ชวนย้อนมองประวัติศาสตร์การจัดการที่ดินและป่าไม้ กับดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ

ชวนย้อนมองประวัติศาสตร์การจัดการที่ดินและป่าไม้ กับดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ

8 ปีกับรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กับความเปลี่ยนแปลงของนโยบายด้านป่าไม้และที่ดิน หนึ่งในนั้นคือนโยบายทวงคืนผืนป่า

8 ปีกับรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านป่าไม้และที่ดิน หนึ่งในนั้นคือนโยบายทวงคืนผืนป่า เพื่อจะคืนพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ร้อยละ 40 ของประเทศ จนเกิดความขัดแย้งกับคนและชุมชน จนเกิดคดีความกว่า 46,000 คดีทั่วประเทศ

วันนี้ (22 ส.ค.65) มีการจัดสัมนาเครือข่ายประชาชนเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงป่าไม้และที่ดิน เพื่อเป็นข้อเสนอภาคประชาชนต่อการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ในช่วงวันที่ 23 – 25 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน จังหวัดเชียงใหม่ อยากชวนไปทำความเข้าใจและมองย้อนถึงประวัติศาสตร์การจัดการที่ดินและป่าไม้เพื่อความเข้าใจในเรื่องนี้กับอาจารย์ ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) ที่จะมาทบทวน รวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว และที่ผ่านมาทั้งชุมชน ภาคประชาสังคม NGOs และนักวิชาการพยายามนำเสนอสร้างความเข้าใจมาโดยตลอด แต่มุมมองของพื้นที่กลับไม่ค่อยได้รับความสนใจจากรัฐเท่าใดนัก

ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาอย่างยั่งยืน(RCSD)

ปี พ.ศ. 2445 จุดเริ่มต้นของปัญหา โดยมีการตั้งกรมป่าไม้ ที่จ.เชียงใหม่ จึงเปลี่ยนกิจการป่าไม้ที่เดิมชุมชนเป็นคนจัดการ และควบคุมโดยเจ้าเมืองในภาคเหนือ เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน ถูกรวบเข้าไปอยู่ในอำนาจส่วนกลาง เป้าคือเก็บภาษีป่าไม้ และดึงอำนาจในการจัดการทรัพยากรไปส่วนกลาง เป็นนโยบายรวมศูนย์ มแต่ไม่ได้มองว่าชาวบ้านเป็นแพะ หรือตัวปัญหาในการทำลายผืนป่า

ปี พ.ศ. 2507 เกิดคณะกรรมการชาวเขาแห่งชาติ มีเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐโดยมองว่าชาวเขาทำการผลิตแบบไร่เลื่อนลอย เป็นภัยต่อความมั่นคง จึงเกิดการเอาปัญหาป่าไม้ไปผูกกับความมั่นคง เนื่องจากรัฐดำเนินนโยบายภายใต้ความคิดสงครามเย็น พื้นที่บนดอยต้องดูแลให้กระชับ มั่นคง มีการตั้งตชด.ขึ้นมา จึงนำไปสู่มุมมองที่ทำให้ชาวเขาเป็นแพะ เป็นผู้ที่จะมีโอกาสในการสนับสนุนนโยบายของพรรคคอมิวนิสต์ และมีผลต่อความมั่นคง เพราะตั้งบ้านเรือนอยู่ชายแดน พูดไทยไม่ได้ และทำไร่เลื่อนลอย จึงนำมาสู่การผลักปัญหาการจัดการทรัพยากรกับชาวเขาที่ผูกกับนโยบายความมั่นคง

พ.ศ. 2514-2516 ช่วงที่ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ร.บ.ป่าสงวน และกฎหมายที่เกี่ยวข้องถูกใช้เพื่อเป็นการขยายอำนาจของรัฐออกไปในอาณาบริเวณของประเทศ ขยายออกไปในพื้นที่ชายแดน พื้นที่ห่างไกล เพราะรัฐไม่ไว้วางใจคนในเขตป่า และมีการนำความคิดว่าคนอยู่กับป่าไม่ได้ ช่วงนี้เราจะเห็นปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้น คนดอยกับคนพื้นราบที่ใช้ประโยชน์กับป่าไม้

เวทีสัมนาเครือข่ายประชาชนเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงป่าไม้และที่ดิน ณ คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่

ช่วง พ.ศ. 2530 รัฐมีความพยายามขยายเขตอุทยาน เตรียมการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติม ซึ่งซ้อนทับกับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของประชาชน เป็นสาเหตุที่เริ่มเกิดการมาเคลื่อนไหวของภาคประชาชน เช่น การเดินขบวนในปี พ.ศ. 2534 และหลายครั้งตามมา มีข้อเสนอนโยบายในการจัดการป่าไม้ที่เป็นธรรมและประชาชนมีส่วนร่วม มีการผลักดัน พ.ร.บ.ป่าชุมชน มีงานวิจัยที่ทำร่วมกันระหว่างประชาชน นักพัฒนาเอกชน นักวิชาการ เพื่อแสดงให้เห็นว่าประชาชนมีการจัดการป่าไม้ มีกฎระเบียบที่ชุมชนทำขึ้น นำไปสู่แนวคิดเรื่องสิทธิชุมชน ที่ถูกนำเสนอในร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ร่างโดยประชาชนมีส่วนร่วม และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนว่าจะมีส่วนในการจัดการป่าไม้ที่ดินอย่างไรบ้าง

โดยพี่น้องในภาคเหนือเป็นจุดประกาย และเคลื่อนเรื่องสิทธิชุมชน จนถูกบรรจุในมาตรา 64 รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 แต่หลังรัฐบาลกลับไม่เห็นศักยภาพของชุมชน และไม่หนุนเสริมเรื่องนี้ จึงเกิดการขับเคลื่อนเรื่องโฉนดชุมชน เพราะ พ.ร.บ.ป่าชุมชนที่เคลื่อนกันมาไม่สามารถไปต่อตามแนวคิดเดิมได้ จนนำไปสู่การออกเป็นระเบียบสำนักนายก อนุญาตให้มีการจัดทำพื้นที่บางแห่งเป็นโฉนดชุมชน แต่ไม่สามารถขยับให้ก้าวหน้าไป เพราะรัฐหรือนักการเมืองมองว่าชาวบ้านไม่มีความสามารถในการจัดการร่วม (co management)

เวทีสัมนาเครือข่ายประชาชนเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงป่าไม้และที่ดิน ณ คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่

พ.ศ. 2557 ถึงปัจจุบัน หลังรัฐประหาร มีนโยบายทวงคืนผืนป่า เพิ่มพื้นที่ป่าให้มากขึ้น เป็นร้อยละ 40 ของประเทศ จากรายงานพบว่า ตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมาไม่สามารถเพิ่มปริมาณป่าไม้เท่าไร แต่กลับเกิดการดำเนินการที่ทำให้เกิดคดีกับพี่น้องประชาชนกว่า 4 หมื่น ทั้งพื้นที่หนองหญ้าปลอง พื้นที่บางกลอย รัฐมองว่าประชาชนที่อยู่ในที่บรรพบุรุษอยู่มาตั้งแคชต่อดีต ทำลายป่า โยงกับเรื่องความมั่นคง การค้ายาเสพติด แม้ว่าจะมีชุมชน ประชาสังคมและนักวิชาการไปเก็บข้อมูล แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่รับฟัง

ในโอกาสที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเป็นเจ้าภาพในการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ในช่วงวันที่ 23 – 25 สิงหาคม 2565 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโอกาสที่จะได้สรุปของนโยบายในการจขัดการป่าไม้ช่วงที่ผ่านมา ผมมองว่านโยบายอนุรักษ์ป่าไม้ สร้างพื้นที่สีเขียว เป็นวาทะกรรมแอบแฝงด้วยเจตนา ถ้าจะส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตอุทยานทำได้ ส่วนประชาชนที่ทำมาหากินและดูแลป่ากลับไม่สอดคล้องกับนโยบายรัฐ เพราะรัฐไม่เชื่อมั่นว่าประชาชนดูแลป่าได้

ทั้งนโยบายน้ำ เรื่องที่ดิน ก็เช่นกันที่รับแนวคิดจากสัทธิเสรีนิยมใหม่ มองว่าทรัพยากรน้ำและที่ดินเป็นทุนที่สามารถสร้างกำไรได้ จึงเกิดโครงการต่าง ๆ ขึ้น เช่น ภาคตะวันออก มีการขยายพื้นที่ EEC กว้านซื้อที่ดินเป็นจำนวนมาก มีการเอาน้ำ เอาที่ดินมาใช้เพื่อการพัฒนาอุสาหกรรม หรือโครงการผันน้ำยวม เอาน้ำไปใช้ในภาคกลาง การสร้างนิคมอุตสาหกรรมและการทำเกษตรแปลงใหญ่ ล้วนเกิดภายใต้แนวคิดเสรีนิยม ในโอกาสที่มีการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ เราจะรวบรวมประเด็น นำเสนอขึ้นมา ส่งเสียงให้รัฐได้เข้าใจ และจะมาทำให้เป็นรูปธรรมในการยอมรับสิทธิของชุมชนในการดูแลป่ามากขึ้น

เวทีสัมนาเครือข่ายประชาชนเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงป่าไม้และที่ดิน ณ คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ