการ ช่อง TNN24 ให้สัมภาษณ์ว่า การเปิดพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา การให้พื้นที่ในการสื่อสารระดับชาวบ้าน ในระดับภาคประชาสังคม มีอิทธิพลมากในการสื่อสารเรื่องราวของตัวเอง ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นหรือเรียกร้องถึงปัญหา ที่ผ่านมา อย่างน้อยทำให้เห็นว่า จากพื้นที่ที่เหมือกับปิดและชาวบ้านไม่กล้าที่จะพูดเรื่องของตัวเอง ผู้หญิงไม่กล้ารวมตัว อยู่เงียบๆและถูกแรงกดทับมาตลอด แต่ทุกคนก็มีสิทธิที่จะใช้เสรีภาพในการสื่อสาร ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองกับสังคมได้อันนี้สุดยอดแล้ว การพูดคุยในพื้นที่มันมาก่อนด้วยซ้ำ มาก่อนขบวนการพูดคุยสันติภาพด้วยซ้ำไม่ใช่อยู่ๆพอมีการพูดคุยสันติภาพแล้วชาวบ้านจะกล้าลุกนั้นไม่ใช่ แต่เป็นเพราะเขาเริ่มรู้ว่าถ้าเขาไม่พูด มีแต่คนนอกพูด มีแต่หน่วยงานพูด มีแต่สื่อพูด พื้นที่เขาไม่มีทางที่จะให้สังคมรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง เขาสุญเสียอะไร เขาควรเรียกร้องอะไร เชื่อว่าสถานการณ์ 10 ปี มันบ่มเพาะให้เขาลุกขึ้นมาทำอะไรด้วยตัวเองมากกว่าที่จะรอให้คนอื่นๆมาทำให้ อันนี้มากกว่าที่เป็นความเข้มแข็ง
สุวรรณา ยังกล่าวต่ออีกว่าสิ่งที่น่าสนใจคือภาคประชาสังคมภาคประชาชน พยามยามที่จะบอกว่า เราอย่ารื้อฟื้นอดีต ที่อาจจะเป็นบาดแผลทางประวัติศาสตร์ ที่เป็นความเจ็บปวด ที่เป็นความสูญเสียขึ้นมาพูดกลบวิธีการพูดคุยรอบใหม่ หรือการเปิดพื้นที่สันติภาพอีกครั้งซึ้งอันนี้มันหน้าสนใจเพราะว่า ในขณะที่สื่อส่วนกลางหรือว่าสังคมไทยพูดในเรื่องเดิมๆและยังตั้งคำถามแบบเดิมๆ พอถึงเดือนเมษายนเราชอบถามถึงตากใบ ถามถึงกรือเเซะ หรือพอถึงรอบตากใบเราก็จะตั้งคำถามถึงตากใบ และเราก็จะไปโฟกัสว่า เราจะเฝ้าระวังอะไร ในวันนี้ชาวบ้านกลับเป็นคนบอกว่าการ รื้อฟื้นปัญหาเดิมมันสร้างบาดแผลและความสูญเสียที่เกิดขึ้นในอดีตมันน่าจะถูกเก็บไว้ก่อน เรามาตั้งต้นในแบบใหม่ ในกระบวนการที่ทุกคนต้องจริงใจ เหมือนพูดง่าย แต่ถ้าไม่มี คุณจะเปิดการเจรจาในระดับไหนก็เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นความจริงใจไม่ใช่จัดเวทีให้และคุยกัน มันไม่ใช่แบบนั้น ต้องจริงใจตั้งแต่การไม่เข้าไปแทรกแซงในการเจรจาหรือการพูดคุย ไม่มี agenda ที่จะทำให้เขาพูดหรือไม่พูดหรือไม่แทรกแซงในเชิงของความมั่นคง ที่สำคัญมันสะท้อนความจริงใจ และรวมทั้งสื่อด้วย ที่สำคัญสื่อต้องยืนอยู่ในทุกด้านมองอย่างรอบด้าน และ สื่อต้องปรับการทำงานของตัวเอง
รอมฎอน ปันจอร์ บรรณาธิการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้สะท้อนพลังของคนเข้าร่วม สะท้อนพลังของคำถาม คือคนอยากรู้ว่าขบวนการพูดสันติภาพ ที่เดินทางมาสักระยะหนึ่งแล้วจะเอาอย่างไรต่อ นี่เป็นคำถามสำคัญที่ ถ้าเราดูจากวาระสันติภาพเราจะพบว่าข้อเรียกร้อง ข้อเสนอหลากหลายมากและกลุ่มที่ขึ้นเวทีในวันนี้เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีคนในพื้นที่อีกเยอะที่จะต้องอาศัยพื้นที่บางพื้นที่ ที่ปลอดภัยพอที่จะพูดได้แลกเปลี่ยนได้ ถ้าเราจับจุดถูกว่าผู้คนมีความคิดเห็นที่ต่างกันและมีที่ที่ปลอดภัยพอที่จะสะท้อนความคิดเห็นแบบนี้หน้าจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาทั้งสองฝ่ายในการที่จะเก็บลับเอาข้อกังวนพวกนี้ไปใครครวญและนำไปคิดและสร้างประเด็นต่อ
นี่คือส่วนหนึ่งในการแสดงพลังเพื่อสันติภาพที่เกิดขึ้นโยจุดยืนร่วมกันระหว่างผู้แทนแม่ทัพภาคที่สี่และสมาชิกกลุ่มเห็นต่างจากรัฐ ภาคประชาสังคมและสื่อมวลชน คือต้องกสารเห็นสันติภาพเกิดขึ้นบนพื้นที่ชายแดนใต้ แม้ที่ผ่านมาเส้นทางสันติภาพจะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบแต่การรวมตัวของพวกเขาในวันนี้สะท้อนถึงความหวังและสะท้อนว่าไม่มีทางลัดที่จะเดินสู่สันติภาพเพียงแต่คนในพื้นที่ต้องร่วมกันพูดคุยเพื่อหาทางออก