สมศักดิ์ โกศัยสุข “แรงงานไม่มีทางออกอื่นอีกแล้วนอกจากการเมือง”

สมศักดิ์ โกศัยสุข “แรงงานไม่มีทางออกอื่นอีกแล้วนอกจากการเมือง”

20152906151318.jpg

โดย : นักสื่อสารแรงงาน

วันที่ 27 มิถุนายน 2558 คณะทำงานยุทธศาสตร์ที่ 1 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) จัดสัมมนา เรื่อง “ทิศทางทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมของผู้นำแรงงานในยุคปัจจุบัน” ณ ห้องประชุมศุภชัย ศรีสติ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มักกะสัน กรุงเทพฯ

กิตติภณ ทุ่งกลาง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สายแรงงาน กล่าวว่าได้พยายามผลักดันเรื่องธนาคารแรงงานในร่างรัฐธรรมนูญก่อนที่ สปช.จะถูกยุบไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ ซึ่งก็ต้องมาดูกันอีกว่าแรงงานไม่ได้อะไรบ้างจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้

สมศักดิ์ โกศัยสุข อดีตผู้นำแรงงาน กล่าวถึงการพัฒนาของโลกถึงปัจจุบันว่าเป็นระบบทุนนิยมที่กดขี่เอารัดเอาเปรียบแรงงาน และเห็นว่าแรงงานไม่มีทางออกอื่นอีกแล้วนอกจากการเมือง เพราะสหภาพแรงงานมีบทบาทจำกัดในการผลักดันนโยบายหรือกฎหมายดีๆ สำหรับแรงงาน แต่พรรคการเมืองก็ล้วนเป็นของนายทุน ผู้นำแรงงานจึงควรต้องพัฒนาพัวเองให้พร้อมสำหรับการทำงานด้านการเมือง

ชัยยุทธ ชูสกุล ประธานสหพันธ์แรงงานปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า แรงงานคงหลีกหนีการเมืองไม่พ้น และเห็นว่าหากจะมีอำนาจต่อรองทางการเมือง ขบวนการแรงงานต้องรวมกันให้ได้ไม่ว่าจะเป็นแรงงานกลุ่มใด ซึ่ง คสรท.ก็มียุทธศาสตร์เรื่องการเมืองเพื่อให้การศึกษากับสมาชิกในการสนับสนุนพรรคการเมืองของแรงงาน

รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ กล่าวว่า การจะมีพรรคการเมืองต้องเข้าใจเรื่องชนชั้นเพราะแม้ ชนชั้นธรรมชาติเป็นกรรมาชีพ แต่จิตสำนึกอาจไม่ใช่ ซึ่งจิตสำนึกทางชนชั้นแรงงานก็อาจมาจากภายนอก เช่น นักวิชาการ หรือปัญญาชน การเมืองเป็นการปะทะกันนของอำนาจเพื่อแบ่งบันผลประโยชน์ ถ้ามีอำนาจต่อรองจึงจะได้เปรียบ
เมื่อมองการสร้างอำนาจทางการเมือง แรงงานไม่มี เครื่องมือสำคัญคือพลังทุน และพลังอาวุธ แต่ยังพอมีพลังทางปัญญา พลังจัดตั้ง และพลังสามัคคีที่ยังพอจะเอามาสร้างอำนาจต่อรองได้ ซึ่งพลังทางปัญญามาจากการอ่าน การฟัง เพื่อให้เกิดความรู้แล้วเกิดความคิด ซึ่งจะทำให้เกิดการแสวงหาช่องทางใหม่ๆในการสร้างอำนาจต่อรองทางการเมืองได้

โดยในระบบทุนนิยมเช่นปัจจุบัน ทุนสำคัญที่สุด การควบคุมทุนหรือมีทุนมากจะมีอำนาจต่อรองมาก สหภาพแรงงานที่เข้มแข็งในยุโรปหลายประเทศล้วนมีหุ้นในธนาคารจำนวนมาก จึงเสนอให้มีการตั้งกองทุนธนาคารแรงงาน เพราะนอกจากด้านการเมืองจะต้องมีหลักการ 1 คน 1 เสียงแล้ว ในทางเศรษฐกิจก็ควรจะมี 1 คน 1 กรรมสิทธิ์ วิธีการตั้งธนาคารแรงงานก็คือให้รัฐบาลขายพันธบัตรให้กองทุนประกันสังคม นำเงิน 5 หมื่นล้านบาทมาตั้งธนาคารแรงงาน เพื่อให้คนงานกู้โดยมีเงื่อนไขเรื่องการออกมเงินด้วย ซึ่งต่อๆไปก็จะกลายเป็นหุ้นจำนวนมากของแรงงาน ที่จะทำให้เกิดอำนาจต่อรองได้

20152906151333.jpg

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ