เครือข่ายนักศึกษาและอาจารย์ชายแดนใต้รวมพลังวิจัยสร้างความรู้สนองตอบท้องถิ่น สกอ.จับมือสถาบันรามจิตติหนุนมหาวิทยาลัย “สร้างเรียนรู้เพื่อรับใช้ชุมชน” อย่างต่อเนื่อง

เครือข่ายนักศึกษาและอาจารย์ชายแดนใต้รวมพลังวิจัยสร้างความรู้สนองตอบท้องถิ่น สกอ.จับมือสถาบันรามจิตติหนุนมหาวิทยาลัย “สร้างเรียนรู้เพื่อรับใช้ชุมชน” อย่างต่อเนื่อง

      เมื่อกลางเดือนมีนาคม 2559 ไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ เครือข่ายนักศึกษาและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้รวมพลังนำ เสนอความก้าวหน้างานวิจัยในเวที “ประชุมติดตามความก้าวหน้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัย” ในโครงการเครือข่ายวิจัยสังคมระดับปริญญาตรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (SURN) โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันรามจิตติและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยฟาฏอนีโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ได้สนับสนุนให้เครือข่ายนักศึกษาลงไปทำวิจัยชุมชน โดยมีเครือข่ายคณาจารย์ร่วมสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนการ สอนในสาขาวิชาต่างๆ อาทิ สาขาการศึกษา สาขาวิชาพัฒนาสังคม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชานิติศาสตร์ เป็นต้น และกิจกรรมทางเลือกสำหรับนักศึกษาชมรมจากมหาวิทยาลัยต่างมาร่วมกันดำเนิน โครงการวิจัยของนักศึกษา 49 โครงการ โดยมีนักศึกษาและคณาอาจารย์รวมกว่า 300 คนเข้าร่วมโครงการ

          ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ที่ปรึกษาสถาบันรามจิตติ ทีมประสานเครือข่ายวิจัยด้านเด็ก เยาวชน และการเรียนรู้ กล่าวว่า สถาบันรามจิตติซึ่งได้ทำงานร่วมกับภาคีหลายฝ่ายในการร่วมขับเคลื่อนการเรียน รู้เพื่อการพัฒนาเด็กเยาวชนและสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่ม เยาวชนนักศึกษาเป็นกลุ่มวัยที่เต็มไปด้วยพลัง  รวมถึงคณาจารย์ในฐานะผู้บุกเบิกการเรียนรู้ พ่อแม่ชาวบ้านชุมชนต่างๆ ที่มีความหวังกับการศึกษาของลูกๆ  สิ่งที่เด็กๆ กำลังทำอาจารย์กำลังทำ คือการก้าวข้ามเงื่อนไขที่กำลังฉุดรั้งการเรียนรู้โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ที่เต็มไปด้วยมายาคติต่างๆ  แต่กำลังก้าวออกไปสู่การเรียนรู้ที่มีความหมาย ใช้พลังใช้ศักยภาพของนักศึกษาที่มีเพื่อกลับเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชนเพื่อ เอาความรู้ที่ได้จากการวิจัยกลับไปรับใช้ชุมชนท้องถิ่นที่เขาอยู่เพื่อการ พัฒนาชายภาคแดนใต้

ดร.เรชา ชูสุวรรณ หัวหน้าโครงการเครือข่ายวิจัยสังคมระดับปริญญาตรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (SURN) กล่าวถึง โครงการกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมพลังมาอย่างต่อเนื่อง วันนี้เป็นวันนำเสนอความคืบหน้าการทำงานของนักศึกษาซึ่งมีหลากหลายมิติ เช่น มิติสิ่งแวดล้อม เรื่อง “Zero Waste ขยะเท่ากับศูนย์” มิติวิทยาศาสตร์ เรื่อง “การผลิตแก๊สชีวภาพจากน้ำทิ้งในกระบวนการแปรรูปน้ำยาง” มิติเศรษฐกิจ “การแปรรูปมะม่วงหาวมะนาวโห่เพื่อชุมชนบ้านโสร่ง”  การพัฒนาชุมชน “การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการบริหารจัดการขยะ” มิติสังคม เรื่อง “แม่วัยรุ่น แม่วัยรุ่นกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป” ฯลฯ  ประเด็นที่น่าสนใจไม่ใช่เพียงแต่เป็นองค์ความรู้เชิงเนื้อหา แต่สิ่งสำคัญเป็นกระบวนการที่เด็กๆได้เรียนรู้ร่วมกับชุมชน และอาจารย์ก็ร่วมในกระบวนการดังกล่าวด้วย ซึ่งการศึกษาดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือที่ดีของการพัฒนาคนและพัฒนาสังคมโดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนใต้ของเรา

          ด้านผศ.พัชรียา ไชยลังการองอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้ นำโหนดขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยวิจัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า“การพัฒนาคนในระดับอุดมศึกษาเป็นการเตรียมกำลังคนเพื่อไปสู่การ พัฒนาสังคม และความต้องการสำคัญคือการคืนคนที่มีคุณภาพกลับสู่ชุมชนเพื่อพัฒนาสังคม พัฒนาพื้นที่ที่เป็นถิ่นฐานบ้านเกิดดังนั้นการเรียนรู้ที่สำคัญต้องมีเป้า หมายกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นพันธกิจของมหาวิทยาลัย  

          ด้านเครือข่ายนักศึกษาที่ทำวิจัยได้กล่าวถึงงานและผลการทำงานที่ผ่านมาไว้ หลากหลายแง่มุม อาทิ  นางสาวรุชดา หมัดโส๊ะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ทีมวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชนของกลุ่มแม่บ้านมุสลิมะฮฺ หมู่บ้านจะแลเกาะ กล่าวถึงงานวิจัยที่ทำว่า “งาน วิจัยที่ทำเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าทฤษฎีเรียนรู้ในตำรานั้นมีความหมาย โครงการวิจัยจะเป็นกระบวนการที่ทำให้เรารู้จักปรับใช้ เรียนรู้และสิ่งสำคัญคือทำให้เราเห็นต้นทุนเห็นคุณค่าของคนในชุมชน”

ส่วนนางสาวมนิดา นกเกษมนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่อวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน  ตำบลรูสะมิแล เมืองปัตตานีกล่าวถึงงานวิจัยที่ทำว่า “งาน วิจัยบนฐานชุมชนนอกจากทำให้เราได้ใช้ความรู้ที่เรียนให้สอดคล้องกับพื้นที่ จริงแล้ว การวิจัยยังเปิดให้เราได้เห็นปัญหาที่กว้างขึ้น เห็นความสัมพันธ์ที่สอดคล้องของปัญหาและกระบวนการในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้การดึงให้คนในชุมชนเห็นปัญหาและร่วมกันแก้ปัญหาในที่ต้นเหตุร่วมกัน จะทำให้การแก้ปัญหาในชุมชนนั้นๆเป็นไปได้อย่างแท้จริง”

ด้านอาจารย์ลิลลา อดุลยศาสน์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ที่ปรึกษานักศึกษา กล่าวว่า การเรียนรู้ดังกล่าวนอกจากจะเรียนรู้ในวิชาที่เรียนแล้วยังต้องบูรณาการกับ ความรู้ในอีกหลากหลายศาสตร์แต่ที่ท้าทายคือความรู้นอกห้องเรียนความรู้จาก ชุมชนที่ทำให้เด็กๆต้องคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะสร้างความรู้จากการเรียนใน ห้องไปสู่ความรู้ชุมชนและสร้างองค์ความรู้ที่ชุมชนต้องการจริงๆ

นางเลขา เกลี้ยงเกลา นักสื่อสารมวลชนจากศูนย์ข่าวอิศรา ร่วมแลกเปลี่ยนในฐานะผู้สื่อสารและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย เพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า “ในฐานะสื่อมวลชนรู้สึกชื่นชมในสิ่งที่นักศึกษาได้ทำ และดีใจที่นักศึกษาในพื้นที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีๆใน พื้นที่ เพราะทุกวันนี้ในสามจังหวัดชายแดนมีแต่ข่าวแรงข่าวร้อนที่สร้างแต่ความขัด แย้งของคนในพื้นที่ เราต้องการข่าวเย็นที่เป็นประโยชน์ซึ่งสื่งที่นักศึกษาได้ทำในครั้งนี้ไม่ เป็นเพียงใช้ความรู้การวิจัยมาแก้ปัญหาสังคมแต่ยังเป็นการช่วยกันสร้าง เรื่องดีๆให้เกิดขึ้นในพื้นที่ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจอันดีของคนนอกพื้นที่ และคนในพื้นที่ชายแดนใต้อีกด้วย”

อย่างไรก็ตาม โครงการเครือข่ายวิจัยสังคมระดับปริญญาตรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (SURN) กำลังเข้าสู่ระยะของการเก็บข้อมูลเติมเต็มและตอบโจทย์วิจัย สรุปและถอดบทเรียนความรู้และการทำงาน โดยจะมีกิจกรรมของนักศึกษาในการลงพื้นที่ “คืนข้อมูลสู่ชุมชน” ในเดือนหน้า และกิจกรรมถอดบทเรียนสรุปความรู้ และเผยแพร่สร้างผลกระทบต่อไป ซึ่งผู้สนใจกิจกรรมดังกล่าวสามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ใน เพจกลุ่มSURNFacebook และติดตามการทำงานของเครือข่ายนักศึกษาได้จากมหาวิทยาลัยทั้งสามแห่งโดยตรง

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ