เลือกตั้ง 66 : สภาเกษตรกรฝากข้อเสนอถึงรัฐบาลชุดใหม่ แก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

เลือกตั้ง 66 : สภาเกษตรกรฝากข้อเสนอถึงรัฐบาลชุดใหม่ แก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

น้ำเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของโลก สิ่งมีชีวิตต้องอาศัยน้ำในการดำรงชีวิต ประกอบกับการพัฒนาประเทศมีความต้องการใช้ ทรัพยากรทุกประเภท รวมทั้งทรัพยากรน้ำ ตลอดจนการเพิ่มของประชากรอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศประสบปัญหาที่เกิดจากความ จำเป็นต้องใช้น้ำในทุกด้าน รวมทั้งด้านการเกษตรด้วย การบริหารจัดการน้ำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และอุปสรรคของการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรโดยพื้นที่การเกษตรเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณน้ำต้นทุนมีแนวโน้มลดลง ประกอบกับชุมชนและองค์กรบริหารจัดการน้ำ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคมวัฒนธรรม ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง ทั้งการบริหารจัดการน้ำ และการใช้น้ำเพื่อการเกษตร

ภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านนาภูมิประเทศของภาคเหนือประกอบไปด้วย  เทือกเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน และมีพื้นที่สำคัญของประเทศหลายจุด เช่น พื้นที่ทางด้านตะวันตกสุดของประเทศ  ที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ทางด้านเหนือสุดของประเทศที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จุดสูงสุด ของประเทศที่ดอยอินทนนท์จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ภาคเหนือยังเป็นพื้นที่แรกของประเทศที่แม่น้ำโขงไหล  ผ่าน โดยจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทยอยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 

พิษณุโลก และ สุโขทัย ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้มีพื้นที่ติดกับภาคตะวันตก บริเวณจังหวัดตาก ปัจจุบัน ภาคเหนือมีทั้งหมด 17 จังหวัด เริ่มตั้งแต่ จังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ไล่ขึ้นไปจนถึงพื้นที่เหนือสุดของไทย คือ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายภาคเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 169,600 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นประมาณ 33%  ของพื้นที่ประเทศไทย ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือ ตอนบนของภูมิภาคเป็นภูเขา ป่าไม้ และแหล่งต้นน้ำลำธาร พื้นที่ตอนล่างเป็นภูเขาสูง และที่ราบลุ่มของแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง และป่าสักที่น่าสนใจก็คือ ภาคเหนือ  มีพื้นที่ป่ามากที่สุดในบรรดา 6 ภูมิภาคของไทยโดยมีพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด 90,200 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็น 55.2%  ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งประเทศไทยปัจจุบัน

รายได้จากภาคเกษตรกรรม มาจากผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว, ข้าวโพด, อ้อย นอกจากนี้ จังหวัดทางภาคเหนือตอนบน ยังมีการเพาะปลูกพืชเมืองหนาว เช่น สตรอว์เบอร์รี, ชา และกาแฟพันธุ์อารา บิก้า ภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือ ถือว่ามีบทบาทน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าภาคอุตสาหกรรมทั้งประเทศ ในปี พ.ศ. 2560 ผลิตภัณฑ์ภาคอุตสาหกรรมของภาคเหนือ มีมูลค่าประมาณ 214,000 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าเท่านี้ คิดเป็นเพียง 4.7% ของมูลค่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย

โดยภาคเหนือมีนิคม อุตสาหกรรมอยู่ใน 2 จังหวัด คือนิคมอุตสาหกรรมพิจิตร จังหวัดพิจิตร นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน โดยนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือในจังหวัดลำพูน เป็นฐานที่ตั้งของโรงงานผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่  จึงทำให้จังหวัดลำพูน กลายเป็นจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร มากที่สุดในภาคเหนือ ส่วนในภาคการท่องเที่ยวและบริการ จุดเด่นในด้านการท่องเที่ยวของภาคเหนือคือ สภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง ทำ ให้มีสถานที่ท่องเที่ยวในลักษณะของ ดอย หรือ ม่อน อยู่จำนวนมาก

แม่น้ำสำคัญของภาคเหนือ 

1. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา 

1.1 แม่น้ำปิง ต้นน้ำเกิดจากดอยถ้วย ทิวเขาแดนลาว ในอ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ไหลลงทางใต้ บรรจบกับ แม่น้ำวัง ยม น่านที่จ.นครสวรรค์ 

1.2 แม่น้ำวัง ต้นน้ำเกิดจากทิวเขาขุนตาลและทิวเขาผีปันน้ำ ไหลบรรจบกันที่แม่น้ำปิง บ้านปากวัง อ.บ้านตาก  จ.ตาก 

1.3 แม่น้ำยม ต้นกำเนิดจากทิวเขาผีปันน้ำทางตะวันออกเฉียงเหนือของดอนขุนยวม ในอ.ปง จ.พะเยาไหลไป บรรจบแม่น้ำน่านที่อ.ขุนแสง จ.นครสวรรค์ 

1.4 แม่น้ำน่าน ต้นกำเนิดจากภูจามกับดอยขุนนานหลายในทิวเขาหลวงพระบาง ในอ.ปัว จ.น่าน แล้วไหลไป บรรจบกับแม่น้ำปิงที่ต.แควใหญ่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 

2. กลุ่มที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง 

2.1 แม่น้ำรวก ต้นกำเนิดจากดอยผาเลงทางทิศใต้ของเมืองเชียงตุงในประเทศพม่า ไหลเข้าประเทศไทย รวมเข้ากับแม่สายในเขตอ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า และเป็นจุดที่ 3 ประเทศบรรจบกันคือ ไทย พม่า ลาว 

2.2 แม่กก ต้นกำเนิดจากภูเขาทางทิศใต้ของเมืองเชียงตุงในประเทศพม่า ไหลผ่านเมืองกก เมืองสาด แล้วไหล เข้าประเทศไทยในเขตอ.ฝาง จ.เชียงใหม่ แล้วไหลลงแม่น้ำโขงในเขตอ.เชียงแสน จ.เชียงราย 2.3 แม่สาย ต้นกำเนิดจากภูเขาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองทูมในประเทศพม่า แล้วไหลลงมาทางใต้  ส่วนหนึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า 

2.4 แม่อิง ต้นกำเนิดจากทิวเขาผีปันน้ำ ไหลผ่านกว้านพะเยา ในเขตอ.เมทองพะเยา แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของ จ.พะเยา 

3. กลุ่มแม่น้ำไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน 

3.1 แม่น้ำปาย ต้นกำเนิดจากทิวเขาถนนธงชัย ในอ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ไหลลงทางใต้ของแม่น้ำสาละวิน  ในพม่า 

3.2 แม่น้ำยวม ต้นน้ำจากเขาที่อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ไหลลงแม่น้ำเมยที่อ.แม่สะเรียง จ.แม่อ่องสอน 3.3 แม่น้ำเมย ต้นน้ำเกิดที่โคดโพโชในประเทศพม่า แล้วไหลเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า  ในอ.แม่สอด อ.สองยาง จ.ตากและอ.แม่สะเรียง .แม่ฮ่องสอน แล้วไหลเข้าประเทศพม่าลงสู่แม่น้ำสาละวิน

เขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ที่สำคัญ ได้แก่ 

• เขื่อนสิริกิติ์จังหวัดอุตรดิตถ์ 

• เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่ 

• เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ 

• เขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง 

• เขื่อนกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง 

สถานการณ์ปัญหา

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติมีความผันผวนและรุนแรง มากขึ้น ส่งผลต่อการผลิตในภาค เกษตรและความมั่นคงด้านน้ำและอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศก่อให้เกิดการขาดแคลนน้ำ อุทกภัย และ ภัยธรรมชาติที่รุนแรง สร้างความเสียหายต่อระบบ การเพาะปลูก ทำให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรของโลกลดลง  อาจก่อให้เกิดความไม่มั่นคงด้านอาหาร สำหรับประเทศไทยความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผล ต่อเนื่องไปยังการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ อาจก่อให้เกิดความไม่มั่นคง ด้านอาหาร ทั้งระดับประเทศและระดับครัวเรือน

ในขณะเดียวกัน ภาคเกษตรก็เป็นแหล่งรายได้หลักของเกษตรกร ผู้มี รายได้น้อยที่ต้องประสบความสูญเสียจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ส่งผลซ้ำเติมต่อปัญหาความยากจน และประเทศ ไทยเองยังมีปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ เมื่อพิจารณาการกระจายรายได้ระหว่างกลุ่มประชากร โดยกลุ่มที่ รวยสุดร้อยละ ๑๐ (Decile ที่ ๑๐) มีสัดส่วน รายได้ร้อยละ ๓๕.๐ ของรายได้รวมปี ๒๕๕๘ ขณะที่กลุ่มประชากร  ร้อยละ ๔๐ ที่มีรายได้ต่ำสุด (Decile ที่ ๑-๔) มีสัดส่วนรายได้เพียงร้อยละ ๑๔.๓ ของรายได้รวมเท่านั้น  ความเหลื่อมล้ำดังกล่าวมีสาเหตุสำคัญจากโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่สมดุล มีการพึ่งพาการส่งออกมาก มุ่งเน้นเป้าหมาย การขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าการกระจายผลประโยชน์การพัฒนาอย่างเป็นธรรม การบริหารราชการแผ่นดินที่ ขาดประสิทธิภาพ ขาดความโปร่งใส มีการเอื้อ ประโยชน์ต่อบางกลุ่มผลประโยชน์ในสังคม การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ล่าช้า ทำให้ชุมชนและผู้มีรายได้น้อยไม่ได้รับประโยชน์จากการจัดสรรทรัพยากรอย่างเต็มที่และการขาดโอกาสในการ เข้าถึงบริการ สาธารณะที่มีคุณภาพ ทรัพยากรที่ดิน น้ำ แหล่งเงินทุนและอื่นๆ ทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ การมีอาชีพและมีรายได้ทั้งนี้ ความเหลื่อมล้ำจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่เข้มข้น 

นอกจากนี้ ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาวะ ภูมิอากาศที ่ผันผวนซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตภาค การเกษตรและความมั่นคงของครัวเรือนที่ เปราะบาง ดังนั้น ความเหลื่อมล้ำจึงเป็นปัญหาท้าทายต่อการพัฒนา เศรษฐกิจและการหลุดพ้นจากการติด กับดักรายได้ปานกลางของประเทศ และปัจจุบันสภาพทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมกำลังเป็นปัญหาและเป็นจุดอ่อนของการรักษาฐานการผลิตและให้บริการ รวมทั้งการดำรงชีพที่ยั่งยืนทั้งใน เขตเมืองและชนบทเนื่องจากการใช้ประโยชน์เกินกว่าศักยภาพในการฟื้นตัวของระบบนิเวศ 

พื้นที่ป่าไม้ของประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๖ ลดลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณปีละ ๑ ล้านไร่ จากการบุกรุก ทำลายป่าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลคุกคามต่อความหลากหลาย ทางชีวภาพวัฎจักรการฟื้นตัวของธรรมชาติ ตกอยู่ในภาวะ เปราะบาง ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ซ้ำเติมให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม รุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำในอนาคต ในขณะที่การบริหารจัดการน้ำยังขาดประสิทธิภาพ โดย ภาพรวมความต้องการใช้น้ำในประเทศ ในปี ๒๕๕๗ มีจำนวนประมาณ ๑๕๑,๗๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ศักยภาพ ของการเข้าถึงแหล่งน้ำของภาคส่วนต่างๆ มีจำนวน ๑๐๒,๑๔๐ ล้าน ลูกบาศก์เมตร และความต้องการใช้น้ำจะเพิ่มขึ้น ในอนาคตจากการขยายตัวของเมืองและกิจกรรม ทางเศรษฐกิจโดยไม่คำนึงถึงศักยภาพของลุ่มน้ำ และการใช้น้ำเพื่อ การผลิตและอุปโภคอย่างไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะภาคเกษตร ในขณะที่การสร้างแหล่งน้ำต้นทุนขนาดใหญ่ไม่ สามารถดำเนินการได้เนื่องจาก ถูกต่อต้านจากประชาชน ประกอบกับการบริหารจัดการน้ำทั้งในมิติเชิงปริมาณและ คุณภาพ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในภาวะน้ำแล้งหรือน้ำท่วมยังขาดกลไกในการบูรณาการระหว่างหน่วยงานและภาคีที่ เกี่ยวข้องในการแก้ไข และบรรเทาปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดความเสียหายจำนวนมากต่อ ภาคการผลิต และประชาชน รวมถึงระบบนิเวศอย่างกว้างขวาง ยิ่งไปกว่านั้น การพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากร น้ำา ทั้งในระดับนโยบาย แผนงาน และโครงการขนาดใหญ่ และในระดับพื้นที่ยังขาดกระบวนการมีส่วนร่วมและ การ วิเคราะห์ประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจก่อนดำเนินการอย่างเป็นระบบ ส่งผลต่อ ความยั่งยืน ในการบริหารจัดการน้ำ 

จากการสำรวจข้อมูลประเด็นปัญหาและความต้องการของเกษตรกรทั้ง 77 จำนวนแบบสำรวจ 26,662  ครัวเรือนโดยสภาเกษตรกรจังหวัดทั้ง77 จังหวัดเมื่อปี พ.ศ. 2564 พบว่า ปัญหาเรื่องการพัฒนาแหล่งน้ำ และการ จัดระบบชลประทานเพื่อเกษตรกรรมเป็นปัญหาอันดับที่1 คิดเป็นร้อยละ 14.6 ซึ่งปัญหาเรื่องน้ำมีผลกระทบอย่างสูงต่อ ภาคการเกษตรกรรม เพราะน้ำเป็นปัจจัยสำคัญทั้งในด้านการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ และที่สำคัญน้ำยัง สำคัญต่อการดำรงอยู่ของระบบนิเวศและเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาแบบยั่งยืนประสบความสำเร็จ 

แนวทางพัฒนาและแก้ไขปัญหา 

1. เสริมสร้างฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน โดย 

1.1 พัฒนาและบำรุงรักษาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร รวมทั้งจัดระบบการปลูกพืชให้สอดคล้องปริมาณน้ำที่หาได้ โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแหล่งเก็บน้ำ แหล่งน้ำในไร่นา อ่างน้ำ ขนาดเล็กและ ขนาดกลางให้กระจายตัวตามศักยภาพของพื้นที่ รวมทั้งให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ต้น น้ำ และมีการผันน้ำ จากแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำเกินความต้องการเข้ามาเติมในเขื่อนหรือในแหล่งน้ำที่มี

ปริมาณน้ำน้อยให้เพียงพอกับ การทำการเกษตร การจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำในภาคเกษตรระดับลุ่มน้ำ และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตร 

2. สร้างความมั่นคงด้านน้ำ และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งน้ำผิวดินและ น้ำใต้ดิน ให้มีประสิทธิภาพ บริหาร จัดการน้ำในระดับลุ่มน้ำให้มีความสมดุลระหว่างความต้องการใช้น้ำ ทุกกิจกรรมกับปริมาณน้ำต้นทุน เพื่อ แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และลดจำนวนประชาชนที่ประสบปัญหา จากการขาดแคลนน้ำ ควบคู่กับการ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำทั้งภาคการผลิตและการบริโภค ป้องกันและ ลดความเสียหายจากอุทกภัยและภัย แล้ง 

3. ลุ่มน้ำสำคัญของประเทศ ๒๕ ลุ่มน้ำ มีแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างสมดุล ระหว่างความต้องการใช้น้ำ กับปริมาณน้ำต้นทุน และมีการแปลงไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม 

4. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อให้เกิดความมั่นคง สมดุล และยั่งยืน ทั้งในมิติเชิงปริมาณ และคุณภาพ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่  ลุ่มน้ำเพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำทั้งน้ำผิวดินและ น้ำใต้ดินในทุก มิติ โดยคำนึงถึงศักยภาพ และข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและมิติเชิงสังคมของพื้นที่ลุ่มน้ำ 

5. ผลักดันกระบวนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA)  มาใช้เป็นเครื่องมือนำเสนอทางเลือกในการตัดสินใจระดับนโยบาย แผน และแผนงาน ที่เหมาะสมกับศักยภาพ ของลุ่มน้ำ เพื่อให้กิจกรรมการพัฒนาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ระดับลุ่มน้ำ คำนึงถึงความยั่งยืนและความสามารถในการ รองรับของระบบนิเวศ รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ในพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมจากภาคีการพัฒนาใน พื้นที่ลุ่มน้ำ 

6. พัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กในลักษณะรวมกลุ่มพื้นที่ โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ชนบท ซึ่ง ประชาชนยังขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค โดยใช้ทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน และการจัดทำฝาย โดยชุมชน ตลอดจนศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมและมีความคุ้มทุนในการพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ประโยชน์ เพื่อการบรรเทาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ร่วมกับ การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจในการผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำภายในและระหว่างประเทศ โดยยึดหลัก ความสมดุล ยั่งยืนของพื้นที่ลุ่มน้ำและการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 

7. พัฒนาแหล่งน้ำและฟื้นฟูระบบชลประทานโดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างความต้องการใช้และการอนุรักษ์ พื้นที่ป่าต้นน้ำ วางแผนการพัฒนาแหล่งน้ำ การจัดการลุ่มน้ำ ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำ บาดาล เพื่อการเกษตร ให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่มเติม บริหารจัดการการใช้น้ำ อย่างเหมาะสม เป็นธรรม และสมดุล เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์จากทรัพยากรน้ำได้อย่างทั่วถึงและเป็น

ธรรม โดยมุ่งให้ความสำคัญกับ การจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็ก ที่เหมาะสมกับระบบการเกษตร ภูมิปัญญาและ ศักยภาพด้านการผลิตของชุมชน อาทิ ธนาคารน้ำใต้ดิน บ่อบาดาล สระน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน  ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพระบบกระจายน้ำด้วยเทคโนโลยี ที่เข้าถึงได้ง่ายลงทุนน้อย คำนึงถึงศักยภาพการทำ การเกษตรของเกษตรกรรายย่อยให้สามารถควบคุมดูแลได้เอง 

8. พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำและระบบส่งน้ำใหม่ให้เต้มศักยภาพพร้อมทั้งการจัดหาน้ำในพื้นที่ในพื้นที่เกษตรน้ำฝน เพื่อขยายโอกาสจากศักยภาพโครงการขนาดเล็กและลดความเสี่ยงในพื้นที่ไม่มีศักยภาพ ลดความเสี่ยง/ ความเสียหาย

9. เพิ่มประสิทธิภาพและปรับโครงสร้างการใช้น้ำ การจัดการด้านความต้องการ โดยลดการใช้น้ำภาคการเกษตร  นำน้ำกลับมาใช้ใหม่ในพื้นที่ชลประทาน  

10. เพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำเดิม โดยปรับปรุงประสิทธิภาพแหล่งน้ำ ระบบส่งน้ำ และเพิ่ม ปริมาณน้ำต้นทุนในแหล่งน้ำเดิม 

11. การจัดหาน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน เพื่อขยายโอกาสจากศักยภาพโครงการขนาดเล็ก และลดความเสี่ยง ในพื้นที่ ไม่มีศักยภาพโดยการอนุรักษ์ฟื้นฟูพัฒนาใแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำการจัดระบบ การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ สระน้ำในไร่นาและพัฒนาบ่อบาดาลเพื่อ การเกษตร 

12. การเพิ่มผลิตภาพมูลค่าภาคการผลิต โดยการส่งเสริมด้านการเกษตร พันธุ์พืช และการปลูกพืช ให้มีผลิตภาพ สูงมากขึ้น ในพื้นที่ต้นแบบและขยายผลการดำเนินการไปสู่พื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาแหล่งน้ำ และระบบส่งน้ำ แล้วต่อไป โดยดำเนินการร่วมกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถ ในการแข่งขัน และด้านการสร้าง โอกาสและความเสมอภาคทางสังคมเพื่อยกระดับผลิตภาพ ด้านน้ำทั้งระบบ 

13. การเพิ่มน้ำต้นทุนโดยปฏิบัติการฝนหลวง ให้อ่างเก็บน้ำและพื้นที่เกษตรกรรม

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.csitereport.com/profile?lp=profile

(ข้อมูลจาก https://www.longtunman.com เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2020) 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ