ภารกิจสอบปลายภาคละครเวทีแบบเด็กสื่อใหม่

ภารกิจสอบปลายภาคละครเวทีแบบเด็กสื่อใหม่

วันนี้เราจะมานำเสนอเรื่องราวของละครเวทีและการทำงานเป็นทีมของนิสิตนักศึกษาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ในการจัดการละครเวที เรื่อง ไข(who) และ ส้มตำกลับใจ ที่มีการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และการทำงานเป็นทีม

บทความนี้เราจะพูดถึงประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ได้รับจากการทำงานในงานละครเวทีและการเป็นส่วนหนึ่งของทีมนักศึกษาที่ร่วมกันทำงานเพื่อสร้างผลงานละครเวทีการทำงานละครเวทีเป็นประสบการณ์ที่มีความท้าทายและฝึกฝนทักษะการทำงานเป็นทีมอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ การเรียนรู้และพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเมื่อเริ่มต้นเข้าสู่งานละครเวที การเลือกเรื่องราวและการพัฒนาบทละครเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องผ่านต้องคิดและสร้างเรื่องราวที่น่าสนใจและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของผู้ชม ซึ่งทำให้เด็กสื่อใหม่ได้ฝึกฝนทักษะการวิเคราะห์และการจัดการเนื้อหาได้ดีขึ้น

หลังจากได้เรื่องราวและบทละครแล้วก็ต้องการหานักแสดงที่เหมาะสมและมีทักษะการแสดงที่เหมาะสมกับบทบาทที่ได้รับมอบหมาย การค้นหานักแสดงและการฝึกฝนทักษะการแสดงทำให้เด็กสื่อสามารถเป็นผู้จัดการและฝึกฝนทักษะการทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้น

ประสบการณ์และความรู้สึกในการแสดงบนเวที โดยเฉพาะการเตรียมตัวและการแสดงที่สมบูรณ์แบบ เพื่อให้ผู้แสดงได้เข้าใจและรู้สึกถึงความเป็นมาของการแสดงบนเวที

การเตรียมตัวก่อนการแสดงบนเวทีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ต้องฝึกฝนและเตรียมความพร้อมทั้งกายและจิตใจ เช่นการฝึกเสียงพูด การเคลื่อนไหวและการแสดงอารมณ์ การอ่านบทละครและฝึกฝนการนำเสนอตัวละคร การฝึกเตรียมอุปกรณ์และชุดแต่งกาย เป็นต้น การฝึกฝนทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เรามีความมั่นใจและเตรียมพร้อมในการแสดงบนเวทีได้ดีขึ้น

การแสดงบนเวทีเป็นประสบการณ์ที่สนุกและท้าทายให้เปิดโอกาสให้แสดงฝีมือ ด้วยความรู้สึกที่ตื่นเต้น เด็กสื่อมใหม่ต้องแสดงความเป็นตัวละครทำให้สามารถสื่อสารและโต้ตอบกับผู้แสดงอีกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเติบโตในทักษะการแสดงของเด็กสื่อใหม่ในแต่ละครั้งจะทำให้เพิ่มความมั่นใจในการแสดงต่อไป

ที่สำคัญที่สุดคือการสร้างเสียงประกอบ(Foley)ในละครเวทีเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากเนื่องจากจะช่วยเพิ่มความสมจริงในการแสดงและช่วยสื่อสารความรู้สึกของตัวละครกับผู้ชมได้ดียิ่งขึ้น การสร้างเสียงประกอบในละครเวที เช่น การใช้เสียงพื้นหลัง (background sounds) เช่นเสียงเดินหรือเสียงฝนตก และเสียงเอฟเฟกต์ (sound effects) เช่นเสียงตำครกหรือเสียงของหล่น

และนอกจากนี้ยังมีการใช้เพลงและการร้องเพลงในละครเวที เพลงในละครเวทีจะช่วยสร้างบรรยากาศและประสบการณ์ให้กับผู้ชมได้ดียิ่งขึ้น การใช้เพลงที่เหมาะสมในตัวละครช่วยเพิ่มความมั่นใจของนักแสดงและช่วยเพิ่มความสมจริงในการแสดง

นอกจากนี้ยังมีการใช้เสียงเล็กๆน้อยๆในการสร้างบรรยากาศ เช่นเสียงตอนวางจาน หรือเสียงการหยิบเงิน ที่ช่วยสร้างความสมจริงในละครเวที การใช้เสียงประกอบในละครเวทีต้องมีความพิถีพิถันในการสร้างและใช้งานเพื่อให้เสียงเหล่านี้มีประสิทธิภาพ

และที่สำคัญคือการเพิ่มความเป็นสื่อใหม่ด้วยการไลฟ์สดขณะที่แสดงละครเวทีไปด้วยด้วยการทำงานของรุ่นพี่ชั้นปีที่ 3 และเหล่าอาจารย์ที่ได้เข้ามาช่วยเหลือในการไลฟ์สดเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะและให้ผู้ชมได้อรรถรสในการรับชมละครเวทีรูปแบบใหม่ ผ่านช่องทาง เพจของสาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ ให้สูงมากยิ่งขึ้นทำให้น้องปี 2 ได้ออกหน้ากล้องและได้แสดงความสามารถศักยภาพของเด็กสื่อใหม่ให้ผู้อื่นได้เห็น

และหากท่านใดต้องการรับชมละครเวทีทั้ง 2 เรื่องนี้ขอเชิญทุกท่านรับชมได้ทางเพจ สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่มหาวิทยาลัยพะเยาNew Media Communication-NMC UP ได้ครับผม

หรือกดดูผ่านลิงค์นี้ได้เลย https://www.facebook.com/watch/?v=138118675845566

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ