14 ก.พ. 2559 เครือข่ายสาละวินวอชต์ (Salween Watch Coalition) จัดทำรายงานอัพเดทความคืบหน้าโครงการเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินในประเทศเมียนมา ซึ่งทั้งหมดอยู่ในพื้นที่รัฐชาติพันธุ์ ตั้งแต่รัฐฉาน รัฐคะยา ลงมาถึงรัฐกะเหรี่ยง ตามพรมแดนไทยตั้งแต่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก โดยเขื่อนทั้ง 7 โครงการเป็นการลงทุนหรือรับซื้อไฟฟ้าโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เอกชนไทย และจีน
ดาวน์โหลดเอกสารมีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ :
– http://www.internationalrivers.org/files/attached-files/salween_factsheet_2016.pdf
– http://www.internationalrivers.org/resources/11286
รายงานสถานการณ์เขื่อนสาละวินในพม่า
โดย เครือข่ายสาละวินวอชต์ Salween Watch Coalition
มีนาคม 2559
แม่น้ำสาละวิน สายน้ำที่ส่วนใหญ่ของลำน้ำยังคงไหลอย่างอิสระจากต้นกำเนิดที่เทือก เขาหิมาลัย สู่ทิเบต และมณฑลยูนนานของจีน สาละวินไหลขนานกับแม่น้ำโขงและแม่น้ำแยงซีเกียง ในบริเวณ “สามแม่น้ำไหลเคียง” ซึ่งยูเนสโกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ จากนั้นสาละวินไหลข้ามพรมแดนเข้าสู่ทางตอนเหนือของรัฐฉาน พม่า ผ่านใจกลางของรัฐฉาน ลงสู่รัฐคะยา หรือคะเรนนี ไหลเป็นเส้นพรมแดนระหว่างรัฐกะเหรี่ยง และอ.แม่สะเรียง และอ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน จากนั้นไหลกลับเข้าพม่า ลงสู่รัฐมอญ และไหลออกทะเลที่เมืองเมาะลำไย หรือมะละแหม่ง รัฐมอญ รวมความยาวทั้งสิ้น 2,800 กิโลเมตร
สาละวิน คือสายน้ำอันเป็นบ้านของชาติพันธุ์ต่างๆ มากมาย และยังเป็นแหล่งทรัพยาธรรมชาติที่สำคัญ มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อนที่ยังถูกมนุษย์รบกวนน้อยหากเทียบกับ แม่น้ำหลักสายอื่นๆ
หลายทศวรรษที่ผ่านมามีความพยายามที่จะสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าบน แม่น้ำสาละวินตลอดลุ่มน้ำ แต่ในพม่านั้นกลับมีการคัดค้านมาโดยตลอดเนื่องจากการสู้รบระหว่าง กองกำลังชาติพันธุ์กับกองทัพพม่า และผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน
ต้นเดือนมีนาคม 2559 หนังสือพิมพ์เมียนมาร์ไทมส์ ลงข่าวว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาลทหารของไทย ได้เยือนพม่าและหารือกับรัฐบาลพม่าในการสร้างความร่วมมือด้านพลังงานและ พัฒนาโครงการเขื่อนเมืองโต๋น ในรัฐฉาน ซึ่งจะมีกำลังผลิตเป็นสิบเท่าของเขื่อนภูมิพล
รายงาน ชิ้นนี้รวบรวมสถานการณ์ล่าสุดของโครงการพัฒนาบนแม่น้ำสาละวินในพม่า เท่าที่ข้อมูลสามารถสืบค้นได้ ดังนี้
ตารางสรุปข้อมูลเขื่อนบน แม่น้ำสาละวินในพม่าและพรมแดนไทย-พม่า
ชื่อโครงการ |
กำลังผลิตติดตั้ง (เมกะวัตต์) |
ผู้ลงทุน |
สถานะของโครงการ |
1 เขื่อนฮัตจี |
1360 MW |
กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล กระทรวงพลังงานไฟฟ้า (พม่า) Sinohydro (จีน) International Group of Entrepreners Co.(พม่า)
|
EIA แล้วเสร็จ การศึกษาผลกระทบ เพิ่มเติมแล้วเสร็จ (ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี) |
2 เขื่อนสาละวินชายแดนไทย-พม่า (ดา-กวิน) |
729 MW |
กฟผ. |
ศึกษาความเป็นไปได้ |
3 เขื่อนสาละวินชายแดนไทย-พม่า (เวยจี) |
4,540 MW |
กฟผ. |
ศึกษาความเป็นไป ได้ |
4 เขื่อนยวาติ๊ด |
4500 MW (หรือ 600MW) |
China Datang Corporation United Hydropower Developing co. Shwe Taung Hydropower Co.Ltd
|
MOU เพื่อศึกษาโครงการ |
5 เขื่อนเมืองโต๋น (มายตง) เดิมเรียกเขื่อนท่าซาง |
7110 MW |
China Three Gorges Sinohydro China Southern Power Grid International Group of Entrepreneurs กฟผ.อินเตอร์ เนชั่นแนล
|
ทำการศึกษาผลกระทบ สิ่งแวดล้อม EIAโดยบริษัทที่ปรึกษาออสเตรเลีย Snowy Mountain Engineering Corporation |
6 เขื่อนกุ๋นโหลง |
1400 MW |
กระทรวงพลังงาน ไฟฟ้าพม่า Hanergy Holdimng Group Asia World (Gold water Resources) |
การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น โดย Hydro China |
7 เขื่อนหนองผา |
1,200 MW |
Hydrochina IGE กระทรวงพลังงานไฟฟ้า (พม่า) |
MOU เพื่อพัฒนาโครงการ |
1 โครงการเขื่อนฮัตจี
ตั้งอยู่ระยะทางจากชายแดนไทย ประมาณ 47 กิโลเมตรตามลำน้ำสาละวิน จากบ้านสบเมย อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน มูลค่าก่อสร้างโครงการประมาณ1 แสนล้านบาท
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ว่าจ้างให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จัดทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมโครงการไฟฟ้าพลังน้ำฮัตจี ชายแดนไทย-พม่า โดยได้จัดประชุมเพื่อนำเสนอ รายงานที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ในวันที่ 18 ธันวาคม 2558 อย่างไรก็ตามเนื้อหาของรายงานโดยละเอียดยังไม่ได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะและ ชุมชนที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะผลกระทบข้ามพรมแดน และผลกระทบต่อระบบนิเวศ การไหลของน้ำ การอพยพของปลา
เนื่องจากเขื่อนนี้ตั้งอยู่ในรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ยังมีการสู้รบ รายงานการศึกษาของกฟผ. ระบุว่ามีชุนในรัฐกะเหรี่ยงจะได้รับผลกระทบ 13 หมู่บ้าน และต้องอพยพ 21 ครัวเรือน อย่างไรก็ตามกลุ่มสิ่งแวดล้อมกะเหรี่ยง Karen Rivers Watch ระบุว่าชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบๆ หัวงานเขื่อนส่วนใหญ่ได้อพยพหนีภัยความตายมายังชายแดนประเทศไทย เนื่องจากภัยสงคราม และอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวใน จ.แม่ฮ่องสอน และ จ.ตาก
สถานการณ์ พื้นที่เขื่อนฮัตจีเมื่อในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2558 มีรายงานจากกลุ่มสิ่งแวดล้อมกะเหรี่ยงว่าได้รับข้อมูลจาก เจ้าหน้าที่กองกำลังกะเหรี่ยง KNU กองพล 5 เขตมือตรอ รัฐกะเหรี่ยง รายงานว่าตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน กองกำลังฝ่ายรัฐบาลพม่า 4 กองพัน ซึ่งประกอบด้วย กองกำลังป้องกันชายแดน (BGF) กองพัน 1013 และ 1014 สนธิกำลังกับกองพันเคลื่อนที่เร็วของกองทัพพม่า(LIB) กองพัน 210 กับ 205 ปฏิบัติการเข้าโจมตีพื้นที่ ตำบลแม่ปริ และตำบลทีตะดอท่า ในพื้นที่ อ.บือโส่ เขตมือตรอ กองกำลังร่วมชุดนี้ได้เข้าควบคุมพื้นที่จึงทำให้เกิดการปะทะกับกอง กำลัง KNU ส่งผลให้ KNU ต้องสูญเสียพื้นที่ควบคุมบางส่วน ปฏิบัติการของกองกำลังฝ่ายรัฐบาลพม่าส่งผลให้ผู้นำชุมชนหลาย คนถูกไล่ออกจากหมู่บ้าน มีการจับกุมชาวบ้านในพื้นที่ไว้ และมีชาวบ้านถูกฆ่าอย่างน้อย 1 คน (เป็นกำนันตำบล ทีตะดอท่า) รวมถึงมีการปิดด่านริมน้ำสาละวินทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ไม่สามารถ เดินทางไปมายังเขตเมืองได้ (ด่านตรวจริมแม่น้ำสาละวินที่เป็นจุดสำคัญสกัดการเดินทางไปยังเมือง เมียนจีหงู่ หรือ พะอัน คือ ด่านแมเซก ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาด่านแห่งนี้ถูกควบคุมโดยกองกำลัง BGF กองพัน 1012)
ระยะเวลาเพียง 2 สองเดือนดังกล่าวในพื้นที่เกิดการปะทะไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง เจ้าหน้าที่ KNU เขตมือตรอ ให้ข้อมูลว่า ในระหว่างการดำเนินกระบวนการสันติภาพในพม่า แต่ในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยงภายใต้ KNU กลับมีการเคลื่อนไหวของกองทัพฝ่ายรัฐบาล ดังนั้นจึงยากที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อกันและกันในการเดินไปสู่ สันติภาพที่แท้จริง
แหล่งข่าวที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ และเคยลงพื้นที่สำรวจพื้นที่หัวงานเขื่อนฮัตจีเปิดเผยว่า ปฏิบัติการโจมตีดังกล่าวเป็นปฏิบัติการที่ต่อเนื่องจากการโจมตีช่วงปลาย เดือนตุลาคม 2557 ซึ่งครั้งนั้นมีชาวบ้านหนีภัยการสู้รบข้ามแม่น้ำเมยมายังบ้านแม่ตะวอ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก กว่า 300 คน
“เดิมที พื้นที่แมเซก ซึ่งเป็นด่านสกัดการเดินทางจากหัวงานเขื่อนลงมายังเมืองเมียนจีหงู่ นั้น อยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังกะเหรี่ยง DKBA แต่หลังการโจมตีของกองทัพฝ่ายรัฐบาลพม่าในเดือนตุลาคม กองกำลัง BGF กองพัน 1012 ได้เข้ามาควบคุมพื้น จากการพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ รวมถึงทหารระดับปฎิบัติการในพื้นที่ของ DKBA บางคนประเมินว่าคงมีการโจมตีอีกครั้ง ซึ่งตอนนี้ก็เกิดขึ้นแล้ว เพราะพื้นที่เป้าหมายที่ฝ่ายกองทัพพม่าต้องการเข้าควบคุมคือ พื้นที่ บอตอรอ เพราะทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าหากกองทัพพม่าเข้าควบคุมพื้นที่แห่งนี้ ได้ คือการคุมพื้นที่ทั้งเหนือและใต้ของหัวงานเขื่อนได้ และปฏิบัติการที่มีความต่อเนื่องนี้ มีความเชื่อมโยงกับความพยายามของกองทัพพม่าที่ต้องการควบคุมพื้นที่สร้าง เขื่อนฮัตจีอย่างแน่นอน
หมู่บ้าน ที่อยู่โดยรอบหัวงานเขื่อนฮัตจี พื้นที่เขตตองจา ซึ่งอยู่ในพื้นที่การสู้รบและได้รับผลกระทบโดยตรง มีดังนี้ สาละวินฝั่งตะวันออก จากเหนือลงใต้ บ.บอตรอ, บ.ฮ่วยอู แว และบ.แมเซก ตะวันออก
สาละ วินฝั่งตะวันตก จากเหนือลงใต้ บ.แม่ลา บ.แม่ลาท่า และบ.แมเซก ตะวันตก
2 โครงการเขื่อนสาละวินชายแดนตอนล่าง (เขื่อนดา-กวิน)
ตั้ง อยู่บนแม่น้ำสาละวินชายแดนไทย-พม่า ที่บ้านที่ตาฝั่ง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ตรงข้ามรัฐกะเหรี่ยง
3 โครงการเขื่อนสาละวินชายแดนตอนบน (เขื่อนเวยจี)
ตั้ง อยู่บนแม่น้ำสาละวินชายแดนไทย-พม่า ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ตรงข้ามรัฐกะเหรี่ยง
ทั้ง 2 โครงการนี้มีการเสนอภายใต้กรอบความร่วมมือของรัฐบาลไทยและพม่า ในปี 2547 ซึ่งจะพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินและตะนาวศรี โดย 2 เขื่อนบนพรมแดนไทย-พม่านี้เป็นโครงการหลักที่กฟผ. ผลักดันอย่างหนัก อย่างไรก็ตามโครงการทั้งสองถูกชะลอ หลายฝ่ายมีความเห็นว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจาก 2 เขื่อนนี้มีความรุนแรง ทั้งผลกระทบต่อผืนป่าอันเป็นแหล่งกำเนิดไม้สักของโลก บริเวณสองฝั่งแม่น้ำสาละวินพรมแดนไทย-พม่า และจะท่วมแม่น้ำปายซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำสาละวิน ไปถึงบริเวณอ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
4 โครงการเขื่อนยวาติ๊ด
ระยะทางจากชายแดนไทย ประมาณ 45 กิโลเมตร ตามลำน้ำปาย ที่บ้านน้ำเพียงดิน อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
ตั้งอยู่ไม่ไกลจากจุดที่แม่น้ำปายบรรจบแม่น้ำสาละวิน ในรัฐคะยา หรือรัฐคะเรนนี เป็นโครงการของบริษัทต้าถัง (Datang) จากจีน ซึ่งลงนามบันทึกความเข้าใจ(MoU) กับ รัฐบาลพม่าเมื่อปี 2553 ข้อมูลเดิมระบุว่าเขื่อนยวาติ๊ดมีกำลังผลิตติดตั้ง 600 เมกกะวัตต์ แต่ข้อมูลจากเว็บไซต์ของบริษัทต้างถัง ณ เดือนมีนาคม 2556 ระบุว่าเขื่อนมีกำลังผลิตสูงถึง 4,500 เมกกะวัตต์
กลุ่มสิ่งแวดล้อมคะเรนนีรายงานว่ามีการสัมปทานทำไม้อย่าง มหาศาลในพื้นที่รอบๆ เขื่อนยวาติ๊ด มีการปรับถนนจากลอยก่อ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐคะเรนนี สู่เมืองบอเลอเค และยวาติ๊ด
หมู่บ้านรอบๆ เขื่อนยวาติ๊ดได้อพยพหนีภัยสงครามออกจากพื้นที่ไปกว่ายี่สิบปีแล้ว ส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยที่อาศัยตามค่ายพักพิงชั่วคราวแนวชายแดน โดยเฉพาะที่ อ.เมือง และ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน อย่างไรก็ตามข้อมูลล่าสุดระบุว่ายังมีชาวบ้านอาศัยอยู่รอบๆ ยวาติ๊ดจำนวนหนึ่งโดยจัดเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (Internally Displaced Persons-IDPS) ชาวบ้านกลุ่มนี้ต้องหนีไปซ่อนตัวใน มาในช่วงที่มีการสู้รบ
รัฐคะเรนนีเคยมีบทเรียนอันเจ็บปวดจากการสร้างเขื่อนโมบี และโรงไฟฟ้าลอปิตาเมื่อกว่า 30 ปีก่อน โรงไฟฟ้าลอปิตาซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของพม่า ทำให้ประชาชน 12,000 คน ต้องถูกถอนรากถอนโคนออกจากถิ่นฐาน กองทัพพม่าส่งทหารนับพันเข้ามาคุ้มครองโรงไฟฟ้า นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนนานับประการโดยทหารพม่า อาทิ การทารุณกรรมทางเพศ การสังหาร และการบังคับใช้แรงงานทาส นอกจากนี้ยังมีการวางกับระเบิดกว่า 18,000 อันรอบๆ โรงไฟฟ้าและแนวสายส่ง
เขื่อนยวาติ๊ดมีการสำรวจโดยทีมจีน-พม่า เพื่อเตรียมก่อสร้างอย่างจริงจังในช่วงปี 2553 มีรายงานว่ามีการซุ่มโจมตีรถของคณะสำรวจที่ใกล้เมืองพรูโซในเดือน ธันวาคมปีเดียวกัน เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มีวิศวกรชาวจีนเสียชีวิต 3 ราย
ต่อมาในปี 2554 มีการตั้งค่ายทหารของกองกำลังรักษาชายแดนของกองทัพพม่า (BGF) หมายเลข 1005 และมีกองกำลังพิเศษที่มีภารกิจรักษาความปลอดภัยของคณะสร้างเขื่อนชาวจีน รายงานว่าผู้บัญชาการพิเศษภาคพื้น 55 ที่มีฐานอยู่ที่บอลาเค ได้เดินทางไปยังพื้นที่ยวาติ๊ดเพื่อตรวจการณ์และรักษาความปลอดภัยแก่การ ก่อสร้างเขื่อนอย่างเข้มงวด
รายงานจากในพื้นที่ระบุว่าในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 กลุ่มประชาสังคมคะเรนนีได้ออกแถลงการร์คัดค้านการสำรวจเพื่อสร้าง เขื่อนบนแม่น้ำปุ่น ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของสาละวิน โครงการเขื่อนน้ำปุ่นกำลังสำรวจโดยบริษัท HCTC Energy Investment Co.Ltd. (บริษัทลูกของ Shwe Taung Co.) และบริษัทTrusr Energy Investment Pte.Ltd. (สิงคโปร์) เขื่อนนี้ตั้งอยู่ใกล้เมืองบอลาแค และมีการตั้งข้อสังเกตว่าเขื่อนนี้เป็น 1 ใน 3 โครงการเขื่อนในรัฐคะเรนนี ที่บริษัทจีน Datang ได้ลงนาม MOU ไว้ในปี 2553 และเขื่อนแม่น้ำปุ่นนี้อาจถูกสร้างก่อนเพื่อเป็นแหล่งพลังงานใช้ใน การก่อสร้างเขื่อนยวาติ๊ด
กองกำลังคะเรนนี (KNPP) ซึ่งไม่ลงนามข้อตกลงหยุดยิงกับกองทัพพม่าในปีที่ ผ่านมาก่อนการเลือกตั้ง แต่ข้อตกลงที่เคยลงนามไว้กับกองทัพพม่า ในปี 2555 มีเนื้อหาระบุถึงโครงการเขื่อนยวาติ๊ดว่า “ จะมีการสร้างความโปร่งใสในโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ (รวมถึงเขื่อนยวาติ๊ด) ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันในการให้ข้อมูลแก่สาธารณะ และอนุญาตให้ประชาชนและองค์กรชุมชนหาข้อมูลได้” อย่างไรก็ตามเมื่อกลุ่มสิ่งแวดล้อมลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกลับถูกจับกุม โดยทางการพม่าและห้ามเข้าพื้นที่เขื่อน
ปัจจุบันมีการปรับปรุงถนนระหว่าง อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ผ่านด่านห้วยต้นนุ่น ข้ามสะพานแห่งใหม่บนแม่น้ำสาละวิน ไปยังเมืองลอยก่อ เมืองหลวงของรัฐคะเรนนี
5 โครงการเขื่อนเมืองโต๋น (เขื่อนท่าซาง/เขื่อนมายตง)
ระยะทางจากชายแดนไทย ประมาณ 40 กิโลเมตร ที่บ้านอรุโณทัย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
เดิม มีการวางแผนที่จะสร้างเขื่อนที่บริเวณท่าซาง แต่ต่อมาเมื่อผู้พัฒนาโครงการไม่สามารถดำเนินการได้ จึงมีการเสนอโครงการใหม่ โดยขยับขึ้นมาตามลำน้ำประมาณ 10 กิโลเมตร ใกล้กับเมืองโต๋น โดยมีชื่อว่าโครงการเขื่อนมายตง ในภาษาพม่า
บริษัท ที่ปรึกษาจากออสเตรเลีย Snowy Mountain Engineering Corperation ได้รับจ้างทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม (EHIA) ในรัฐ ฉาน แต่กลับถูกตั้งคำถามโดยเครือข่ายประชาชนในรัฐฉานเกี่ยวกับความชอบธรรมของการ ศึกษาดังกล่าว และพบว่าในหลายพื้นที่พบกับการต่อต้านจากชาวบ้าน ที่น่าสนใจคือการศึกษาดังกล่าวไม่สามารถเสร็จสมบูรณ์ได้เนื่องจาก กองทัพว้า UWSA ซึ่งคุมพื้นที่ส่วนหนึ่ง ของริมแม่น้ำสาละวิน ปฏิเสธไม่ให้ทำการศึกษาในพื้นที่
ข้อกังวลหลัก คือพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนและพื้นที่น้ำท่วมจะถึงยาว 870 กิโลเมตร ตลอดลำน้ำสาละวินและลำน้ำสาขาที่สำคัญคือแม่น้ำป๋าง พื้นที่ภาคกลางของรัฐฉานบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ดังกล่าวซึ่งเคยมีการ บังคับอพยพโดยกองทัพพม่าในช่วงปี 2536-2539 ซึ่ง ทำให้ประชาชนในรัฐฉานอย่างน้อย 3 แสนคน ต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ โดยประชาชนจำนวนมากได้หนีมายังประเทศไทยหรือตามแนวชายแดนโดยเฉพาะที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ จวบจนปัจจุบันชาวบ้านเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังคงไม่สามารถกลับคืนสู่ถิ่นฐานได้ แม้เวลาจะผ่านมาแล้วถึง 20 ปี เต็ม
เขื่อน เมืองโต๋น จะทำให้เกิดน้ำท่วมยาวไปตามลำน้ำทั้งบริเวณแม่น้ำสาละวิน และลำน้ำสาขาที่สำคัญ คือแม่น้ำป๋าง ซึ่งเป็นแม่น้ำที่มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อนและน้ำสนใจที่สุดสาย หนึ่ง จากต้นน้ำ ลำน้ำป๋างไหลลดหลั่นตามชั้นหินหลายร้อยชั้น และแตกแขนงออกเป็นเกาะเล็กเกาะน้อย จนชาวไทใหญ่เรียกเมืองที่น้ำป๋างว่า “กุ๋นเฮง” หรือเมืองพันเกาะ น้ำที่ไหลผ่าน้ำตกมากมายถูกฟอกเติมออกซิเจนโดยธรรมชาติ ลำน้ำป๋างจึงมีสีเขียวใสแทบตลอดทั้งปี แต่แม่น้ำอันเปรียบได้ดัง “มรกตแห่งสาละวิน” จะต้องจมอยู่ใต้น้ำตลอดไปหากมีการสร้างเขื่อนเมืองโต๋น
ภาพ แม่น้ำป๋าง
6 โครงการเขื่อนหนองผา
ตั้งอยู่ทางภาคเหนือในรัฐฉาน มีการลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อพัฒนาโครงการเมื่อครั้งที่ นายสีจิ้นผิง รองประธานาธิบดีจีนเดินทางเยือนพม่าในปี 2553 ที่ผ่านมามีการเปิดเผยข้อมูลโครงการเขื่อนหนองผาน้อยมาก และการเข้าถึงพื้นที่เป็นไปได้ยาก ทำให้แทบไม่มีข้อมูลในพื้นที่ออกสู่ภายนอก
โครงการเขื่อนหนองผาเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาล พม่า บริษัทสัญชาติพม่า International Group of Entrepreneurs-IGE และบริษัท Hydrochina Corporation สัดส่วนในการถือหุ้น คือรัฐบาลพม่าร้อยละ 15 และสองบริษัทอีกร้อยละ 85 เขื่อนหนองผามีกำลังผลิตติดตั้ง 1,200 เมกกะวัตต์ โดยไฟฟ้าร้อยละ 90 จะส่งไปขายแก่ประเทศจีน
เขื่อนหนองผาตั้งอยู่ในเขตปกครองพิเศษของกองกำลังสหรัฐ ว้า (UWSA) ในปี 2558 กองทัพพม่าได้ ส่งกำลังพลเข้าล้อมพื้นที่ของกองกำลังไทใหญ่ SSPP/SSA (เหนือ)ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์และ เป็นบริเวณติดกับพื้นที่ของว้า UWSA ซึ่งบริเวณที่จะสร้างเขื่อนจึงตั้ง อยู่ในพื้นที่การสู้รบโดยตรง
7 โครงการเขื่อนกุ๋นโหลง
ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐฉาน เขตปกครองของกองกำลังโกก้าง ใกล้ชายแดนจีน เขื่อนมีกำลังผลิตติดตั้ง 1,400 เมกกะวัตต์ ไฟฟ้าจำนวน 1,200 เมกกะวัตต์จะส่งไปขายยังประเทศจีนโดยเชื่อมต่อกับระบบสายส่งจีนใต้ ข้อมูลจากบริษัท Hydrochina Kunmig Engineering ระบุว่ามีหมู่บ้านหลายแห่งที่จะได้ รับผลกระทบ โดยมีการจัดทำรายการการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปแล้วแต่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูล และมีการก่อสร้างโครงการอย่างลับๆ แต่กลับต้องชะงักเนื่องจากการสู้รบอย่างรุนแรงระหว่าง กองทัพพม่ากับกองกำลังโกกั้งในช่วงปี 2558 และส่งผลต่อเนื่องให้ให้ประชาชนกว่า 100,000 คน ต้องอพยพหนีการสู้รบไปยังชายแดนจีน
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation – SHRF) ระบุว่าโครงการเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินนอกจากกระทบกับชาว บ้านในพื้นที่แล้ว อาจยังส่งผลกระทบต่อการสร้างสันติภาพในพม่า พบว่าในพื้นที่สร้างเขื่อนมีการสู้รบกันระหว่างกองทัพพม่าและกลุ่มติดอาวุธ ชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม จึงเรียกร้องให้ยุติสร้างเขื่อน
ปัจจุบันเขื่อนต้องชะลอเนื่องจากการสู้รบ ซึ่งทำให้หัวงานเขื่อนต้องถูกทิ้งร้าง