เดทไลน์กระดุมเม็ดแรกแม่แจ่ม พฤษภาคม 2566

เดทไลน์กระดุมเม็ดแรกแม่แจ่ม พฤษภาคม 2566

1 ธันวาคม 65 ที่องค์การบริหารส่วนตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามความก้าวหน้าในการบูรณาการข้อมูลที่ดินรายแปลง เร่งรัดรับรองที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่มให้ถูกกฎหมายตามรูปแบบของ คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ หรือคทช. พร้อมทั้ง สั่งยกระดับแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตามแผนจัดการที่ดินและป่าไม้ คาดว่า จะดำเนินการแล้วเสร็จได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 นี้  

ปักหมุดสื่อสาร จาก คุณ สมเกียรติ มีธรรมhttps://www.csitereport.com/newsdetail?id=0000028403

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในการประชุมเร่งรัดและมอบนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและการทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พร้อมมอบแผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่ให้แก่ 7 ตำบลในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ พร้อมด้วย นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่, นายอำเภอแม่แจ่ม ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 

ในการประชุมดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมเมื่อวันที่ 31 ธ.ค.65 ที่สำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ โดยการประสานของส.ส.มานพ คีรีภูวดล ส.ส.พรรคก้าวไกล สัดส่วนชาติพันธุ์ และนายเดโช ไชยทัพ  ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) ให้เร่งรัดอนุมัติอนุญาตการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยการบูรณาการข้อมูลที่จัดทำโดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 

จากการประชุมมีความคืบหน้าไปอีกขั้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา โดยมีหมู่บ้านที่เจ้าหน้าที่ส่วนจัดการป่าไม้ที่ดิน สำนักฯ 1 ลงพื้นที่ตรวจสอบแล้ว 30 หมู่บ้าน (ข้อมูลครบถ้วน 13 หมู่บ้าน) จาก 100 หมู่บ้าน 7 ตำบลในอำเภอแม่แจ่ม คงเหลืออีก 70 หมู่บ้าน ที่ต้องเร่งรัดให้แล้วเสร็จ และอนุมัติอนุญาตการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ในเดือนพฤษภาคม 2566 ตามข้อสั่งการของปลัดกระทรวงทรัพย์ฯในวันนี้

และเพื่อที่จะสร้างการรับรู้ให้ตรงกัน ทั้งในส่วนของคณะทำงานร่วม ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน ทางอำเภอแม่แจ่มจะได้ประสานจัดประชุมและอบรม เพื่อสร้างความเข้าใจกันอีกครั้งในช่วงต้นเดือนธันวาคมในทุกตำบล 

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ให้ความสำคัญและเร่งรัดขับเคลื่อนการดำเนินงานแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยทำกินของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของ ทส. สำหรับที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  โดยจะพิจารณาการใช้ประโยชน์และออกหลักฐานการอนุญาต ตามแนวทางมาตรการบริหารจัดการที่ดินที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ให้แก่ประชาชนทั่วประเทศ  รวมถึงพี่น้องชาวอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่  เนื่องจากอำเภอแม่แจ่มเป็นพื้นที่พิเศษที่อยู่ต้นน้ำที่สำคัญของประเทศไทย มีพื้นที่ป่าอยู่กว่า เกือบ 400,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1-5  ซึ่งรัฐบาลต้องการจัดพื้นที่ คทช. ให้กับพี่น้องชาวแม่แจ่มที่ได้รับความเดือดร้อนโดยด่วน  

โดยก่อนหน้านี้ ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 3,4 และ 5 จำนวน 196,965 ไร่ ได้รับการอนุญาตเรียบร้อยแล้ว  แต่พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ  ดังนั้น จึงได้เร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จ  โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง เป็นแกนหลัก ดำเนินการร่วมกับกรมป่าไม้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสำรวจพื้นที่  โดยพบว่า หมู่บ้านที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งขาติในอำเภอแม่แจ่ม จำนวน 104 หมู่บ้าน ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลตังกล่าวแล้ว 30 หมู่บ้าน ส่วนที่เหลืออีก 70 หมู่บ้าน คาคว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 

และเมื่อได้ข้อมูลการครอบครองที่ดินที่ถูกต้องครบถ้วนแล้ว  กระดุมเม็ดที่ 2,3 ถัดไป จะนำข้อมูลดังกล่าวไปจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ สำหรับการดำเนินงานในลำดับต่อไป  ซึ่งกรมป่าไม้จะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อเข้าไปส่งเสริมพัฒนาอาชีพ โดยการนำมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตามแนวพระราชดำริ มาใช้ปฏิบัติในพื้นที่เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรม  ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว จะส่งผลให้ราษฎรมีอาชีพที่มั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สมดุล สามารถอยู่ร่วมกันกับป่าได้อย่างยั่งยืนสืบไป ทั้งนี้ปลัดกระทรวงทรัพย์ฯเน้นโมเดลแม่แจ่ม หากสำเสร็จจะขยายผลไปทั่วประเทศ

คุณ สมเกียรติ มีธรรม ผู้อำนวยการสถาบันอ้อผะหญา/เลขานุการมูลนิธิฮักเมืองแจ๋ม

คุยเพิ่มกับ นายสมเกียรติ มีธรรม ผู้อำนวยการสถาบันอ้อผะหญา/เลขานุการมูลนิธิฮักเมืองแจ๋ม

            ความคืบหน้าก็หลังจากที่เรามีการประชุมกัน เมื่อวันที่ 31 เดือน พฤศจิกายน 2565 หลังนั้นทางพื้นที่ใช้เวลา 1 เดือน ในการที่จะตรวจสอบข้อมูลในพื้นที่ จนถึงเมื่อวานนี้เราสามารถดำเนินการตรวจสอบรีเช็กข้อมูล ได้ทั้งหมดโดยรวมประมาณ 30 หมู่บ้าน แต่ใน 30 หมู่บ้าน ความถูกต้องของข้อมูลที่เช็คมี 17 หมู่บ้าน โดยรวมทั้งหมดทั้งอำเภอที่มีทั้งหมด 100 ยังค้างอีก 70 หมู่บ้านที่กำลังขับเคลื่อนงานต่อ 

หลังจากนี้ในพื้นที่ก็จะมีแผนที่จะทำความเข้าใจกับ ผู้นำชุมชนในพื้นที่ ท้องถิ่นและทีมงานทั้งหมดเพื่อที่จะให้การขับเคลื่อนการลงพื้นที่มันเร็วขึ้น ตอนนี้การขับเคลื่อนที่ผ่านมาชาวบ้านเองแม้แต่ผู้นำชุมชนเอง ยังไม่ค่อยได้รับรู้ เพราะสถานการณ์รวดเร็ว

ในการขับเคลื่อนตรงนี้เราใช้ฐานข้อมูลของท้องถิ่นที่เคยทำกันมาก่อนหน้านี้ เมื่อตั้งแต่ ในปี 2562 หรือย้อนหลังไปอีกทั้งอำเภอ ร่วมมือกับท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐบางหน่วยงาน เช่น กรมป่าไม้บางส่วนที่ทำข้อมูลรายแปลงไว้ ที่ผ่านมาเราก็พยายามที่จะผลักดัน-ให้กับทางกรมป่าไม้ ให้ใช้ข้อมูลของท้องถิ่น ในการเอามาตรวจสอบรีเช็ค เพื่อฉงเข้าสู่การอนุมัติ อนุญาต คทช. มันจะเร็วขึ้น เพราะที่ผ่านมามันช้ามาก ถ้านับตั้งแต่ปี 2562 มา 2558 ตั้งแต่มี พ.ร.บ. คทช. นี้ขึ้นมาจนถึงวันนี้ 7-8 ปีกว่าแล้ว การทำข้อมูลการรายแปลง และการอนุมัติ อนุญาตต่าง ๆ ในพื้นที่ช้ามาก 7 ปี 

“เฉพาะที่อำเภอแม่แจ่มที่เดียว พื้นที่ที่จะออก คทช. ที่ในมีอยู่ประมาณ 50,000 ไร่ 50,000 ไร่ 7 ปีแล้ว ยังไม่เสร็จ ลองนึกภาพรวมของทั้งจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทั้งเชียงใหม่มีอยู่ที่ 1.8 ล้านไร่ ตอนนี้ 1.8 ล้านไร่ ทางกรมป่าไม้เห็นชอบที่จะออก คทช. อยู่ที่ 1.8 แสนล้านไร่ คือ 1แสน 8 หมื่นล้านไร่ และในวันนี้ 1แสน 8 หมื่นล้านไร่ วันนี้ที่มอบไปแล้วเพียงแค่แสน 26,000 กว่าไร่ ทีนี้ทั้งเชียงใหม่ ถ้าเราทำกันอย่างนี้กันต่อไป มันต้องใช้เวลาประมาณ 15 ปี ถ้ามองภาพรวมใหญ่ออกไปทั้งประเทศ ทั้งประเทศ มีอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านไร่ เท่ากับใช้เวลาเกือบร้อยปีในการทำงาน ซึ่งมันก็อาจช้าไป”

อย่างวันนี้ การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของคทช. หรือรูปแบบสิทธิแบบใดแบบหนึ่ง มันถูกพัฒนาการไปค่อนข้างเยอะ ยกตัวอย่างที่ม่อนแจ่มได้ที่ชัด ๆ ในพื้นที่แม่แจ่มที่ตนอยู่ก็เหมือนกัน ชาวบ้านพยายามปรับจากรูปแบบจากการทำปลูกผักหรือ ทำการเกษตร มาสู่เรื่องการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมากขึ้น พอทำแบบนี้มันต้องมีสิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้น แต่สร้างสิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้น ปรากฏว่าที่ดินไม่ถูกกฎหมาย ทำให้การพัฒนาพื้นที่มันไปต่อไม่ได้ ที่ยิ่งหนักเข้าไปอีก ก็คือเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่ท้องถิ่นกำลังพัฒนาอยู่ในวันนี้ ทำไม่ได้เลย ดังนั้นมันต้องเร่งดำเนินการ ถ้าแบบนั้นเมืองไทยเรา มองโดยภาพรวมการพัฒนาต่าง ๆ เหล่านี้มันก็จะช้าไปอีกเป็นร้อยปีเหมือนกัน 

เราจะทำอย่างไรให้มันเร็วขึ้น ในวันนี้สิ่งหนึ่งถ้ามองในกรอบกฎหมายที่เรามีอยู่ในเวลานี้ อาศัยกฎหมายเรื่องของ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทางคณะกรรมการกระจายอำนาจได้โอนถ่ายอำนาจการจัดเก็บภาษีให้กับท้องถิ่น และในขณะเดียวกันการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นมันก็มีการสำรวจข้อมูลที่อยู่อาศัย และที่ทำกินของชาวบ้าน ไม่เว้นแม้กระทั่งเขตป่าสงวนคือทำทั้งหมด ดังนั้นในเมื่อท้องถิ่นทำอยู่แล้ว ถ้ากรมป่าไม้มันจับเอาตรงนี้ไปนะครับไปขยับต่อเมื่อตรวจสอบมารีเช็คให้มันถูกต้องแล้วเร่งรัดในการออกเอกสาสิทธิให้ถูกต้อง ในรูปแบบคทช. หรือรูปแบบอื่นก็ได้ มันก็จะเร็วขึ้น คือสิ่งที่เราพยายามผลักดันกัน กลับมาใช้ข้อมูลท้องถิ่น เนื่องจากหลายพื้นที่เขาก็ขยับของเขา และเริ่มทำหลายพื้นที่เยอะขึ้น อย่างเชียงใหม่ไม่จำเป็นต้องรอ 15 ปีแล้วทั้งประเทศไม่จำเป็นต้องรอเป็นร้อยปี มันก็จะเร็วขึ้นในลักษณะแบบนี้ 

คทช. เป็นรูปแบบหนึ่งภายใต้เงื่อนไข ภายใต้กฎหมายที่เรามีอยู่ในวันนี้ ดังนั้นอย่างในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ ในวันนี้เนี่ยกฎหมายที่มารับรองสิทธิฯให้กับชาวบ้านในพื้นที่ในลักษณะนี้ เรายังไม่เห็น โฉนดชุมชนเองก็พยายามที่จะผลักดันกันมาอยู่อย่างต่อเนื่องเหมือนกัน แต่ก็ยังยังไม่ได้ตราออกมาเป็นในลักษณะกฎหมาย ถ้าเรามองกฎหมายตัวนี้วันนี้ในพื้นที่ ที่อยู่ในเขตป่าสงวนลุ่มน้ำ หนึ่ง สอง ด้วยแล้ว แล้วก็มีช่องทางช่องเดียวผมคิดว่า ถ้ามันมีช่องทางช่องเดียว เราก็คงต้องจับเอาตัวนี้ก่อน แล้วค่อยมาปรับปรุงในหลักเกณฑ์วิธีการของ คทช. อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหลักเกณฑ์วิธีการของ คทช. ใช่ว่าจะตอบโจทย์กับการพัฒนาพื้นที่มากนัก เราต้องมาว่ากันอีกครั้งหนึ่ง ว่ามันติดตรงไหน เพื่อที่จะให้โอกาสการพัฒนาพื้นที่ของชาวบ้านเร็วขึ้น  

“วันนี้เน้นย้ำว่าเราต้อง กระดุมเม็ดแรกภายใต้กฎหมาย และระเบียบหลักเกณฑ์ที่มีอยู่วันนี้ก่อน ส่วนตัวอื่นเดี๋ยวค่อยว่ากันอีกที ขยับไปทีละขั้นทีละขั้น ตามที่โอกาสทางนโยบายและกฎหมายเอื้อให้ในวันนี้”

  • กระดุมเม็ดถัดไป 

ถ้าเราได้รับการอนุมัติ อนุญาต สิ่งที่ตามมาก็คือ กระดุมเม็ดที่สอง คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของท้องถิ่น เนื่องจากวันนี้ท้องถิ่นจะทำถนน หนทางขุดบ่อน้ำ หรือขุดบ่อขยะพวกนี้ก็ไม่ได้ต้องขออนุญาตกับกรมป่าไม้ แล้วการขออนุมัติ อนุญาต ต้องที่กรมป่าไม้ที่ส่วนกลางคือท่านอธิบดีกรมป่าไม้

วันนี้อีกมุมหนึ่งที่เราอยากจะเร่งรัด คือ การขออนุมัติอนุญาตทำไมไม่ให้ในส่วนของจังหวัดจัดการไปเลย อาจจะเป็นป่าไม้สำนักงาน 1 ไปเลย หรือเป็นผู้ว่าหรือตั้งเป็นคณะทำงานขึ้นมาแล้วแต่จะมีการบริหารโครงสร้างแบบนี้ใหม่เพื่อให้ไวขึ้น นอกเหนือจากที่ดินถูกกฎหมายแล้ว โครงสร้างพื้นฐานไปได้แล้ว ต้องแก้เรื่องของการขออนุมัติอนุญาตให้มันสั้นขึ้น แล้วก็เร็วขึ้นอีก ถ้าในลักษณะแบบนี้ การพัฒนามันก็จะไปได้เร็วขึ้น

  • กระดุมเม็ดที่ 3 

ที่เราพูดถึงกัน คือ ในเรื่องของการพัฒนาอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนวันนี้ในส่วนของการพัฒนาอาชีพรายได้ให้กับชุมชน มันก็ไปติดเงื่อนไขหลักเกณฑ์วิธีการของ คทช. ซึ่งตนเคยคอมเม้นท์และเสนอแนะหลายครั้งแล้ว ซึ่งมันอาจจะต้องแก้เพื่อที่สร้างแรงจูงใจให้กับชาวบ้านมาก ยกตัวอย่างในพื้นที่ลุ่มน้ำ หนึ่ง สอง ต้องปลูกป่า 70% เป็นหลักเกณฑ์วิธีการใหม่ แต่เดิมมัน 20 วันนี้เป็น70 มันก็มีโจทย์ตามมาว่าปลูกได้ตัดได้ไหม อันนี้เป็นโจทย์ใหญ่ถ้าปลูกได้ ตัดไม่ได้ ซึ่งมันก็ไม่ได้เกิดแรงจูงใจให้กับชาวบ้าน ที่จะไปปลูกในพื้นที่ของตัวเองทั้ง 70% ของพื้นที่ไม่มีแรงจูงใจ หรือถ้าปลูกได้ตัดได้หรือปลูกได้ตัดได้ แต่ว่าในส่วนของกลางน้ำ ปลายน้ำ ไม่ตอบโจทย์คือเรื่องของการแปรรูปและการตลาดไม่ตอบโจทย์ ถ้าตรงนี้ไม่ตอบโจทย์อีกแรงจูงใจมันก็ไม่เกิดขึ้น ตรงนี้มันต้องคิดให้ครบตลอดซัพพลายเชนของการแก้ไขปัญหาปากท้องชาวบ้าน  ที่ถูกต้องเอกสารสิทธิ์ กระบวนการเร็วขึ้น เมื่อได้สิ่งเหล่านี้มาการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์พื้นที่ ก็ต้องมองเรื่องการแปรรูปการตลาดไปพร้อมกัน พื้นที่สีเขียวจะเกิดขึ้นได้ง่าย ถ้าไม่อย่างงั้นถ้าต้องรอหลักเกณฑ์ วิธีการปรับแก้อีกเยอะแยะมากมายซึ่งมันช้า

เว้นแต่ว่ามีพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ที่ทำนโยบายแบบปฏิรูปจริง ๆ  ถ้าเป็นในลักษณะแบบนี้ มันก็จะสามารถที่จะไปเร็วขึ้น ภายใต้นโยบายกฎหมายที่มัน มันถ่วงการพัฒนาของประเทศอยู่ในวันนี้ 

สิ่งที่อยากจะเน้นย้ำ ในส่วนของท้องถิ่น วันนี้เราอยากให้ท้องถิ่น นำพ.ร.บ. การกระจายอำนาจในเรื่องของการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มาจัดทำฐานข้อมูลสำหรับตัวเองไว้ แล้วผลักดันฐานข้อมูลไร้แปรงตัวนี้เข้าสู่ การอนุมัติ อนุญาต ของ คทช. เพราะในหลายจังหวัด ในหลายพื้นที่ ยังไม่ได้ทำในเรื่องนี้ ยังไม่ได้ทำฐานข้อมูลในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ไว้ ถ้าแต่ละท้องถิ่นทำไว้ชมันก็จะเร็วขึ้น

ซึ่งในอนาคตถ้านโยบายมันเปลี่ยนอีกก็เร็วขึ้น หรือหลักเกณฑ์วิธีการของกรมป่าไม้คล้ายขึ้นมันก็จะเร็วขึ้น ในด้านนหนึ่งอยากจะชมกรมป่าไม้พยายามยอมปรับยอมคลาย สิ่งนี้ก็อยากจะขอชื่นชมในมุมนี้ เรื่องที่หนึ่ง ในเรื่องการทำข้อมูล สองในเรื่องของการกระจายอำนาจ กระจายอำนาจในการตัดสินใจ กระจายอำนาจในเรื่องของงบ งาน คน ทั้งหมดเข้าสู่ท้องถิ่นเพื่อที่จะมาบริหารจัดการในพื้นที่ ในแต่ละพื้นที่ ถ้าสามารถขยับอย่างนี้ได้ มันก็จะเร็วขึ้น  

อ่านเพิ่มเติม 

แม่แจ่มชวนรวมพลังแก้ไขปัญหาป่าไม้ที่ดิน เสนอ Road map กำหนดแนวเขตป่าและที่ทำกินชัดเจน https://thecitizen.plus/node/8808

คน “แม่แจ่ม”ขอจัดการปัญหาป่าไม้และที่ดินด้วยตนเอง  https://thecitizen.plus/node/4213

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ