เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ ร่วมกับโครงการ Mekong for the Future ขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) จัดเสวนาหัวข้อ “Sharing Thailand-U.S. Experiences : A Path to Cleaner Air and Healthier Communities” “เวทีร่วมหาแนวทางพัฒนาอากาศสะอาดระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา” นักวิชาการชี้ต้องอาศัยพลังทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนกฎหมายพ.ร.บ.อากาศสะอาด ขณะที่หน.วิจัยเฝ้าระวังและติดตามคุณภาพอากาศด้วยเครื่องเซ็นเซอร์ Dustboy ระบุต้องมีข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษแต่ละพื้นที่เพื่อแก้ให้ตรงจุด ส่วนปธ.สภาลมหายใจเชียงใหม่ดันกระบวนการความร่วมมือ เสนอแก้เชิงนโยบายควบคู่แก้ไฟป่าฯ
สถานการณ์และความท้าทายเรื่องคุณภาพอากาศภาคเหนือประเทศไทย
รศ.ดร.สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และประธานศูนย์วิชาการมลพิษทางอากาศของมหาวิทยาลัยภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ของฝุ่นควัน ในภาคเหนือของประเทศไทยมีแหล่งกำหนดของมลพิษทางอากาศ จากการเผา การจราจร จากการเผาในพื้นที่โล่ง และจุดความร้อน ขึ้นอยู่แต่ละปีว่าปีไหนมีความแห้งแร้งมากก็จะเผาเยอะ ปีไหนมีฝนตก ก็จะมีการเผาน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศโดยทั่วไป และนอกจากพฤติกรรมของคนแล้ว การปล่อย PM 2.5 ของภาคเหนือ 9 จังหวัด รวมจังหวัดตาก การปล่อยฝุ่นควัน PM 2.5 ไปสู่ทางอากาศ คำนวณจาก 1 ปี ประมาณ 11,000 ตันต่อปี ที่การปล่อยออกสู่บรรยากาศ ในช่วงหน้าแล้ง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน มีค่าฝุ่นที่สูงขึ้นจนผิดปกติ ในช่วงสามเดือนที่พูดมาจะสัมพันธ์ กับการเผาในพื้นที่โล่ง ปัจจุบันประเทศไทยใช้ค่ามาตรฐานที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ต่อ PM 2.5 รายวัน และกำลังจะบังคับใช้ค่ามาตรฐานใหม่ คือ 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาร์ตเมตร ในช่วงฤดูหมอกควัน พื้นที่สีเขียว จะมีช่วง Biomass Burning การเผาชีวมวล Secondary การเผาชีวมวล เหมือนกับฝุ่นมือสอง ที่ไม่ได้ปล่อยจากแหล่งกำหนดโดยตรง แต่ว่ามาทำปฏิกิริยาให้เกิดฝุ่นตัวนี้ขึ้นมา นอกฤดูหมอกควัน สัดส่วนของฝุ่นนั้น จะเกิดมาจากฝุ่น ควันรถ หรือควันถนน งานวิจัยของมหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นมาการจัดการเชื้อเพลิง แอพ “FireD” และมีโครงการ “CMU Model” ที่ช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ในการที่ไปทำงานร่วมกับ ชาวบ้านที่บ้านป่าตึงงาม ตำบลปิ่นโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
โครงการ AQSEA (Air Quality Monitoring Capacity in Southeast Asia) เป็นโครงการที่ได้รับทุนจาก Department of State ในโครงการนี้เราได้ตัวรับเซนเซอร์ เรียกว่า Low – Cost Sensor วัตถุประสงค์เพื่อสร้าง Network ไม่ใช่เฉพาะในภาคเหนือ แต่ออกไปถึงระดับภูมิภาค โดยจะใช้แอปพลิเคชัน FireD ในการจัดการเชื้อเพลิงเชียงใหม่ ร่วมกับ CMU Model ที่ทางมหาวิทยาลัยหลายส่วนทำงานร่วมกันเพื่อลดปัญหาการเผาในที่โล่ง
“เชิงนโยบาย ของคนที่อยู่ในพื้นที่ผู้ประสบภัย ในระยะที่เรายังเลี่ยงไม่ได้หรือทำอะไรไม่ได้ ต้องช่วยตัวเองไปก่อน”
ความท้าทายของเรามีเยอะ ในสถานะของนักวิชาการ งานวิจัยก็ต้องทำ บริการวิชาการก็ต้องทำการที่เราต้องผลักดันไปทั้งสองเรื่อง ก็จะบอกว่างานวิจัยของเรานั้นครบถ้วนก็ไม่เชิง ยังมีประเด็นอีกหลาย คำถามที่ต้องตอบ ก็หาคำตอบในเชิงลึก แต่ว่าในเชิงนโยบายที่ทางพวกเราของคนที่อยู่ในพื้นที่ผู้ประสบภัยมลพิษทางอากาศหลายปี เราจะช่วยกันผลักดันยังไงให้ มีอากาศสะอาดทุกคนได้ ตอนนี้ ในระยะในฐานนะที่เรา ยังเลี่ยงไม่ได้ เราจะทำอะไรได้บ้าง ถ้าเราเลี่ยงไม่ได้เราก็ต้องป้องกันตัวเองไว้ก่อน
ในส่วนของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการสวมหน้ากาก หรือว่าอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่ ที่ทางภาครัฐจัดเตรียมให้ อันนี้คือเป็นสิ่งที่ต้องมีความตระหนักรู้ เพื่อความปลอดภัยในเชิงสุขภาพ แต่ในระยะยาวที่เราขับเคลื่อนโดยให้มันเป็นมหาภาคมากขึ้น คงต้องอาศัยทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาควิชาการ ภาคเอกชน หรือ ภาคเอกชนหรือสภาลมหายใจ เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดพลังที่จะไปสู่นำ นโยบายต่าง ๆ ที่จะทำให้อากาศของเรานั้นดีขึ้น ซึ่งเราต้องยอมรับด้วยว่าส่วนหนึ่งด้วยว่า มันก็เกิดจากภัยธรรมชาติด้วย ในเรื่องของปัจจัยของกรมกรมอุตุนิยมวิทยา ที่มันทำให้เกิดความสะสมของมลพิษทางอากาศ ความกดอากาศสูง และอากาศมันถูกกดลงมา ทำให้มลพิษที่อยู่ในตัวเมืองมันถูกขังสิ่งที่เราทำได้คือในเรื่องของแหล่งกำเนิดแต่แหล่งกำเนิด เราสามารถลดได้เพราะแหล่งกำเนิด ส่วนใหญ่เกิดมาจาก มนุษย์ทั้งนั้น ถ้าลดแหล่งกำเนิดได้ เชื่อว่าถึงจะมีปัจจัยจากอื่น ๆ อยู่ ก็จะบรรเทาเบาบางลง นี่คือความจริงที่ทางวิทยศาสตร์ ได้พิสูจน์แล้ว และเป็นควรสิ่งที่ต้องทำ
DustBoy Low–Cost Sensors
รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล หัวหน้าศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และหัวหน้าหน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงาน และเศรษฐนิเวศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึง การเกิดขึ้นเครื่องกรองอากาศขนาดเล็ก หรือ DustBoy เป็นเซนเซอร์ขนาดเล็กและราคาถูก (Low – Cost Sensor) เนื่องจากในจังหวัดเชียงใหม่ มีเครื่องมือที่ได้รับการรับรองจากกรมควบคุมมลพิษ ที่สามารถวัด PM 2.5 ได้เพียง 3 เครื่อง และตั้งอยู่ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอแม่แจ่ม ทำให้ไม่เพียงพอต่อการวัดคุณภาพอากาศอย่างทั่วถึง จึงได้คิดค้น DustBoy ขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนและทุกพื้นที่ได้มีเครื่องมือในการวัดคุณภาพโอกาสที่ดี
“ถึงแม้จะ Low – Cost แต่ก็มีคุณภาพ เพราะมีการทดสอบร่วมกับสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และอีกหน่อยจะมีใบประกาศนียบัตร ทุกเชนเซอร์ก็จะสามารถมั่นใจได้ว่าดี และใช้งานได้ อีกทั้งคาดหวังว่าตัวเซนเซอร์ จะถูกเอาไปใช้งานต่อไป”
ความท้าทายของ DustBoy
ที่เราทำมาสิ่งที่เราเห็นและมีคุณค่ามาก ๆ เลยคือในเรื่องของ DATA ข้อมูลว่าข้อมูลที่เราเก็บแต่ละพื้นที่มันแสดงตัวตนหรือแหล่งกำเนิดในแต่ละพื้นที่จริง ๆ ถ้าเราช่วยกันหาคำตอบว่าแล้วแหล่งกำเนิดแต่ละพื้นที่เนี้ยมาจากอะไรกันเนี้ย มาจากที่โล่งเผาขยะ หรือว่ามาจากเรื่องอื่น ๆ เราก็ที่จะสามารถที่จะแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจริง ๆ แต่ละพื้นที่ควรจะต้องส่ง ในเรื่องของความมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เพราะว่าเราไม่สามารถใช้แบบท็อปดาว รัฐบาลสั่งมาหรือผู้ว่าสั่งมา แล้วแก้ไขปัญหาได้มันคงยากมากๆเพราะว่าปัญหาไม่เหมือนกันเลยค่อนข้างแตกต่างกัน ในสิ่งที่งานวิจัยจะทำต่อไป พัฒนาเพิ่มขึ้นคือเรื่องของ DATA ให้เชิงลึกมากยิ่งขึ้น ในเรื่องโมเดล ของ FireD เราจะเอาเรื่องของข้อมูลมาใช้ ก็จะมีข้อมูลทั้งที่เป็น ข้อมูลจาก sencer และข้อมูลจากดาวเทียม และจะมีโมเดล Base ที่จะใช้ในเรื่องของการพยากรณ์ เพราะจะได้ทราบก่อนว่าอีกสามวันหรือวันข้างหน้า อากาศจะเป็นอย่างไร แล้วเราก็จะที่สามารถจัดการกับเรื่องของอากาศ ได้จริงหรือไม่
เราเคยมีนโยบายห้ามเผา แต่เราก็ไม่เห็นความสำเร็จในตัวนี้เพราะฉะนั้นในเรื่องของ DATA จะเป็นสิ่งที่บอก ว่าเราจะสามารถดึงข้อมูลไปทางไหนได้บ้าง แล้วสุดท้าย Data ก็ต้องเอามาสัมพันธ์เรื่องของ โรคภัยไข้เจ็บ หรือโรคภัยในพื้นที่ไหนมีกลุ่มเสี่ยง เสี่ยงจากโรคอะไร เพราะฉะนั้นในเรื่องของ Data เพื่อนำไปใช้กับผู้ป่วย ก็จะเป็นในเรื่องของการจัดการสุขภาพ เพราะฉะนั้นก็อยากให้ทุกคนเห็นความสำคัญของข้อมูล ถ้ามีข้อมูลแล้วเราก็สามารถ นำมาจัดการได้อย่างถูกต้อง สุดท้ายความท้าทายของ DUSTBOY จะอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืนได้อย่างไร หากไม่มีงบประมาณจากภาครัฐ และไม่มีการยอมรับทางฝั่งภาครัฐ ปัจจุบันรัฐนำข้อมูลไปใช้อยากให้เกิดประโยชน์ในภาคของประชาชนมากกว่า นี่คือสิ่งที่ท้าทายกับเราต่อไป
“หากลดค่ามาตรฐาน PM 2.5 ของไทยลงแล้ว จะช่วยป้องกันสุขภาพของคนไทยได้ โดยเฉพาะเดือนมีนาคม -พฤษภาคม”
คุณ แอแวน บิง ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากเครือข่ายติดตามคุณภาพอากาศของ PurpleAir และ DustBoy ในประเทศไทย ซึ่งการใช้เครื่อง Low-Cost sensors อย่าง PurpleAir และ DustBoy นั้นมีความคุ้มค่าในการรายงานคุณภาพอากาศในพื้นที่ห่างไกลและชนบท เนื่องจากมีราคาที่ต่ำกว่าเครื่องที่ใช้วัดอยู่เดิมของรัฐเป็นอย่างมาก และมีระยะเวลาการประมวลผลเพียง 2 นาที ซึ่งเครื่องวัดของรัฐใช้ระยะเวลาประมวลผลถึง 1 ชั่วโมง ดูง่าย และรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบครันแล้ว เช่น ค่า PM 2.5 การตรวจจับไฟที่ยังไหม้อยู่ผ่านดาวเทียม หรือควันที่พวยพุ่งอยู่ในขณะนั้น และอื่น ๆ
ในประเทศไทยได้มีการติดตั้งเครื่อง PurpleAir Sensor แล้วในหลายพื้นที่ และเริ่มได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ หลายเครื่องติดตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครฯ รวมถึงในพื้นที่ห่างไกลและชนบทก็มีเครื่อง PurpleAir Sensor อยู่หลายเครื่อง โดยในภาคเหนือมีเครื่อง PurpleAir Sensor อยู่ 17 เครื่องด้วยกัน โดยทั้ง PurpleAir Sensor และ Dustboy Sensor เป็นเครื่องมือที่ทางกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้เลือกใช้ในโครงการติดตั้งเครือข่ายLow-Cost sensor ในไทย ลาว และเวียดนาม โดยให้งบประมาณแก่ RTI International (Research Triangle Institute) มาถึงกว่า 300,000 ดอลลาร์สหรัฐ
“กระบวนการความร่วมมือเป็นหลักเป็นหัวใจใหญ่ในการแก้ไขปัญหา เชื่อมโยงหลายเรื่องหลายหน่วยงานเข้าด้วยการทางด้านเกษตรทั้งเรื่องคมนาคมทั้งเรื่องโรงงานอุตสาหกรรม”
มุมมองและข้อคิดเห็นจากภาคประชาสังคม คุณชัชวาล ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่
ทั้งเรื่องก่อสร้าง ทั้งเรื่องประเทศเพื่อนบ้าน การสร้างการมีส่วนร่วมขนาดใหญ่ของทุกฝ่าย ของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ของผู้ที่สร้างปัญหา ต้องมาทำงานด้วยกัน ต้องลุกขึ้นมาช่วยแก้ปัญหาด้านกฎหมายนโยบายและการหาทางออกวิน ๆ ทั้งสองฝ่าย ต้องแก้ทั้งระบบทั้งระดับท้องถิ่น ประเทศอาเซียนโลก ในด้านของชุมชนและท้องถิ่นนั้น อยู่ติดดิน ติดน้ำติดป่า ต้องให้เขามีส่วนร่วม คนที่อยู่ข้างนอกอยู่ห่างไกล แม้จะคิดดีขนาดไหน ถ้าคนที่อยู่ติดดินติดน้ำติดป่าเหล่านั้นหรือไม่ได้ลุกขึ้นมาร่วมแก้ปัญหาหลักการทำงานของระบบหายใจระบบคือการเรียนรู้ร่วมกันกับนักวิชาการและทุกๆภาคส่วนทำให้เรามองปัญหาอย่างรอบด้านของที่สำคัญมากที่ผ่านมารวมกันเป็นส่วนแก้ไม่ได้คือไม่ใช่แค่ชาวบ้านเผา วิธีคิดแบบมุมใหม่ กระบวนการขับเคลื่อนแบบใหม่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างรูปธรรมข้อเสนอเชิงนโยบาย
1. ปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ไม่ใช่ปัญหาเชิงเทคนิค แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างซับซ้อนเชื่อมหลายเรื่องหลายหน่วย
2. คำสั่งแบบ บนลงล่างแก้ไขปัญหาไม่ได้ ต้องเป็นการทำงานแบบล่างขึ้นบน การมีส่วนร่วม
3. ไม่โทษกันไปโทษกันมา เพราะแท้จริงแล้วทุกคนมีส่วนสร้างปัญหาต้องลุกขึ้นมาจับมือกันแก้ไข
4. มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ที่ต้องหาทางออกแบบ
5. ต้องแก้ทั้งระบบใรระดับท้องถิ่น ประเทศ อาเซียนโลก แต่ชุมชนและท้องถิ่นสำคัญที่สุดเพราะอยู่ติดดิน น้ำ ป่า
วิเคราะห์ปัญหาบทเรียน สถานการ์ณวิกฤติฝุ่นควัน PM 2.5 ด้วยข้อมูลวิชาการ
- ไม่ใช่แค่ชาวบ้าน/ชนเผ่าเผา แต่เกิดจากการเผาไหม้ทุกประเภท คมมนาคมขนส่ง โรงงาน พื้นที่เกษตร พื้นที่ป่า ประเทศบ้านเพื่อน
- มีปัจจัยการระบายอากาศ กระแสลม ลานิญ่า/เอลนีโญ่ ลักษณะภูมิประเทศ
- ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เสียชีวิตนับ 40,000 ราย
- เศรษฐกิจ สูญเสียนับ 100,000 ล้าน
- สิ่งแวดล้อม/คุณชีวิตกิจกรรมต่าง ๆ
- ความเป็นไม่เป็นธรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
กลยุทธการทำงาน 3 พื้นที่
- พื้นที่รูปธรรม
ในเมือง พื้นที่สีเขียว บ้านสู้ฝุ่น ธุรกิจสู้ฝุ่น พื้นที่นำร่อง/แผนป้องกันและแก้ไขฝุ่นควันระดับชุมชน/อุทยานนำร่อง /ป่าชุมชน อปท.ถ่ายโอนภาระกิจดับไฟป่า และสนับสนุนชุมชน
2.พื้นที่สาธารณะ
งานวิชาการ (งานศึกษาวิจัย/เสวนา/หนังสือความรู้สู้ฝุ่น งานสื่อ (เพจ/webside/แถลงข่าว) งานรณรงค์ (งานเทศกาลเพื่อลมหายใจ/นิทรรศการ ART for AIR/วิ่งเพื่อลมหายใจ)
3. พื้นที่นโยบาย
คณะกรรมการการจังหวัด (แผนแก้ฝุ่นควัน/ประกาศ/ปลดล็อค/งบประมาณ อบจ.มีศูนย์ ICT/warrome/งบ 13.6 ล้านปีติดตามวาระแห่งชาติ/กฎหมายอากาศสะอาด/แผนเพื่อนบ้าน)
ทางเชียงใหม่ลำพังทำไม่สำเร็จยังไงเชียงใหม่ดีขึ้นที่อื่นก็ยังเอาควันเข้ามาอยู่ดีเพราะเฉพาะต้องเกิดกระบวนการร่วมมือทุกๆจังหวัดทั่วประเทศในละดับภูมิภาคด้วยต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาและต้องมีการแก้ในเชิงนโยบายควบคู่กันไปด้วย ข้อเสนอ 6 นโยบาย ได้แก่
- นโยบายพลังงานสะอาด ขนส่งสาธารณะ รถยนต์ไฟฟ้า โรงงานปลอดมลพิษ
- เชิงนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวควบคู่กับนโยบายเศรษฐกิจฐานรากลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่ป่าป่าต้นน้ำ เพิ่มพื้นที่ เกษตรกรรมยั่งยืนที่สอดคล้องกับแต่ละภูมิภาค
- คือนโยบายจัดการที่ดินที่มั่นคงที่ดินที่ไม่มั่นคงนำไปสู่การผลิตที่ไม่มั่นคงข้อ
- นโยบายการป้องกัน รักษา เยียวยาสุขภาพประชาชน เพราะคิดว่า ccdc cmu ของเราที่มีที่ตำบลสำคัญมากการทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลแล้วสามารถดูแลป้องกันตัวเอง อันดับที่หนึ่งเกิดความตื่นตัวที่จะเข้ามาร่วมแก้ปัญหา PM 2.5 ด้วยอันที่สองก็คือไปบริหารจัดการว่าเราจะจัดการแก้ปัญหายังไง
- กฎหมายการบริหาร อากาศสะอาดแผน นโยบายร่วมประเทศ เพื่อนบ้าน
- นโยบายกระจายอำนาจ ชุมชน อปท จังหวัดบริหารจัดการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่
กลไกบริหารจัดการเชื้อเพลิงในจังหวัดเชียงใหม่
คุณสมคิด ปัญญาดี ผู้อำนวยการส่วนยุทธศาสตร์ ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับกลไกบริหารจัดการเชื้อเพลิงในเชียงใหม่ไว้ว่า เรื่องของการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยอาศัยเครือข่ายของพี่น้องภาคประชาชนภาคเอกชนร่วมไม้ร่วมมือกันเสนอแนวคิดต่าง ๆ ที่นำเสนอมา ซึ่งแผนการดำเนินงานของจังหวัดเชียงใหม่ก็ได้ผลส่วนหนึ่งและก็อาจจะมีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้จังหวัดจะไม่สามารถที่จะดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จได้ ในเร็ววันนี้ได้นำเสนอการคลังจังหวัดโดยให้ประชาชนเป็นตัวตั้งเป็นแกนหลักอำเภอจังหวัดสนับสนุนในการจัดการแก้ไขปัญหาใช่วิธีการปรับเปลี่ยนซึ่งดำเนินการอยู่ 2 ส่วน คือส่วนที่จำเป็นที่จะต้องจัดการเชื้อเพลิงเราก็อาศัยทางภาควิชาการทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่การที่คิดค้นหา Application ที่จะเข้ามาจัดการกับไฟที่จำเป็นต้องมีการจองโดยเราจะนำความรู้ทางภูมิศาตสร์ต่าง ๆ ภูมิเทศต่าง ๆ มาประกอบบวกถึงอัตราการละลายอากาศ สมควรไหมในพื้นเหล่านั้นที่จะใช่ไฟที่ต้องใช้ไฟในการดำรงชีพแต่ไม่อนุญาตให้ใช้หมดเรามีข้อจำกัดกฎกติกาใครที่ทำการจองจะมีการให้ลงทะเบียนคำโดยให้ท้องถิ่นก็คือเป็นหน่วยราชการที่ใกล้ชิดประชาชนที่อยู่ในการที่จะเป็นผู้ดำเนินการเป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถที่จะให้พี่น้องประชาชนมีการจองประเภทที่ 1 อันนี้จะลงทะเบียนที่ อบต. ใกล้บ้านตามหมู่บ้าน ถ้าเป็นเรื่องของการดำเนินการประชาชนมีแจ้งให้ อบต ใกล้บ้านทุกทีก่อนที่เราจะจัดการกฎกติกาคือก่อนการจองเราต้องมีการสำรวจพื้นที่ที่ต้องการใช้ไฟระบุด้วยว่าจะใช้ในการปลูกพืชอะไรบ้างใช่ในการทำอะไรเพื่อที่จะเป็นการเก็บข้อมูลรับการอนุญาตในการจองต้องขอล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันถึง 7 วันเพื่อที่จะให้ทางประชาชนข้อมูลว่าวันไหนจะมีการเผามากเท่าไหร่หรือว่าจะมีการใช่เชื้อเพลิงเท่าไหร่รวมถึงอำเภอข้างเคียงด้วยว่าท่านจองเข้ามาในระบบอำเภอข้างเคียงก็จะได้ทราบว่าอาจจะมีการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในบริเวณข้างเคียงของท่านจะได้เตรียมตัว
อีกประเด็นหนึ่งในส่วนของพื้นที่ ที่เราไม่ให้มีการใช้ไฟอย่างเด็ดขาดก็เป็นที่ที่สูงที่ต้นน้ำที่ป่าที่เรานั้นเราจะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและก็มีการจัดการในเรื่องของการทำอย่างไรช่วยกันป้องกันได้
สุดท้ายอีกอันหนึ่งในเรื่องของการจัดการเชื้อเพลิงคือการทำให้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่พี่น้องประชาชนไม่เผาแล้วสามารถที่จะนำไปจำหน่ายได้เป็นรายได้ให้กับตนเองเป็นการกระตุ้นเพื่อที่จะให้พี่น้องประชาชนไม่เกิดการเผาเร่ง รวมถึงการทำการภาคเกษตรกรรมซึ่งมีเศษโดยใช้ในการผลิตจำนวนมากตอนนี้จังหวัดเชียงใหม่ได้เปิดศูนย์รับซื้อดำเนินการอื่นที่ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ สามารถที่จะรับซื้อเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในกิ่งไม้ มะม่วง ลำไย แปลก 1 วันก็สามารถรับได้ประมาณ 100 ตันต่อวันพี่น้องประชาชนก็จะได้มีรายได้ ตอนนี้ศูนย์ที่รับซื้อประมาณตันละ 600 บาท เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในกิ่งไม้ สามารถนำไปขายได้จังหวัดเชียงใหม่จะกระจายศูนย์รับซื้อไปทั่วทุกอำเภอของพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่เพื่อที่จะนำส่งโรงงานอุตสาหกรรมหรือโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวลหรือว่า SCG
กลไกทางกฎหมาย
เมื่อพูดถึงกลไกทางด้านกฎหมายแล้ว ผศ.ดร.ปีดิเทพ อยู่ยืนยง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ความคิดเห็นทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างมลพิษ ควันและกลิ่น ที่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่เพื่อนบ้าน ยกตัวอย่าง ในสหรัฐอเมริกา รัฐมิชิแกน มีการนำกฎหมาย CAA (Clean and Act) เป็นรัฐบัญญัติ The Natural Resources and Environmental Protection Act 1994 (Act 451 of 1994) ไม่ให้เผาที่ทำให้เกิดกลิ่นและควัน สร้างความรำคาญแก่เพื่อนบ้านหรือชมชุนใกล้เคียง จนกระทบต่อสุขภาวอนามัยของเพื่อนบ้าน ส่วนในประเทศไทยมีการใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.421 “การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ท่าว่าเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย” และ ประมวลกฎหมายอาญา ลหุโทษ ม.397 ผู้ใดกระทำการต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้เกิดความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ รวมทั้งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ม.25 มีอำนาจปกครองให้หยุดการก่อให้เกิดความรำคาญ ร้องเรียนท้องถิ่นได้
“ถึงแม้ว่าประเทศไทยมีการผลักดันทางด้าน พรบ.อากาศสะอาด แต่ปัจจุบันไทยไม่มี พรบ.นี้ รัฐบาลได้มีการปัดตก พรบ.อากาศสะอาดไป อาจจะเห็นความสำคัญ แต่ก็อาจจะสังเกตความสำคัญได้ในยุคอนาคต เพราะฉะนั้นพวกเราในห้องนี้ ช่วยกันผลักดันน่าจะประสบความสำเร็จ และกฎหมาย CAA ก็น่าจะสามารถบรรลุเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติได้ ทุกท่านหายใจไหมครับ ผมก็หายใจ เพราะฉะนั้นลมหายใจไม่ใช่ของคนอื่นคนใด แต่เป็นของทุกคนร่วมกัน”
ความท้าทายและทางออกสำหรับการเกษตรแบบปลอดการเผาบนพื้นที่สูง
ผศ.ดร.จิรวรรณ กิจชัยเจริญ อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวว่า การจะใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่สูงจริง ๆ แล้ว มีเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการที่จะจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างอย่างเช่น คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)หรือคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ก็เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์อย่างหนึ่งที่จะมาแก้ไขปัญหาเรื่องของสภาพอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การเผา ประเด็นที่พูดถึงเรื่องของการเผา คือพื้นที่สูงพูดถึงการจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่เกษตร หน่วยงานองค์กรต่าง ๆ และภาครัฐเองก็มีความพยายามจะหาทางเลือกในการจัดการกับเชื้อเพลิงทางการเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ ว่าจะเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง ในพื้นที่ภาคเหนือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นเชื้อเพลิงสำคัญ ในเรื่องของภาคเกษตรขอให้ข้อมูลเชื้อเพลิงเชิงคณิตศาสตร์มีอยู่ 2 ที่ คือหลังจากเกษตรกรเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วก็จะเอาผลผลิตไปขายซึ่งเราเรียกกันว่า จุดรับซื้อ เพราะฉะนั้นเชื้อเพลิงที่อยู่ตรงจุดรับซื้อก็จะเป็นเปลือกข้าวโพด ซึ่งรับซื้อต่อมาแล้วมันสามารถจัดการได้ แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่ยังจัดการไม่ได้ก็คือเศษวัสดุที่มันอยู่บนแปลง นึกภาพบนพื้นที่สูงความชันของพื้นที่ปลูกข้าวโพด แล้วก็มีข้อมูลการศึกษาว่าการที่จะเอาเศษวัสดุเหลือใช้ออกมาจากแปลงเกษตรนั้นมันยากมาก ในแง่ของการใช้แรงงานที่สูงมากแล้วก็เรื่องของเครื่องจักรที่พูดถึงว่าให้เอาเครื่องจักรเข้าไปเก็บเกี่ยวในแปลงด้านล่างมันใช้ไม่ได้ในพื้นที่สูง ได้คุยกับทางด้านคูโบต้าแล้ว เขาก็บอกไม่มีเครื่องมือในการที่จะเข้าไปไถเงินทุนที่สูงนอกจากนั้นยังมีต้นทุนค่าขนส่งสูง
เพราะฉะนั้นการที่จะลดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม มองว่ามันต้องเปลี่ยนวิธีการผลิตทางการเกษตรไปเลย ไม่ต้องมาพูดแล้วว่าจะปลูกข้าวโพดยังไงไม่ให้เผา ซึ่งมีรูปแบบของการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรในพื้นที่สูงก็คือโครงการหลวง ทำเกษตรแบบยั่งยืนซึ่งการทำเกษตรแบบยั่งยืนก็มีรูปแบบหลากหลายรูปแบบ
จะชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่มันท้าทายในภาคเกษตร คือเรื่องของการที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบทางการเกษตรไปส่งแบบอื่นมาแทนข้าวโพด การแก้ไขปัญหานี้ต้องการการรวมกลุ่มกันเพื่อแก้ไขปัญหาแล้วมันจะถึงนำมาซึ่งการอนุรักษ์ทรัพยากรได้ก็จริง ๆ โดยประเด็นก็คือการแก้ไขปัญหาในระยะยาวก็ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การเกษตรที่ยั่งยืนในพื้นที่สูง
สรุปประเด็นสำคัญและวิธีการแก้ปัญหาคุณภาพอากาศภาคเหนือ ประเทศไทยจากการแลกเปลี่ยน (Key takeaways and action ideas)
คุณปริศนา พรหมมา ผู้แทนสภาลมหายใจเชียงใหม่ มีการพูดถึงประเด็นการลดการปล่อยมลพิษ แนวทางเกี่ยวกับระบบติดตามเพื่อจะลดการปล่อยมลพิษในพื้นที่เมืองและรอบนอกที่เป็นการเกษตร ลดผลกระทบต่อสุขภาพ โดยการพัฒนาระบบเซนเซอร์ขนาดเล็ก ซึ่งต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน ประชาชน ประชาสังคม ภาคธุรกิจ รวมไปถึงหน่วยงานต่าง ๆ มุ่งส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในเรื่องของการดูแลสุขภาพตนเอง
นอกจากนี้มีการพูดถึงการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของสภาลมหายใจภาคเหนือและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงกฎหมายป่าชุมชนที่สนับสนุนให้ชุมชนบริหารจัดการไฟในพื้นที่ของตัวเอง มีการพูดถึงการถ่ายโอนภารกิจในการจัดการไฟป่าสงวนแห่งชาติมาที่แต่ละท้องถิ่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับชุมชนและท้องถิ่น และการแก้ไขปัญหาที่ทำกินในป่าเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่เกษตรยั่งยืน ขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจสีเขียว โดยมีแนวคิดในการปรับปรุงเรื่องน้ำที่ใช้ในการเกษตร อีกทั้งยังมีการพูดถึงเกี่ยวกับความคาดหวังกฎหมายอากาศสะอาดที่อยากให้มีตั้งแต่ระดับชุมชนไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของ 9 จังหวัดภาคเหนือขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น
“เราไม่สามารถรอคอยการแก้ไขปัญหาแบบไม่กำหนดเวลาได้อีกแล้ว เราควรกำหนดระยะเวลา เช่น อย่างน้อย 5 ปี แม้อาจจะไม่ได้มีความหวังขนาดนั้น แต่เรามีพื้นที่ตัวอย่างที่แก้ไขปัญหาได้ มีข้อมูล เราน่าจะช่วยกันตั้งความหวังว่าปัญหาเหล่านี้จะจบภายใน 5 ปี” คุณวิทยา ครองทรัพย์ สภาลมหายใจภาคเหนือ กล่าว