ความเจ็บปวดของชาวบ้านคือ หน่วยงานรัฐทำ เซ็น อนุมัติกันเอง เลยรู้สึกว่าไม่ให้เกียรติ รับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านว่าแท้จริงต้องการกำแพงกันคลื่นไหม มองชาวบ้านเป็นคนอื่นทั้งๆ ที่เงินเดือนของเขาได้มาจากภาษีเรา
“แอล” ปริดา คณะรัฐ เล่าประสบการณ์การต่อสู้กับกำแพงกันคลื่นตั้งแต่ยังไม่รู้จักจนตอนนี้รู้จักเป็นอย่างดี เริ่มจากกรมโยธาเลือกทำกรมโยธาได้เลือกทำกำแพงกันคลื่นที่หาดม่วงงาม จนชาวบ้านรวมตัวกันสู้ คัดค้านไม่เอากำแพงกันคลื่น ไปฟ้องศาลอธิบายให้ฟังว่า หาดบ้านเราไม่ได้ถูกกัดเซาะ ไม่มีความจำเป็นกับการสร้างกำแพงกันคลื่นเลย จนตอนนี้โครงการชะลอไป
วันนี้เรามาเพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกมติครม. ปี 2534 และปี 2549 ให้กำแพงกันคลื่นจัดทำ EIA ต้องฟื้นฟูชายหาด เรามองว่ากรมโยาธาทำงานผิด ไม่มีองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหากัดเซาะเพราะไม่ได้ลงพื้นที่จริง แต่ละหาดในโครงการไม่เหมาะกับการทำแพงกันคลื่น ชายหาดบ้านเราในทุกพื้นที่สวยงามมากแต่กรมโยธาเลือกที่จะทำกันแพงกันคลื่นเพียงเพราะเห็นรูปที่คลื่นกระทบกับถนนและคิดว่าเป็นการกัดเซาะ ซึ่งมันเป็นระบบธรรมชาติของชายหาดอยู่แล้ว
ปริดา ในฐานะตัวแทนจาก saveหาดม่วงงาม เสริมว่า การทำ EIA ดีตรงที่อย่างน้อยมีการคัดกรอง ศึกษาผลกระทบอย่างรอบคอบก่อนที่จะสร้างกำแพงกันคลื่น ไม่ใช่แค่มองจากรูปภาพว่าหาดกัดเซาะแล้วสร้างเลย การมี EIA รู้สึกว่ามันคุ้มครองบ้านของเราก่อนทำโครงการต่างๆ ได้
“วรวัฒน์ สภาวสุ” หรือที่กลุ่มนักกีฬาไคท์เซิร์ฟรู้จักกันดี “บิ๊บ” เล่าว่าตนหลงใหลกีฬานี้เพราะช่วงโควิดที่ผ่านมา ไปอยู่ชายหาด ซึ่งเป็นสวรรค์สำหรับคนเมืองอย่างผมที่ไม่ได้ไปเท่าทะเลเท่าไหร่ พอมีโอกาสได้อยู่ เฝ้าดูลมหลงใหลไปกับคลื่น และเห็นชาวต่างชาติเล่นไคท์เซิร์ฟรู้สึกมันเจ๋งมากๆ เป็นว่าวอยู่กลางทะเลไหลตามลมทะเลพัดไป เลยใฝ่ฝันว่าจะเล่นไคท์เซิร์ฟข้ามอ่าวไทยและทำสำเร็จแล้ว
กีฬาไคท์เซิร์ฟ เป็นกีฬาผสมผสานระหว่างเวคบอร์ดกับการแล่นใบ ใช้ว่าวขนาดใหญ่รับลมและควบคุมทิศทางไปข้างหน้า และต้องใช้พื้นที่ชายหาดกว้างๆ ในการเล่น ในประเทศไทยคนยังรู้จักกันน้อยแต่เหมาะกับการเล่นไคท์เซิร์ฟเพราะมีลมดีและคลื่นไม่ใหญ่มาก ชาวต่างชาติเลยนิยมาเล่นกัน
ที่คนไปเล่นไคท์เซิร์ฟเยอะสุดคือ ปราณบุรี นักท่องเที่ยวชอบไปเล่นกัน แต่สิ่งที่เจอตอนนี้คือชายหาดเหลือน้อยลงเพราะกำลังสร้างกำแพงกันคลื่น บางทีเจอตะไคร่เกาะบ้าง
src=”https://www.csitereport.com/seawall” height=”900″ width=”700″ title=”กำแพงกันคลื่น”>“เราอยากเห็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่อยากเห็นการกระทำร้ายอย่างที่เห็นในปัจจุบัน อยากจะเรียกร้องให้คนทั่วไป คนที่อยู่กรุงเทพฯ คนที่รักหาดรักทะเล รักกีฬาทางน้ำทั้งหลายออกมาส่งเสียงเรื่องนี้กันให้มากๆ ไม่ใช่ปล่อยให้คนพื้นที่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบออกมาเรียกร้องอย่างเดียว อยากให้ทุกคนช่วยกัน”
แผนที่ข้างต้น เป็นหมุดที่เครือข่ายคนชายหาดร่วมกันปักหมุดจุดที่มีการสร้างกำแพงกันคลื่นและผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ซึ่งมีหมุดรายงานเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถติดตามสถานการณ์และข้อมูลจากคนในพื้นที่ นี่เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ประชาชนสามารถใช้เพื่อสื่อสาร บอกเล่าเหตุการณ์ในพื้นที่ได้ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมหรือประเด็นที่อยากจะสื่อสารก็สามารถเข้าไปร่วมได้เช่นกันผ่าน C-site
3 ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล “ทำ EIA, ยกเลิกมติครม., ฟื้นฟูชายหาด”
เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2565 ที่ผ่านมา Beach for life และเครือข่ายประชาชนทวงคืนชายหาด จัดกิจกรรมเสวนา “ชายหาดไทยกำลังหายไป เพราะรัฐสร้างกำแพงกันคลื่น” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมสะท้อนผลกระทบทั้งก่อนและหลังจากโครงการสร้างกำแพงกันคลื่นเช่น หาดทรายแก้ว จ.สงขลา หาดปราณบุรี จ.ประจวบฯ ฯลฯ
กลุ่ม Beach for life เป็นกลุ่มเยาวชนที่รวบรวมข้อมูลและติดตามการเปลี่ยนแปลงของชายหาด และยังเห็น #Saveหาดม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา เพื่อคัดค้านการสร้างกำแพงกันคลื่น เพราะการกัดเซาะเป็นไปตามฤดูกาลและหน่วยงานมีมติโดยที่ไม่ทำกระบวนการ EIA ก่อน จนชาวบ้านร่วมกันฟ้องศาลและมีการหยุดชะลอการสร้างไป
จากผลกระทบที่เกิดขึ้นสู่ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลให้หยุดการทำกำแพงกันคลื่น 3 ข้อคือ
1. โครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นทุกขนาดต้องกลับมาทำ EIA
2. รัฐบาลต้องยกเลิกมติ คณะรัฐมนตรีที่ให้อำนาจกรมโยธาธิการฯ ในการป้องกันชายฝั่ง เพราะกรมโยธาธิการไม่มีความรู้ความเข้าใจและสร้างความเสียหายต่อชายหาดอย่างร้ายแรง
3. รัฐบาลต้องฟื้นฟูชายฝั่งที่เสียหายจากกำแพงกันคลื่นให้กลับมาเป็นชายหาดดังเดิม โดยเริ่มจากหาดท่องเที่ยวสำคัญๆ
การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ในช่วงมรสุมจะเกิดการกัดเซาะจากคลื่นหรือลม พัดตะกอนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งทำให้เห็นชายหาดหดสั้นลง เมื่อผ่านช่วงมรสุมไปชายหาดก็จะกลับมาสู่สภาพเดิม การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ชายหาดเกิดสมดุลและสมบูรณ์
ความรู้ความเข้าใจเรื่องกัดเซาะชายฝั่งในไทยมีน้อย ทำให้หน่วยงานรัฐเห็นว่าการทำ “กำแพงกันคลื่น” เป็นวิธีที่ช่วยชะลอการกัดเซาะของชายฝั่งจากคลื่นและกระแสน้ำได้ แต่กระบวนการสร้างนั้นไม่มีการทำ EIA หรือการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งก่อนและหลังก่อสร้างจากเดิมมีพื้นที่ชายหาดกว้างแต่ตอนนี้ลดน้อยลง ทำให้ชุมชนตั้งคำถามถึงช่องว่างของกระบวนการที่เกิดขึ้น