ฟังเสียงประเทศไทย : ทางเลือกการศึกษาไทย

ฟังเสียงประเทศไทย : ทางเลือกการศึกษาไทย

เรายังจำได้ไหม ? ภาพความทรงจำเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เราเรียนในรูปแบบไหน ?

เรียนหนังสือในห้องเรียน ทำการบ้านในสมุดส่งคุณครู สงสัยการบ้านข้อไหนก็ต้องโทรถามเพื่อน หรือส่งข้อความ msn บนคอมพิวเตอร์ เวลาเรียนพิเศษก็ต้องเดินทางไปที่สถาบันเพื่อไปนั่งเรียนในห้องเรียนตามเวลาที่สถาบันกำหนด หาความรู้เพิ่มเติมได้ก็ในห้องสมุดโรงเรียน หรือเรียนเองที่บ้านกับครอบครัว เรียนความรู้ท้องถิ่นกับปราชญ์ชุมชน

ภาพทั้งหมดนี้ยังคงอยู่ แต่บางที่ก็เริ่มเปลี่ยนไปด้วยของการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง Smartphone และ Internet ความเร็วสูง หรือแม้กระทั่งตัวกระตุ้นอย่างโควิด-19 ที่เข้ามาพร้อมกับ Disruption ที่เกิดขึ้นกับทุกคน

การศึกษาที่ดีจะช่วยทำให้ประเทศพัฒนาไปข้างหน้าและคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ทุกวันนี้การศึกษาในบ้านเราต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน

ปัจจุบันหากเราต้องการเรียนรู้ หรือหาข้อมูลเรื่องอะไร สามารถเรียนรู้ออนไลน์เลือกได้หลากหลาย ทั้งยังสามารถเข้าถึงข้อมูลจากทั่วโลก จากแหล่งความรู้ระดับโลก เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ตามความสะดวก ได้ทั้งบนมือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์

จะเห็นได้ว่าในระยะเวลาเพียงแค่ 10 ปีนั้น มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย ด้วยเทรนให้ของการเรียนรู้ไม่ได้จบอยู่เพียงแค่ในห้องเรียน แต่เปลี่ยนรูปแบบไปเป็น “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” แต่ด้วยความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ ทำให้เด็กจำนวนหนึ่งที่เข้าไม่ถึงด้วยเช่นกัน บวกกับนโยบายการศึกษาของประเทศที่ยังไม่นิ่งและก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงเป็นโจทย์ยากที่นักเรียนทั้งในระบบ และการศึกษาทางเลือกจะปรับตัวได้ทัน

ในปี 2023 เริ่มต้นทศวรรษใหม่เริ่มกันด้วยโจทย์หนึ่งที่สำคัญของประเทศและเด็ก ๆ ในภาคเหนือ ถึงระบบการศึกษาแบบไหนที่จะเหมาะสมกับเด็กไทย และทันกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ฟังเสียงประเทศไทยชวน มาดูกันว่า แล้วในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปอีก? เราควรจะปรับตัวอย่างไร? ภาพอนาคตการศึกษาไทยอย่างที่ควรจะเป็นควรเป็นแบบไหน ?

ก่อนเริ่มวงสนทนาทีมงานได้ให้ผู้คนที่มาร่วมวงได้เขียน ด้วยคำถามที่ว่า “มองการศึกษา 5 ปีข้างหน้าเป็นแบบใด”

คำตอบจากผู้มาร่วมวงส่วนหนึ่งบอกว่า

ทุกคนต้องได้เรียน : ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำ : เรียนที่ไหนก็ได้ : ทุกคนมีส่วนร่วมในการออกแบบการศึกษา : ประชาชนร่วมออกแบบหลักสูตรเพื่อประสิทธิภาพในการศึกษา

ข้อความสั้น ๆ นี้ เสียงสะท้อนถึงปัญหา และอนาคตของการศึกษาที่คนในวงอยากเห็น วันนี้ตัวแทนนักศึกษา ผู้จัดการศึกษาแบบบ้านเรียน ศูนย์การเรียนรู้ คุณครูจากโรงเรียนพหุ/ทวิภาษา องค์การบริหารส่วนจังหวัด นักวิชาการและภาคประชาชนที่ทำงานด้านการศึกษา มารวมตัวล้อมวงคุยและฟังอย่างใส่ใจที่ลานเสมา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งที่ผลิตครูออกไปรับใช้ประเทศมาอย่างยาวนาน ชวนมาคิดถึงภาพอนาคตเรื่องการศึกษาในอีกประมาณ 5 ปีข้างหน้า

และเช่นเคยทางทีมงานฟังเสียงประเทศไทยร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ ชวนคุณผู้อ่านมาทำความเข้าใจผ่านข้อมูล อนาคตทางเลือกการศึกษา

สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาเป็นพื้นฐานที่แทบทุกประเทศทั่วโลกมีบัญญัติไว้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 ได้บัญญัติว่า รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย …

รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ปัจจุบันเด็กในประเทศไทยมีศึกษา 3 ระบบหลัก คือ

1. การศึกษาในระบบ

2. การศึกษาทางเลือก หรือการศึกษานอกระบบ

3. การศึกษาตามอัธยาศัย หรือ กศน.

มีบางส่วนที่เรียนหลักสูตรระยะสั้น  หรือเลือกเรียนหลักสูตรออนไลน์ของต่างประเทศ

ไทยมีเด็กและเยาวชนอายุ 3-21 ปี  กว่า 15 ล้านคน

*ข้อมูลจากกรมการปกครองปี พ.ศ. 2565

สำหรับการศึกษาในระบบซึ่งรองรับเด็กส่วนใหญ่ของประเทศ

พบว่าภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มีเด็กนักเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ (อนุบาล – ม.3) จำนวนประมาณ 9 ล้านคน

จากสถานการณ์โควิด-19 พบว่า  ปีการศึกษา 1/2564 คาดว่ามีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาประมาณ 5,654 คน

มีเด็กยากจนและยากจนพิเศษ ราว 1.8 ล้านคน ที่มีโอกาสหลุดดออกจากระบบการศึกษา

*ข้อมูลจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

การศึกษาตามอัธยาศัย หรือ กศน. และการศึกษาทางเลือก  เป็นส่วนหนึ่งที่จะรองรับเด็กหลุดออกจากระบบหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่มีความหลากหลาย

กสน. จะมีระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

จัดการศึกษาในหลักสูตรระยะสั้นต่อเนื่องจากที่ผู้เรียนเคยเรียนในโรงเรียนในระบบ มีวิธีเรียนที่หลากหลาย ต้องใช้เวลาเรียน ต้องเรียนให้ครบตามหลักสูตร มีการสอบ การวัดและประเมินผลเหมือนระบบโรงเรียนปกติ ทั้งการสอบปลายภาคและการสอบ N-NET รับเฉพาะผู้เรียนสัญชาติไทยเท่านั้น

การศึกษาทางเลือก

พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้การรับรองการจัดการศึกษาทางเลือกในไทย ในมาตรา 12

การจัดการศึกษาทางเลือกต้องผ่านการจดทะเบียนเพื่อขออนุญาตจัดการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในท้องที่ ตามระเบียบและคู่มือการขออนุญาตจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรับผู้เรียนอายุไม่เกิน 18 ปี และสัญชาติไทย

ปี พ.ศ. 2563 สพฐ.แก้ไขคุณสมบัติของผู้เรียนในการจัดการศึกษาโดยศูนย์เรียนรู้และบ้านเรียนจาก “ผู้ขาดโอกาสในการเข้าเรียนโรงเรียนในระบบ หรือ ผู้ที่ต้องการเข้าเรียนในศูนย์การเรียน” โดยตัดข้อความ “ผู้ที่ต้องการเข้าเรียนในศูนย์การเรียน” ออก ทำให้บ้านเรียนและศูนย์การเรียนหลายแห่งไม่สามารถขอจัดการศึกษาได้

จาการทำงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในท้องที่มีบางส่วนที่สามารถขอจัดการศึกษาได้ แต่ยังมีปัญหาเงินอุดหนุนรายหัวผู้เรียนที่ส่งไม่ถึงตัวเด็ก  หรือยังไม่ครบ หรือยังไม่ได้รับจนถึงปัจจุบัน

นโยบายของประเทศด้านการศึกษา ก็มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็น ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่เข้าสภาเมื่อวันที่ 11ม.ค. 2566 แต่พิจรณาไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากปัญหาเรื่ององค์ประชุมจนสภาล่ม หรือตัวพ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ที่หวังส่งเสริมการกระจายอำนาจ เน้นกลไกการจัดการศึกษาร่วมกันของทุกภาคส่วน เพิ่มความอิสระคล่องตัวในการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา แต่ก็ยังมีข้อจำกัด หรือนโยบายด้านคุณภาพการศึกษา มาตรการในการควบคุมและยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ก็เป็นเรื่องที่ยังต้องคิดทบทวนกันต่อ

โอกาสทางการศึกษาไทย

1.  กระแสการให้ความสำคัญต่อการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นโอกาสในการพัฒนาการศึกษาเพิ่มขึ้น

2. เศรษฐกิจมีความมั่นคง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการ เคลื่อนตัวของเศรษฐกิจมาสู่เอเชีย ส่งผลให้ประเทศไทย เกิดการตื่นตัวและปรับตัวรองรับการพัฒนาและสร้างความสามารถในการแข่งขัน เป็นโอกาสที่การศึกษาจะได้รับความสำคัญมากขึ้นทั้งจากนโยบายรัฐ งบประมาณและการลงทุน เพื่อสร้างกำลังคนคุณภาพในการพัฒนา

3. ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นช่องทางการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแรงผลักให้เกิดการเห็นความสำคัญการพัฒนาการศึกษามากยิ่งขึ้น

4. ประชากรวัยเรียนลดลง รัฐมีโอกาสเพิ่มงบประมาณ เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้มากขึ้น และ

5. ภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน การขาดแคลนน้ำและพลังงาน  ก่อให้เกิดการตื่นตัวและวางแผนป้องกัน ส่งผลต่อการให้ความสำคัญต่อการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์และประชาคมโลกเพื่อเป็นเครื่องมือและกลไกการจัดการภาวะวิกฤติต่าง ๆ

แม้ว่าอนาคตประเทศไทยจะมีโอกาสดี ๆ จากกระแสโลก แต่ก็อาจพบอุปสรรค ดังนี้

1.ความไม่มั่นคงทางการเมือง ส่งผลให้นโยบายทางการศึกษาไม่ต่อเนื่องและไม่ยั่งยืน

2.รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการศึกษาน้อยกว่าด้านอื่น ๆ

3.ประชาชน พ่อแม่ผู้ปกครองให้ความสำคัญต่อปากท้องมากกว่าการศึกษา

4.ภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต จะส่งผลต่อการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการศึกษาของประเทศ และเงินทุนในการส่งเสริมการศึกษาแก่บุตรหลานของพ่อแม่ ผู้ปกครอง

5.อุบัติภัยต่าง ๆ ทั้งภัยธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น โรคระบาดอุบัติใหม่ ปัญหาชายแดนที่คุกรุ่นต่อเนื่อง ในแต่ละพื้นที่ ล้วนเป็นอุปสรรคให้การพัฒนาการศึกษาในแต่ละภูมิภาคให้ชะงักงัน และไม่ราบรื่น

ข้อมูลส่วนนี้คือชุดของชุดข้อมูลส่วนหนึ่งที่มีทั้งข้อเท็จจริงตัวข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และเป็นข้อมูลที่เป็นทั้งโอกาสและอุปสรรคของเรื่องระบบการศึกษา

ทีมงานฟังเสียงประเทศไทยเลยลองประมวลภาพความน่าจะเป็น ที่อยากชวนผู้อ่าน และผู้ชมคิดถึงภาพอนาคตของ อีก 5-10 ปี ข้างหน้า ของการศึกษาไทยแบบไหนที่ควรจะเป็น ทางรายการเลยลองประมวลมา 3 แบบ เพื่อคนในวงสนทนา และผู้อ่านทุกคนร่วมกันมองว่าอนาคตของพวกเขาจะเป็นไปในทิศทางใด ?

ภาพอนาคตที่ 1 การศึกษาตามแบบที่เป็นอยู่

สถาบันการศึกษา ผู้จัดการศึกษา จะยังคงเป็นแหล่งหลักในการเรียนรู้เหมือนดังเช่นทุกวันนี้ แต่ก็ต้องเผชิญความท้าทายเรื่องทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงวัย ระดับนโยบายและข้อกฎหมายกฎระเบียบด้านการศึกษามีความไม่แน่นอน เด็กยาวชนที่อยู่ในการศึกษาภาคบังคับ ทั้งจากการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย จะมีการเรียนการสอนไม่หลากหลาย ไม่ครอบคลุมผู้เรียนที่มีศักยภาพตามความถนัดที่แตกต่างกัน เพราะหน่วยงานภาครัฐทำงานด้วยกรอบการศึกษากระแสหลักตามนโยบายเป็นหลักโดยใช้ระบบการประเมินผลด้วยข้อสอบเป็นหลัก การศึกษาทางเลือกทำได้ แต่อยู่ภายใต้ระเบียบและคู่มือการขออนุญาตจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว และศูนย์การเรียน ยังคงเน้นกลุ่มเด็กด้อยโอกาสเป็นหลัก มีการจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐ แต่ยังมีความล้าช้า และไม่ครอบคลุม อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงขึ้น เช่น เด็กบางส่วนตกหล่น หรือหลุดจากระบบการศึกษา จากระบบการทำงานของรัฐเป็นที่เป็นอยู่ เด็กส่วนใหญ่ยังคงเข้าไม่ถึงกระบวนการพัฒนาศักยภาพความถนัดและความสนใจครอบครัวที่ฐานะดีจะเลือกเรียนในระบบเอกชน หรือส่งลูกหลานไป เรียนต่างประเทศ ปรับตัวตามเทรนด์ไม่ทันตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปในตลาดแรงงานในอนาคต

ภาพอนาคตที่ 2 การศึกษาแบบหลากหลาย (Diversity) รัฐส่งเสริมการศึกษา

มีพ.ร.บ.การศึกษาฉบับใหม่เป็นเครื่องมือ ที่รัฐให้ความเสมอภาคในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กทุกคน มีการสนับสนุนการจัดการศึกษาทางเลือกจากภาคสังคม โดยมีนโยบายชัดเจนและทุ่มเทรัพยากรเพื่ออุดหนุนการศึกษา ให้ความรู้คนทำงาน ที่เข้าใจ กฎหมายและ ระเบียบปฎิบัติต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้สามารถ จัดการศึกษา ได้เหมาะสมกับผู้เรียนรายบุคคล พร้อมกำหนดส่วนงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลชัดเจน เกิดการเรียนรู้ที่มีวิธีมากมายกว่าเดิม ครูหรือผู้สอนสามารถเลือกวิธีการที่จะสร้างความสำเร็จทางการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้หลายช่องทาง ทำให้ไม่มีข้อจำกัดในสถานที่และเวลาเรียน เน้นพัฒนาครูพันธุ์ใหม่ที่เข้าใจบริบทของพื้นที่และ เด็กแต่ละคน การศึกษาทางเลือกทำได้ภายใต้กฎหมาย โดยมีรัฐเริ่มมีการสนับสนุนเงินอุดหนุนรายหัวผู้เรียน อาหารกลางวัน สำหรับบางสถานศึกษา มีแหล่งเรียนรู้ในสังคม

ภาพอนาคตที่ 3 การศึกษาออกแบบได้ “ใครใคร่ทำ”
สถานที่จัดการศึกษาแต่ละแห่งมีอิสระในการบริหารจัดการตนเองได้มาก สถานที่จัดการศึกษาสามารถกำหนดเป้าหมายและทิศทางของตนเองได้ ภาคประชาสังคมและส่วนงานที่เกี่ยวข้องได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีพื้นที่การทำงานในการร่วมผลักดันเพื่อสร้างระบบการศึกษา มีระบบการทำงานแบบมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ-เอกชน-ประชาสังคมในทุกพื้นที่ สถานศึกษาสามารถออกแบบหลักสูตรและการประเมินผลแบบใหม่ที่หลากหลาย ที่เปิดโอกาสให้เด็กไทยทุกคนและทุกเชื้อชาติ สัญชาติ ที่อยู่ในประเทศไทยเข้าถึงการศึกษาทุกระดับและรูปแบบ โดยรัฐมีระบบฐานข้อมูลกลางของเด็กทุกคน ที่เชื่อมโยงกัน มีการศึกษาที่หลากหลาย ทั้งในระบบ นอกระบบ ร่วมถึงการศึกษาตามอัธยาศัย ที่สามารถ เทียบโอนหรือข้ามไปมาระหว่างระบบได้ มีระบบประวัติการศึกษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการศึกษาเพื่อทำให้ประชาชนทุกวัยเข้าถึงระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลดการใช้เอกสาร ทำให้เด็กเลือกการศึกษาที่ เหมาะสมกับตัวเองได้ ชุมชน ครอบครัว หรือภาคส่วนต่าง ๆสามารถยื่นขอจัด การเรียนการสอนได้ด้วยระบบงานไม่ซับซ้อน ยุ่งยาก โดยใช้เทคโนโลยี มาใช้ในระบบการศึกษา มีระบบการพิจารณาอนุญาตแบบออนไลน์ มีการจัดสรรเงินอุดหนุนทุกคนอย่างถ้วนหน้า ส่งตรงถึงผู้เรียนทุกคน มีศูนย์ประสานสิทธิทางการศึกษาออนไลน์ให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหาร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อคุ้มครองสิทธิทางการศึกษาที่เหมาะสมให้กับเด็กทุกคน

แต่เพื่อข้อมูลที่แม่นยำจึงอยากชวนผู้เชี่ยวชาญและอยู่ในแวดวงการศึกษาและการศึกษาทางเลือกได้ให้ข้อมูลกับเราเพิ่มวันนี้เรามี 3 ท่านมาให้ข้อมูลสนับสนุนตามภาพความน่าจะเป็นทั้ง 3 ภาพ ข้อมูลวิเคราะห์แต่ละภาพความน่าจะเป็นที่แต่ละท่านมองทำไมถึงเป็นแบบนั้นเงื่อนไขอะไรที่จะทำให้การศึกษาไทยอยู่ในภาพที่เราลองเลือกภาพที่หนึ่ง สอง หรือสาม

ชวนคุยกันกับทั้ง 3 ท่าน

1. ผศ.ดร.สุบัน พรเวียง //หัวหน้าสาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. คุณธรรณพร  คชรัตน์  สบายใจ // ผู้อำนวยการศูนย์ประสานสิทธิการศึกษาบ้านเรียนและศูนย์การเรียนไทย

3. คุณเทวินฏฐ์ อัครศิลาชัย// เลขาธิการสมาคมสภาการศึกษาทางเลือก

  • ผศ.ดร.สุบัน พรเวียง หัวหน้าสาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวแทน ภาพที่ 1

เราจะต้องกลับไปดูข้อมูลว่าเรากำลังพูดถึงการศึกษาในที่นี้หมายถึงอะไรความหมายของคำว่าการศึกษาหมายถึงอะไร ถ้าเราไม่เข้าใจ concept ของการศึกษามันแสดงว่าเป้าที่เราจะเดินไปยังปลายทางคืออะไร ?

ตนเองเป็นคนหนึ่งที่เกิดจากระบบการศึกษา ที่ดังเดิมก่อนจะมายืนจุดนี้ และมาเป็นตัวแทนของภาพอนาคตเป็นทั้งข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการศึกษาย้อนไปคืออะไร

คำถามที่อยากจะถามผู้เขาร่วมวงสนทนาทั้งหมดความหมายของการศึกษาคืออะไร ก่อนการศึกษาคือเรื่องของการมีอาชีพใช่หรือไม่ การศึกษาคือการอยู่ร่วมกันแบบสงบสุขใช่หรือไม่ การศึกษาคือการเป็นคนละเมืองที่ดีใช่หรือไม่ แต่ละอันมีรายละเอียดที่เข้าสู่การพัฒนาที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าใจความหมายของการศึกษาแล้วขอย้อนกลับไปในส่วนที่ตนเองเคยประสบ ปัญหา เนื่องจากอยู่ในอดีต เข้าสู่ระบบการศึกษาตั้งแต่อดีต และมาอยู่จนถึงปัจจุบัน และอยากจะร่วมมองอนาคตไปพร้อมกับคนในปัจจุบัน

เพราะฉะนั้นในอดีตถามว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้างเราต้องมานั่งคุยกันก่อน ก่อนที่เราจะบอกว่าดีหรือไม่ดี

ในอดีตจะมีปัญหาอยู่ 3-4 เรื่องที่เราอาจจะได้ยินบ่อย ๆ

เรื่องแรก การศึกษาคุณภาพต่ำ คุณภาพการศึกษาที่เรากำลังรู้สึกว่ามันต้องเปลี่ยนแปลงมันต่ำเด็กสอบไม่ได้ทักษะชีวิตไม่ดีความรับผิดชอบก็แย่จนทำให้รู้สึกว่ามันไม่ประสบความสำเร็จทั้งหมด

เรื่องที่สอง ความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาสูง ขึ้นเรื่อยเรื่อยคนที่มีกับคนที่ไม่มีปรากฏว่าคนที่มีมีโอกาสมากกว่ามากกว่าคนที่ไม่มีคำว่าไม่มีอาจจะเกิดจากปัญหาความยากจนหรือปัจจัยอื่น ๆที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดความเหลื่อมล้ำทำให้คนที่ควรจะได้รับโอกาสไม่ได้รับโอกาสในสิ่งที่ควรได้รับทั้งที่มีกติกาที่สามารถดำเนินการได้

สามเรื่องของ ประสิทธิภาพต่ำ หมายถึง ผู้ที่จัดการศึกษาเองรัฐบาลเองหรือผู้ที่รับผิดชอบเองที่เราอาจจะคุ้นชินเช่น key formance Palmary Scenery บุคคลเหล่านี้ปรากฏว่าเค้ามีความสำคัญในระดับที่น่าสนใจแต่มีบทบาทอำนาจเท่าที่ควรจะได้หรือไม่ เพราะคำว่าประสิทธิภาพเกี่ยวกับหลายตัวไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทั้งหมดที่พวกเรากำลังพูดถึงหรือเรื่องของคนด้วยคนสำคัญมากเพราะอย่างที่ข้อมูลที่ได้นำเสนอตน เป็นส่วนหนึ่งที่เข้าไปมีโอกาสในเรื่องของการจัดทำคู่มือการจัดการศึกษาทางเลือกตามมาตรา 12 และดูว่าอะไรที่เป็นทางออกที่เป็นไปได้ของการทำงานชุดนี้ระหว่างคนที่อยากจัดแบบนี้กับคนที่อยู่ในระบบ

ตัวที่สี่สุดท้ายสิ่งที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานคือ eccentricity คือความรับผิดชอบของคนที่จัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามตอนนี้รับผิดชอบต่อสิ่งที่เป็นคุณภาพสิ่งที่เป็นประสิทธิภาพสิ่งที่เป็นความเหลื่อมล้ำมากน้อยแค่ไหน

เพราะฉะนั้นถ้าสี่ตัวนี้เป็นปัญหาที่ ย้อนกลับไปในอดีตจนถึงปัจจุบันและถามว่าการเลือกภาพอนาคตจะแก้ปัญหาสี่ตัวนี้ได้อย่างไรถ้าแกได้แสดงว่าเราอาจจะต้องมาดูหรืออาจจะแก้ได้บางส่วนอาจจะแก้ได้ไม่หมดหรือตัวไหนดีอยู่แล้ว เราคงบอกไม่ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดแต่อาจจะเลือกให้ถูกที่ถูกเวลาและถูกบริบทของแต่ละที่เพราะฉะนั้นเมื่อย้อนกลับไปดูและเราอาจจะดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและนับปัจจุบันอย่างกฎหมายที่ทำ

ยกตัวอย่างมาตรา 12 มีกฎกระทรวงออกมามากมายพยายามที่จะให้คนที่จัดการศึกษาพูดคุยกันแต่ประเด็นปัญหามีนิดเดียวคือเรื่องของคนที่ดูแลเรื่อง กฎระเบียบตัวแผนการจัดการศึกษาที่ศูนย์การเรียนจะต้องไปทำความเข้าใจปรากฏว่าไม่รู้คือคนที่ทำไม่เข้าใจ mindset ไม่พร้อมที่จะให้คนเหล่านั้นมาจากแบบนี้เนื่องจากอาจารย์ถูกด้วยระบบเดิมหรือความไม่รู้หรือเป็นเรื่องที่ไม่มีประสบการณ์เรื่องนี้และเป็นเรื่องใหม่ทำให้สิ่งที่เป็นหลักการกฎหมายออกไว้ดีมาก พ.ร.บ. 2542 ไม่ได้เสียหายอะไรเพียงแต่ว่าการเลือกใช้กับคนที่ปฏิบัติธรรมไม่ได้เต็ม 100 ทีนี้ต้องมานั่งคลี่ว่า ทำไม่ถูกต้องไม่เต็ม 100 อย่างไรอาจจะความไม่เข้าใจก็ว่ากันไปอาจจะเป็นกลไกที่ รัฐกำหนดไว้หรือผู้ ที่ปฏิบัติแล้วยังไม่เข้าใจเพราะฉะนั้นถ้ายกตัวอย่างอย่างที่ตามมาตรา 12 เห็นภาพชัดเจนว่ามีปัญหาแต่ยังมองว่าตัว พ.ร.บ.2542 ยังไม่ได้เลวร้าย ยังมีข้อดีของมัน

ปัจจุบันยกตัวอย่างเชียงใหม่เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาซึ่งเหมือนกับให้รถยนต์คันใหม่เครื่องใหม่สเปคสูงให้สิทธิบางอย่างแต่คนขับยังเป็นคนเดิม” ต้องเรียนรู้และเข้าใจคนที่ต้องมาหนุนเสริมและคนหนุนเสริมเข้าใจหรือไม่คนที่เป็นส่วนของซับพอร์ท หรือ policymakers อาจจะต้องมาทำความเข้าใจและส่งเสริมว่าทำได้ขนาดไหน

เพราะฉะนั้นในฐานะที่คนเคยผ่านจุดที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาเดิมและยืนอยู่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันคิดว่าในหลักการของพ.ร.บ.2542 เองโดย พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมเองไม่ได้เลวร้ายหลักการดีแต่คนนำมาปรับใช้คนที่เป็นโซ่ข้อกลางที่จะประสานระหว่างกลไกกับคนที่อยู่ข้างบนตัวนี้จะ ทำอย่างไรจะต้องมีการสื่อสารอะไรให้เขาเข้าใจและสามารถที่จะตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่เชิง area base การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่

  • คุณธรรณพร  คชรัตน์  สบายใจ รองเลขาธิการ และ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานสิทธิการศึกษาบ้านเรียนและศูนย์การเรียนไทย สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย ตัวแทนภาพที่ 2

กล่าวว่า อยากชวนทุกคนมองภาพ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน แล้วเราอาจจะช่วยดูร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ว่ามีสิ่งต่างที่ทำให้เกิดความหลากหลายได้จริง เห็นด้วยกับอาจารย์ว่าเราทำเรื่องการศึกษาทางเลือก และทำการทบทวนพ.ร.บ. หลายรอบและใช้เรื่องกฎหมายพ.ร.บ. มาทำงานด้วยตลอดกับหลักวิชาการที่จะนำไปต่อสู้กับกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้สิทธิ  ในการจัดการดำเนินได้อย่างหลากหลายได้จริงหลากหลายได้จริงหรือไม่ต้องมีคำว่า “แต่” เพราะฉะนั้นในความหมายในคำว่าแต่ที่จะพูดนี้คือหมายความว่าเราคงจะต้องไปทบทวนว่าจริงๆแล้วทำได้แต่เราจะต้องไปปรับเปลี่ยนเรื่องอะไร

“แต่” ทั้งหลายอยู่ที่โครงสร้างจริง ๆ โครงสร้างของระบบราชการแบบเดิมมีปัญหามากกับการจัดการ ศึกษาที่หลากหลายในระบบโรงเรียนจะมีการปรับเวลาเรียนเปลี่ยนเวลารู้ ตนเองคิดว่าภายในห้าปีถ้าเรา ปรับโครงสร้างไม่ได้ทำการศึกษาจากระบบราชการไม่ได้คิดว่าต้องเป็นความท้าทายของประชาชนทุกภาคส่วนที่จะมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามสิทธิและหน้าที่ของตนเอง

จริง ๆ แวดวงการศึกษาเราละเลยเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิทางการศึกษาของเด็กมากแต่ในส่วนของการศึกษาทางเลือกเราพยายามจะทำงานเพื่อความหลากหลายของผู้จัดการศึกษาตามมาตรา 12 จะมีนอกจากเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะให้บุคคลครอบครัวองค์กรเอกชนองค์กรชุมชนองค์กรวิชาชีพสถานประกอบการและสถาบันทางศาสนาสามารถจัดการศึกษาได้จะมีหกกฎกระทรวงที่ออกมารับรองสิทธินี้หมายถึงว่ามีผู้จัดที่หลากหลายได้มากขึ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะเราทำงานกับสถาบันหรือหน่วยงานอื่น ๆ เช่นโรงพยาบาลสถานพินิจศูนย์ฝึกกระบวนการยุติธรรมหรือห้างร้านที่มีลูกจ้างเยอะเยอะมาตรา 12 จะไป Support ให้สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลลูกหลานที่มีความรับผิดชอบได้มากขึ้นแต่กฎกระทรวงก็ออกมาหกกฎกระทรวงเพราะฉะนั้นตัวกฎกระทรวงที่ออกมารองรับในพ.ร.บ. เดิมไม่ครอบคลุมดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องไปแก้ใน พ.ร.บ. ใหม่คือควรจะเปิดมิติของผู้จัดการศึกษาที่ หลากหลายและกำหนดที่ไม่ใช่คำว่าอื่น ๆ เพราะคำว่าอื่น ๆ ตีความได้มากอาจจะได้รับหรือไม่ได้รับตีความยาก เพราะในระบบราชการที่ตีความคือเดิมเคยทำอย่างไรก็ทำแบบเดิม

เพราะฉะนั้นเวลาเราดูพ.ร.บ. เราอาจจะต้องมีความละเอียดในเรื่องนี้มากขึ้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีความคลุมเครือในตัว พ.ร.บ. การศึกษาฉบับเดิม ไล่เรื่องพูดจัดอยู่ในมาตรา 12 พูดถึงการจัดการศึกษาก่อนและระบบ แต่ทำไมเมื่อพูดถึงระบบก่อนแล้วค่อยพูดถึงผู้จัดการศึกษา แต่พอเราไปดูในมาตรา 15 พูดถึงเรื่องการศึกษามีสามระบบ ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย แต่ความหมายที่อธิบายอธิบายวิธีการจัดการศึกษาไม่ได้พูดถึงระบบ ระบบหมายถึงการบริหารจัดการตั้งแต่ผู้กำกับดูแลผู้จัดการศึกษา ที่อาจารย์พูดว่ามีโซระหว่างผู้จัดการศึกษากับผู้ดูแลซึ่งในประเทศไทยบอกว่ามีกฎกระทรวงกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษามาสู่พื้นที่แล้วแต่ยังเป็นการรวมศูนย์อยู่ระหว่างโซ่ของส่วนกลางกับภูมิภาคอยู่ถ้าคุณไม่เข้าใจทั้งส่วนกลางภูมิภาคก็ไม่เข้าใจด้วยเมื่อภูมิภาคไม่เข้าใจย้อนกลับไปถามส่วนกลางก็กลับมาก็กลายเป็นการเสียสิทธิ์ทั้งผู้จัดและผู้เรียน เพราะฉะนั้นวิธีการอธิบายในตัวพ.ร.บ.การศึกษาต้องไล่ระบบตั้งแต่แรก ที่มีน้องท่านหนึ่งในวงกล่าวว่าระบบมีส่วนร่วมอันนี้เห็นด้วยมากเพราะการจัดการศึกษาแต่ละประเภทกลไกของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต้องมีตัว ผู้เรียนจนถึงผู้สนับสนุนกำกับดูแลแต่เราถูกตัดห่วงโซ่นี้ออกจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยมีการอ้างถึงกฎกระทรวงว่าด้วยการบริหารจัดการกระจายอำนาจการศึกษาแล้วแต่ไม่ได้มีการปฏิบัติจริงและวิธีการทำงานเป็นการ ปกป้อง ระบบราชการ แต่ไม่ได้ปกป้องสิทธิเด็กและไม่ได้ปกป้องผู้จัดการศึกษาที่มีความหลากหลายในมาตรา 12

เพราะฉะนั้นความหลากหลายที่เกิดขึ้นมีจริงและมีไม่ครอบคลุมยังไม่ลงไปดูแลถึงสิทธิการศึกษาของผู้เรียนซึ่งจริง ๆ แล้วเรามีการปฏิรูปการศึกษาและมีกลไกหนึ่งในวงปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องกลไกการมีส่วนร่วมซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะฉะนั้นสรุปกันว่าเกินห้าปีมาแล้วแต่ปัจจุบันยังเหมือนเดิมจึงไม่แน่ใจถ้าบอกว่าอีกห้าปีข้างหน้าจะเปลี่ยนหรือไม่แต่จะบอกว่าเป็นความท้าทายของภาคส่วนของการศึกษาทางเลือก เองที่จะขยับต่อและส่วนอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบหรือผู้ดูแลการศึกษาส่วนอื่น ๆ ที่เราจะต้องร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกัน

  • คุณเทวินฏฐ์ อัครศิลาชัย เลขาธิการสมาคมสภาการศึกษาทางเลือก ตัวแทนภาพที่ 3

กล่าวว่า อยากจะชวนทุกคนคิดเห็นอนาคตว่ามันต้องเปลี่ยน ที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง เราไม่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างเดียวแต่องคาพยพทั้งหมดต้องเปลี่ยนของมันเอง มองดูอีกห้าปีคิดว่าอาจจะเร็วขึ้นกว่านี้ก็เป็นได้ดูจากปัจจัยสองถึงสามอย่างคือ

ปัจจัยที่หนึ่งคือเรื่องไอที ระบบไอทีเป็นระบบการปฏิวัติระบบการสื่อสารครั้งใหญ่ไอทีทำให้เด็กทุกคนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้เข้าถึงการศึกษาตามที่ตัวเองต้องการได้หมด

สองระบบเศรษฐกิจระบบเศรษฐกิจมีช่องว่างมีความเหลื่อมล้ำยังมีเด็กและผู้เรียนอีกจำนวนมากที่ยังยากไร้และยากลำบากและเข้าไม่ถึงแหล่งเรียนรู้ที่ต้องใช้ระบบเงินทุนเป็นตัวตัดสินเป็นตัวชี้วัดการจ้างเพราะฉะนั้นระบบเศรษฐกิจตรงนี้ที่ทำให้เด็กหลายส่วนต้องคิดถึงเรื่องที่จะต้องเรียนไปพร้อมกับการทำงานตอนนี้ระบบของไทยเราระบบอุตสาหกรรม เค้าเปลี่ยนแล้วเรียกว่าระบบโรงเรียนโรงงานทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย เราจึงอยากเห็นโรงเรียนในฟาร์ม โรงเรียนในช็อปโรงเรียนในร้านกาแฟ โรงเรียนสะดวกซื้อ นี่คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบเศรษฐกิจไม่รอที่จะให้เด็กต้องเรียนให้จบก่อนถึงจะไปทำงานซึ่งไม่ทันแล้ว

สามคือเรื่อง ระบบโรงเรียนแข็งตัวเกินไปที่เป็นอยู่ปัจจุบันทั้งเรื่องหลักสูตรการวัดผลการเรียนการสอนที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของเด็กอีกกลุ่มนึงเด็กมีความต้องการที่หลากหลายมากยิ่งยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงเพราะฉะนั้นระบบโรงเรียนที่แข็งตัวแบบนี้ยังอยู่ในระบบนิเวศการเรียนรู้แบบเดิม

ปัจจุบันการศึกษาไทยเหมือนรถการศึกษาที่ติดลมรถติดหล่มการศึกษาและหล่มนั้นเราสร้างขึ้นมาเอง ผู้ใหญ่สร้างขึ้นมาเองเด็ก ที่อยู่บนรถนั้นรู้สึกทนไม่ไหวแล้วมันติดหล่มอยู่นานเหลือเกิน เด็กหลายคนบอกรู้ว่าผมลงแล้วนะครับครูเขียนตามไปเด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ยิ่งไอทีตอบโจทย์และสิ่งเรียนรู้รอบตัวตอบโจทย์ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ทำกาแฟ ไม่รอแล้ว

เพราะฉะนั้นระบบของโรงเรียนระบบการศึกษาในแบบเดิมเป็นการเรียนรู้แบบแยกส่วนที่ยังมีคำว่าในระบบนอกระบบตามอัธยาศัยแบบนี้แหละเป็นนิเวศการเรียนรู้แบบเดิมและล้าหลังอีกห้าปีไม่มีแล้ว

เสียงของทุกคนในวันนี้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะช่วยกันสร้างระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่น สอดคล้องกับผู้เรียน และทักษะในอนาคต  เพราะว่าจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาไปสู่สังคมที่ดี คนมีคุณภาพ ให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

คุณผู้อ่านสามารถติดตาม รายการเพิ่มเติมและร่วมโหวตเลือกฉากทัศน์ที่น่าจะเป็นหรือแสดงความเห็นเพิ่มเติมได้ที่ www.thecitizen.plus

หรือร่วมเสนอประเด็นเพื่อให้เกิดเวทีฟังเสียงประเทศไทยกับไทยพีบีเอส และเรื่องราวกับแฟนเพจTheNorth องศาเหนือ

ร่วมรับ “ฟัง” ด้วยหัวใจที่เปิดรับ ส่ง “เสียง”แลกเปลี่ยนกันด้วยข้อมูลที่รอบด้าน เพื่อร่วมหาทางออกให้กับ “ประเทศไทย” กับรายการ #ฟังเสียงประเทศไทย ตอน ทางเลือกการศึกษาไทย วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 17.30 – 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

เพราะทุกการเดินทางและการฟังกันและกัน เราหวังว่านี่จะเป็นอีกพื้นที่ ที่ “เสียง”ของประชาชนจะไปถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่จะออกแบบและจัดการตามข้อเสนอที่ผ่านการร่วมกันคิด ร่วมกันตัดสินใจ แบบ “ปัญญารวมหมู่”

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ