“เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ” ยื่นหนังสือ สนง.ตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบงบทำแนวกันไฟ

“เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ” ยื่นหนังสือ สนง.ตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบงบทำแนวกันไฟ

วันที่ 19 มกราคม 2566 เวลา 10.00 น. เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือได้เข้ายื่นร้อง สนง.ตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบงบแนวกันไฟ โดยยื่นผ่าน “นายพงษ์ศักดิ์ สุระประสิทธิ์” ชผต. (ภาค 8) ณ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 8 จังหวัดเชียงใหม่ นำโดย “นายวิทยา ครองทรัพย์” ผู้ประสานงานเครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ ซึ่งเจตนารมณ์การยื่นเรื่องในครั้งนี้ เพื่อพิจารณาดำเนินการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนงาน การจัดทำแนวกันไฟในป่าอนุรักษ์ของหน่วยงานในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้เป็นไปตามกรอบการจ้างที่กำหนด

โดยกลุ่มผู้สนใจปัญหามลพิษฝุ่นควัน โดยมีเครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ โครงการบ้านก้อแซนด์บ็อกซ์ และประชาชนผู้สนใจปัญหาฝุ่นควัน ร่วมลงชื่อเรียกร้องสนับสนุนให้เกิด “ป่าโปร่งใส” ใน change.org 

หลังจากมีข้อมูลว่า หน่วยงานเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า จะถูกเรียกเก็บในสัดส่วน 30% จากข้อมูลในแต่ละปี หน่วยงานในสังกัดกรมอุทยานฯ ได้ใช้งบประมาณจัดทำแนวกันไฟภาคเหนือรวมกันยาว 1.5 หมื่นกิโลเมตร โดยใช้งบประมาณการจัดทำ 5,000 บาทต่อกิโลเมตร ซึ่งเป็นงบประมาณจำนวนมาก รวมถึงการประกาศประกวดราคาทำแนวกันไฟในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ของสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ซึ่งมีระยะทางประมาณ 4,100 กิโลเมตร ทำให้มีข้อกังวลว่าการจัดทำแนวกันไฟนั้น อาจไม่เป็นตามการข้อกำหนดการจ้างที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าอย่างแท้จริง

โดยตัวแทนภาคประชาชนได้ยื่นเอกสารแถลงการณ์ต่อนายพงษ์ศักดิ์ สุระประสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้ตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 8 พร้อมทั้งยื่นรายชื่อผู้สนับสนุน ทั้งจากทางระบบไลน์กลุ่ม จำนวน 40 ชื่อ และจากทางแคมเปญ “ป่าโปร่งใส” ในเว็บไซต์ change.org อีกประมาณ 1,700 รายชื่อ แนบไปพร้อมกับเอกสารข้อเรียกร้องด้วย

https://www.csitereport.com/newsdetail?id=0000029170

จากกรณีอื้อฉาวเรื่องการทุจริตเรียกเก็บเงินจากงบประมาณของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตามที่ทราบโดยทั่วกันแล้วนั้น มีข้อมูลว่าหน่วยงานที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ปัญหาไฟป่า จะถูกเรียกเก็บเงินจากงบประมาณในสัดส่วนมากที่สุดถึงร้อยละ 30 ซึ่งหากเป็นเรื่องจริง จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่นควันไฟป่า ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังในภาคเหนือมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะกิจกรรมป้องกันไฟ เช่น การจัดทำแนวกันไฟ ไปจนถึงอุปกรณ์และความพร้อมของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และอาจนำไปสู่การปล่อยให้เกิดไฟไหม้ในป่าโดยไม่จำเป็น เพื่อรักษาสัดส่วนงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปีเอาไว้

“หากมีกรณีเช่นนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อสาธารณชนโดยตรง เพราะภาคเหนือเกิดวิกฤตมลพิษอากาศและเกิดปัญหาไฟในป่าจำนวนมาก ดังนั้นกิจกรรมเกี่ยวกับป่าอนุรักษ์ของรัฐ ควรจะเปิดเผย โปร่งใส และควรจะต้องเปิดให้สาธารณะเข้าไปมีส่วนร่วม ได้รับรู้ตั้งแต่ต้น จึงอยากจะให้รัฐบาลและหน่วยงานเกี่ยวข้องได้ดำเนินการให้เกิด “ป่าโปร่งใส” นับจากนี้ โดยเครือข่ายผู้เรียกร้องขอยื่นหนังสือต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 8 ที่ดูแลพื้นที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน ให้พิจารณาดำเนินการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนงานจัดทำแนวกันไฟในป่าอนุรักษ์ของหน่วยงานในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้เป็นไปตามข้อกำหนดจ้าง และก่อให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันไฟป่าอย่างแท้จริง”

ในแต่ละปีหน่วยงานในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ใช้งบประมาณจัดทำแนวกันไฟในภาคเหนือรวมยาวประมาณ 15,000 กิโลเมตร โดยใช้งบประมาณจัดจ้างทำแนวกันไฟดังกล่าว ประมาณ 5,000 บาทต่อกิโลเมตร ซึ่งเป็นงบประมาณจำนวนมากในแต่ละปี

นายวิทยา ครองทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ กล่าว

“เราอยากจะขอให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 8  กรุณาดำเนินการตรวจสอบการจัดซื้อ จัดจ้าง ตามแผนงานการจัดทำแนวกันไฟในป่าอนุรักษ์ของหน่วยงานในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้เป็นไปตามแผนที่ทำไว้ให้ครบถ้วน และแจ้งให้ทางสาธารณชนทราบด้วยว่าการดำเนินการเป็นอย่างไร”

การยื่นร้องในครั้งนี้ เกิดจากข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพประชาชาชนในภาคเหนือ เนื่องจากวิกฤตฝุ่นขนาดเล็ก (PM 2.5) ที่เกิดขึ้นในทุก ๆ ปี อาจมีสาเหตุมาจาการเผาทำแนวกันไฟ จึงอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้งบประมาณ ใช้งบอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง รวมไปถึงการยกระดับ “ป่าโปร่งใส” ที่ต้องการให้ประชาชนรับรู้และมีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ได้

ขณะที่ล่าสุด สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ได้ประกาศประกวดราคาทำแนวกันไฟในเขตป่าจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน ระยะทางประมาณ 4,100 กิโลเมตร ซึ่งหากมีการเรียกเงินงบประมาณจากกิจกรรมนี้ร้อยละ 30 ตามข่าวจริง อาจจะส่งผลให้แนวกันไฟไม่เป็นไปตามกรอบการจ้าง

อีกทั้งแนวกันไฟมีระยะทางยาวมากและอยู่ในป่าเขาสูง ยากที่คนภายนอกจะเข้าไปตรวจสอบ จึงต้องร้องขอให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่มีหน้าที่ตรวจสอบโดยตรงพิจารณาดำเนินการต่อไป ซึ่งในภายภาคหน้าจะมีการดำเนินการยื่นร้องถึงหน่วยงานอื่นหรือไม่นั้น ยังคงต้องติดตามรอดูสถานการณ์กันต่อไป

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ