เมื่อการศึกษาของไทย ที่เน้นเรียนรู้แบบภาพรวม ทำให้เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ ห่างไกลจากภาษาและวัฒนธรรมดั้งเดิม ฝ่ายการศึกษาของชนเผ่าพื้นเมืองและการปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ จึงร่วมกันผลักดัน “ภาษาแม่” ที่มีในท้องถิ่น ให้เป็นภาษาในการศึกษาทางเลือก สู่การปฏิการศึกษาของไทย ในภาพรวม
องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันภาษาแม่สากล เพื่อรณรงค์และสะท้อนให้เห็นความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่เป็นบ่อเกิดสร้างความเข้าใจและสร้างสันติภาพให้สังคม ที่ผ่านมาระบบการศึกษาไทย จะเน้นเรียนรู้ในแบบภาพรวมของประเทศ ทำให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลจากภาษาและวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง และไม่สอดคล้องต่อการเรียนรู้ของเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ บางรายอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ กระทรวงศึกษาธิการเล็งเห็นถึงความสำคัญของนโยบายการออกแบบการจัดการเรียนการสอน ให้มีความเหมาะสมกับพื้นฐานทางภาษาและสังคมวัฒนธรรมของประชากรไทยชาติพันธุ์ต่างๆ จึงร่วมมือกับมูลนิธิภาษาศาสตร์ประยุกต์จัดการเรียนรู้แนวทางพหุหรือทวิภาษา โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน ซึ่งได้ดำเนินการนำร่องในพื้นที่ของชนเผ่าพื้นเมืองมอญ ในปี 2550 ในพื้นที่ชนเผ่าพื้นเมืองกะเหรี่ยงและม้ง ในปีพ.ศ. 2551 ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ดีขึ้น เด็กมีคุณภาพสามารถอ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาแม่ ภาษาไทย และภาษาอื่น ๆ สามารถคิดได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งกำลังขยายผลไปอีก 14 โรงเรียน เพื่อให้เชื่อมถึงนโยบายการศึกษา ในระดับประเทศ
ทางเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองและการปฏิรูปการศึกษาเชียงใหม่ จึงได้จัด เวทีสมัชชาเครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง ครั้งที่ 3 ประจำปี 2558 ในหัวข้อ “ภาษาแม่: ประตูสู่ความสำเร็จของการจัดการศึกษาชนเผ่าพื้นเมืองและการปฏิรูปการศึกษาเชียงใหม่สู่การปฏิรูปการศึกษาไทย” ระหว่างวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2558 ณ หอประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติต่อการจัดการศึกษาทางเลือก และร่วมกันจัดทำข้อเสนอแนะต่อนโยบายในระดับต่างๆ ที่เกี่ยวกับประเด็นการศึกษาของชนเผ่าพื้นเมือง อีกทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นด้านความร่วมมือระหว่างเครือข่ายต่างๆของการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ สู่การปฏิรูปการศึกษาไทย ในภาพรวม
ภายในงานมีกิจกรรมของเยาวชนจากโรงเรียนนำร่องทวิภาษา ในจังหวัดเชียงใหม่ มาแสดงโชว์ความสามารถ ในวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ นี้ ตามกำหนดการ
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 พิธีกรประจำวัน: ชมรมทวิภาษาและตัวแทนเด็กเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง
ที่ |
เวลา |
รายการ |
1 |
08.30 – 09.00 |
เด็กชนเผ่าพื้นเมืองมีดี (การแสดงโชว์ความสามารถ)
|
2 |
09.00 – 09.20 |
พิธีเปิด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
โดย นายบุญเลิศ บุรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ |
09.20 – 10.00 |
|
|
3 |
10.00 – 10.30 |
บรรยายพิเศษเรื่อง การปฏิรูปการศึกษาเชียงใหม่ โดย นายไพรัช ใหม่ชมภู ผู้อำนวยการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ |
4 |
10.30 – 10.45 |
เด็กชนเผ่าพื้นเมืองมีดี (การแสดงโชว์ความสามารถ)
|
5 |
10.45 – 12.30
|
เสวนาเรื่อง พหุวัฒนธรรมศึกษา และการเรียนรู้แนวทางพหุภาษาหรือทวิภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน ดำเนินรายการโดยผศ.วรรณา เทียนมี
|
6 |
12.30 – 13.30 |
พักรับประทานอาหารกลางวัน |
7 |
13.30 – 13.45 |
ชมการแสดงของเด็กชนเผ่าพื้นเมืองมีดี
|
8 |
13.45 – 14.45 |
เปิดโลกการเรียนรู้สู่การศึกษาชนเผ่าพื้นเมืองที่หลากหลายรูปแบบ (ช่วงที่ 1) ดำเนินรายการโดยดร.สุชิน เพ็ชรักษ์
หมายเหตุ: เปิดให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนและสรุปโดยผู้ดำเนินรายการ |
9 |
14.45 – 15.00 |
พักรับประทานอาหารว่าง และชมการแสดงของเด็กชนเผ่าพื้นเมืองมีดี
|
10 |
15.00 – 16.15 |
ผู้ทรงคุณวุฒิ เสนอแนะและเพิ่มเติม แนวทางและการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนทวิหรือพหุภาษาและพหุวัฒนธรรมศึกษาในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม ผู้ดำเนินรายการ: นายสินอาจ ลำพูนพงษ์
|
11 |
16.15 -16.30 |
ชมการแสดงของเด็กชนเผ่าพื้นเมืองมีดี
|
12 |
16.30 – 16.45 |
สร้างสรรค์ความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง (การลงนามความร่วมมือ) ดำเนินรายการโดย ผอ.ศักดิ์ดา แสนมี่ ผู้อำนวยการสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท./IMPECT)
|
13 |
16.45 – 17.00 |
สรุปการประชุมวันที่ 1 โดยดร.ประสิทธิ ลีปรีชา อาจารย์ประจำศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
หมายเหตุ : อาหารว่างเช้า 10.30 – 10.40 – บ่าย 14.30 – 15.00 แจกให้รับประทานระหว่างกิจกรรม
วันที่ 22 กุมภาพันธุ์ 2558
พิธีกรประจำวัน: ฐานันดร ณ เชียงใหม่ และตัวแทนตัวเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง (TKN)
ที่ |
เวลา |
รายการ |
1 |
09.00 – 09.15 |
เด็กชนเผ่าพื้นเมืองมีดี (การแสดงโชว์ความสามารถ)
|
2 |
09.15 – 09.45 |
|
3 |
09.45 – 10.45 |
เปิดโลกการเรียนรู้สู่การศึกษาชนเผ่าพื้นเมืองที่หลากหลายรูปแบบ (ช่วงที่ 2) ดำเนินรายการโดย นายชูพินิจ เกษมณี ที่ปรึกษาเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.)
หมายเหตุ: เปิดให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนและสรุปโดยผู้ดำเนินรายการ |
4 |
10.45 – 11.00 |
เด็กชนเผ่าพื้นเมืองมีดี (การแสดงโชว์ความสามารถ)
|
5 |
11.00 – 12.00 |
เปิดโลกการเรียนรู้สู่การศึกษาชนเผ่าพื้นเมืองที่หลากหลารูปแบบ (ช่วงที่ 3) ดำเนินรายการโดย นายชูพินิจ เกษมณี ที่ปรึกษาเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.)
เชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม
หมายเหตุ: เปิดให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนและสรุปโดยผู้ดำเนินรายการ |
6 |
12.00 – 13.00 |
รับประทานอาหารกลางวัน |
7 |
13.00- 14.00 |
สานเสวนา “แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย” ผู้ดำเนินรายการ: นายเกรียงไกร ไชยเมืองดี ผู้อำนวยการมูลนิธิรักษ์เด็ก
|
8 |
14.00 – 14.15 |
สมัชชายื่นข้อเสนอกับภาคีปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ และการปฏิรูปการศึกษาไทย |
9 |
14.15 – 16.00 |
ทำแผนเครือข่ายการศึกษา IEN ในการขับเคลื่อนงาน
|
10 |
16.00 – 16.20 |
สรุปการประชุมทั้งสองวัน โดย นายชูพินิจ เกษมณี |
11 |
16.20 – 16.30 |
พิธีปิดการประชุม |
หมายเหตุ: กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม และเชิญชมนิทรรศการและร่วมเรียนรู้ได้ตลอดงาน
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่: คุณวิไลลักษณ์ เยอเบาะ Tel. 087 1893 482 หรือที่คุณวิไลลักษณ์ เดชศรี Tel. 087 1856 500
(กองเลขานุการเครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง) หรือติดต่อประสานงานได้ที่: สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศูนย์ประสานงานกองเลขานุการเครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง) เลขที่ 252 หมู่ที่ 2 ตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50210