ยังอ่วมหลายพื้นที่ โดยเฉพาะเพชรบูรณ์ เหนือยังเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

ยังอ่วมหลายพื้นที่ โดยเฉพาะเพชรบูรณ์ เหนือยังเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

ในช่วงวันที่ 22 – 25 ส.ค. 65

(170865) หลังกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ประเมินสถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบว่าจะมีปริมาณฝนตกสะสมต่อเนื่อง ประกอบกับสถานการณ์น้ำในลำน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติบางพื้นที่ที่ฝนตกหนักอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก อาจส่งผลให้เกิดน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลัน รวมทั้งมีบางพื้นที่มีน้ำท่วมขังอยู่เดิมอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงขอให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงในช่วงวันที่ 20-24 สิงหาคม 2565

(210865) ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 31/2565 เรื่อง  เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน  กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสถานการณ์ฝนตกบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 19 – 20 สิงหาคม 2565 พบว่าในหลายพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมากสะสมมากกว่า 150 มิลลิเมตร ทั้งนี้ กอนช. ได้ประเมินคาดการณ์ปริมาณฝนตกในช่วงวันที่ 20 – 22 สิงหาคม 2565 จะมีฝนตกอยู่ในเกณฑ์ 90 มิลลิเมตร และคาดการณ์สถานการณ์น้ำในลำน้ำ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 0.50 – 1.00 เมตร จึงขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาไหลหลากเข้าท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำเกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ และพื้นที่ชุมชน ในช่วงวันที่  22 – 25 สิงหาคม 2565 ดังนี้

1. ลุ่มน้ำป่าสัก เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณ อำเภอหล่มเก่า และหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ คาดการณ์ระดับน้ำจะสูงกว่าตลิ่งบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำป่าสักประมาณ 0.60 เมตร

2. ลุ่มน้ำชี เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง แม่น้ำชี บริเวณ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำยัง บริเวณ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ลำปะทาว บริเวณ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

3. ลุ่มน้ำมูล เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง แม่น้ำมูล บริเวณ อำเภอเมืองอุบลราชธานี พิบูลมังสาหาร วารินชำราบ และสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี ลำเซบก บริเวณ อำเภอม่วงสามสิบ ดอนมดแดง และตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี ลำโดมใหญ่ บริเวณ อำเภอน้ำยืน นาจะหลวย บุณฑริก เดชอุดม นาเยีย และพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ

2. ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ สถานีสูบน้ำ และติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมทั้งวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ และระดับน้ำในลำน้ำ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วม ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

 ประกาศ ณ วันที่ 21  สิงหาคม 2565

สถานการณ์น้ำภาคเหนือ วันที่ 22 สิงหาคม 2565

ตามพยากรณ์ ตั้งแต่คืนวันที่ (20 ส.ค.65) ภาคเหนือเกิดฝนตกหนัก ติดต่อกัน จนเกิดน้ำป่าไหลหลาก องศาเหนือ ได้รับรายงานข้อมูลจากนักข่าวพลเมืองและโลกออนไลน์ในหลายพื้นที่ จังหวัดที่เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลาก  

ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 12 จังหวัด ประสานพื้นที่เร่งดูแลช่วยเหลือประชาชน 22 ส.ค.65 เวลา 10.00 น. ปภ.รายงานช่วงวันที่ 15-22 ส.ค.65 มีพื้นที่รับผลกระทบจากอุทกภัยรวม 26 จังหวัด 71 อำเภอ 178 ตำบล 583 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 13,532 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย สูญหาย 1 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมใน 12 จังหวัด 28 อำเภอ 95 ตำบล 339 หมู่บ้าน บางพื้นที่ระดับน้ำยังทรงตัว ประสานพื้นที่เร่งให้การช่วยเหลือประชาชนแล้ว

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากสถานการณ์ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และการระบายน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง โดยตั้งแต่วันที่ 15 – 22 สิงหาคม 2565 ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่รวม 26 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ลำปาง แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร ลำพูน ตาก นครสวรรค์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ทุกดาหาร บึงกาฬ ยโสธร อุบลราชธานี อุดรธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง รวม 71 อำเภอ 178 ตำบล 583 หมู่บ้าน

ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,532 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ แพร่ พิษณุโลก พะเยา น่าน อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยะยา และอ่างทอง รวม 28 อำเภอ 95 ตำบล 339 หมู่บ้าน บางพื้นที่ระดับน้ำยังทรงตัว แยกเป็น

1) เพชรบูรณ์ เกิดน้ำท่วมใน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหล่มเก่า และอำเภอหล่มสัก รวม 3 ตำบล 10 หมู่บ้าน ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว ยังคงต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง และฝนที่ตกมากกว่า 200 มิลลิเมตร ทางตอนเหนือของจังหวัดเลย และเพชรบูรณ์ ทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง โดยเมื่อคืนที่ผ่านมา น้ำที่ไหลเข้าท่วมอำเภอหล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ขยายวงกว้างเข้าท่วมชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองหล่มสักแล้ว

2) อุตรดิตถ์ เกิดน้ำท่วมใน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอน้ำปาด และอำเภอท่าปลา รวม 8 ตำบล 40 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 311 ครัวเรือน 

3) แพร่ เกิดน้ำท่วมใน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอร้องกวาง และอำเภอเมืองแพร่ รวม 3 ตำบล 14 หมู่บ้าน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง ยังคงเร่งค้นหาผู้สูญหาย 1 ราย

4) พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมใน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนครไทย และอำเภอชาติตระการ รวม 9 ตำบล 26 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 486 ครัวเรือน อำเภอนครไทย – สถานการณ์ปัจจุบัน มีปริมาณน้ำหลากมาจากตำบลนครชุม ซึ่งเป็นพื้นที่ภูเขาสูงลงสู่พื้นที่ราบ เป็นเหตุให้ 4 ตำบล คือ ตำบลนาบัว ตำบลยางโกลน ตำบลเนินเพิ่ม และ ตำบลนครไทย ได้รับผลกระทบโดยทั้ง 4 ตำบล มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นและมีปริมาณน้ำไหลเข้าท่วมสำนักงานเกษตรอำเภอนครไทย และพื้นที่อนุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และอำเภอชาติตระการ – สถานการณ์ปัจจุบัน พื้นที่ตำบลชาติตระการ และตำบลท่าสะแก ยังมีปริมาณน้ำมากทั้ง 2 ตำบล ระดับสะพานข้ามลำน้ำภาคหมู่ 4 ตำบลท่าสะแก ระดับน้ำอยู่ที่ 8 เมตร ระดับวิกฤตอยู่ที่ 8.37 เมตร

5) พะเยา เกิดน้ำท่วมใน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอเชียงม่วน อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงคำ อำเภอ แม่ใจ และอำเภอดอกคำใต้  รวม 18 ตำบล 42 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 2 ครัวเรือน 

6) น่าน เกิดน้ำท่วมใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเชียงกลาง อำเภอบ้านหลวง และอำเภอนาน้อย รวม 4 ตำบล 24 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 1 ครัวเรือน 

ชวนดูข้อมูลความเสียหายในปี 2564

ที่ประเทศไทยเจอสถานการณ์น้ำท่วมจากพายุและร่องมรสุมหลัก ๆ  จำนวน 4 ครั้ง  คือ พายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่ พายุโซนร้อนคมปาซุ ร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน  พายุโซนร้อนไลออนร็อก ครั้งนั้นกระทบ   41  จังหวัด 

โดยพื้นที่น้ำท่วมส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตรกรรม รองลงมาเป็นภาคบริการ และภาคอุตสาหกรรม โดยมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมประมาณ 2 ล้าน 5 แสนไร่ มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 53,282 ล้านบาท

เฉพาะภาคเกษตรกรรมได้รับผลกระทบสูงที่สุดที่ 28,835 ล้านบาท รองลงมาคือ ภาคบริการ 16,492 ล้านบาท และภาคอุตสาหกรรม  7,955 ล้านบาท

จากตัวเลขพอจะทำให้เราเห็นชัดเจนว่า การเตรียมรีบมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำท่วมที่พบว่ามีความถี่มากขึ้น ๆ นั้น จึงมีความจำเป็นอย่างมาก

การเตรียมพร้อมในภาคประชาชนต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง เพื่อให้รับมือได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสียหาย ขยายประเด็นกับ ผศ.ดร.มงคลกร ศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ข้อมูลเต็มไปหมดแต่ทำไมน้ำมาแล้วยังรับมือไม่ได้

ต้องบอกถึงประสิทธิภาพของลำน้ำในแต่ละพื้นที่ถูกเปลี่ยนไป น้ำที่เคยไหลได้อย่างอิสระกลับไม่อิสระ ถ้าไปถามผู้สูงอายุในพื้นที่ เขาจะเห็นและเล่าถึงลำน้ำในยุคสมัยก่อน แต่ปัจจุบันเมื่อมีการขยายเมือง เกิดการถมที่ ที่ที่เคยเป็นพื้นที่รับน้ำได้ทุ่งนาต่าง ๆ ถมที่ให้เป็นที่สูงขึ้นเหมือนแก้วน้ำเมื่อก่อนไหลมาเท่าไหร่ก็ไม่หล่นเมื่อบีบลำน้ำให้เล็กลงถมที่ที่เคยเป็นแก้มลิงรับน้ำหลังจากนั้นผลกระทบก็ส่งมาให้เราเห็นในปัจจุบัน อย่างหนึ่งคือเราต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงในเชิงพื้นที่และอีกอย่างต้องยอมรับว่าระบบต่าง ๆ ดีขึ้นแต่บางพื้นที่ระบบเตือนภัยทั้งหมดไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

การกระจัดกระจายของข้อมูลเป็นความยากอย่างหนึ่ง ของพื้นที่

จริง ๆ เป็นสารสนเทศที่เยอะมากในโลกออนไลน์ หลายคนจึงไม่รู้ว่าจะต้องเลือกใช้ตัวใด แต่ถ้าคนรู้ข้อมูลตอนนี้หลายคนเลือกที่จะใช้ Windy ในการดูอนาคตฝนจะตกฝนจะตกบริเวณไหนดูง่าย ๆ ผ่านมือถือแต่หากบางคนที่อยากดูชัด ๆ ชัดเจน ที่ Thai water ว่าฝนตกที่ไหนน้ำที่ไหนปริมาณเยอะ 

นอกเหนือจากการรู้ว่าฝนจะตกตรงไหนมาตรการช่วยเหลือในระดับโครงสร้างระดับรัฐการเตรียมรับมือในแผนที่เป็นสิ่งสำคัญ : War Room online 

กับการประเมินและเตือนภัย สำคัญแค่ไหน ใครควรทำอะไร ไลน์ในระดับชุมชนท้องถิ่นควรจะต้องมี อยากชวนในพื้นที่ว่าเรามีนักวิชาการในชุมชนในแต่ละลุ่มน้ำอยู่แล้วยิ่งเป็นลุ่มน้ำขนาดเล็กถ้าฝนตกกระจกอยู่ในพื้นที่ในพื้นที่หนึ่งเราสามารถที่จะดึงข้อมูลตรงนี้เอาไปขยายความต่อได้ฝนจะตกบริเวณนี้พื้นที่ไหนดึงข้อมูลของตรงนี้เอาไปขยายความต่อได้ว่าฝนจะตกบริเวณนี้พื้นที่ไหนมีความเสี่ยงบ้าง แต่ปัจจุบันยังขาดสิ่งหนึ่งคือขาดเจ้าภาพในแต่ละพื้นที่ถ้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเครือข่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในลุ่มน้ำใกล้ใกล้กันมาพูดคุยกันเราจะมีข้อมูลเชิงวิชาการที่ถูกต้องในการที่จะบอกและส่งต่อถึงประชาชนได้อย่างถูกต้องแต่ ณ ตอนนี้ปัญหาที่เกิดขึ้น หารูปน้ำขนาดเล็กคือ “เขาว่า” เขาว่าน้ำตรงนั้นเขาว่านั่นว่านี่ ซึ่งถ้าเรามีข้อมูลจากแบบจำลองที่บอกมาว่าฝนจะตกอยู่บริเวณนี้ซักหนึ่งอาทิตย์เราจะเริ่มรู้ในแนวทางของพื้นที่ไหนที่มีความเสี่ยงยิ่งใกล้วันเข้ามาพยากรณ์ล่วงหน้าไม่กี่ชั่วโมงแบบนี้ความแม่นยำของแบบจำลองจะมีค่ามากจะมีความแม่นยำที่แม่นยำมากขึ้นในส่วนของตรงนี้ถ้าเรามีการเชื่อมโยงมองแผนไกล ๆและวางแผนกันว่าหากอีกวันสองวันจะเกิดกลุ่มฝนเกิดบริเวณไหนเราจะสามารถสื่อสารกันได้แต่ต้องมีเจ้าภาพ ตอนนี้มีหลายกลุ่มหลายคนที่พยามสื่อสารออกมาอย่างกรมอุตุนิยมวิทยา ไลฟ์สดในการที่จะพยากรณ์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับด้านกรมอุตุนิยมวิทยา อีกส่วนนึงคือการรู้ผังน้ำของชุมชนที่มีอยู่หลายคนเคยดูหลายคนเคยหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมารู้เลยว่าตนเองอยู่ตรงไหนแต่เคยดูแผนที่เส้นทางลำน้ำหรือไม่ว่าน้ำตรงนี้จากตรงไหนไหลมาถึงบ้านเราบ้างและจากบ้านเราไหลไปทางไหนต่อและใช้เวลาเท่าไหร่นี่เป็นข้อมูลสำคัญที่จะทำให้เรารู้ว่าฝนมาท่าน้ำมาเยอะเราจะใช้เวลาเท่าไหร่ในการที่จะรีบเก็บของเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง

ใครควรเป็นเจ้าภาพ ?

ไม่ควรมีเวทีหลายเวทีจะทำให้สับสน แต่ควรจะมีวิธีใดวิธีหนึ่งในชุมชนที่จะสามารถในเครือข่ายลุ่มน้ำที่จะสามารถสื่อสารออกมาได้บางทีอาจจะเป็นของ อปท. รวมกลุ่มเป็นกลุ่มเตือนภัยน้ำท่วมหรือกลุ่มที่จะสามารถเตือนภัยให้เข้าไปถึงประชาชนในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว

เพื่อความมั่นใจในพื้นที่ คุณผู้อ่านสามารถติตตามสถานการณ์ฟ้าฝน ด้วยตัวเองง่าย ผ่าน……

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ