คลองห้วยยางกับอนาคตการฟื้นฟูเมืองทับเที่ยง

คลองห้วยยางกับอนาคตการฟื้นฟูเมืองทับเที่ยง

อดีตคลองห้วยยางเป็นแหล่งน้ำสำคัญของคนที่อยู่ในที่พื้นที่ ซึ่ง ศูนย์กลางเมืองแต่เดิมเป็นชุมชนตลาดสลับสวนยางและสวนพริกไทย สำหรับคลองห้วยยางกับคนทับเที่ยงรุ่นแรกคือเส้นทางคมนาคมที่มาจากท่าจีน  คนรุ่นที่เติบโตช่วง 2500 กว่า ๆ มีภาพจำที่ยังสวยงาม กับน้ำใสไหลผ่าน ใช้อุปโภคบริโภคได้ ผู้คนยังเดินเลียบคลองไปมาหากันได้  หาปลากิน และจับปลาเล่น ภาพจำที่สะท้อนความสุข ความผูกพันที่ถ่ายทอดถึงกันระหว่างรุ่น

ปัจจุบัน คลองห้วยยางกลายเป็นลำคลองมีลักษณะตื้นเขิน บางช่วงมีตะกอนสะสมและแคบ  ทำให้น้ำไหลผ่านไม่สะดวก เเละไม่สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภค บริโภคได้ เนื่องจากท่อระบายชำรุดในบางช่วง   ทำให้น้ำเสียส่วนหนึ่งไหลลงสู่คลอง กระทบต่อระบบนิเวศสายคลอง   แม้เทศบาลจะพยายามฟื้นฟูด้วยการทำทางเดินเลียบคลองส่วนกลางเมือง แต่ยังไม่มีกิจกรรมที่เข้มข้นพอจะเรียกความสนใจกลับคืนมา จนเกิดงาน “มาแต่ตรัง” ที่ผู้คนสนใจ ถือเป็นการนับหนึ่งในการฟื้นคลองห้วยยาง

โจทย์สำคัญ คือการสร้าง ความเข้าใจ ทั้งในเรื่องประโยชน์ใช้สอย ความงาม คุณค่าทางประวัติศาสตร์  และที่สำคัญ จะทำอย่างไรให้คลองห้วยยางกลับมาเป็นหัวใจเมืองอีกครั้ง เกิดการมีส่วนร่วมกับเมืองในทุกมิติ เราชวนล้อมวงคุยถึง  คลองห้วยยางกับอนาคตการฟื้นเมืองทับเที่ยง 

วันนี้ออกเดินทางมาที่ คริสตจักรตรัง ตั้งอยู่ใน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นโบสถ์คริสต์เก่าแก่ อายุกว่าร้อยปี โดยมีอักษรจารึกไว้เหนือบันไดทางเข้าข้างหน้าไว้ว่า วิหารคริสตศาสนา สร้าง ค.ศ.1915 ที่สำคัญพื้นที่แห่งนี้ อยู่กึงกลาง ของสองฝั่งคลองห้วยยาง สามารถเดินเชื่อมกันได้ เป็นลำคลองที่ไหลผ่านตัวเมืองภายในเขตเทศบาลนครตรัง ในอดีตมีความเชื่อมโยงย่านพื้นที่สำคัญต่าง ๆ ของเมืองและเคยเป็นเส้นทางคมนาคมค้าขายเชื่อมไปยังแม่น้ำตรัง

และวันนี้พวกเขาจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการมองภาพ คลองห้วยยางกับอนาคตการฟื้นเมืองทับเที่ยง จ.ตรังซึ่งชาวตรังในอดีตแคบใช้พื้นที่คลองห้วยยางทำกิจกรรมสาธารณะที่หลากหลาย รวมถึงเป็นเส้นทางการค้าสำคัญๆของเมือง เราจึงชวนมองภาพในอีก 5 ปีข้างหน้า ถึงโจทย์และทิศทางความเป็นไปได้ของการฟื้นฟูเมืองทับเที่ยง

สุนทรี สังข์อยุทธ์ อดีตหัวหน้าหอจดหมายเหตุเเห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯตรัง กล่าวว่าที่มาทางคลองห้วยยาง คือเส้นทางคมนาคมที่สําคัญในอดีต เพราะแต่ก่อนเราไม่ได้มีถนนนี้ มาก็ตั้งถิ่นฐานใกล้คลองไม่ได้ติดริมคลองเหมือนสมัยนี้เพราะแต่ก่อนที่ดินมันเยอะแล้วในที่สุดมันก็จะกลายเป็นชุมชนใหญ่ทับเที่ยง

เราจะพบหลักฐานเอกสารว่า ตอนที่เมืองอยู่ที่ควรทนีถ้าเทียบก็มีความเจริญ คนจีนเข้ามาแล้วก็ปลูกพริกไทย ผูกพริกไทยเน็ตทั่วเลยมันจะมีเอกสารอยู่อันนึงบอกว่า เดินทางมาถึงบ้านทับเที่ยง แล้วตรงระหว่างบ้าน เดินไประหว่างทางนอร์ทอีส  มีคลองแล้วคลองนี้น้ำลึกศอกเศษ ธรรมชาติมันเป็นยังไงเพราะว่ามาจากต้นน้ำที่ไม่ได้เป็นต้นน้ำจากภูเขาใหญ่แบบเทือกเขาบรรทัด เเต่มันไหลลงมาตามฤดูกาล ตามธรรมชาติของคลองไม่ได้ราบเรียบเท่ากัน แต่เป็นวัง  ระหว่างทางปลูกพริกไทย  ดินเป็นกรวด สมัยก่อนน้ำจะใสสะอาดแล้วพอมารุ่นที่เราโตเราก็จะพบว่าคลองกลายเป็นน้ำที่ส่งกลิ่น มีสีดํา

ระยะแรกที่เป็นเส้นทางคมนาคม เเน่นอนเปลี่ยนไปเเละกลับมาไม่ได้แล้ว แต่ภาพที่อยู่ในความทรงจําของผู้คนก็คือ ภาพน้ำใส ภาพคลองสวย ภาพความสุข ความรื่นรมย์เราอยากจะฟื้นสิ่งเหล่านี้

ยิ่งยศ เเก้วมี สถาปนิคเมืองตรัง กล่าว่า ฐานะนักออกแบบทุกคนเนี่ยมันจะต้องหาดาต้าพวกนี้ให้เจอก่อน ว่าคลองเป็นลักษณะแบบไหน  ซึ่งคลองมอกว่ามันทําหน้าที่ได้หลายหน้าที่มากแต่หน้าที่นึงที่เราเห็นได้อย่างเด่นชัด คือทางสัญจรมันเป็นทางชอตคัตของเมือง เราเห็นสุนทรียะ เราเห็นธรรมชาติ เราต้องช่วยกันคิดต่อว่าจะทำอย่างไร อดีตเราเคยมีคลองที่สวยงาม แต่ตอนนี้มีคูระบายน้ำที่สร้างเมื่อ10กว่าปีที่แล้ว มันมีการบําบัดน้ำเสียก็ช่วยไปได้ระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ได้ทั้งหมดปัญหาเราต้องไปแก้ที่ต้นเหตุไม่ใช่แก้ที่ต้นน้ำ

เราอยู่ในเมืองเก่า บ่อบําบัดถังบําบัดของทุกบ้านในเมืองเก่ายังเป็นระบบโบราณ นั้นคือปัญหาของคลองห้วยยาง ไม่นับทางอย่างอื่นอย่างเช่นมีโจร ไม่มีความไม่ปลอดภัยนั่นคือสิ่งที่เทศบาลต้องบูรณาการร่วมกับตํารวจและชุมชน ส่วนเรื่องดีไซน์คนจะคิดต่อได้เอง

กมลพร สมคิด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง กล่าวว่า จากการที่ได้ฟังเรื่องราวที่ทุกคนได้เล่ากันตั้งแต่อดีตว่าของห้วยยางนี่มันเคยใช้ทําอะไรบ้างหรือในคลองมันมีอะไรบ้าง เป็นเรื่องราวที่แบบมันมีความน่าสนใจ ทุกคนในชุมชนต้องร่วมกันดูแลเป็นสอดส่องความปลอดภัย ทั้งย่านชุมชนตลาด ย่านชุมชนย่านชุมชนเส้นทางรถไฟ เพราะพื้นที่เหล่านี้ พื้นที่แห่งความทรงจํา จังหวัดตรังอ่ะมันก็แบบมีย่านชุมชนที่มีความน่าสนใจและสําคัญสําหรับคนพื้นที่ การพัฒนาอาจจะเริ่มจากการมีพื้นที่ ที่พักผ่อนหย่อนใจได้ มีกิจกรรมอะไรต่างๆ ทำให้คลองห้วยยางไม่ใช่เป็น เส้นทางหลังบ้านอยากให้มองมองย้อนกลับไปในอดีตว่าเราควรจะพัฒนาในส่วนของเส้นทางเหล่านี้อย่างไร  

พัฒนาพื้นที่เป็นพื้นที่ที่มีความครีเอทีฟอาร์ตให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาชมได้เพื่อเป็นอีกทางเลือกที่สามารถสร้างเศรษฐกิจชุมได้

คนรุ่นในพื้นที่จังหวัดตรังกล่าวว่า ถ้าน้ำในคลองใสสวยเหมือนในภาพฉากทัศน์ บริเวณรอบรอบสามารถออกกําลังกายหลากหลาย สามารถมีกีฬาสปอร์ต มีเรือค่ายัค พื้นที่รอบรอบก็สามารถเป็นพื้นที่สำหรับรำไทเก๊กหรือกิจกรรมแอร์โรบิกได้ และมีลานสเก็ตสเก็ตบอร์ด เซิร์ฟ บอร์ด เซิร์ฟสเก็ต น้ำลึกก็เป็นซับบอร์ด ถ้าเราอัดน้ำเข้ามาในระบบแบบนี้ ปรับพื้นที่ให้สามารถรับรองกีฬาที่เหมาะสมได้  บริเวณข้างๆก็ยังเป็นงานศิลปะได้เป็นเหมือนอาจจะเป็นกราฟฟิตี้ อย่างสร้างสรรค์ได้

รับชมข้อมูลเพิ่มเติม

ฉากทัศน์ 1. คลองห้วยยาง   GreenCity  กลางเมืองเก่าตรัง

•          ฟื้นให้คลองห้วยยาง  เป็นพื้นที่สาธารณะให้แก่เมืองและผู้คนได้กลับมาใช้อย่างเสรีและปลอดภัย  ปรับปรุงคลองกลางเมืองเเละทำให้คลองเป็นพื้นที่  เก็บกักน้ำ มีการบำบัดน้ำให้สะอาด และมีความปลอดภัย

•          เพิ่มพื้นที่สีเขียวขนาดย่อม “พอคเกตพาร์ค” ที่มีพันธุ์ไม้นานพันธุ์ริมคลอง  เพื่อเป็นสวนทดลองทางด้านพฤกษศาสตร์ แบ่งการจัดสวนออกเป็นโซนต่างๆ ตามแต่ลักษณะของพรรณไม้ที่จัดไว้ โดยเฉพาะพืชมีค่าทางเศรษฐกิจ   อาทิ สวนพริกไทยปลูกริมรั้ว  สร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล  

•          โดยมีแผนปรับปรุงเพื่อวางแนวทางในการเปลี่ยนพื้นที่จัดทำฐานข้อมูล พร้อมกันนี้หากพบว่ามีพื้นที่ไหนมีศักยภาพในการปรับปรุงเพื่อประโยชน์สาธารณะเพื่อให้มีโอกาสเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้มากขึ้น  ทำความร่วมมือ พัฒนาพื้นที่รกร้าง  ของเอกชน วัด โบสถ์ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์  แปลงโฉมด้วยการใช้ความรู้ด้านภูมิสถาปัตยกรรมเมืองมาออกแบบ ปรับปรุงภูมิทัศน์สองฝั่งคลอง ทางเท้า  ทำให้ทางเท้าใช้งานได้ทั้งการเดิน ออกกำลังกาย และ  Universal Design รองรับการใช้งานของผู้คน   ตลอดจนระบบไฟฟ้าแสงสว่างเพื่อความปลอดภัย  และให้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีที่ดินเป็นการทดแทน

•          เช่น จัดทำโครงการ กรีนตรัง โดยการให้เจ้าของกรรมสิทธิ์นำที่ดินเข้าร่วมกับโครงการฝากไว้ให้ เทศบาล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ กำหนดสัญญากำหนดระยะเวลาประมาณ 10 ปี เเละปรับพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร เป็นสวนพันธ์ุไม้ริมคลอง และเกิดกิจกรรมเดินทัวร์ริมคลองโดยคนในชุมชนเชื่อมกับเส้นทางย่านเมืองเก่าตรัง   

•          สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมชุมชน  หากทำได้ก็จะเกิดการสร้างองค์ความรู้ในพื้นที่ หากว่าองค์ความรู้เรื่องพื้นที่สาธารณะกระจายตัวออกไป ให้ผู้คนรู้เข้าใจเห็นความสำคัญมากขึ้น

•          เเต่ฉากนี้ ท้องถิ่นต้องดูแลเรื่องระบบโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก  ความปลอดภัย รวมถึงทำความเข้าใจร่วมกับชุมชน ในการออกแบบและพัฒนาข้อเสนอร่วมกัน   เกิดข้อตกลงเทศบัญญัติร่วมเเละเกิดเป้าหมายร่วมกัน  ซึ่งต้องใช้เวลาเเละเป็นเรื่องของการจัดสรรงบประมาณ

ฉากทัศน์ที่ 2.  คลองห้วยยาง  Creative Lab

  • พัฒนาคลองประวัติศาสตร์ใกล้ใจกลางเมืองตรังให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง     ฟื้นความสัมพันธ์เมือง-ระบบนิเวศ ด้วยการใช้ความรู้ด้านภูมิสถาปัตยกรรมเมืองและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ออกแบบมาด้วยคอนเซ็ปความเหมาะสมของพื้นที่  พัฒนาย่านเศรษฐกิจการค้าเมืองเก่าควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่
  • เปิดพื้นที่สร้างสรรค์แลกเปลี่ยนของคนทุกวัย ทั้งในด้านสุนทรียะและประวัติศาสตร์  ศิลปะ การละเล่น ให้กลายมาเป็นย่านสุดชิค เป็น art space หลากหลายฟังก์ชั่น เชื่อมเส้นทางเศรษฐกิจท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าตรัง สร้างเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นคนในท้องถิ่นร้านค้า อาหาร คาเฟ่ของคนท้องถิ่น   เเละปลุกชีวิตพื้นที่ให้รองรับกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่
  • จุดเน้นสำคัญ การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมชุมชน  สร้างโปรเจคเป็นห้องทดลองเมืองร่วมกันในหลายมิติ  เพื่อสร้างกลไกการมีส่วนร่วมกับคนหลากหลายกลุ่ม ทั้งสายครีเอทีฟหลากสาขา ทั้งสถาปนิก, นักออกแบบ และศิลปินภาพถ่าย ร่วมมือกัน  ซึ่งไม่ง่าย แต่ถ้าทำได้จะสร้างความยั่งยืนและทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม  ถ้าต้องมีการลงทุน ก็อาจใช้โอกาสการร่วมลงทุนโดยเอกชน ลงแรงโดยภาคประชาชน ลงบางส่วนโดยภาครัฐบาล และถ้าท้องถิ่นปลดล็อคให้เกิดโมเดลใหม่ๆของการพัฒนาได้   ซึ่งไม่ง่าย แต่ถ้าทำได้จะสร้างความยั่งยืนและทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม
  • เเต่ฉากนี้ หน่วยงานท้องถิ่นเข้ามาร่วมอยู่ในกระบวนการและรับฟังความคิดเห็น  ตั้งแต่เริ่มต้น ร่วมกับทุกภาคส่วนรับไม้ต่อ  รวมถึงปลดล็อคเงื่อนไขบางอย่างเพื่อพัฒนาให้เกิดโมเดลใหม่ๆ   และปรับแผนการพัฒนาเมืองให้สอดคล้องและเชื่อมต่อกันเป็นโครงข่าย ฯ  รวมถึงการบริหาร และจัดการงบประมาณบางส่วนในการดูแลบำรุงพื้นที่ ให้ครอบคลุมทั้งระบบ ไฟ  น้ำ เเละสิ่งอำนวยความสะดวก เผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

ฉากที่3 คลองห้วยยาง Healthy and creation

นอกจากความปลอดภัยผู้สัญจร คุณภาพน้ำในคลอง  ฉากทัศน์นี้เน้น   ฟื้นฟูธรรมชาติริมฝั่งคลอง การรักษาสิ่งแวดล้อมและระดับน้ำในคลองอยู่ในระดับที่สามารถทำกิจกรรมทางน้ำที่หลากหลายได้ รวมถึงกิจกรรมกีฬาอื่นๆที่หลากหลายเหมาะกับทุกกลุ่มทุกวัย

•          ปรับภูมิทัศน์  เปลี่ยนจุดอับของเมืองด้วยศิลปะสร้างสรรค์ให้เป็นพื้นที่สร้างลานสันทนาการให้กลายเป็นพื้นที่กลางสำหรับทำกิจกรรมได้หลากหลาย  กีฬา  รำไทยเก๊ก  เดินเล่น  เล่นเกมส์ มีเรือพายในน้ำ  มีกีฬาเอ็กซ์ตรีมที่หลากหลาย   SUB Board  พายเรือคะยักล่องไปตามลำคลอง เชื่อมกับเรื่องราวเมืองเก่าตรัง เป็นโอกาสที่สามารถสร้างเศรษฐกิจให้กับเมือง

•          จัดโซนนิ่ง พื้นที่สำหรับการทำกิจกรรมเเต่ละโซนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับชุมชน  สะพานเชื่อมคลอง ทางเท้า ย่านชุมชนเมืองเก่าตรัง ความสัมพันธ์ของผู้คนได้ออกมาพักผ่อน เจอธรรมชาติ ได้มาพูดคุยและรู้จักกับเพื่อนๆ มากขึ้นเกิดการพูดคุย เพิ่มชีวิตชีวาให้กับเมือง

•          นำเอาเทคโนโลยี เแอปพลิเคชัน เข้ามาจัดการระบบในการดูแลคุณภาพน้ำและระดับน้ำ การแจ้งเหตุ  รวมถึงมีการอัพเดทกิจกรรมที่เกิดขึ้นหลากหลาย เพื่อเเจ้งให้ทุกคนทราบเเละสามารถจองเข้ามาในระบบได้อย่างรวดเร็ว 

•          ฉากนี้รัฐต้องลงทุน งบประมาณ มีนโยบาย ในการปรับปรุงพื้นที่ เเละเทคโนโลยี เข้ามาบริการจัดการ การจัดซื้อ จัดจ้าง โครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับผู้คนที่เข้ามาใช้ประโยชน์ มีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ การจัดการขยะ ถนนทางเดิน และระบบการสื่อสาร  สัญญาณอินเตอร์เน็ต  กล้องวงจรปิด ห้องน้ำสาธารณะ

•          สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมทำให้ทุกคนที่มาใช้ประโยชน์ รู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ ต้องร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมลงมือทำ รวมถึงร่วมดูแลบริหารพื้นที่

•          เเต่ถ้าบริหารจัดการไม่ดี สิ่งของเหล่านี้ก็ไม่มีประโยชน์ เหมือนหลายพื้นที่ ที่ผ่านมา

สามารถร่วมโหวตฉากทัศน์ได้ที่นี่

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ