“ถ้าบ่มีตรงนี้ผู้เฒ่าก็นอนอยู่บ้านเคี้ยวหมากเงินกะบ่มีรอแต่เงินผู้สูงอายุได้ 500 จักจะพอใช้บ่เดือนหนึ่ง”
คนึงนิตย์ ชะนะโม หรืออุ้ม ประธานกลุ่มศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ๙ ดี ที่จังหวัดบุรีรัมย์
จากคนเคยใช้ชีวิตวัยเรียน วัยทำงานในเมืองกรุงอยู่หลายปี จึงได้ตัดสินใจหวนคืนกลับบ้านเกิด
เพื่อทำการเกษตรในแบบที่ครอบครัวของเขาได้ทำมาแต่รุ่นหลัง
เริ่มก่อตั้งศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ขึ้นมาจากความตั้งใจของตนเองที่อยากเป็นเกษตรกรและสามารถช่วยเหลือชาวเกษตรกรคนอื่นได้ด้วย จนได้เกิดเป็น 0๙ดี ขึ้นจนตอนนี้เข้าสู่ปีที่ 7 แล้ว เพื่อทำพื้นที่สร้างแหล่งอาหารที่ปลอดภัยให้กับชุมชนของตนเอง มีสมาชิกอยู่ 40 คน ส่วนมากจะเป็นกลุ่มผู้สูงวัย 60 ปีขึ้นไป โดยจะแบ่งพื้นที่ให้กับสมาชิกในแต่ละคนได้ปลูกพืชผักสวนครัว จัดการเองทุกขั้นตอนการปลูกการดูแลแต่อุ้มจะช่วยในการวางแผนการปลูกและหาตลาดในการจัดส่งให้ด้วย โดยจะมีการเก็บเกี่ยวพืชผักมาขายให้กับศูนย์ ทางศูนย์จะรับซื้อพืชผัก ทุกวัน พฤหัสบดี โดยทางศูนย์ไม่ใช่พ่อค้าคนกลาง สมาชิกขายได้เท่าไรก็ได้เท่านั้น
ตอนแรก ๆ ก็มีคนกังวลว่าทำแล้วจะเอาไปขายที่ไหน ทำแล้วจะอยู่ได้จริงไหม พอได้ลงมือทำแล้วทุกอย่างขายได้ทำได้จริง และข้นอยู่กับความขยันของคนในกลุ่มด้วย
การทำความเข้าใจกัน มีเป้าหมายร่วมกัน เพราะทำงานกับกลุ่มผู้สูงวัยต้องมีความย้ำคิดย้ำทำ เพราะแม่ ๆ ยาย ๆ มีอายุที่มากแล้วอาจมีหลงลืมกันไปบ้าง
การที่ผู้สูงวัยได้มาปลูกผักขาย มีรายได้เสริม ทำให้เขาได้ออกกำลังกาย ผ่อนคลาย ไม่เหงาเมื่อได้มาเจอเพื่อน ๆ ในศูนย์ มีสุขภาพที่ดีขึ้น ได้เห็นรอยยิ้มของทุกคน
เห็นถึงความเกื้อกูลแบ่งปัน การรวมตัวของคนรุ่นเก่าที่มาเคี้ยวหมากพูดคุยเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะกับการได้ออกมาเจอกันที่ศูนย์ ๙ดี แห่งนี้
อุ้มสร้างศูนย์แห่งนี้ขึ้นมาได้ คนอื่นก็ทำได้เช่นกัน แถมทำให้ยั่งยืนต่อไปเรื่อย ๆ ได้อีกด้วย