เชียงใหม่ ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการไฟป่า ด้วยระบบ Fire D ระดับจังหวัดและท้องถิ่น

เชียงใหม่ ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการไฟป่า ด้วยระบบ Fire D ระดับจังหวัดและท้องถิ่น

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.30 มีการศึกษาแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาระบบการตัดสินใจ การจัดการไฟในที่โล่ง ด้วยระบบ Fire D ระดับจังหวัดและท้องถิ่น ณ ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่การบริหารจัดการไฟป่า อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่  

เรียนรู้ แลกเปลี่ยน การบริหารจัดการไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่

ในช่วงเช้านี้ มีผู้ร่วมหารือจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ผศ.ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ดร. ธนพร ศรียากูล คณะกรรมการการกระจายอำนาจ นายชัชวาล ทองดีเลิศ สภาลมหายใจภาคเหนือ นางสาวศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายเดโช ไชยทัพ สมาคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคเหนือ และนายกนกศักดิ์ ดวงแก้วเรือน ผู้นำสภาองค์กรชุมชน โดยประเด็นที่มีการแลกเปลี่ยน ประกอบด้วย การบริหารจัดการไฟป่าในพื้นที่อนุรักษ์ ระบบและขั้นตอนกระบวนการทำงานของระบบ Fire D สาระสำคัญของการถ่ายโอนภารกิจด้านการควบคุมไฟป่า บทเรียนและข้อเสนอจากการขับเคลื่อนเชียงใหม่โมเดล การลดความขัดแย้งในการบริหารจัดการไฟป่า และการเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการบริหารจัดการไฟป่า

ระบบ Fire D 

เป็นระบบที่สนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ซึ่งประชาชนต้องทำการการลงทะเบียนผ่าน อบต.หรือเทศบาลเพื่อขอใช้ไฟที่จำเป็นเท่านั้น โดย Fire D มีการพัฒนาระบบที่บูรณาการกับข้อมูลตรวจวัด ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลจากแบบจำลองพยากรณ์คุณภาพอากาศ ซึ่งในปีนี้มีการตัดสินในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงใจในระดับอำเภอ มีแนวโน้มที่จะมีการถ่ายโอนไปทำงานร่วมกับท้องถิ่น และมีพื้นทีี่นำร่อง 12 อปท. ในการบริหารจัดการ 

ผลการทำงานที่ผ่านมา

ผศ.ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์ คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า คำร้องในการขอใช้ไฟ เงื่อนไขในการตัดสินใจหลัก ๆ คือ เรื่องของสภาพอากาศ ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ประกอบกับวันที่จะบริหารจัดการเชื้อเพลิง แนวโน้มของคุณภาพอากาศต้องไม่รุนแรง ในส่วนคำร้องที่ได้รับการอนุมัติต้องมีการควบคุมไฟไม่ให้ลุกลามไปพื้นที่ข้างเคียง หากบางพื้นที่ที่มีไฟลุกลาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันตรวจสอบว่า พื้นที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่ที่ได้รับการจัดการหรือเป็นไฟที่ลักลอบเผา ซึ่งปัญหาอุปสรรคที่พบคือการสื่อสารไปยังส่วนที่บริหารจัดการเชื้อเพลิง หากได้รับการอนุมัติแล้ว ต้องทำการรายงานผล เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะพิจารณาคำร้องอื่นในระบบ และเน้นยำ้ในเรื่องตัวชี้วัดจุดความร้อนที่ควรจะหารือกันในการใช้เป็นตัวชี้วัดหลักและวิธีการจัดการ หากเกิดสถานการณ์ที่คุณภาพอากาศแย่ แต่ไม่พบจุดความร้อน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุมาจากการเผาหลีกเลี่ยงระบบดาวเทียม 

ความคาดหวังในการบริหารจัดการเชื้อเพลิง

ในปี 66 นี้ เรื่องการกระจายอำนาจจะต้องมีประสิทธิภาพ ภาครัฐต้องสร้างการรับรู้ให้แก่คนในพื้นที่ สามารถตรวจสอบงบประมาณและแผนการดำเนินงานได้ ในส่วนการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าต้องใช้กลยุทธ์ในการจัดการ มีกระบวนการการจัดการให้้สอดคล้องในแต่ละพื้นที่ ที่สำคัญคือความร่วมมือจากคนในพื้นที่ ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และเอกชน ในการบริหารจััดการเชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพนั้น อาจทำให้ปัญหาหมอกควันและไฟป่าคลี่คลายลง รวมถึงการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่นำร่อง 12 อปท. ที่ต้องอาศัยการตัดสินใจในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดความผิดพลาดและผลกระทบน้อยที่สุด

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ