พื้นที่สื่อชุมชนกับการเมือง

พื้นที่สื่อชุมชนกับการเมือง

พื้นที่สื่อชุมชนกับการเมือง ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง เรามักจะได้เห็นและได้ยินเสียง ของการชุมนุม ทางหน้าจอทีวี หนังสือพิมพ์ วิทยุ ร่วมถึงพื้นที่สื่อใหม่หรือโซเชียลมีเดียซึ่งอาจจะมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลที่ต่างกันไป หลายคน อาจจะมองว่าการชุมนุมส่วนใหญ่ ไม่สามารถหาดูจากสื่อกระแสหลัก สื่อขนาดเล็ก เช่นเว็บไซต์ ทีวีดาวเทียม รวมถึงวิทยุชุมชน ที่ถ่ายทอดสัญญาณจากที่ชุมนุม ทำให้คนที่สนใจ สามารถติดตามข่าวสารได้ แต่คนส่วนหนึ่งก็มองว่า ก็รู้สึกว่าสื่อชุมชนส่วนใหญ่ได้เลือกข้างไปแล้ว ไม่ได้นำเสนอข้อมูลทั้ง 2 ฝ่าย และการถ่ายทอดสัญญาณจากเวทีชุมนุม บางครั้งเนื้อหาก็รุนแรงเกินไป  ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความรุนแรงในอนาคตได้ 

ชุมพล  ศรีสมบัติ นักจัดรายการวิทยุชุมชนมุสลิม  “วิกฤตช่วงนี้เป็นช่วงที่ยากที่เราจะนำเสนอ สร้างความเช้าใจ สร้างความสมานฉัน ตอนนี้มัน วิธีคิดคนส่วนใหญ่จะเลือกข้าง  พอเลือกข้างปุบเวลาที่เราจะนำเสนออะไรออกไป ถ้าข้อมูลตรงใจมันก็ดี พอข้อมูลไม่ตรงใจปุบ จะมีปัญหากับผู้จัดรายการ ว่า เลือกข้างว่า อันนี้สีไหนกันแน่ ข้างไหนกันแน่ หรือไม่มีจุดยืน คนสมัยนี้คล้ายๆว่าจะต้องเลือกข้าง…สื่อ เราควรนำเสนอข้อมูลทั้งสองด้านที่ช่วยสร้างความเข้าใจ สื่อต้องไม่ไปตีตราหรือตรอกย่ำว่า หรือแพร่กระจายข่าวที่ไม่ดี เราไม่ต้องไปเผยแพร่ เราพยายามทำให้ดีที่สุดทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์ รับสิ่งดีๆของทั้งสองฝ่ายเข้ามา  มีวิธีการไหนที่เราจะนำเสนอเหตุการณ์ลักษณ์นี้น่าจะดีกว่า ที่เราจะนำเสนอเรื่องของการชิงชัง ที่เราฟังจะสร้างความชิงชังให้แกกันและกัน  ซึ่งมันน่าจะหยุดได้แล้วประเด็นลักษณ์นี้ แต่ว่าเรานำเสนอข้อมูลด้วยเหตุด้วยผลน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า …ผมว่าเป็นความรู้สึกมากว่ากว่า เราไปอยู่ฝั่งฝ่ายไหน ถ้าเราเล่นประเด็นเรื่องการปฏิรูป ก็นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องศาสนา อยู่ในความพอดีมากกว่า การที่เราจะไปนำเสนอเรื่องการปฏิรูป เราจะไปอ้างแนวทางไหนก็ไม่ได้ แต่ว่าพี่น้องมุสลิม มีเรื่องของกฏหมายอิสลาม ที่มีระบบของอิม่าม ผู้นำศาสนาดูแลอยู่ แต่ถามว่าเราได้รับผลกระทบไหม ก็ปัญหานี้ก็เข้ามาในชุมชนเรา พี่น้องเราเริ่มมีคนแตกแยกกัน …ส่วนใหญ่เท่าที่สัมผัสในพื้นที่ ส่วนใหญ่ก็แยกสีกันไปเลย บางครั้งความเป็นพี่น้องก็ถูกทำลาย กับสิ่งเหล่านี้ ซึ่งมันก็เป็นปรากฏการณ์ในสังคมบ้านเรา ซึ่งเกิดมาตั้งแต่เล็กจนใหญ่ วิกฤตที่คนสองกลุ่ม หรือแม้แต่พี่น้องกัน พี่น้องร่วมศาสนา มันทำให้มีเรื่องของความร้าวชาญ อันตรายมากเรื่องพวกนี้”

สิทธิพร  ฤทธิ์สรไกร นักจัดรายการวิทยุออนไลน์  “ในท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศนะครับ ที่มีความขัดแย้งทางความคิด ความเชื่ออุดมการณ์หลายๆอย่าง บทบาทของสื่อผมคิดว่ามีความสำคัญ ยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะสื่อเป็นเหมือนพื้นที่ส่วนกลางที่ให้ความแตกต่างทางความคิดสามารถมาใช้พื้นที่นี้ในการแสดงออก ซึ่งในการแสดงออกผลที่ตามมาคือว่า ฝ่ายที่อาจจะเห็นต่างหรืออยู่ขั้วตรงข้าม ก็จะได้มีพื้นที่ในการศึกษา เรียนรู้ร่วมกัน มันจะเป็นพื้นที่ของการเปิดรับฟังความคิดเห็นในทุกๆมิติ ซึ่งกระบวนการต่างๆเหล่านี้น่าจะเป็นบทบาทสำคัญในอันดับแรกๆของการทำหน้าที่สื่อด้วยซ้ำไป …ในท้องถิ่นในช่วงระยะเวลาเดือนสองเดือนที่ผ่านมา ก็คือว่า เราจะหาเวทีของฝ่ายต่างๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกัน ไม่ว่าฝ่ายที่ต้องการให้เลือกตั้งก่อนที่จะปฏิรูปหรืออีกฝ่ายหนึ่งที่เห็นว่าการเลือกตั้งนั้นไม่ใช่คำตอบ ในบทบาทของสื่อท้องถิ่นนั้นจะได้เปรียบในแง่ที่ว่าเราอยู่ในพื้นที่และเราสามารถเข้าไปถึงแหล่งของความคิดเห็นต่างๆเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมันจะมีผลอยู่สองสามส่วน คือ มันจะทำให้เสียงของท้องถิ่นได้มีโอกาสแสดงออก เพราะว่าถ้าเราติดตามสื่อกระแสหลัก เสียงที่เราได้ยินส่วนใหญ่นั้นก็จะเป็นเสียงที่มาจากส่วนกลางหรือจากกรุงเทพ เพราะฉะนั้นบทบาทตรงนี้ นอกจากว่าจะเป็นพื้นที่ของความแตกต่างที่มันหลากหลายได้มาแสดงออกแล้วนั้น ก็จะเป็นบทบาทหนึ่งที่ทำให้เห็นว่า ประเทศไทยนั้นมันมากกว่ากรุงเทพ มันมากกว่าส่วนกลาง มันทำให้เห็นว่าท้องถิ่นคิดยังไง มีปัญหาในระดับชาติ คนในชุมชนเขามีความคิดเห็น มีความคิดหรือแม้แต่มีมุมมองทางออกของปัญหาอย่างไร  ในฐานะสื่อท้องถิ่นก็พยายามทำบทบาทตรงนี้ครับ ซึ่งคิดว่าถ้าสื่อของประเทศไทย มีความชัดเจนในการทำหน้าที่สื่อ อย่างน้อยเป็นพื้นที่กลาง สำหรับทุกฝ่ายทุกๆชั้วความคิด ตรงนี้น่าจะส่งผลประโยชน์กับประเทศได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะอาจจะเป็นกระบวนการหนึ่ง ที่ทำให้ประเทศมีทางออกโดยที่ทุกฝ่ายได้มีโอกาสมาพูดคุยกัน

เลือกการนำเสนอทั้งสองพื้นที่ สองกลุ่ม

ในบทบาทสื่อ เราคงไม่เป็นฝ่ายที่ตัดสิน เราน่าจะทำหน้าที่อยู่ตรงกลางเพื่อเป็นสะพานในการเชื่อมโยงความคิดเห็น เป็นทั้งพื้นที่ในการให้ทุกๆฝ่าย ได้มีโอกาสแสดงออก ตรงนี้ผมคิดว่าเป็นบทบาทสำคัญที่สื่อน่าจะทำหน้าที่ตรงนี้นะครับ เพราะฉะนั้นความคิดเห็นทั้งฝ่ายต่างๆสีเหลืองสีแดงอะไรก็ตามที สื่อยังไม่น่าจะเป็นผู้ที่บอกว่าฝั่งไหนถูกฝั่งไหนผิด น่าจะเป็นพื้นที่ให้ทุกฝ่ายสามารถ แสดงความคิดความเชื่อส่วนตัวออกมา มันจะเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน รวมถึงขั้วที่สามด้วยนะครับ ผมคิดว่าตรงนี้จะเป็นประโยชน์ของการเป็นสื่อที่น่าจะทำให้กับประเทศได้ในบทบาทตรงนี้ครับ

คิดว่าข้อเสนอที่ทำเวทีแบบนี้ จะเป็นทางออกที่ดีไหม?

ที่ได้ทำหน้าที่ตรงนี้ เราก็พบว่ามีผู้ติดตาม รับฟังให้ความสนใจ เป็นจำนวนมาก ถ้าพูดสิ่งที่พวกเราทำมาในการทำหน้าที่สื่อ ในช่วงการถ่ายทอดในสถานการณ์การขัดแย้ง เรากลับพบจำนวนผู้ฟังของเรามากขึ้นกว่ารายการผ่านๆมา การถ่ายทอดหลายๆครั้ง เพราะฉะนั้นเราก็พบว่า ในท่ามกลางประเทศที่อยู่ในสถานการณ์วิกฤตหรือเป็นความขัดแย้งที่สังคมวิตกกังวลนะครับ พอเราไปทำบทบาทตรงนี้ เราก็มีความรู้สึกว่า ผู้คนให้ความสนใจหรือมองว่าสื่อเป็นที่พึ่งหนึ่งที่เขาจะได้เข้ามาเรียนรู้ ผมคิดว่าคนที่เข้ามาฟัง โดยเฉพาะสื่อที่เราพยามยามให้สังคมเห็นว่า เราไม่ได้อยู่ฝั่งไหน หรือเลือกข้าง เราเป็นเหมือนที่พึ่งอย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้ตอกย้ำความเชื่อตัวเอง แต่ผมคิดว่าเขาต้องการเข้ามารับฟังข้อมูล เข้ามารับฟังความเห็นต่าง เขาต้องการที่จะเข้ามาแสวงหาคำตอบอะไรบ้างอย่าง โดยสื่อจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเรื่องต่างๆเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

มีเสียงของคนที่ไม่เห็นด้วยกับเราไหมครับ ที่เข้ามาในแต่ละครั้ง ที่เรานำเสนอ?

อันนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจมากครับ ในช่วงนี้ เพราะว่ามีผลกระทบกับการทำหน้าที่ของสื่อโดยตรง สถานการณ์ปัจจุบันคงไม่ใช่แค่เฉพาะสื่อนะครับ ที่ให้ความหมาย หรือถูกผลักไปอยู่ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง แม้แต่คนทั่วๆไปนะครับ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออก การกระทำ คำพูด หรือการเคลื่อนไหวอะไรต่างๆ ก็ง่ายมากที่จะทำให้ถูกผลักไปอยู่ฝั่งนั่นฝั่งนี้ สื่อก็เช่นเดียวกัน ที่ผ่านมาเวลาที่ไปทำหน้าที่ เรามักจะถูกสังคม หรือคนในกลุ่มต่างๆ ตัดสินว่าเราเป็นสื่อที่ทำงานรับใช้ฝั่งนั่นฝั่งนี้  อันนี้ก็เป็นผลกระทบที่ ก็คือหมายความว่าในการยืนหยัดที่จะทำหน้าที่สื่อ ที่เป็นกลางอย่างนี้ เราก็ต้องยืนหยัดอย่างนี้ไว้

แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราได้รับผลกระทบ จากเรื่องแบบนี้เหมือนกันในความขัดแย้ง เพราะฉะนั้นเราก็ต้องพยายามจัดการให้เราทำหน้าที่ ตามเป้าหมายให้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น เราต้องให้น้ำหนักของการออกไปทำงานให้กับทั้งสองฝั่ง หรือฝ่ายที่ขัดแย้งให้เท่าๆกัน โดยที่ไม่ให้น้ำหนักกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป อันนี้ก็คิดว่าน่าจะเป็นการพยายามแก้ปัญหา หรือหาทางออกในผลกระทบจากความขัดแย้งที่มีมาอย่างสื่อ ที่เราได้พบ เราก็พยายามได้ทำอยู่

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ