วันนี้ (11 พ.ค.2559) เวลา 10.10 น. ตัวแทนเครือข่ายนักศึกษาภาคใต้และนักศึกษาในหลายมหาวิทยาลัยในกรุงเทพ ยื่นหนังสือทวงถามถึงสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เรื่องการขอคัดสำเนา EHIA ของโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและท่าเทียบเรือ ที่มีกระบวนการทำแบบรวบรัด ขาดการมีส่วนร่วม ซึ่งเคยได้รับการปฏิเสธที่จะให้คัดสำเนา
น.ส.อาอีฉ๊ะ แก้วนพรัตน์ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มาร่วมยื่นหนังสือ ยืนยันว่า ชาวบ้านต้องได้รับข้อมูล เพราะมันเป็นสิทธิ และส่งผลกระทบต่อคนในพื้นที่โดย ซึ่งแน่นอนเราอาจไม่ใช้คนเทพา แต่ในฐานะคนใต้เราก็ย่อมได้รับผลกระทบ
ก่อนหน้านี้ภาคประชาชนในพื้นที่เคยทำหนังสือขอข้อมูลการทำEHIA จาก สผ. มาถึง3ครั้ง แต่ถูกปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล และให้ไปขอข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ภาคประชาชนมองว่าภาครัฐไม่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการยื่นหนังสือในครั้งนี้มีข้อเรียกร้องให้ สผ. ต้องอนุญาตให้ชาวบ้านมีสิทธิในการคัดลอกข้อมูล EHIA ฉบับเต็มและรวมถึงผลการประชุมคณะกรรมการชำนาญการหรือข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องได้อย่างเสรี และต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดในกระบวนการ EHIA สร้างกระบวรการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง นอกจากการที่จะให้คณะกรรมการชำนาญการเป็นปีกวิชาการในการอ่านพิจารณาแล้ว ยังควรต้องให้การตรวจสอบข้อมูลจากปีกของชาวบ้านที่ได้ผลกระทบด้วย
ทั้งนี้ในวันนี้ นางปิยนันท์ โศภนคณาภรณ์ รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้อธิบายว่า EHIA ของโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และเป็นลิขสิทธ์ของผู้จัดทำ จึงยังไม่สามารถอนุญาตให้คัดสำเนา EHIA ได้ในขณะนี้ แต่ชาวบ้านสามารถส่งตัวแทนมาอ่านที่ห้องสมุดของ สผ.ได้
นอกจากการขึ้นมายื่นหนังสือของตัวแทนเครือข่ายนักศึกษาภาคใต้ ต่อ สผ. แล้ว ตัวแทนเครือข่ายยังเชื่อมสัมพันธ์กับเครือข่ายนักศึกษาในกรุงเทพ ที่สนใจในประเด็นเดียวกัน และกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวทั้งในกรุงเทพและพื้นที่ภาคใต้ หลังจากนี้ เครือข่ายนักศึกษาภาคใต้ จะนำคำตอบที่ได้จาก สผ. ไปพูดคุยกับชาวบ้านและภาคประชาสังคมในพื้นที่ และเตรียมออกแถลงการณ์ในลำดับต่อไป
แถลงการณ์ “ EHIA ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม และตรวจสอบ สผ. ต้องเปิดเผยข้อมูล รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน หยุดปกป้องทุนถ่านหินมาทำร้ายประชาชน สืบเนื่องจากการที่เครือข่ายเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เครือข่ายนักศึกษา มอ.ปัตตานีเพื่อความเป็นธรรม ได้ไปยื่นเอกสารที่สำนักนโยบายและแผน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( สผ.) เพื่อขอคัดสำเนารายการ การศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและท่าเทียบเรือโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 เพื่อให้ชาวบ้านได้มีโอกาสนำข้อมูลโครงการละผลกระทบที่เกิดขึ้นไปศึกษา แต่กลับได้รับคำตอบจาก สผ.ว่า “ไม่อนุญาตให้มีการคัดสำเนา” เครือข่ายนักศึกษาภาคใต้และเพื่อนนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัย เห็นว่า 1. ประชาชนมีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลจากภาครัฐ แต่การกระทำของสำนักงานนโยบายและแผนฯ (สผ) เป็นการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งเรื่องนี้สำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจำนวนมากเพราะเป็นการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ ที่จะมีคนกระทบทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างประเมินค่ามิได้ ดังนั้นชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่โครงการ , ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่รัศมีการศึกษา EHIA ของโครงการ , นักศึกษา นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป ควรต้องได้รับข้อมูล ต้องได้เห็นเอกสาร EHIA 2. การเปิดเผยข้อมูลจะเกิดผลดีและเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของ สผ. และต่อประชาชนโดยรวม ชาวบ้าน ก็จะได้ช่วยนักวิชาการ ช่วย สผ. ช่วยคณะกรรมการชำนาญการ ในการตรวจสอบ ข้อมูล ข้อเท็จจริง เรื่องอะไรที่สมบูรณ์หรือขาดตกบกพร่อง หรือข้อมูลใดเป็นเท็จที่เกิดจากความจงใจ เพราะว่ามีหลายกรณีที่ชาวบ้านในพื้นที่ ไม่พบว่ามีการลงเก็บข้อมูลใดๆ แต่ทำไมกลับมีข้อมูลระบุในรายงาน เพื่อคืนความเป็นธรรมแก่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง และเรายืนยันว่า สิทธิในการได้เห็นข้อมูลก่อนการอนุมัติคือสิทธิของชาวบ้านผู้ที่ได้รับผลกระทบควรได้รับ เป็นสิทธิพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตย 3. เราไม่เห็นด้วยกับหนังสือตอบกลับจาก สผ.ฉบับล่าสุดที่ว่า เครือข่ายสามารถประสานขอข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟฝ.) ในฐานะเจ้าของโครงการได้นั้น เพราะ กฟผ.มีจุดยืนชัดเจนที่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมและจะดันโครงการให้สำเร็จให้ได้ด้วยอำนาจ เราไม่ได้มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำ EHIA ที่ปราศจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่แรก เนื่องจากการทำ EHIA ที่ใช้ระยะเวลาเพียง 9 เดือน โดยหลักความเป็นจริงแล้วนั้น สผ.เป็นผู้ตรวจสอบการจัดทำข้อมูลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) จึงเป็นอำนาจหน้าที่ที่สามารถตัดสินใจในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้ หากมีความตั้งใจปกป้องประชาชนผู้ได้รับผลกระทบมากกว่าปกป้อง กฟผ. และทุนถ่านหิน พวกเราเครือข่ายนักศึกษาภาคใต้และนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัย มีข้อเสนอดังต่อไปนี้
ณ. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 11 พฤษภาคม 2559 นักศึกษาภาคใต้และเพื่อนนักศึกษาหลายมหาวิทยาลัย |