บูรณาการหน่วยงานสำรวจข้อมูลที่อยู่อาศัย พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยใน กทม.

บูรณาการหน่วยงานสำรวจข้อมูลที่อยู่อาศัย พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยใน กทม.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ร่วมกับสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร จัดอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย เพื่อทำฐานข้อมูลที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นกิจกรรมครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นเนื่องจากก่อนหน้านี้ มีการอบรมในเชิงความรู้ ที่มา ความสำคัญของบทบาท หน้าที่ และกระบวนการโครงการบ้านมั่นคงที่พอช.ดำเนินการ 

S 37814297

ระหว่างวันที่ 15-16 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ร่วมกับสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร จัดอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย เพื่อทำฐานข้อมูลที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 ด้านการสำรวจและจัดทำข้อมูล ในช่วงเช้าของวันที่ 15 ธันวาคม นายแสนยากร อุ่นมีศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม เปิดโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อทำฐานที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร ให้กับหัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจาก 50 สำนักงานเขต สำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัยและสำนักพัฒนาสังคม รวมทั้งสิ้น จำนวน 160 คน
โดยมีนางสาวกาญจนา  ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม เป็นผู้กล่าวรายงานถึงความสำคัญและไทม์ไลน์ของการสำรวจข้อมูลและการอบรมของสำนักพัฒนาสังคมและแผนการแก้ไขปัญหาผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมือง ที่อยู่อาศัยของนักศึกษาจบใหม่  จากนั้นได้มีการบรรยายพิเศษ  โดยนางสาวสมสุข บุญญะบัญชา ประธานอนุกรรมการบ้านมั่นคงและการจัดการที่ดิน ในหัวข้อ “ความสำคัญของ City Wide การสำรวจข้อมูลทั้งเมือง /การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนทั้งเมือง หรือ “ทำทั้งเมือง”  โดยมุ่งเน้นให้เกิดการรวมกลุ่ม รวมคน ผู้เดือดร้อนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของตนเอง ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้น รวมถึงความสำคัญของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่สนับสนุนและเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนให้ชุมชนแก้ไขปัญหา สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจปัญหา เข้าใจโครงสร้างและบริบทชุมชน เปลี่ยนชุมชนแออัด เปลี่ยนความเป็นสังคมที่ผู้คนเรียกว่า “สลัม” ให้เป็น “สังคม” ได้อย่างไร ทำอย่างไรที่จะใช้กระบวนการทางสังคม ความเป็นประชาธิปไตยในชุมชนให้เกิดขึ้น ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ไม่เน้นการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างทางกายภาพ แต่ต้องเข้าใจความเป็นจิตวิญญาณและออกแบบชุมชนโดยใช้โครงสร้างของชุมชนเป็นหลัก ซึ่งเชื่อว่ากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน หล่อมหลอมให้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ชุมชนจะมีอำนาจในการต่อรอง และ “สร้างการพัฒนาและความเข้มแข็งให้ชุมชน”

274907

จากนั้น ได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยแต่ละโซนเขตในการวิเคราะห์เครื่องมือการทำงานที่ผ่านมาของหน่วยงาน   รวมถึงการออกแบบ การสำรวจข้อมูลของเขตในอนาคตเพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานในการแก้ไขปัญหาชุมชนต่อไป
วันสุดท้ายของการอบรม ได้มีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนกระบวนการกลุ่มย่อยในวันแรก และได้มีการแบ่งกลุ่มโซนเพื่อออกแบบและวางแผนการทำงาน ทั้งพื้นที่เป้าหมาย กระบวนการ วิธีการ เครื่องมือ และกำหนดเวลาในการดำเนินกิจกรรม รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในดำเนินงาน ตลอดจนเน้นย้ำความสำคัญของคณะทำงานพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยระดับเขต ทั้งที่จัดตั้ง และไม่จัดตั้ง พร้อมทั้งวางแผนการขับเคลื่อนคณะทำงานฯ ให้เกิดการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชุมชนและเกิดฐานการเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันในการดำเนินงานต่อไป

274910
274914
274910
274907
S 37814300
S 37814299

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ