ออกเดินทางอีกครั้งกับพวกเราทีมงานรายการฟังเสียงประเทศไทย เราเดินทางมาพิกัดที่ 6 แล้ว ครั้งนี้ออกเดินทางไปที่
“ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน”
เราอยู่กันที่ จ.พิจิตร เพื่อล้อมวงสนทนาอีกครั้งกับกระดูกสันหลังของชาติ กับ อนาคตข้าว อนาคตชาวนา ผ่านแนวคิด Citizen Dialogues ประชาชนสนทนา คือการมาเจอคือได้มาฟัง แลกเปลี่ยนข้อมูล ได้รู้ในสิ่งที่ยังไม่เคยรู้ หรือได้เติมข้อมูลให้กัน และนำมาคิดไปข้างหน้า เพื่อร่วมออกแบบภาพอนาคต
ชวนจินตนาการจากข้าว 1 จานที่เรากิน เรานึกถึงอะไรบ้าง ตัวเราเองรู้จักชาวนา และข้าวที่ทานอยู่ทุกมื้อดีแค่ไหน
องศาเหนือ นึกถึง คนปลูกข้าว.. ทุ่งนา.. กองฟาง.. ควาย.. วิถีชีวิต.. ภูมิปัญญาชาวบ้าน วัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวนาคำเหล่านี้อาจจะสวยหรูไปถ้าเรามองผ่านมุมนี้ แต่หากเรามองสถานการณ์ในปัจจุบันมีอะไรอีกมากมายที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องและนำความคิดให้ไหลเลื่อนตามไป ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปในยุคปัจจุบัน การประกอบอาชีพเกษตรเชิงพาณิชย์ ปัญหาของชาวนา ต้นทุนที่ต้องแบก ปัญหาเรื่องผลผลิตไม่ดี ยังไม่นับปัญหาหนี้สินมากมาย ความยากจน รายได้ที่ไม่เพียงพอ ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง เป็นปัญหาหลักๆ ที่ชาวนาส่วนใหญ่ กำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ จากการค้างจ่ายในโครงการรับจำนำข้าว ที่รัฐบาลผลัดแล้วผลัดอีก สิ่งเหล่านี้เป็นวิบากกรรมชาวนาไทย ยังมีอะไรอีกมากมายเบื้องหลังข้าวสวยจานอร่อยที่ทุก ๆ คนได้ทานกัน
เพราะไม่ว่ายุคใด สมัยใด เราก็ยังได้ยินคำว่าเกษตรกรผู้ยากไร้ เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา ยังคงไปไม่ถึงชุมชน …
รายการฟังเสียงประเทศไทย ตอนนี้อยากชวนมอง อนาคตข้าว อนาคตชาวนา ตั้งต้นมองภาพอนาคต และกำหนดอนาคตชาวนาไปด้วยกัน
จากคำถามที่องศาเหนือรวบรวมคำผ่านทางออนไลน์ที่ว่า …เมื่อนึกถึง“ชาวนา”คุณนึกถึงอะไร นี่คือคำตอบส่วนหนึ่งจากโลกออนไลน์
ข้อมูลจาก แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม 2565-2567 : อุตสาหกรรมข้าว ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวที่สำคัญของโลก โดยปี 2563/2564 ไทยมีผลผลิตข้าวสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก คิดเป็น 3.7% ของผลผลิตข้าวทั่วโลก (รองจากจีน อินเดีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ และเวียดนามซึ่งมีสัดส่วนผลผลิต 29.3%, 24.1%, 7.0%, 6.8% และ 5.4% ตามลำดับ) และไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 3 ของโลก มีส่วนแบ่งตลาดคิดเป็น 11.9% รองจากอินเดียและเวียดนามซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด 38.9% และ 12.9% ตามลำดับ และยังมีคู่แข่งอื่นๆ อาทิ ปากีสถาน สหรัฐฯ และจีน เป็นต้น (ภาพที่ 1) อย่างไรก็ตาม ปริมาณการค้าข้าวในตลาดโลกมีสัดส่วนเพียง 9.7% ของผลผลิตข้าวทั่วโลก (ภาพที่ 2) เนื่องจากข้าวเป็นพืชที่ปลูกเพื่อความมั่นคงด้านอาหารภายในประเทศเป็นหลัก
ดังนั้น ปริมาณการค้าข้าวระหว่างประเทศจึงเป็นผลผลิตส่วนเกินจากการบริโภคในแต่ละประเทศ ภาวะตลาดส่งออกจึงมักผันผวนตามปริมาณผลผลิตของประเทศผู้ส่งออกและการบริโภคของประเทศผู้นำเข้า โดยตลาดนำเข้าข้าวส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคแอฟริกา ตะวันออกกลางข้อมูลจาก แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม 2565-2567 : อุตสาหกรรมข้าว ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวที่สำคัญของโลก โดยปี 2563/2564 ไทยมีผลผลิตข้าวสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก คิดเป็น 3.7% ของผลผลิตข้าวทั่วโลก (รองจากจีน อินเดีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ และเวียดนามซึ่งมีสัดส่วนผลผลิต 29.3%, 24.1%, 7.0%, 6.8% และ 5.4% ตามลำดับ) และไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 3 ของโลก มีส่วนแบ่งตลาดคิดเป็น 11.9% รองจากอินเดียและเวียดนามซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด 38.9% และ 12.9% ตามลำดับ และยังมีคู่แข่งอื่นๆ อาทิ ปากีสถาน สหรัฐฯ และจีน เป็นต้น (ภาพที่ 1) อย่างไรก็ตาม ปริมาณการค้าข้าวในตลาดโลกมีสัดส่วนเพียง 9.7% ของผลผลิตข้าวทั่วโลก (ภาพที่ 2) เนื่องจากข้าวเป็นพืชที่ปลูกเพื่อความมั่นคงด้านอาหารภายในประเทศเป็นหลัก ดังนั้น ปริมาณการค้าข้าวระหว่างประเทศจึงเป็นผลผลิตส่วนเกินจากการบริโภคในแต่ละประเทศ ภาวะตลาดส่งออกจึงมักผันผวนตามปริมาณผลผลิตของประเทศผู้ส่งออกและการบริโภคของประเทศผู้นำเข้า โดยตลาดนำเข้าข้าวส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคแอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย ตามลำดับ
สถานภาพปัจจุบัน ประเทศไทยมีชาวนาประมาณ 3.45 ล้านครอบครัว มีพื้นที่ทำนา 57 – 65 ล้านไร่ อยู่ในเขตชลประทานเพียง 10 ล้านไร่ จำนวนผลผลิตรวมทั้งนาปีและนาปรังประมาณ 35 – 40 ล้านตันข้าวเปลือก ใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ 1.4 ล้านตัน สีเป็นข้าวสารราว 20 ล้านตัน บริโภคภายในประเทศ 10 ล้านตันข้าวสาร ส่วนที่เหลือส่งออกไปขาย ไทยเคยส่งออกข้าวสารสูงสุดประมาณ 10 ล้านตัน แต่ปัจจุบันนี้ลดลงมาเรื่อย ๆ เหลือ 6-7 ล้านตันแล้ว เพราะสู้ราคาของคู่แข่งคืออินเดียและเวียดนามไม่ได้
พื้นที่ปลูกข้าวของไทยมีสองแหล่งใหญ่ คือ พื้นที่ในภาคอีสานซึ่งไม่มีระบบชลประทาน ปลูกข้าวหอมมะลิซึ่งเป็นข้าวไวแสงและข้าวเหนียว กลุ่มที่สองคือพื้นที่ภาคกลาง ผลิตข้าวหอมและข้าวขาว ผลผลิตเฉลี่ยค่อนข้างสูง แต่คุณภาพเมื่อหุงต้มสู้ของเวียดนามไม่ได้ ถึงแม้จะมีระบบชลประทาน แต่ก็ใช่ว่าจะจัดสรรน้ำให้เพียงพอได้ทุกส่วน ชาวนาในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน
นี่คือส่วนหนึ่งของข้อมูลจากวงเสวนากันเรื่องฉากทัศน์อนาคตข้าวไทย โดยมี รศ. ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร เป็นหัวหน้าโครงการ งานจัดที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ภายใต้แผนงานคนไทย 4.0 ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีข้อมูลอีกส่วนจากทีมงานฟังเสียงประเทศไทยที่รวบรวมไว้ตั้งต้นเพื่อคุยและมองอนาคตชาวนาไปพร้อมกัน
ชาวนานอกจากจะปลูกข้าวเป็นวิถีแล้ว ยังปลูกเป็นอาชีพสร้างเศรษฐกิจไทยมายาวนาน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวราว 71.9 ล้านไร่ และมีเกษตรกรรายย่อยที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าวกว่า 4.3 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ
ไทยเคยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก ตั้งแต่ปี 2524 จนถึง ในปี 2552 ส่งออกได้มากถึง 8.6 ล้านตัน
ปี 2563 ส่งออก 5.72 ล้านตัน มูลค่า 1.16 แสนล้านบาท
ข้อมูลจากTDRI ปี 2561 พบว่าร้อยละ 50 ชาวนาไทย หรือราว 4.5 ล้านครอบครัวมีหนี้สิน และชาวนากว่าร้อยละ 27 ที่ยังอยู่ภายใต้เส้นความยากจน
ตลาดข้าวไทย
ต้นน้ำ ชาวนาปลูกข้าว ขายข้าวเปลือกที่เกี่ยวสู่ตลาด ทั้งโรงสีใกล้เคียง คนกลาง สหกรณ์
กลางน้ำ โรงสีข้าว นำมาแปรรูปเป็นข้าวสาร
ปลายน้ำ ผู้ค้าข้าวสารที่ซื้อข้าวสารจากโรงสีเพื่อไปจำหน่ายต่อทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก
หากดูที่ต้นทุนการทำนา
พบว่าต้นทุนการทำนาของชาวนาไทย อยู่ที่เฉลี่ยราวๆ 4-5 พันบาทต่อไร่ เป็นค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าไถ หว่าน ปักดำ ค่าแรงงาน ค่าเก็บเกี่ยว และค่าเช่านา ได้ผลผลิตเฉลี่ยราวๆ 500 กิโลกรัม/ไร่
ขณะที่ขายข้าวได้ตันละ 7,000 – 12,000 บาท รัฐได้มีนโยบายต่าง ๆ ออกมาสนับสนุนการทำนามาโดยตลอด แต่ยังไม่มีความต่อเนื่องและยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทั่วถึงและตรงจุด
- นโยบายจำนำข้าว
- นโยบายประกันราคาข้าว
- นาแปลงใหญ่
- พักชำระหนี้เกษตรกร
พื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาระบบชลประทาน และเป็นพื้นที่หลักในการผลิตข้าวของประเทศไทย มีการรวมตัวกันหลากหลาย รูปแบบ ประกอบด้วย จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดพิจิตร
ชาวนาในภาคเหนือตอนล่างส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินของตัวเอง อย่างใน จ.พิจิตรกว่าร้อยละ 40 เป็นพื้นที่นาเช่า มีเกษตรกรพยายามรวมกลุ่มกันและผลิตข้าวนระบบอินทรีย์ ทำตลาดเอง แต่ยังมีจำนวนน้อย
*แรงฉุด
- ชาวนาสูงวัย ขาดแคลนแรงงาน
- ชาวนาไม่มีที่ดินของตัวเอง เช่านา มีหนี้สิน
- เข้าไม่ถึงระบบชลประทานและการจัดการน้ำที่ดี
*แรงส่ง
- มีข้าวคุณภาพดี และหลากหลายสายพันธุ์ ศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติเก็บตัวอย่างไว้ประมาณ 2 หมื่น และชาวนาปลูกเองในแปลงผลิตนับร้อยสายพันธุ์
- มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการสีแปรรูปข้าวอย่างต่อเนื่อง
- พื้นที่ และสภาพภูมิอากาศเหมาะสมในการทำนา
*โอกาส
- ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีแผนส่งเสริมความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรมและองค์กรเกษตรกร เพิ่มผลิตภาพสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยี เพิ่มมูลค่าสินค้า และการแข่งขันทางการตลาด
- รัฐมีนโยบายสนับสนุนเกษตรแปลงใหญ่
- กระแสเกษตรอินทรีย์ การบริโภคข้าวคุณภาพ
- ตลาดท้องถิ่น แปรรูปรูปข้าวขายเอง ส่งข้าวตรงผ่านระบบโลจิสติกส์ถึงมือผู้บริโภค
*อุปสรรค
- วงจรของข้าวถูกผูกขาดอยู่ในกลุ่มทุนไม่กี่เจ้า ที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและรับซื้อผลผลิต
- การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภัยพิบัติ
- การแข่งขันในการพัฒนาคุณภาพข้าวของประเทศเพื่อนบ้านที่ต้นทุนต่ำกว่า
- การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐ การหนุนเสริมที่ไม่ชัดเจนและไม่ต่อเนื่อง
ข้าวเป็นความมั่นคงทางอาหาร แต่ครอบครัวเกษตรกรจำนวนมากกลับมีความไม่มั่นคงทางอาหาร จากการเปลี่ยนแปลงระบบผลิตที่ปลูกข้าวเพื่อบริโภคในครัวเรือน มาผลิตเพื่อขาย ส่วนใหญ่ผลิตข้าวเปลือก เก็บเกี่ยวแล้วจะขายสู่ตลาดทันที เพราะไม่มียุ่งฉาง หลายครอบครัวไม่มีเมล็ดพันธุ์ปลูกในรอบถัดไป หรือต้องซื้อข้าวกิน
นอกจากข้อมูลที่ทางทีมงานรวบรวมแล้ว ทีมงานเก็บเสียงส่วนหนึ่งของชาวนาในจังหวัดพิจิตร ที่บอกเล่าสถานการณ์ส่วนหนึ่งที่พวกเขาเผชิญอนาคตของข้าว และร่วมมองอนาคตของชาวนาใน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจากข้อมูลที่รวบรวม ทางรายการฟังเสียงประเทศไทยทดลองประมวลภาพอนาคตมา 3 แบบ โดยชวนกันมอง ใน 10 ปีข้างหน้าอนาคตข้าวและชาวนาไทยจะเป็นอย่างไร?
ภาพที่1 ชาวนาพึ่งพาตลาด ยังคงวิถีการทำนาแบบเดิม (ไม่ใช่ดังเดิม) โดยใช้ประสบการณ์แบบเดิม ๆ ทำนาตามรอบการผลิตเพื่อป้อนสู่ตลาดข้าวหลักของประเทศ ชาวนารายเล็กส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินของตัวเอง ยังคงเช่าที่ดินในการทำนา ไม่มีฉางหรือลานตากของตัวเอง ปลูกข้าวสายพันธุ์ตามตลาดกำหนด ขายให้โรงสีไม่ว่าจะเป็นข้าวเปลือกเจ้า ข้าวหอม หรือข้าวเหนียว แต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ราคาข้าวไปไปตามกลไกตลาด ไม่สามารถกำหนดราคาได้เอง ยังคงอยู่ในวังวนหนี้สิน อยู่ได้เพราะรัฐสนับสนุนส่วนต่างหรือเงินเยียวยา เกษตรกรไม่เพิ่มขึ้น ภาคเกษตรกลายเป็นภาคเกษตรสงเคราะห์ เพราะรัฐไม่มีนโยบายและกลไกในการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ชัดเจน
ภาพที่ 2 ชาวนาไฮเทค เน้นการนาแปลงขนาดใหญ่ หรือร่วมกลุ่มกันเป็นแปลงใหญ่เพิ่มขึ้น ยังคงผลิตข้าวสายพันธุ์ตลาดแต่เน้นคุณภาพดี ชาวนาเป็นมืออาชีพสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จัดการต้นทุนและทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุน จนมีผลผลิตและรายได้ที่สูงขึ้นแต่ไม่มาก ทำให้มีเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้ความสนใจต่ออาชีพภาคเกษตรโดยเฉพาะการทำงานเพิ่มขึ้น ภาครัฐ เอกชน ร่วมถึงผู้ประกอบการ โรงสีเข้ามาร่วมพัฒนาศักยภาพของชาวนา และพัฒนาเทคโนโลยี มีการขายแบ่งคุณภาพตามความต้องการของตลาด แต่เกษตรกรบางส่วนเข้าไม่ถึง หรือปรับตัวไม่ได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เพราะยังอยู่ในวังวนของหนี้สิน รัฐบาลสร้างเงื่อนไขในการเข้าถึงที่ดินแบบ หรือนโยบายรัฐหนุนเสริมที่ชัดเจนในการปรับระบบการผลิตและมีความต่อเนื่อง
ภาพที่ 2 ชาวนาไฮเทค เน้นการนาแปลงขนาดใหญ่ หรือร่วมกลุ่มกันเป็นแปลงใหญ่เพิ่มขึ้น ยังคงผลิตข้าวสายพันธุ์ตลาดแต่เน้นคุณภาพดี ชาวนาเป็นมืออาชีพสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จัดการต้นทุนและทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุน จนมีผลผลิตและรายได้ที่สูงขึ้นแต่ไม่มาก ทำให้มีเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้ความสนใจต่ออาชีพภาคเกษตรโดยเฉพาะการทำงานเพิ่มขึ้น ภาครัฐ เอกชน ร่วมถึงผู้ประกอบการ โรงสีเข้ามาร่วมพัฒนาศักยภาพของชาวนา และพัฒนาเทคโนโลยี มีการขายแบ่งคุณภาพตามความต้องการของตลาด แต่เกษตรกรบางส่วนเข้าไม่ถึง หรือปรับตัวไม่ได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เพราะยังอยู่ในวังวนของหนี้สิน รัฐบาลสร้างเงื่อนไขในการเข้าถึงที่ดินแบบ หรือนโยบายรัฐหนุนเสริมที่ชัดเจนในการปรับระบบการผลิตและมีความต่อเนื่อง
ภาพที่ 3 ชาวนาพึ่งตนเอง พันธมิตรผลิตข้าว แปรรูปสร้างสรรค์ ผลิตข้าวคุณภาพดี ข้าวคุณภาพสูง ข้าวพิเศษ เช่น ข้าวอินทรีย์น้ำตาลต่ำ ข้าวที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ มีทั้งการจัดการแบบฟาร์มเดี่ยวที่พึ่งพาตัวเอง และรวมกลุ่มผลิต จำนวนเกษตรกรลดลง สามารถส่งออกข้าวพิเศษคุณภาพสูงในราคาดี แต่ในวงจำกัดมาก อาศัยตลาดในประเทศเป็นหลัก หากจะแข่งขันในตลาดต่างประเทศวงกว้าง ต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อจัดการฟาร์ม ชาวนาพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการยกระดับเทคโนโลยีซึ่งตอบโจทย์ของผู้บริโภค ภายใต้นโยบายหนุนเสริมเกษตรกรอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ มีทุนหมุนเวียนจัดการเรื่องหนี้ และระบบที่เอื้อให้เกษตรกรมีที่ดินของตัวเอง
นอกจากข้อมูลแล้ว และภาพอนาคตทั้ง 3 แบบแล้ว ทางทีมงานมีมุมมองเพิ่มเติมฉากทัศน์ ทั้ง 3 จากผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้คุณผู้อ่านร่วมตัดสินใจไปด้วยกัน
ตัวแทนภาพอนาคตที่ 1 คุณสินชัย บุญอาจ // ผู้นำเกษตรกรในพื้นที่ ต.หนองพยอม จ.พิจิตร
กล่าวว่า ชาวนาพึ่งพาตลาด ยังคงวิถีการทำนาแบบเดิม (ไม่ใช่ดั้งเดิม) สถานการณ์ปัจจุบันของชาวนา โซนนาปีในช่วงนี้ คือการเตรียมปุ๋ยใส่ จัดการระบบน้ำปิด ระวังน้ำเข้านา และหลังจากนั้นจะเป็นช่วงที่เริ่มขายได้ หารถเกี่ยว ซึ่งปัจจุบันหากไม่มีแรงงานต้องจ้างคนงานมาหว่านปุ๋ย พ้นยา เพราะเครื่องจักรหลายอย่างมีราคาแพง เช่นกว่าจะผ่อนรถไถหมดราคารถไถหลักล้าน ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันคนที่ทำนาเพื่อทำงานเพื่อให้ได้เงิน ส่วนหนึ่งใช้หนี้ ส่วนหนึ่งใช้จ่ายในครัวเรือน รัฐบาลมีการโอนเงินเข้าบัญชีช่วงไหน เงินเยียวยา
เรื่องปัจจัยการผลิตตนมองว่าชาวนาส่วนใหญ่มองไปยังปลายปี สุดท้ายครัวเรือนต้องใช้หนีเท่าไหร่ ถ้ามีหนี้ ธกส. ก็ทำนาเพื่อใช้หนี้ ส่วนหนึ่งอีกเรื่องมองว่าเป็นเรื่องสำคัญคือเรื่องที่ดิน บางปีเสียไปถึง 1000 -2000 กว่าไร่ ทำอย่างไรนาคันนี้จะกักน้ำได้ จะปรับดินกับพื้นที่ต่ำหากเป็นนาของนายทุนหรือนาเช่า
อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องภัยธรรมชาติ ปีที่แล้วน้ำท่วมโซนหนองพะยอม ปีนั้นชาวนาได้แต่รอวันไหนที่รัฐจะจ่ายเยียวยา สถานการณ์ที่ 2-3 ปี ที่ผ่านมายิ่งบีบคั้นเข้ามาเรื่อย ๆ คือเรื่องสถานการณ์โควิด ลูกหลานบางคนต้องกลับมาจากเมือง กลับมาทำนา หากพ่อทำงาน 2 ไร่ ถ้ามีลูกหลานกลับมาอีกต้องคอยแบ่งให้ นี่เป็นสถานการณ์ปัจจุบันบางส่วน
ตัวแทนภาพอนาคตที่ 2 คุณบุญยืน คงสงวน// นักพัฒนาอาวุโส จ.พิจิตร
กล่าวว่า ชาวนาไฮเทคเน้นการนาแปลงขนาดใหญ่ หรือร่วมกลุ่มกันเป็นแปลงใหญ่เพิ่มขึ้น เริ่มต้นก่อนด้วยเรื่องนาแปลงใหญ่ อยากจะชวนมองว่าชาวนายังกระจัดกระจาย พื้นที่เรื่องนาแปลงใหญ่อยากให้จัดระบบตำบล วังทรายพูน อำเภอ วังทรายพูน พิจิตร เป็นตำบลนำร่องเรื่องนาแปลงใหญ่ แต่สุดท้ายไปไม่รอดเพราะความพร้อมไม่มี เงื่อนไขคือสภาพที่ดิน ตัวต่อมาคือเครื่องมือที่ใช้ ชาวนาพยายามปรับเปลี่ยนตลอดมา จากควายตัวมาเป็นควายเหล็ก แต่ปัจจัยเรื่องแรงงาน และเรื่องพันธุ์กรรมข้าว ยังเป็นปัญหา ซึ่งความเป็นไฮเทคแบบดั้งเดิมพื้นบ้านปลูกข้าวนาปี นโยบายข้าวลูกผสม ข้าวที่ไม่เหมาะสมกับการค้า มีผลต่อเนื่องมาทุกวันนี้ กลุ่มชาวนาสหกรณ์หลายที่ ตั้งสหกรณ์ชาวนามีค่าข้าวมีมากมายสุดท้ายติดกับข้อกฎหมายนโยบาย
ภายใต้ฉากทัศน์ที่ 2 ที่เสนอข้อมูลมา ต้องบอกว่ามันไม่ได้เหมือนกันทุกพื้นที่ หลายพื้นที่มีช่วงที่แตกต่างกันบ้าง เช่น บางพื้นที่ยังใช้พันธุ์ดั้งเดิม บางพื้นที่ใช้พันธุ์ผสม และบางพื้นที่ใช้สายพันธุ์ใหม่ ชาวนายังคงต้องพึ่งการลงทุนกระแสเงินทุนทั้งสิ้น ภายใต้กระแสการปรับเปลี่ยนในปัจจุบัน ข้อดีของชาวนาไฮเทคคือหลายเรื่องเป็นเงื่อนไขที่ต้องปรับตัวต่อสภาพสังคม เกษตรกรรุ่นใหม่ และรุ่นสูงวัย ปัญหาด้านแรงงานด้านคน การมีเทคโนโลยีการจัดการใหม่ ๆ เข้ามา และปัจจุบันมีตลาดออนไลน์เข้ามา มีโอกาสเลือกมาขึ้น แต่ถ้าเขาเลือกแล้วจะให้เขาโตได้อย่างไร? นี่คือคำถามที่เปิดทิ้งไว้
ตัวแทนภาพอนาคตที่ 3 คุณนพดล มั่นศักดิ์ // มูลนิธิการจัดการความรู้และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา จ.นครสวรรค์
กล่าวว่า ชาวนาพึ่งตนเอง แปรรูปสร้างสรรค์ พันธ์มิตรผลิตข้าว เกริ่นก่อนว่าตนเองบริบทเริ่มปรับเปลี่ยนตั้งแต่ปี 47 เมื่อตอนนั้นพื้นที่ของเราไม่มีพันธุ์ข้าวแล้ว เราจึงอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง เราจะพัฒนาข้าวอย่างไรให้ได้พันธุ์ดี เอาเกษตรข้าวมาผสมพันธุ์กัน เช่น ข้าวชมนาด ที่สามารถเอาไปทำแป้งได้ ปลูกที่นครสวรรค์กับพิจิตรเป็นหมื่นไร่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนต้องใช้กระบวนการทางวิทยาศาตร์และทางกระบวนการชาวบ้านทั้งสิ้น ที่ผ่านมามีความพยายามผลักดันให้เป็นข้าว GI ของ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งข้าวพันธุ์นี้สามารถตอบโจทย์เกษตรกร เกษตรกรสามารพึ่งพาตนเองได้ ทำตลาดเอง ทำปุ๋ยเองและการแปรรูป ไปยังตลาดอื่น ๆ เช่น ตลาดแป้ง มีข้าวอินทรีย์ส่งออกที่มีรายได้สามารถรองรับตนเองได้ไม่ต้องพึ่งพารัฐ ราคาและมาตรฐานมาจากไหนมาจากการเรียนรู้ของเราเอง ต้องอาศัยการเทียบเรื่องราคา ตั้งราคากันเอง ทำออแกนิค เรียนรู้การดูงาน ให้ไปสู่จุดมุ่งหมาย ที่ผ่านมาเราไม่ได้เงินสนับสนุนจากรัฐเลย เราใช้ทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัย เป็นมูลนิธิ ไปใช้ห้องแลปจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ข้อเสนอส่วนหนึ่งจากวงสนทนา
- ชาวนาควรต้องมีพันธุ์ข้าวเป็นของพื้นที่ตนเอง ต้องมีที่ดินป็นของตัวเอง 1 ไร่ นโยบายรัฐ และธกส. กลุ่มชาวนาที่มีเล่มเขียวต้องสนับสนุนให้เขามีที่ดินเป็นของตัวเอง ซึ่งสิ่งหนึ่งเหนือการควบคุม ถ้าเราดูกลุ่มอื่นมีหลักประกันความเสี่ยง และยังไม่มีความเสี่ยงเรื่องภัยแล้ง ตัวชาวนาการปรับตัวเป็นคนกลุ่มใหญ่ เทคโนโลยี นโยบายรัฐและการเรียนรู้ของชาวนาเอง
- ต้องมีกองทุนพยายามช่วยลดหนี้ ชาวนาจำนวนมากที่พิจิตร จากที่ลองไปถามเรื่องห่วงโซ่มูลค่าภาคการเกษตร เส้นทางข้าวจากชาวนาสู่การค่าข้าว สัมพันธ์กับนโยบาย 5-6 พัน ต่ำกว่า 7 พัน ข้าวจากชาวนา 250 ดอล ประมาณ 1000 ส่งออกไปถึง 400 us เพราะเทคโนโลยีตั้งแต่หน้าข้าวได้ทั้งการลดหย่อยภาษี รับการจัดการเรื่องข้อมูลข่าวสารการค้า เส้นทางข้าวต้องแยกให้เห็นเรื่องของเส้นทางข้าว ทำอย่างไรห่วงโซ่ที่อยู่ตรงกลางให้เป็นรายได้ให้ชาวนา ให้เพิ่มเทคโนโลยีชาวนา ต้องนำร่องให้เป็นแบบใหญ่ ไม่ใช่ต้องดิ้นรน ในแง่ของอนาคตเรื่องที่ดิน เครือข่ายชาวนาเข้ายื่นเพื่อเสนอกฎหมายที่ดินภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มีกฎหมายที่ชื่อว่า ‘พระราชบัญญัติ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542’ เกิดขึ้นมา เป็นกฎหมายที่ประชาชนเสนอร่างแล้วไม่ถูกแก้ไขเลย และกองทุนที่จะเปิดช่องสินเชื่อระยะยาว ของสหภาพ จัดการกองทุนเพื่อให้เกษตรกรเขามีที่ดินเป็นของตัวเองได้ นโยบาย ที่เป็น ธกส .ราคที่ดินสูงเมื่อไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองจะยิ่งยาก
- ทางออกจากวังวนหนี้ทำแบบเทคโนยีได้หรือไม่ ถ้าเรามีหนี้สินอยู่จะไม่สามารถทำเกษตรได้ ต้องทำนาทั่วไป ไม่สามารถทำนาพิเศษแบบตนเองได้ หนี้สินเหล่านี้มาจากภาคเกษตรหรือเปล่า หนี้สินอื่น ๆ หรือเปล่า หรือครอบครัวค่าใช้จ่าย
เราควรจะแก้โจทย์เหล่านี้ ต้นทุนการผลิต เรื่องปุ๋ย ยา และที่ดิน โจทย์สำคัญชาวนาจำนวนมากมีศักศรี จัดการเรื่องต้นทุน กลไกตลาดให้เหมาะสม
นี่คือส่วนหนึ่งของบทสนทนาที่ทีมงานรายการฟังเสียงประเทศไทย ฟังด้วยหัวใจที่เปิดรับ ส่งเสียงด้วยข้อมูลที่รอบด้าน
เสียงส่วนหนึ่งจากตัวแทนทั้ง 3 ภาพอนาคต ยังมีเสียงของคนในชุมชนให้เราได้ฟังและร่วมคิดต่อในรายการฟังเสียงประเทศไทยเทปนี้ 3 ฉากทัศน์นี้เป็นเพียงจุดตั้งต้นท่ามกลางฉากทัศน์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้มากมาย อย่างไรก็ตาม เสียงของชาวนาจังหวัดพิจิตรในวันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวนา แม้จะมีความซับซ้อนในหลายด้าน แต่ตอนนี้ชาวนาส่วนหนึ่งก็พยายามปรับตัวเองเพื่อให้มีรายได้ และความมั่นคงด้านอาหารมากขึ้น แม้อาจจะต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา แต่ก็เป็นจุดหมายอันดีที่ได้มาร่วมแลกเปลี่ยน และจะร่วมกันผลักดันและทำให้ชาวนาอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีและ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต
คุณผู้อ่านสามารถติดตาม รายการเพิ่มเติมและร่วมโหวตเลือกฉากทัศน์ที่น่าจะเป็นหรือแสดงความเห็นเพิ่มเติมได้ที่ www.thecitizen.plus กดลิงก์ หรือร่วมเสนอประเด็นเพื่อให้เกิดเวทีฟังเสียงประเทศไทยกับไทยพีบีเอส และเรื่องราวกับแฟนเพจTheNorth องศาเหนือ
เพราะทุกการเดินทางและการฟังกันและกัน เราหวังว่านี่จะเป็นอีกพื้นที่ ที่ “เสียง”ของประชาชนจะไปถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่จะออกแบบและจัดการตามข้อเสนอที่ผ่านการร่วมกันคิด ร่วมกันตัดสินใจ แบบ “ปัญญารวมหมู่”