ค่าครองชีพแพง ดุดัน ไม่เกรงใจใคร ‘หนี้’คือสิ่งที่ประชาชนต้องแบกรับ

ค่าครองชีพแพง ดุดัน ไม่เกรงใจใคร ‘หนี้’คือสิ่งที่ประชาชนต้องแบกรับ

สืบเนื่องจากที่พรรคเพื่อไทยประกาศนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 600 บาทต่อวัน จาก 353 บาทต่อวัน และขึ้นเงินเดือนของผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก 15,000 บาท เป็น 25,000 บาท ทำให้กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ทั้งฝั่งของคนที่เห็นด้วยและฝั่งที่ออกมาต่อต้าน

เมื่อปากท้องกลายเป็นวาระระดับชาติที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้น ๆ การปรากฎตัวของข้อเสนอในการเปลี่ยนแปลงบางอย่างไม่ใช่แค่เกมส์การเมืองแต่มันมีเนื้อหนังของกลุ่มคนจำนวนมากแขวนอยู่บนเส้นด้ายที่จะขาดเมื่อไหร่ก็ย่อมได้ แต่ถ้าก็จะทำให้เส้นด้ายมีความเหนียวและแข็งแรงก็ทำได้เช่นกันถ้าหากความเป็นความตายและปากท้องของคนในประเทศมีความสำคัญมากพอที่จะถูกผลักดันข้อเสนอค่าแรงจะถูกผลักดันขึ้นไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

ย้อนกลับไปสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นโยบายที่ทำซื้อใจแรงงานคือการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศไทย ระหว่างปี 2555 – 2556 เป็น 300 บาท ตามนโยบายที่หาเสียงไว้ บางจังหวัดถูกปรับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มจากเดิมเกือบ 2 เท่าตัว เช่น จ.พะเยา

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 328 – 354 บาท ซึ่งตั้งแต่ การปรับค่าแรงครั้งล่าสุด (2555) มาจนถึงปัจจุบัน (2565) ผ่านไป 10 ปี มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเพียง 28 – 54 บาท เท่านั้น

ค่าแรงที่ต่ำกว่าค่าครองชีพ เอาไงดีกับชีวิต

ค่าแรงที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินแทบไม่สมดุลกับค่าครองชีพในประเทศสักนิด ตั้งแต่ค่าอาหารในแต่ละมื้อจากเมื่อก่อน อาหารตามสั่งทั่วไปมื้อละ 30 – 40 บาท  ปัจจุบันจานละ 60 – 70 บาท อีกทั้งเนื้อหมูราคาพุ่งถึง 200 บาท/กก. เกือบเทียบเท่าค่าแรงขั้นต่ำต่อวัน คือ 335 บาท เพียงแค่ซื้อเนื้อหมู 1 ชิ้นก็ไม่มีเงินไปซื้ออย่างอื่นแล้ว ทั้ง ๆ ที่ คนไทยมีค่าใช้จ่ายมากมายเกินกว่าที่จะมีค่าแรงขั้นต่ำต่อวันจำนวนเท่านี้

ความสามารถในการแบกรับค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพที่มีแต่แพงขึ้นและหนักข้อขึ้นของแต่ละคนไม่เท่ากัน ยิ่งนานวันยิ่งทวีคูณความหนักอึ้งที่ต้องแบกไว้บนหลังที่ไม่ได้แข็งแรง แต่ชีวิตที่ต้องเดินต่อปากบวกกับปากท้องที่ไม่สามารถปล่อยให้หิวโหยไปมากกว่านี้ ทำให้ปัญหาที่ตามมาคือหนี้สินที่ต้องเอามาหมุนใช้ในระหว่างที่รอวันที่ค่าแรงออก 

ค่าครองชีพที่สูงจนเอื้อมไม่ถึงส่งผลให้หนี้สินครัวเรือนของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างร้ายแรง

ปี 2564 จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า จำนวนหนี้สินเฉลี่ยของครัวเรือนอยู่ที่ 205,679 บาท เพิ่มขึ้นจาก 25.4% เมื่อเทียบกับหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนที่ 164,005 บาท ในปี 2562ครัวเรือนที่เป็นหนี้มีสัดส่วนมากขึ้น คิดเป็น 51.5% เพิ่มขึ้นจาก 45.2% ในปี 2562อีกทั้งรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในช่วงเวลาเดียวกันเพิ่มขึ้นเพียง 5.1% ทำให้รายได้ครัวเรือนขยายตัวต่ำกว่าการขยายตัวของหนี้สิน 

ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยในปี 2564 เติบโต 3.9% ใกล้เคียงกับ 4.0% ในปี 2563 แต่เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจที่เติบโตช้า ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ยังคงขยับสูงขึ้นมาที่ระดับ 90.1% ในปี 2564 จากระดับ 89.7% ในปี 2563

การค้างหนี้สินจะไม่มีวันหมดไปถ้าปัญหาไม่ได้ถูกแก้จากต้นเหตุ ค่าแรงเป็นส่วนสำคัญมากสำหรับปากท้องคนที่ต้องพึ่งพาเงินจากค่าแรงรายวัน และรายเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากค่าแรงไม่มีท่าทีที่จะสูงขึ้นแต่ค่าครองชีพกลับแพงขึ้นทุกวัน และภาระหนี้สินก็ยังคงอยู่ การใช้ชีวิตก็จะลำบากขึ้น เพราะทุกการเคลื่อนไหวของชีวิตที่ราคาที่ต้องจ่ายอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงเข้านอน

การต่อสู้กับโลกทุนนิยมที่ชนชั้นแรงงานต้องปากกัดตีนถีบเพื่อเอาตัวรอดไปวัน ๆ โดยไม่มีใครมาสนใจใยดี หรือแม้แต่โอกาสที่หลุดลอยไปอย่างง่ายได้เหมือนลูกโป่ง โชคดีหน่อยก็ใช้เส้นสาย มือใครยาวก็สาวโอกาสมาใกล้ตัว มือสั้นก็ถูกฉกฉวยโอกาสนั้นไป ทั้งการรอคอยสิ้นเดือนที่เงินเดือนจะเข้าถึงแม้แต่น้อยนิด แต่ก็ยังพอจะเยียวยาแทนการต้องทนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอยู่ร่ำไป สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นความโหดร้ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จนกลายเป็นสภาวะจำยอมของคนไม่มีอันจะกิน

ทั้งนี้ถ้าหากค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือน ต่อวัน ต่อชั่วโมงของคนไทยยังคงเป็นแบบนี้ต่อไป ยอดค้างหนี้ครัวเรือนมีโอกาศสูงเกินความคาดหมายจนรัดคอคนทั้งประเทศตายในที่สุด

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ